น้ำมัน สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลง

คุณจะไม่สามารถดูเอกสารในหน้านี้ได้เนื่องจาก:

  1. บุ๊คมาร์คหมดอายุ
  2. เครื่องมือค้นหาที่มี รายการที่หมดอายุ
  3. ที่อยู่พิมพ์ผิด
  4. คุณ ไม่สามารถเข้าถึง หน้านี้ได้
  5. ไม่พบหน้าที่ร้องขอ
  6. เกิดข้อผิดพลาดในขณะที่การประเมินผลคำขอของคุณ

โปรดลองดำเนินการหน้าต่อไปนี้:

  • หน้าแรก

หากปัญหายังคงมีอยู่โปรดติดต่อผู้ดูแลระบบของเว็บไซต์นี้

Duplicate entry '1665579680' for key 'timestamp' SQL=INSERT INTO `eppo_zt_visitor_counter` (`id`,`timestamp`,`visits`,`guests`,`ipaddress`,`useragent`) VALUES (null, '1665579680', 1 , 1 , '172.69.34.41', 'firefox')

Save

การตั้งค่าผู้ใช้งานคุกกี้

เว็บไซต์ที่ท่านเข้าชมอาจมีการจัดเก็บข้อมูลหรือใช้ข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้หรือเทคโนโลยีที่คล้ายกัน เพื่อช่วยจดจำข้อมูลเกี่ยวกับเบราว์เซอร์และการตั้งค่าของท่านอีกทั้งยังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้บริการ ซึ่งจะช่วยให้ สนพ. สามารถส่งมอบบริการและการประชาสัมพันธ์ได้ตรงตามสิ่งที่ท่านสนใจ แต่ละเว็บไซต์อาจมีการใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อรวมกัน โดยท่านสามารถดูได้จากรายละเอียดของคุกกี้ที่มีการใช้งานและสามารถที่จะปฏิเสธการใช้งานได้ อย่างไรก็ตามคุณควรทราบว่าการปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการ

อนุญาตทั้งหมด

ปฏิเสธทั้งหมด

คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สนพ. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สนพ. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

อนุญาต

ปฏิเสธ

คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สนพ. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

อนุญาต

ปฏิเสธ

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สนพ. เห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สนพ. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สนพ. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สนพ. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

อนุญาต

ปฏิเสธ

คุกกี้ที่จำเป็นต่อการใช้งาน (Strictly Necessary Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สนพ. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สนพ. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

อนุญาต

ปฏิเสธ

บทความนี้ขอย้อนอดีตถึงวิกฤตน้ำมันในช่วงเกือบ 50 ปีที่ผ่านมา และมาตรการฝ่าวิกฤตที่ประเทศกำลังพัฒนานำมาใช้ เพื่อถอดบทเรียนและเป็นโอกาสในการจัดการวิกฤตน้ำมันที่เกิดจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนครั้งนี้ และเพื่อเร่งให้ไทยเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียวให้ได้เร็วขึ้น

น้ำมัน สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลง

ย้อนรอยวิกฤตราคาน้ำมันในอดีต แต่วิกฤตปี 2022 ซับซ้อนกว่า

จากข้อมูลในอดีต ตั้งแต่ปี 1970 วิกฤตราคาน้ำมันเกิดขึ้นบ่อยครั้ง งานศึกษาในอดีตสรุปว่า[1](รูป F1) น้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ระดับโลก การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันมาจากหลายปัจจัยหลัก คือ (1) ปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ จากสงคราม การปฏิวัติ และปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศของคู่ค้า (2) ปัจจัยด้านอุปสงค์ จากเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลาที่ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่มีการเติบโตรวดเร็ว หรือช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีภาวะถดถอย และ (3) ปัจจัยด้านอุปทาน จากการขาดการลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน จากรูป F1 ราคาน้ำมันจะดีดตัวสูงในหลายวิกฤตความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามอิหร่านอิรัก สงครามอ่าวเปอร์เซีย สงครามซีเรีย และอาหรับสปิงในอียิปต์และลิเบีย เป็นต้น

หลังสงครามรัสเซียยูเครน ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น (จากระดับ 60-70 USD ต่อบาร์เรล) ณ 21 เม.ย. 2022 ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสอยู่ที่ 103.8 USD ต่อบาร์เรล และเบรนท์อยู่ที่ 108.3 USD ต่อบาร์เรล เป็นผลจากที่สหภาพยุโรป (EU) ตัดสินใจที่จะหาอุปทานด้านพลังงานจากแหล่งอื่นนอกจากรัสเซีย และพยายามโน้มน้าวเยอรมันและประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปให้ร่วมคว่ำบาตรรัสเซีย[2] และขณะที่ US EIA[3]หน่วยงานด้านพลังงานของสหรัฐ ประมาณการว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะอยู่ที่ 106 USD ต่อบาร์เรลในช่วงซัมเมอร์นี้ (เม.ย.- ก.ย. 2022) (สูงกว่าช่วงฤดูร้อนที่แล้ว 35 USD ต่อบาร์เรล) สะท้อนถึงราคาน้ำมันน่าจะยังอยู่ระดับสูงไปอีกระยะหนึ่ง

น้ำมัน สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลง

นักวิเคราะห์เห็นว่า วิกฤตน้ำมันปี 2022 ซับซ้อนกว่าวิกฤตในอดีต เนื่องจากครั้งนี้มี 3 ปัจจัยเกิดขึ้นพร้อมกัน คือ (1) อุปสงค์น้ำมันเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเกินคาดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศต่างๆ ได้ยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์จากการระบาดใหญ่โควิด-19 (2) โอเปคและรัสเซียร่วมมือกันแบบหลวม ๆ ไม่เพิ่มการผลิตในระดับที่สร้างสมดุล (Commensurate level) ในตลาดน้ำมัน และ (3) ประเทศต่างๆ ได้ดึงสต็อกน้ำมันและเชื้อเพลิงมาใช้เพื่อลดช่องว่างอุปทาน ส่งผลให้ระดับน้ำมันสำรองลดลงมาก 

ผู้เขียนประเมินว่า ราคาน้ำมันในระยะข้างหน้าอันใกล้ ยังมีความไม่แน่นอนสูง และน่าจะยังไม่ลดต่ำกว่าระดับในปัจจุบันมากนัก หากปัญหาสงครามความขัดแย้งรัสเซียยูเครนและปัจจัยร่วมข้างต้นยังคงอยู่

มาตรการฝ่าวิกฤตราคาน้ำมัน: บทเรียนจากอดีต 

งานศึกษาของ World Bank (2006)[4] ที่สำรวจมาตรการฝ่าวิกฤตราคาน้ำมันในช่วงปี 2004-2006 ของประเทศกำลังพัฒนา 38 ประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม (1) กลุ่มที่ไม่ได้ผลิตน้ำมัน (16 ประเทศ) (2) กลุ่มผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิ (13 ประเทศ) และ (3) กลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิ (9 ประเทศ) ในภาพรวมประเทศกำลังพัฒนาใช้มาตรการบริหารจัดการวิกฤตน้ำมันที่หลากหลาย ใน 3 กลุ่มมาตรการ คือ มาตรการด้านราคา มาตรการด้านปริมาณการใช้ และมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก

น้ำมัน สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลง

จากผลสำรวจมีข้อค้นพบสำคัญ 4 ประเด็นคือ 

(1) มาตรการด้านราคาได้ถูกนำมาใช้ใน 23 ประเทศจาก 38 ประเทศ (61%) มีการลดภาษีเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้บริโภค น่าสังเกตว่า กระจุกอยู่ในกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิมากกว่ากลุ่ม ผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิ และ 14 ประเทศ (37%) ยังใช้มาตรการตรึงราคาเชื้อเพลิงและมีเพียง 9 ประเทศ (24%) ที่ใช้กลไกกองทุนรักษาเสถียรภาพราคาพลังงาน 

(2) มาตรการอุดหนุนด้านราคาโดยใช้เงินงบประมาณ จำนวน 20 ประเทศ (53%) ใช้มาตรการนี้ 

(3) มาตรการใช้ราคาต่ำแก่ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม 17 ประเทศ (45%) ให้แก่ผู้บริโภคที่เป็นเกษตรกร ชาวประมง และผู้ประกอบการขนส่งมวลชนฯ เป็นต้น และ 

(4) มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก มี 28 ประเทศ (75%) และในจำนวนใกล้เคียงกัน 26 ประเทศ (68%) ใช้มาตรการปันส่วนน้ำมันและเชื้อเพลิง เนื่องจากประสบปัญหาการขาดแคลนผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและไฟฟ้า

งานศึกษาดังกล่าวยังพบว่า ในระยะกลางถึงระยะยาวรัฐบาลควรหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการอุดหนุนด้านราคาโดยใช้เงินงบประมาณ และควรมุ่งไปช่วยเหลือกลุ่มผู้บริโภคครัวเรือนยากจน แต่รัฐต้องพัฒนากลไกการโอนเงินช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพตรงกลุ่มเป้าหมายเพื่อป้องกันการรั่วไหล

นโยบายราคาพลังงานในวันนี้ ขีดเส้นสู่อนาคต Green Economy

วิกฤตพลังงานจากปัญหาความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นในอดีต จะกระตุ้นให้หลายประเทศ หาทางรอดจากปัญหาวังวนนี้ โดยเน้นนโยบายระยะยาวที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการใช้พลังงานทางเลือกที่มุ่งสู่ “เศรษฐกิจสีเขียว” ทั้งยังช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีคาร์บอนต่ำตามข้อตกลงปารีส บทเรียนเมื่อปี 1973 ทำให้ประเทศยุโรปตะวันตกใช้เวลาประมาณ 15 ปี ในการลดการใช้พลังงานน้ำมันลงครึ่งหนึ่ง และปัจจุบันต่ำกว่า 70%-75% ของระดับในปี 1973 (Energy Intelligence, 2022) [5]

ในกรณีของไทย[6]ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ไทยใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเกือบ 3% ต่อปี ในสาขาขนส่งและอุตสาหกรรมใช้สัดส่วนสูงสุดคือ 39% และ 36% ตามลำดับ และยังพึ่งพาผลิตภัณฑ์น้ำมันปิโตรเลียมมากถึงครึ่งหนึ่งของการใช้พลังงานทั้งหมด มูลค่าการใช้พลังงานสูงถึง 13% ของ GDP และจากการสำรวจข้างต้นมาตรการประหยัดพลังงานยังได้รับความนิยมไม่มากนัก (32%) สะท้อนถึงความท้าทายในการบริหารจัดการพลังงานของไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ท้ายสุด สิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ทันทีคือ การตระหนักรู้ ร่วมมือและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังใน “การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม” สอดคล้องกับ “แนวทางการลดการใช้น้ำมัน 10 วิธี เพื่อลดความต้องการใช้น้ำมันในช่วงวิกฤตน้ำมันล่าสุดนี้” ที่เสนอโดยสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA: International Energy Agency)[7]

ผู้เขียน :
ดร.เสาวณี จันทะพงษ์
ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค

คอลัมน์ "แจงสี่เบี้ย" นสพ. กรุงเทพธุรกิจ
ฉบับที่ 9/2565 วันที่ 26 เม.ย. 2565

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>> Download PDF

อ้างอิง:

[1]  Scott L. Montgomery (2022), Oil Price Shocks Have a Long History, but Today’s Situation May Be the Most Complex Ever, The Conversation, Mar 11
[2]  บมจ. ไทยออยล์, รายงานวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน วันที่ 21 เม.ย. 2565
[3]  US Energy Information Administration (EIA) (2022), Short Term Energy Outlook (STEO): 2022 Summer Fuels Outlook, 12 Apr
[4]  World Bank Energy and Water Department (EWD) (2006), How are Developing Countries Coping with Higher Oil Prices?, ESMAP Knowledge Exchange Series No. 6, July
[5] Philippe Roos (2022), Echoes of History: Lessons From 1973, Energy Intelligence Group, Strasbourg, 22 Mar 
[6] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและเครือข่ายความร่วมมือ (2021), สมุดปกขาว อนาคตระบบพลังงานไทยกับกลยุทธ์การสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม, เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), 30 เม.ย.
[7] EIA (International Energy Agency) (2022), A 10-Point Plan to Cut Oil Use, 18 Mar