อุปสรรคในการ ทำงาน กับชาวต่างชาติ

ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสทำโปรเจคที่ต้องมีการติดต่อกับพาร์ทเนอร์ชาวต่างชาติอยู่ตลอดเวลา ซึ่งตอนแรกที่ผู้เขียนรู้ว่าจะต้องทำงานกับชาวต่างชาติก็จะมีความกังวลเรื่องการสื่อสารอยู่บ้าง กลัวว่าจะคุยงานกันไม่รู้เรื่องหรืออาจจะเกิดความเข้าใจผิดกันจนทำให้ความสัมพันธ์แย่ลง แต่ยังไงก็ตามถึงจะมีอุปสรรคอยู่บ้าง โปรเจคที่ว่าก็เสร็จตามแผนและจบลงด้วยดีนะคะ (555)

ผู้เขียนเชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่รู้สึกกังวลเหมือนกับผู้เขียนเวลาต้องทำงานกับชาวต่างชาติ ซึ่งการทำงานในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการทำงานของที่บริษัท อาจจะเป็นงานโปรเจคของที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็ได้ วันนี้ผู้เขียนจึงขอมาเล่าให้ฟังถึงหลุมพรางการสื่อสารและวิธีแก้ไขที่ผู้เขียนได้ลองใช้เอง โดยสิ่งที่นำมาแชร์จะเกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษเยอะหน่อยนะคะ เพราะเป็นภาษาที่ผู้เขียนและเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารกับชาวต่างชาติ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ

1. ต้องมีความชัดเจน

เวลาที่ทำงานกับชาวต่างชาติ ภาษาอังกฤษมักจะเป็นภาษาหลักที่ใช้ในการสื่อสาร เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เป็นสากลและมีความตรงไปตรงมา หลายคนคงอาจคิดว่าการสื่อสารด้วยภาษานี้จะสามารถป้องกันการเข้าใจผิดได้ แต่ทว่าการที่เราคิดอย่างนั้นกลับทำให้เกิดช่องโหว่ในการสื่อสารได้ง่าย

พอเราคิดแต่จะพึ่งลักษณะของตัวภาษา เราก็มักจะลืมสื่อสารรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไป โดยคิดไปเองว่าเขียนหรือพูดแค่นี้ก็คงพอ แต่เราควรจำไว้ว่าด้วยความแตกต่างในความเชี่ยวชาญทางภาษาและความแตกต่างทางวัฒนธรรมก็อาจทำให้เกิดการตีความที่แตกต่างของสารหากข้อความที่ส่งไม่ชัดเจนเพียงพอ

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การแจ้งเวลาส่งงาน หากเราบอกไปแค่ “I will sent it to you shortly” มีโอกาสสูงที่อีกฝ่ายจะเข้าใจคำว่า shortly ไม่เหมือนเรา เราอาจจะหมายถึงพรุ่งนี้ในขณะที่อีกฝ่ายเข้าใจว่าเราจะส่งงานให้เขาในอีกไม่กี่ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดผู้เขียนจะเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าให้สื่อสารให้ชัดเจนที่สุดและไม่ทิ้งช่องว่างให้เกิดการตีความได้

เพราะฉะนั้นถ้าเป็นตัวอย่างข้างต้น เราจะสามารถพิมพ์หรือพูดแทนได้ว่า “I will sent it to you tomorrow within 10 a.m. (Thai Time)” ซึ่งถ้าสังเกตจะเห็นว่าเราชัดเจนได้ขนาดที่ระบุด้วยว่า 10 โมงคือเวลาไทยไม่ใช่เวลาของประเทศที่อีกฝ่ายอยู่ หรือถ้าเราเป็นผู้รับสารและได้รับสารที่ไม่ชัดเจน เราก็สามารถถามกลับไปยังผู้ส่งสารเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของเราได้เช่นกัน

2. สื่อสารเจตนา
เชื่อมโยงจากข้อที่แล้ว ด้วยลักษณะที่ตรงไปตรงมาของภาษาอังกฤษบวกกับการสื่อสารแบบออนไลน์ที่ทำให้เราไม่สามารถรับรู้ถึงสัญญาณทางสังคมต่าง ๆ ได้ บ่อยครั้งที่ข้อความที่เราส่งหรือสิ่งที่เราพูดไปอาจมีความห้วนและดูไร้อารมณ์จนทำให้ผู้รับสารรู้สึกเหมือนกำลังถูกโจมตีทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้น ฉะนั้นเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดเราควรทำให้อีกฝ่ายรับรู้ถึงเจตนาของเราเวลาที่สื่อสาร

ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ถามถึงความคืบหน้าของงาน แทนที่จะถามแค่ว่า “How are you progressing with the work?” ซึ่งอาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเหมือนโดนเร่งและถูกหาว่าทำงานช้า เราสามารถเขียนหรือพูดได้ว่า “I am just checking in to see if you need my help. How are you progressing with the work?” เป็นการให้เหตุผลประกอบเพื่อทำให้อีกฝ่ายรู้ว่าที่เราถามก็แค่เพราะอยากจะช่วย

3. Visualization
ข้อสุดท้ายนี้เป็นเทคนิคที่ตัวผู้เขียนเองก็ยังพยายามฝึกอยู่ ซึ่งถ้าใครทำได้ดีมันก็จะเป็นอาวุธที่ทรงพลังมากในการสื่อสาร เทคนิคที่ว่าก็คือการทำ visualization หรือการทำให้เรื่องที่คุยกันออกมาเป็นสิ่งที่ทุกคนมองเห็นได้เหมือนกันและพร้อม ๆ กัน ถ้าในการคุยกันแบบ face-to-face การเขียนบทสนทนาขึ้นบนกระดานหรือลงบนกระดาษก็จะถือว่าเป็นการทำ visualization

ถ้าในการคุยแบบออนไลน์โดยเฉพาะผ่านวีดีโอคอล เดี๋ยวนี้โปรแกรมส่วนใหญ่ เช่น Zoom สามารถให้เราแสดงหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้คู่สนทนาของเราเห็นได้ ฉะนั้นเราก็สามารถพิมพ์สิ่งที่คุยกันลงบนหน้าเปล่าของโปรแกรม เช่น Microsoft Word หรือ PowerPoint และแสดงหน้าจอของเราให้คู่สนทนาเห็นไปพร้อม ๆ กันได้

การใช้เทคนิคนี้จะช่วยให้เราจับความเข้าใจผิดได้เร็วเพราะเราจะเห็นได้ทันทีว่าสิ่งที่ถูกเขียนออกมาตรงกับสิ่งที่เราสื่อหรือเข้าใจหรือไม่ ถือเป็นการช่วยป้องกันความเข้าใจผิดที่อาจเกิดจากการตีความที่แตกต่าง รวมถึงจากปัญหาการออกเสียงที่ไม่ชัดเจนของเรา หรือปัญหาที่อาจเกิดจากสัญญาณอินเตอร์เน็ตขัดข้อง นอกจากนี้ Visualization ยังเป็นการสรุปสิ่งที่คุยกันไปในตัว โดยเราสามารถย้อนกลับมาดูและอ้างถึงเวลาทำงาน

หวังว่าท่านผู้อ่านจะนำเทคนิคง่าย ๆ เหล่านี้ไปลองใช้กันดูนะคะ มันอาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าทำได้ การสื่อสารระหว่างเรากับผู้อื่นโดยเฉพาะกับชาวต่างชาติก็จะราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากท่านไหนมีเทคนิคอื่น ๆ ที่ได้ลองใช้แล้ว ได้ผลดี สามารถนำมาแบ่งปัน หรือแชร์ประสบการณ์ ให้ทีมงานของเราหรือ ผู้อ่านท่านอื่น ๆ ได้เช่นกันนะคะ

——————-

> Subscribe เพื่อติดตามข่าวสารน่าสนใจ และบทความแนะนำที่คนทำงานไม่ควรพลาด:
https://asian-identity.com/hr-egg-th/subscribe

> ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือคุยกับที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล:
https://asian-identity.com/hr-egg-th/contact

Credit: Photo by Adam Solomon from Unsplash

Suggest Section

อุปสรรคในการ ทำงาน กับชาวต่างชาติ

Identity Leadership Journey (for TH)

ในคอร์สนี้ คำว่า Leadership หมายถึงการ “Lead the Self” กล่าวคือการนำพาตนเองไปข้างหน้าอย่างเต็มกำลัง เป็นคอร์สที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ค้นหาว่าอะไรที่เป็นหลักการหรือความเชื่อซึ่งตนยึดถืออย่างมั่นคง กำหนดวิสัยทัศน์ และพัฒนาตนขึ้นเป็นผู้นำซึ่งสามารถขับเคลื่อนองค์กรได้

ดูข้อมูลเพิ่มเติม

Latest Events

อุปสรรคในการ ทำงาน กับชาวต่างชาติ

[Free Event] Philosophy & Recruiting: วัฒนธรรมองค์กรนำคนที่ใช่มาให้คุณ

6 Oct 2022, Online

อุปสรรคในการ ทำงาน กับชาวต่างชาติ

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY (for TH) #Batch 23

2-3 Nov 2022

อุปสรรคในการ ทำงาน กับชาวต่างชาติ

IDENTITY LEADERSHIP JOURNEY (for JP) #Batch 24

25-26 Nov 2022

อุปสรรคในการ ทำงาน กับชาวต่างชาติ

Manager’s Dilemma – Management Simulation Board Game (for TH)

Latest EGG blog

อุปสรรคในการ ทำงาน กับชาวต่างชาติ

เส้นทางจากนักศึกษาฝึกงานสู่ที่ปรึกษา (Associate Consultant)

อุปสรรคในการ ทำงาน กับชาวต่างชาติ

การสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่ในที่ทำงาน เริ่มจากอะไรดี

อุปสรรคในการ ทำงาน กับชาวต่างชาติ

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ของแนวโน้ม งานบริหารทรัพยากรมนุษย์ ยุคใหม่

อุปสรรคในการ ทำงาน กับชาวต่างชาติ

Regret – ความรู้สึกเศร้าเสียดาย