ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย pdf

ความผิดเกี่ยวกับ
ชีวิตและร่างกาย

นางสาวยุภาวัน เจริญศักดิ์

รหัสนิสิต 631087027 กลุ่ม S201 คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

เสนอ อาจารย์วีณา สุวรรณโณ , อาจารย์วิรัตน์ นาทิพเวทย์

สารบัญ

ความรับผิดในทางอาญา

บทนำ .................................................................... ก-ข
กฎหมายอาญา บททั่วไป .............................................. 1

การรับผิดในทางอาญา ..............................................
องค์ประกอบภายนอก ..........................................
องค์ประกอบภายใน ............................................
ประเภทของเจตนา ........................................ 2-5

หมวด 1 : ความผิดต่อชีวิต ............................................ 6
สาระสำคัญ หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

มาตรา 288 ....................................................... 7-9
มาตรา 289 ................................................... 10-12
มาตรา 290 ......................................................... 13
มาตรา 291 ......................................................... 14
มาตรา 292 .................................................... 15-16
มาตรา 293 ......................................................... 17
มาตรา 294 .................................................... 18-19

หมวด 2 : ความผิดต่อร่างกาย ..................................... 20
สาระสำคัญ หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

มาตรา 295 .................................................... 21-22
มาตรา 296 .................................................... 23-24
มาตรา 297 ......................................................... 25
มาตรา 298 ......................................................... 26
มาตรา 299 ......................................................... 27
มาตรา 300 ......................................................... 28

สารบัญ

หมวด 3 : ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ............................. 29
สาระสำคัญ หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

มาตรา 301 .................................................... 30-31
มาตรา 302 .................................................... 32-33
มาตรา 303 .................................................... 34-35
มาตรา 304 ......................................................... 36
มาตรา 305 .................................................... 37-38

หมวด 4 : ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา 39
สาระสำคัญ หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

มาตรา 306 .................................................... 40-41
มาตรา 307 ......................................................... 42
มาตรา 308 ......................................................... 43

บทสรุปความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ................. 44-45
แผนผังความรับผิดในทางอาญา ............................. 46

บรรณานุกรม ............................................................ 47

บทนำ

ประมวลกฎหมายอาญา

ประมวลกฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อเป็นกฎ
เกณฑ์ในการควบคุมให้ประชาชนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่าง
ปกติสุข
มีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อให้การดำรงอยู่ของประชาชนเป็นไป
อย่างมีระเบียบเเบบแผนเพื่อคุ้มครอง สุจริตชน ในขณะที่
กำหนดโทษผู้ที่ละเมิดกฎเกณฑ์ทางสังคม
เป็นกฎหมายที่สืบเนื่องมาจากการปรับปรุงกฎหมายเดิม คือ
ลักษณะอาญา ร.ศ.127
ทั้งนี้ประมวลกฎหมายอาญาจัดแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ

ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป
ภาค 2 ความผิด
ภาค 3 ลหุโทษ

กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน มีลักษณะการใช้บังคับดังนี้

ต้องมีบทบัญญัติโดยชัดเเจ้งกฎหมายอาญาจะต้องมี
บทบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยบัญญัติความผิดและ
โทษไว้ในขณะกระทำ และบทบัญญัตินั้นต้องชัดเจน
ปราศจากการคลุมเครือมิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้ เพราะการ
ลงโทษเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพส่วน
บุคคลโดยตรง

ต้องตีความโดยเคร่งครัดบางกรณีการตีความตามตัวอักษร
เเต่เพียงอย่างเดียวไม่อาจทำความเข้าใจความหมายที่เเท้
จริงของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องคำนึง
ถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายด้วย นอกจากนี้การตีความตาม
ตัวอักษรอย่างเคร่งครัดดังกล่าว มีความหมายเฉพาะการ
เคร่งครัดในด้านที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำเท่านั้น มิใช่ในทางที่
จะเป็นโทษแก่ผู้กระทำ

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

กฎหมายอาญา บททั่วไป " ความรับผิดในทางอาญา "

ในการรับผิดทางอาญา ต้องมีครบทั้ง 2 องค์ประกอบ คือ
1. องค์ประกอบภายนอก
2. องค์ประกอบภายใน

ข้อสังเกต มีเพียงบางความผิดเท่านั้น ที่ต้องรับผิดแม้ไม่ครบ
องค์ประกอบ กล่าวคือ มีแต่องค์ประกอบภายนอกเท่านั้น ก็ถือ
เป็นความผิด

1.องค์ประกอบภายนอก คือ องค์ประกอบภายนอกของ
ความผิดแต่ละฐาน เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย (มาตรา 288)
จะประกอบด้วย ผู้กระทำ การกระทำและวัตถุแห่งการกระทำ
คือ 1. ผู้ใด

2. ฆ่า
3. ผู้อื่น

2. องค์ประกอบภายใน คือ องค์ประกอบที่ไม่สามารถมองเห็น
ได้จากภายนอก เพราะเป็นส่วนที่อยู๋ในจิตใจของผู้กระทำ ซึ่ง
เราจะพิจารณาส่วนที่อยู่ในจิตใจนี้ได้จาการกระทำโดยหลักการ
ที่ว่า " กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา " โดยที่องค์ประกอบภายในนั้น
มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ เจตนาและประมาท

- 1
-

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

กฎหมายอาญา บททั่วไป " ความรับผิดในทางอาญา " (ต่อ)

ประเภทของเจตนา
1. เจตนาตามความเป็นจริง (ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล )
2. เจตนาโดยผลของกฎหมาย

1. เจตนาตามความเป็นจริง ตามมาตรา59 วรรค 2 และวรรค 3
วรรค 2 “กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกใน

การที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือ
ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

วรรค 3 “ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์
ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อม
เล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้”

จาก ม.59 วรรค 2 และ 3 การกระทำโดยเจตนา หมายถึง
กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำ
ประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ซึ่งความ
หมายของเจตนานั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วน

-2-

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

กฎหมายอาญา บททั่วไป " ความรับผิดในทางอาญา " (ต่อ)

1.ส่วนที่รู้สำนึกในการกระทำ และต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็น
องค์ประกอบความผิด

การกระทำโดยเจตนา ผู้กระทำต้องรู้สำนึกในการกระ
ทำเสมอ เพราะถ้าไม่รู้สำนึกก็ย่อมไม่มีการกระทำ

2. ส่วนความต้องการ คือ ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นได้
ว่าผลอันนั้นอาจเกิดขึ้นได้

ประสงค์ต่อผล หมายถึง มุ่งหมายจะให้เกิดผลขึ้น หาก
ผลเกิดขึ้นตามที่มุ่งหมายก็เป็นความผิดสำเร็จ หากผลไม่เกิด
ตามที่มุ่งหมาย ก็เป็นความผิดเพียงฐานพยายามตามมาตรา 80
หรือมาตรา 81 แล้วแต่กรณี

ข้อสังเกตเกี่ยวกับประสงค์ต่อผล
1. ความประสงค์ต่อผลกับความคาดหมายเป็นคนละกรณีกัน

ถ้าผู้กระทำประสงค์ต่อผล แม้คาดหมายว่าจะไม่เกิดผลก็ถือว่า
ประสงค์ต่อผลแล้ว

2. การกระทำอันเดียวอาจก่อให้เกิดผลหลายประการ ซึ่งผล
บางประการอาจเป็นผลที่ผู้กระทำประสงค์ ผลบางประการไม่
ได้ประสงค์
3. หากผู้กระทำประสงค์ให้ผลเกิดขึ้น และผลก็เกิดตามความ
ประสงค์ต้องถือว่าเป็นเจตนาประสงค์ต่อผล แม้จะเกิดจากวิธีที่
ผิดแปลกไปตามความตั้งใจของประกระทำก็ตาม

-3-

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

กฎหมายอาญา บททั่วไป " ความรับผิดในทางอาญา " (ต่อ)

หากพิจารณาแล้วการกระทำนั้นผู้กระทำไม่ได้
ประสงค์ต่อผล แต่อาจเป็นการกระทำโดยเจตนาประเภทเล็ง
เห็นผลก็ได้

ความหมายของเจตนาเล็งเห็นผล “เล็งเห็นผล”
หมายความว่า เล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
เท่าที่จิตใจของบุคคลในฐะนะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้

ข้อสังเกตเกี่ยวกับเจตนาประสงค์ต่อผลกับเล็งเห็นผล
1. การกระทำอันหนึ่ง หากมีผลเกิดขึ้นอันเดียว ผลนั้นจะต้อง

เป็ผลของการกระทำโดยเจตนาประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผล
อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

2. แต่หากมีผลเกิดขึ้นหลายอัน ผลหนึ่งอาจเป็นผลของการ
กระทำโดยประสงค์ต่อผล ส่วนอีกผลหนึ่งอาจะเป็นผลของ
การกระทำโดยเจตนาเล็งเห็นผลก็ได้ เช่น แดงชกดำไปที่ใบหน้า
ของดำครั้งหนึ่ง ผลของการชกปรากฎว่าดำใบหน้าแตกและ
แว่นตาดำที่สวมอยู่ก็แตกด้วย

-4-

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

กฎหมายอาญา บททั่วไป " ความรับผิดในทางอาญา " (ต่อ)

เจตนาพิเศษ หรือเรียกอีกอย่างว่า มูลเหตุชักจูงใจ เป็นองค์
ประกอบภายในของความผิดอาญาบางฐานความผิด ความผิด
อาญาที่ต้องมีเจตนาพิเศษ ส่วนใหญ่กฎหมายจะบัญญัติไว้ เช่น
โดยทุจริต เพื่อสนองความใคร เพื่อเรียกค่าไถ่ เป็นต้น

ข้อสังเกตเกี่ยวกับเจตนาพิเศษ
1. การจะสังเกตว่าความผิดฐานใดมีเจตนาพิเศษหรือไม่ ให้

สังเกตคำว่า “เพื่อ...” หรือใช้คำว่า “โดยทุจริต”
2. เจตนาพิเศษเป็นองค์ประกอบภายในเพิ่มเติมจากเจตนา

ธรรมดา
3. เจตนาพิเศษ แตกต่างจากเจตนาธรรมดา เพราะเจตนา

ธรรมดามีทั้งประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล ส่วนเจตนาธรรมดา
นั้น กฎหมายใช้คำว่า “เพื่อ...” หรือ “โดย...” ผู้กระทำจะต้องมี
เจตนามุ่งโดยตรงเพื่อการนั้นโดยเฉพาะ

2. เจตนาโดยผลของกฎหมาย
เจตนาโดยผลของกฎหมายหรือเจตนาโอนไม่ใช่เจตนาตาม

ความเป็นจริง แต่เป็นเจตนาโดยกฎหมายกำหนด ตามมาตรา
60 ผู้ใดเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำ
เกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำโดย
เจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น แต่ในกรณีที่
กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคล หรือ
เพราะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้ายมิ
ให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น

-5-

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

หมวด 1 : ความผิดต่อชีวิต

ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายเป็นการกระทำความผิด
ต่อชีวิต หรือร่างกายของผู้อื่น อาจเกิดขึ้นได้โดยเจตนา
หรือประมาทก็ได้ และความผิดในลักษณะนี้หลายฐาน
ความผิด ความผิดบางฐานมีความใกล้เคียงกัน ซึ่งจะต้อง
เข้าใจหลักเกณฑ์ความผิดเเต่ละฐานว่าเเตกต่างกันอย่างไร
ซึ่งความผิดต่อชีวิตมีฐานความผิดดังต่อไปนี้

ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ม.288
ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยมีเหตุฉกรรจ์ ม.289
ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ม.290
ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึง
เเก่ความตาย ม.291
ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย ม.292
ความผิดฐานช่วยเหลือยุยงให้ฆ่าตัวตาย ม.293
ความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้มีผลให้คนตาย ม.294

-6-

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญของมาตรา 288

ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำ

คุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งเเต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. ผู้ใด เจตนา
2. ฆ่า
3. ผู้อื่น

ผู้ใด หมายถึง บุคคลทุกคนที่มีความกระทำความผิด

ฆ่า หมายความว่า การทำให้ตายโดยไม่จำกัดวิธีการ

เป็นต้น
ฟัน
ยิง

ฆ่า ยาพิษ
สัตว์ร้าย

ขับรถชน

-7-

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 288 (ต่อ)

การทำให้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้าย การกระทำแก่กาย
โดยใช้เเรงกายภาพ เช่น ชก ต่อย ทุบ ตี เป็นต้น ด้วยวิธีอื่น
โดยทำนองเดียวกับการใช้เเรงกายภาพ เช่น หลอกให้คน
ตาบอดเดินตกบันไดคอหักตาย
* นอกจากนี้ยังรวมถึงการทำให้ตายโดยอาศัยเหตุทางจิต
ผู้อื่น หมายความถึงเฉพาะบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดา
เช่นว่านี้ จะต้องเป็นบุคคลอื่น ไม่ใช้ตัวกระทำ คือผู้ถูกฆ่า
ต้องเป็นบุคคลอื่น ดังนั้น การฆ่าตนเองหรือพยายามฆ่า
ตนเองไม่เป็นความผิดฐานนี้
บุคคลที่เป็นวัตถุเเห่งการกระทำต้องมีสภาพบุคคลตาม
ป.พ.พ. มาตรา 15 วรรคเเรกเสียก่อน
เจตนาตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง

เจตนาประสงค์ต่อผล เป็นกรณีที่ผู้กระทำปรารถนาจะ
ฆ่าผู้อื่นเเละได้ทำตามปรารถนานั้น
เจตนาเล็งเห็นผล เป็นกรณีที่ผู้กระทำมิได้ปรารถนาที่
จะฆ่าผู้หนึ่งผู้ใดเเต่คาดหมายได้ว่าความตายจะเกิดขึ้น
จากการกระทำของตน

-8-

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 288 (ต่อ)

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4402/2530
จำเลยขว้างลูกระเบิดใส่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า แต่ลูก

ระเบิดไม่เกิดการระเบิด เพราะยังมิได้ถอด สลักนิรภัย เมื่อ
ปรากฏว่าลูกระเบิดดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ใช้ทำการระเบิดได้
และหากระเบิดขึ้นจะมีอำนาจทำลายสังหาร ชีวิต มนุษย์ ดังนี้
จำเลยจึงมีความผิดตามป.อ. มาตรา 288,80 โจทก์ฟ้องขอให้
ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288,80 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า
จำเลยมีความผิดตามมาตรา 288,81 จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา
295,80 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาของศาล
ชั้นต้น ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา
288,80 ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่
กำหนดโทษคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

ภาพประกอบตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา

- 9
-

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 289

ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยมีเหตุฉกรรจ์
มาตรา 289 ผู้ใด
(1) ฆ่าบุพการี
(2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือ

เพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้า

พนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะ
ช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว

(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหด
ร้าย
(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความ
สะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
(7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์
อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิด
อื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตน
ได้กระทำไว้
ต้องระวางโทษประหารชีวิต

289 (1) บุพการี หมายถึง ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป
คือ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด

- 10 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 289 (ต่อ)

289 (2) ฆ่าในขณะที่เจ้าพนักงานกำลังกระทำการตาม
หน้าที่ จะฆ่าเพราะสาเหตุใดไม่สำคัญ และไม่จำเป็นต้อง
ฆ่าเพราะเหตุที่กำลังกระทำตามหน้าที่

มาตรา 1 (16) " เจ้าพนักงาน " หมายความว่า บุคคล
ซึ่งกฎหมายบัญญติว่าเป็นเจ้าพนักงานหรือได้รับเเต่ง
ตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่ว่าเป็น
ประจำหรือครั้งคราว และไม่ว่าจะได้รับค่าตอบเเทน
หรือไม่
289 (3) ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ไม่ถือเป็นเจ้าพนักงาน
289 (4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มีโอกาสไตร่ตรองทบ
ทวนก่อนเเล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด
289 (5) ฆ่าโดยทรมาน กระทำให้ผู้ถูกฆ่าไม่ตายทันที (ได้
รับความทุกข์ทรมานจนตายในที่สุด) หรือ

ฆ่าโดยทารุณโหดร้าย ผู้ตายอาจตายในทันทีไม่ได้
รับความทุกข์ทรมานก็ได้
289 (6) การฆ่าเพื่อตระเตรียมการ ในการที่จะกระทำ
ความผิดอย่างอื่น เมื่อผู้กระทำได้กระทำโดยมีมูลเหตุจูงใจ
ดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้รับโทษหนักขึ้นไม่ว่าได้มีการ
กระทำความผิดอย่างอื่น หรือการกระทำนั้นได้กระทำ
สำเร็จหรือไม่ก็ตาม
289 (7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์
หรือปกปิดความผิดของตน ในกรณีนี้ผู้กระทำจะต้องมีมูล
เหตุจูงใจอันเป็นเจตนาพิเศษ หมายความว่า ตนยังไม่ได้มา
จึงฆ่าเพื่อจะเอาเป็นของตน

- 11 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 289 (ต่อ)

ความเเตกต่างความผิดฐานฆ่าคนตายโดยมีเหตุฉกรรจ์
มาตรา 289 กับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา มาตรา 288
ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยมีเหตุฉกรรจ์เป็นเหตุฉกรรจ์ของความ
ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา เพราะการกระทำความผิดตาม
มาตรา 289 ต้องกระทำครบองค์ประกอบความผิดฐานฆ่าคนตาย
โดยเจตนามาก่อน ซึ่งความผิดตามมาตรา 289 กฎหมายมอง
ว่าการฆ่าคนตายดดยมีเหตุฉกรรจ์ผู้กระทำความผิดสมควร
ลงโทษให้หนักมากขึ้นโดยกำหนดโทษประหารชีวิตสถานเดียว
ไม่มีโทษจำคุก

- 12 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 290

ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
มาตรา 290 ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า เเต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็น

เหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งเเต่สามปีถึง
สิบห้าปี

ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่
บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งเเต่
สามปีถึงยี่สิบปี

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. ผู้ใด มิได้มีเจตนาฆ่า

2. ทำร้าย

3. ผู้อื่น

การทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงเเก่ความตาย แตกต่างกับ
การฆ่าผู้อื่น เพราะผู้กระทำผิดเจตนาเพียงทำร้ายเท่านั้น
แต่ผลของการกระทำเกิดขึ้นเกินเลยไปจากเจตนาของผู้
กระทำ แต่กฎหมายได้บบัญญัติลงโทษเบากว่าการฆ่าผู้อื่น
โดยเจตนา จึงเรียกว่า " การฆ่าคนโดยไม่เจตนา "

- 13 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 291

ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท เเละการกระทำนั้นเป็น

เหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และ
ปรับไม่เกินสองเเสนบาท

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. ผู้ใด ประมาท

2. กระทำ

3. ผู้อื่น

กฎหมายมิได้จำกัดลักษณะของการกระทำโดยประมาณไว้
จึงอาจกระทำด้วยประการใดๆก็ได้ เช่น ขับรถ เดิน วิ่ง ยิง
ปืน เป็นต้น ซึงเป็นการกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำ
การงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นก็ถือว่า
เป็นการกระทำด้วย
แม้ความประมาทจะเกิดจากบุคคลหลายคนเป็นเหตุให้คน
ตาย ผู้กระทำทุกคนก็ต้องรับผิดฐานทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความ
ตายเช่นเดียวกัน

- 14 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 292

ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย
มาตรา 292 ผู้ใดกระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ หรือด้วย

ปัจจัยคล้ายคลึงกันแก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตน ในการดำรงชีพหรือใน
การอื่นใด เพื่อให้บุคคลนั้นฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิด
ขึ้นหรือได้มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
เจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. กระทำด้วยการปฏิบัติ เจตนาพิเศษ
อันทารุณ หรือด้วยปัจจัย เพื่อให้บุคคลฆ่าตนเอง
คล้ายคลึงกัน

2. แก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตน
ในการดำรงชีพหรือในการ
อื่นใด

3. เป็นเหตุให้บุคคลนั้นฆ่า
ตัวตายหรือพยายามฆ่า
ตนเอง

- 15 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 292 (ต่อ)

การกระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ ก็คือ กระทำด้วยวิะีการ
อันหยาบช้า ดุร้าย โหดร้าย ซึ่งถือตามความรู้สึกนึกคิดของ
คนทั่วไป มิใช่เฉพาะคนใดคนหนึ่ง
กระทำด้วยวิธีการคล้ายคลึงกัน ซึงอาจทำด้วยวิธีการแสดง
กิริยาอาการ หรือด้วยวาจาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เจตนาในการกระทำด้วยการปฏิบัติ เพื่อให้บุคคลนั้นฆ่าตัว
ตาย ต้องกระทำโดยมีมูลเหตุจูงใจเพื่อให้ผู้ถูกกระทำฆ่า
ตนเองด้วย ผู้กระทำจึงมีความผิดตามมาตรานี้
ตัวอย่างเช่น
แม่เลี้ยงเป็นผู้อนุบาล ดุด่าเฆี่ยนตี นส ก 15 ปี ให้ฆ่าตัวตาย
นส ก ผูกคอตาย ขณะนั้น นาย ค ยิงให้ตกใจ เพื่อให้พลักตกและ
เชือกรัดคอ เมื่อตายแล้ว เห็นสร้อยจึงเอาไป / แม่เลี้ยงผิด ม. 292
+ เฆี่ยนตี .ม 391 + 90 / นาย ค ผิด ม. 288+ เอาทรัพย์ไป ม.
334

- 16 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 293

ความผิดฐานช่วยเหลือยุยงให้ฆ่าตัวตาย
มาตรา 293 ผู้ใดช่วยหรือยุยงเด็กอายุยังไม่เกินสิบหกปี

หรือผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าใจว่าการกระทำของตนมีสภาพหรือ
สาระสำคัญอย่างไร หรือไม่สามารถบังคับการกระทำของตนได้
ให้ฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้มีการพยายาม
ฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ง
แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. ผู้ใด

2. ช่วยหรือยุยงให้ฆ่า เจตนา
ตนเอง

3. เด็กอายุยังไม่เกินสิบหก
ปีหรือผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าใจ
ว่าการของตนมีสภาพหรือ
สาระสำคัญอย่างไร หรือไม่
สามารถบังคับการกระทำ
ของตนได้

- 17 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 294

ความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้มีผลให้คนตาย
มาตรา 294 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคล

ตั้งแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้า
ร่วมในการนั้นหรือไม่ ถึงแก่ความตายโดยการกระทำในการ
ชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่
เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไป
เพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วย
กฎหมาย ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

เข้าร่วม หมายถึง เข้าไปมีส่วนร่วมในความสับสนวุ่นวายไม่
เป็นระเบียบ ที่มีการใช้กำลังทำร้ายกัน
บุคคลตั้งเเต่ 3 4 5 เรื่อยไป แต่ต้องไปต่ำกว่า 3
หากมีผู้ที่อยู่ในวงชุลมุนต่สู้ เเต่ไม่ได้ใช้กำลังทำร้ายผู้นั้น
ย่อมไม่มีความผิดม.294 และไม่นับเป็นบุคคลที่เข้าร่วม
เป็นความผิดที่ต้องการผล คือ ความตายของบุคคล เป็นผล
โดยตรงมาจากการชุลมุนต่อสู้
หากไม่มีความตายเกิดขึ้น ก็ไม่มีความผิดตามม.294 แต่
อาจมีความผิดตามม.299 ถ้าหากมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้
รับอันตรายสาหัสจากการชุลมุนต่อสู้

- 18 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 294 (ต่อ)

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. ผู้ใด

2. เข้าร่วมในการชุลมุน
ต่อสู้

3. ระหว่างบุคคลตั้งเเต่ เจตนาธรรมดา
สามคนขึ้นไป

4. บุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่
ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการ
ชุลมุนต่อสู้หรือไม่ ถึงเเก่
ความตายโดยการกระทำใน
การชุลมุนต่อสู้

- 19 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

หมวด 2 : ความผิดต่อร่างกาย

ความผิดต่อร่างกาย มีบัญญัติในประมลกฎหมายอาญา
มาตรา 295 ถึง 300 ความผิดในหมวดนี้กฎหมายมุ่งคุ้มครอง
ความปลอดภัยร่างกายมนุษย์ไม่ให้ถูกใครทำร้าย ไม่ว่าการ
ทำร้ายนั้นจะเกิดขึ้นโดยเจตนาหรือเกิดขึ้นจากการกระทำโดย
ประมาทก้ตาม

ความผิดต่อร่างกายกับความผิดต่อชีวิตมีความใกล้เคียงกัน
จะต้องแยกระหว่างเจตนาทำร้ายกับเจตนาฆ่าให้ได้ว่าเเตกต่าง
กันอย่างไร ซึ่งความผิดในหมวดนี้มีหลายฐานความผิดด้วยกัน
ดังนี้

ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ม. 295
ความผิดฐาน ทำร้ายร่างกายโดยเหตุฉกรรจ์ ม. 296
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส ม. 297
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัสโดยเหตุฉกรรจ์ ม.
298
ความผิดฐานชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตราย
สาหัส ม. 299
ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับ
อันตรายสาหัส ม. 300

- 20 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 295

ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่

กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้าย
ร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่
หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. ผู้ใด

2. ทำร้าย
เจตนาธรรมดา
3. ผู้อื่น

4. จนเป็นเหตุให้เกิด
อันตรายแก่กายหรือ
จิตใจของผู้นั้น (ผล
ของการกระทำ)

- 21 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 295 (ต่อ)

ทำร้าย หมายถึง การกระทำต่อร่างกายหรือจิตใจอันมีผล
ให้บาดเจ็บ เสียหาย การทำร้ายนั้นไม่จำกัดวิธี จะทำด้วย
วิธีใดก็ได้ เเต่ต้องเป็นการทำร้ายนั้นต้องเหตุให้เกิด
อันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2530
จำเลยเพียงแต่ใช้มือตบตี และใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกขว้างผู้เสีย

หายโดยไม่ปรากฏว่าไม้ไผ่ดังกล่าวมีขนาดใหญ่เล็กเพียงใด
บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับก็เป็นเพียงรอยถลอกไม่มีโลหิตไหล
อีกแห่งหนึ่งเพียงแต่บวมเมื่อกดตรงที่บวมจึงเจ็บและจะรักษา
หายได้ในเวลาประมาณ 5 วัน ซึ่งเป็นเพียงการคาดคะเนของ
แพทย์ความจริงอาจจะหายเป็นปกติภายในเวลาไม่ถึงกำหนดที่
กะประมาณไว้ก็ได้ จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น
โดยไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 391 เท่านั้น
(จากคำพิพากษานี้ศาลเห็นว่าจากพติการณ์แห่งการทำร้ายคือ
การใช้มือตบตีและใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกขว้างผู้เสียหาย รวมถึงจาก
บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับนั้นยังไม่ถือว่าเป็นการทำร้ายจนเป็น
เหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ม. 295 จึงมความ
ผิดตาม ม. 391)

- 22 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 296

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเหตุฉกรรจ์
มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้า

ความผิดนั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. เป็นการกระทำความผิด เจตนาธรรมดา
ฐานทำร้ายร่างกาย เจตนาพิเศษ ตามที่
บัญญติไว้ในมาตรา
2. ความผิดนั้นมีลักษณะ
ประการหนึ่งประการใด ดังที่ 289
บัญญัติไว้ในมาตรา 289

- 23 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 296 (ต่อ)

ข้อสังเกต มาตรา 296 เป็นเหตุที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น
เพราะเป็นเหตุฉกรรจ์ของม. 295
การกระทำต้องเข้าองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบ
ภายในตามม. 295 และมีเหตุฉกรรจ์ตามม. 289 เพิ่มขึ้นมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2550
การที่จำเลยใช้ไม้ตีแล้วกอดปล้ำผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้า

พนักงานตำรวจและแต่งเครื่องแบบตำรวจออกตรวจท้องที่ ใน
ขณะปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในงานวัด ไม่
ว่าการทำร้ายร่างกายดังกล่าวจะมีมูลเหตุมาโดยประการใด ก็
เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยได้ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานตำรวจผู้
กระทำการตามหน้าที่ เพราะการที่ผู้เสียหายกำลังปฏิบัติหน้าที่
ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในงานวัด เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดย
ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐาน
ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ.
มาตรา 296

- 24 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 297

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส
มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจน

เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำ
คุกตั้งเเต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งเเต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสอง
แสนบาท

อันตรายสาหัสนั้น คือ
(1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
(2) เสียอวัยวะสืบพันะุ์หรือความสามารถสืบพันธุ์
(3) เสียเเขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(5) แท้งลูก
(6) จิตพิการอย่างติดตัว
(7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
(8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเทนาเกินกว่า
ยี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบ
วัน

เป็นผลฉกรรจ์ของม. 295 ต้องเป็นการกระทำความผิดฐาน
ทำร้ายร่างกายตามม. 295 เสียก่อน จึงจะสามารถเกิดผล
เป็นการกระทำผิดฐานทำร้ายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตราย
สาหัส
ผลที่เกิดขึ้นนั้นมีความร้ายเเรงดังที่ระบุไวใน (1) ถึง (8)
เจตนาธรรมดา ต้องมีเจตนาทำร้ายตามม . 295 เสียก่อน
ไม่ว่าจะเป็นเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผล

- 25 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 298

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัสโดยมีเหตุฉกรรจ์
มาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 297 ถ้าความ

ผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งเเต่สองปีถึงสิบปี และปรับ
ตั้งเเต่สี่หมื่นบาทถึงสองเเสนบาท

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัสนั้นผู้กระทำมีเจตนา
ทำร้ายร่างกายเเต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
สาหัส เเละเป็นการกระทำโดยมีเหตุฉกรรจ์ตามม.289 เช่น
ทำร้ายร่างกายบุพการีจนเป็นเหตุให้บุพการีได้รับอันตราย
สาหัส

- 26 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 299

ความผิดฐานชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัส
มาตรา 299 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคล

เเต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้า
ร่วมในการนั้นหรือไม่รับอันตรายสาหัส โดยการกระทำในการ
ชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่
เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำ
ไปเพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วย
กฎหมายผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

ความหมายเช่นเดียวกับม. 294 เเต่มาตรานี้บุคคลหนึ่ง
บุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ก็ตามได้
รับอันตรายสาหัส

- 27 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 300

ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
สาหัส

มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้น
เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มีความผิดเช่นเดียวกับ ม. 291 เเต่ผลของการกระทำนั้น
เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส สาหัสอย่างไร พิจารณา
ตาม ม. 297
ข้อสังเกต

ประการเเรก คำว่า ประมาท ต้องดู ม. 59 วรรคสี่ เเละ
ต้องปรากฏผลคือ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
เท่านั้น
ประการสอง ผู้กระทำความผิดตามมาตราต้องไม่ได้มี
เจตนาทำร้าย เเต่ประมาท
เป็นกรณีกระทำโดยประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
สาหัส หากประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย
หรือจิตใจจะเป็นกรณีความผิดตาม ม. 390

- 28 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

หมวด 3 : ความผิดฐานทำให้แท้งลูก

ความผิดเกี่ยวกับการทำให้เเท้งลูกมีบัญญัติไว้ในประมวล
กฎหมายอาญามาตรา 301 ถึงมาตรา 305 ซึ่งความผิดใน
หมวดนี้มีดังนี้

ความผิดฐานทำให้หญิงเเท้งลูก หรือยินยอมทำให้ผู้อื่น
ทำให้แท้ง ม. 301
ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นแท้งลูก ม. 302 เเละม. 303
เหตุยกเว้นโทษตาม ม. 304
เหตุยกเว้นความผิดตาม ม. 305

- 29 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 301

ความผิดฐานทำให้หญิงเเท้งลูก หรือยินยอมทำให้ผู้อื่นทำให้เเท้ง
ลูก

มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำ
ให้ตนเเท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. หญิงใด เจตนา

2. ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือ
ยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเเท้งลูก

แท้งลูกในทางกฎหมาย หมายถึง ทารกคลอดออกมาใน
ลักษณะที่ไม่มีชีวิต โดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์ ซึ่งเกิดจากเหตุ
ธรรมชาติหรือน้ำมือมนุษย์
ไม่จำกัดวิธีการทำให้แท้งลูก

- 30 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 301 (ต่อ)

องค์ประกอบความผิดในส่วนของผู้กระทำในความผิดตาม
ม.301 คือ หญิงใด ซึ่งเป็นการกำหนดคุณสมบัติของผู้
กระทำความผิดไว้ว่า ต้องเป็นหญิงเท่านั้น และหญิงคนนั้น
ต้องตั้งครรภ์ด้วย ดังนั้นหากผู้นั้นไม่ใช่ตัวหญิงที่ตั้งครรภ์
อยู่ก็ไม่อาจเป็นตัวการในความผิดฐานนี้ได้ และความผิด
ฐานนี้สามารถแบ่งการกระทำความผิดของหญิงได้ 2 กรณี
คือ หญิงกระทำต่อตนเอง หรือหญิงยินยอมให้ผู้อื่นทำแก่
หญิง (ความยินยอมต้องเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ และมี
อยู่ในขณะถูกกระทำด้วย)

- 31 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 302

ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นแท้งลูก
มาตรา 302 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่าง
อื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่
เกินหนึ่งเเสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองเเสนบาท

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. ผู้ใด

2. ทำให้แท้งลูก เจตนาธรรมดา
3. โดยหญิงนั้นยินยอม

- 32 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 302 (ต่อ)

ความผิดฐานทำให้แท้งลูกโดยหญิงยินยอม ม.302 วรรค
สองและวรรคสาม นั้นเป็นเหตุเพิ่มโทษ ถ้าการกระทำผิด
ตามวรรคหนึ่ง เป็นเหตุให้หญิงได้รับอันตรายสาหัสอย่าง
อื่น(นอกจากแท้งลูก) หรือถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องรับ
โทษหนักขึ้นตามผลที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งผลที่หนักขึ้นนั้นต้อง
เป็นผลธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้ตาม ม.63 ด้วย

- 33 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 303

ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นเเท้งลูก
มาตรา 303 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่
หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่าง
อื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งเเต่หนึ่งปีถึงสิบปี และ
ปรับตั้งเเต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งเเต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งเเต่หนึ่ง
เเสนบาทถึงสี่แสนบาท

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. ทำให้เเท้งลูก เจตนาธรรมดา
2. โดยหญิงไม่ยินยอม

- 34 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 303 (ต่อ)

วรรค 2 และวรรค 3 เป็นเหตุเพิ่มโทษ ทำให้หญิงแท้งลูก
ด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้ เช่น หลอกเอายาให้กิน กด บีบ รีดท้อง
หญิง แต่เป็นการกระทำที่หญิงไม่ยินยอม เช่น ถูกบังคับ
ขู่เข็ญ ถูกหลอกหรือล่อลวง
ข้อพิจารณา

เหตุที่ ม. 303 มีโทษหนักกว่า ม.302 เพราะเป็นการ
ทำให้หญิงแท้งลูกโดยฝ่าฝืนความยินยอมของหญิง
ควรจะได้รับโทษหนักกว่ากรณีที่หญิงยินยอมให้
กระทำ
การพยามกระทำความผิด ม.302 วรรคแรกได้รับ
ยกเว้นโทษตาม ม.304 แต่การพยายามกระทำความ
ผิด ตาม ม.303 วรรคแรก ไม่ได้รับการยกเว้นโทษ

- 35 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 304

เหตุยกเว้นโทษ
มาตรา 304 ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตาม

มาตรา 301 หรือมาตรา 302 วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
การพยายามกระทำความผิด จะเป็นพยายามโดยเหตุ
บังเอิญตาม ม.80 หรือพยายามที่ไม่บรรลุผลได้อย่างแน่แท้
ตาม ม.81 ก็ได้ ดังนั้นการพยายามทำให้แท้งลูกจะต้องปราก
ฎว่าหญิงนั้นคลอดลูกออกมาอย่างมีชีวิต
กฎหมายจึงยกเว้นโทษให้สำหรับหญิงที่พยายามกระทำ
ความผิดตาม มาตรา 301 และสำหรับผู้ใดก็ตามที่พยายาม
กระทำความผิดมาตรา 302 วรรคแรก ส่วนกรณีที่พยายาม
ทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงไม่ยินยอมตาม ม.303 นั้น
กฎหมายไม่ยกเว้นโทษให้ เพราะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืน
ความยินยอมของหญิงไม่สมควรที่ยกเว้นโทษให้

- 36 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 305

เหตุยกเว้นความผิด
มาตรา 305 ผู้ใดเพียงเเต่พยายามกระทำความผิดดังกล่าว

ในมาตรา 301 และมาตรา 302 นั้น เป็นการกระทำของนาย
แพทย์และ

(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของผู้หญิงนั้น หรือ
(2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่
บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283
หรือมาตรา 294
ผู้กระทำไม่มีความผิด

ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวใน มาตรา 301 และ มาตรา
302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์ ซึ่งหมายความว่า
เป็นแพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลป์ตามกฎหมาย ไม่รวมถึง
พยาบาลหรือผดุงครรภ์ และต้องได้รับความยินยอมจาก
หญิงด้วย หากมีเหตุให้ทำแท้งได้ แต่หญิงไม่ยินยอมก็ไม่
สามารถทำได้
แพทย์จะทำแท้งให้หญิงได้ต้องปรากฎเหตุดังต่อไปนี้ด้วย

(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น
โดยพิจารณาจากตัวหญิงเป็นหลักทั้งสุขภาพกายและ
สุขภาพจิต มีความจำเป็นต้องกระทำแท้ง แต่ไม่จำต้อง
เป็นอันตรายต่อชีวิตก็ได้ เช่น พิษแห่งครรภ์ โรคหัวใจ
ความดัน โลหิตจาง อ่อนแอเกินกว่าจะตั้งครรภ์ได้

- 37 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 305 (ต่อ)

2)หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ตาม
ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282
มาตรา 283 หรือ มาตรา 284
ม. 276 “ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา”
ม. 277 “ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี”
ม. 282 “ความผิดฐานค้าบุคคลเพื่อความไคร่โดยยินยอม”
ม. 283 “ความผิดฐานค้าบุคคลเพื่อความไคร่โดยไม่ยินยอม”
ม. 284 “ความผิดฐานพาไปเพื่อการอนาจาร”

- 38 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

หมวด 4 : ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือชรา

ซึ่งความผิดในหมวดนี้ บัญญัติไว้ดังนี้
ผู้ใดทอดทิ้งเด็กอายุไม่เกิน 9 ปี เพื่อให้เด็กพ้นไปเสีย
จากตน โดยประการที่ทำให้เด็กปราศจากผู้ดูแล ม. 306
ผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่ง
ตนเองไม่ได้ เพราะอายุหรือความป่วยเจ็บหรือกาย
พิการหรือจิตพิการ แล้วทอดทิ้ง ม. 307
ผู้ถูกทอดทิ้งตายหรือรับอันตรายสาหัส ผู้ทอดทิ้งรับ
โทษเพิ่มขึ้น ม. 308

- 39 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 306

ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก
มาตรา 306 ผู้ใดทอดทิ้งเด็กอายุยังไม่เกินเก้าปีไว้ ณ ที่ใด

เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน โดยประการที่ทำให้เด็กนั้น
ปราศจากผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่
เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หลักเกณฑ์และองค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบ องค์ประกอบ
ภายนอก ภายใน

1. ผู้ใด เจตนาธรรมดาหรือ
2. ทอดทิ้งไว้ เจตนาพิเศษ เพื่อให้เด็ก

3. เด็กอายุไม่เกิน 9 ปี นั้นพ้นไปเสียจากตน

4. โดยประการที่จะทำให้
เด็กนั้นปราศจากผู้ดูเเล

- 40 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 306 (ต่อ)

ทอดทิ้ง หมายถึง ละเลย ไม่เอาใจใส่ ทิ้วขวาง
ผู้กระทำต้องมีมูลเหตุจูงใจ คือ เพื่อให้เด็กนั้นไปเสียจากตน
โดยไม่คิดดูแลเด็กนั้นอีก
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา 1190/2502
จำเลยเป็นลูกจ้างมีหน้าที่เป็นคนครัวซักเสื้อผ้าและอื่น ๆ
ภายในบ้าน ถ้ามีเวลาว่างจึงช่วยดูแลเด็ก จำเลยได้นำเด็กอายุ
10 เดือน ซึ่งเป็นลูกของนายจ้างไปฝากผู้มีชื่อไว้โดยจำเลยอ้าง
ว่าเป็นบุตรของจำเลยเอง เช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการ
พรากเด็กไปเสียจากผู้ปกครองตาม มาตรา 317 ส่วน มาตรา
306, 307 เป็นเรื่องทอดทิ้งเด็กไว้ ไม่ใช่การพาไปหรือพรากไป

- 41 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 307

ความผิดฐานทอดทิ้งคนที่พึ่งตนเองไม่ได้
มาตรา 307 ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้อง

ดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้ เพราะอายุ ความป่วยเจ็บ กายพิการหรือ
จิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้นั้นเสียโดยประการที่น่าจะ
เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสาม
ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บุคคลที่กระทำความผิดตามมาตรานี้จะต้องเป็นผู้มีหน้าที่
ตามกฎหมายหรือสัญญาในการดูเเลบุคคลซึ่งพึ่งพาตนเอง
ไม่ได้ คือ หน้าที่ตามมาตรา ม.59
ผู้ซึ่งพึ่งตนเองไม่ได้ เนื่องจาก

อายุ
ความป่วยเจ็บ
การพิการหรือจิตพิการ
ต้องเป็นการทอดทิ้งดยไม่คิดจะกลับมาดูแลอีก
การทอดทิ้งดังกล่าว อาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตของ
ผู้ถูกทอดทิ้ง

- 42 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สาระสำคัญมาตรา 308

เหตุที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น
มาตรา 308 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 306 หรือ

มาตรา 307 เป็นเหตุให้ผู้ถูกทอดทิ้งถึงแก่ความตาย หรือรับ
อันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา
290 มาตรา 297 หรือมาตรา 298 นั้น

เป็นเหตุให้รับโทษหนักขึ้นของ ม. 306 เเละม. 307 หากผู้
กระทำนั้นถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัส
ในกรณีถึงแก่ความตาย ต้องรับโทษเช่นเดียวกับ ม. 290
กรณีได้รับอันตรายสาหัส ต้องรับโทษเช่นเดียวกับ ม .297

- 43 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สรุป ความผิดเกี่ยวกับชีวิตเเละร่างกาย

ความรับผิดในทางอาญา
เริ่มต้นด้วยการกระทำ
ประกอบด้วยเจตนา
ประกอบด้วยประมาท
หรือไม่เจตนาถ้ากฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด
ครบถ้วนกระบวนการกระทำและทั้งกฎหมายได้บัญญัติ
เป็นความผิดกับกำหนดโทษไว้ด้วยแล้งจึงจะเป็นความรับ
ผิดทางอาญา

ประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติความผิดไว้ใน ภาค 2 ตั้งเเต่
มาตรา 107 ถึง 366 ซึ่งในส่วนความผิดเกี่ยวกับชีวิตและ
ร่างกายนั้นได้บัญญัติไว้ในลักษณะที่ 10 ประกอบไปด้วย 4
หมวดตั้งเเต่มาตรา 288 ถึงมาตรา 308 ดังนี้

หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต ( มาตรา 288 ถึง 294 )
ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ม.288
ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยมีเหตุฉกรรจ์ ม.289
ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ม.290
ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึง
เเก่ความตาย ม.291
ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย ม.292
ความผิดฐานช่วยเหลือยุยงให้ฆ่าตัวตาย ม.293
ความผิดฐานเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้มีผลให้คนตาย ม.294

- 44 -

กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด
ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

สรุป ความผิดเกี่ยวกับชีวิตเเละร่างกาย

หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย ( มาตรา 295 ถึง 300 )
ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ม. 295
ความผิดฐาน ทำร้ายร่างกายโดยเหตุฉกรรจ์ ม. 296
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส ม. 297
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัสโดยเหตุฉกรรจ์ ม.
298
ความผิดฐานชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตราย
สาหัส ม. 299
ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับ
อันตรายสาหัส ม. 300

หมวด 3 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ( มาตรา 301 ถึง 305 )
ความผิดฐานทำให้หญิงเเท้งลูก หรือยินยอมทำให้ผู้อื่น
ทำให้แท้ง ม. 301
ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นแท้งลูก ม. 302 เเละม. 303
เหตุยกเว้นโทษตาม ม. 304
เหตุยกเว้นความผิดตาม ม. 305

หมวด 4 ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา
( มาตรา 306 ถึง 308 )

ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก ม. 306
ความผิดฐานทอดทิ้งคนที่พึ่งตนนไม่ได้ ม. 307
เหตุที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น ม. 308

- 45 -