ทฤษฎี การ บริหาร สมัยใหม่ pdf

ทฤษฎี การ บริหาร สมัยใหม่ pdf

 (Modern management concept)

                  เมื่อความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว  มีการขยายทางเศรษฐกิจและการค้าสังคมที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง องค์การมีขนาดใหญ่ขึ้น กิจกรรมในการทำงานยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นการแก้ไขปัญหายุ่งยากและซับซ้อนเช่นกัน ทฤษฎีการบริหารจัดการจึงได้ค้นคว้าหาวิธีการบริหารจัดการใหม่ๆมาใช้  จึงเกิดแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ขึ้น โดยรวบรวมสาขาวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้หลักแนวคิดและทฤษฎีมีความน่าเชื่อถือโดยใช้พื้นฐานความคิดจากแนวคิดแบบดั้งเดิมและแนวคิดแบบพฤติกรรม แนวคิดการจัดการสมัยใหม่มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องคือ ทฤษฎีวิทยาการจัดการ ทฤษฎีระบบ (System theory)  ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Situational approach) ทฤษฏีการจัดการโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by objective)  และทฤษฏี Z ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

                   7.1 ทฤษฎีวิทยาการจัดการ (Management Science Theory)

                          ทฤษฎีวิทยาการจัดการเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับการจัดการทำงานในเชิงปริมาณ  โดยการนำความรู้ในทางคณิตศาสตร์ สถิติ วิศวกรรม การบัญชี มาช่วยในการจัดการการผลิตและการปฏิบัติงานมากกว่าที่จะให้ความสนใจกับเรื่องของพฤติกรรมทฤษฎีในการจัดการในระยะหลังๆเมื่อมนุษย์ได้คิดค้นคอมพิวเตอร์ขึ้นมาได้นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการออกแบบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์งานที่มีความยุ่งยากและซับซ้อนได้ ผู้คิดทฤษฎีนี้คือ เฮอร์เบิร์ก เอ ไซมอน (Herbert A. Simon)

ทฤษฎี การ บริหาร สมัยใหม่ pdf

ภาพที่ 1.22 Herbert A. Simon

เฮอร์เบิร์ก เอ ไซมอน (Herbert  A.  Simon) เป็นคนอเมริกา  เกิดจากครอบครัวชาวยิว  

เป็นนักวิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา และนักจิตวิทยา ได้รับสมญานามว่า บิดาของวิทยาการจัดการ ที่ได้กล่าวถึงกระบวนการบริหารด้านต่างๆไว้ในหนังสือ Organization ที่มีการนำวิทยาการต่างๆมาผสมผสานกับวิธีการจัดการ เช่น วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคม ศาสตร์ และวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องมาปรับปรุงให้เข้ากับระบบการจัดการแล้วเรียกชื่อใหม่ว่า วิทยาการจัดการ(Management science)  ซึ่งหลักการของ Simon  จะมีลักษณะดังนี้

                            1. เน้นบทบาทของผู้บริหารสำคัญที่การตัดสินใจเป็นหลัก เพราะถ้าผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องด้วยข้อมูลต่าง ๆ จะทำให้องค์การทำงานได้อย่างไม่ผิดพลาด

                       2. การนำตัวเลขหรือคณิตศาสตร์เชิงปริมาณมาใช้ประกอบการพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดก่อนการตัดสินใจ

                             3. การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ มีการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาเก็บรวบรวมข้อมูล            

                  7.2 ทฤษฎีระบบ  (System  theory)

                          ทฤษฏีระบบ คือทฤษฎีที่เกิดจากระบบการทำงานโดยรวม ระบบ คือกลุ่มขององค์ประกอบที่พึ่งพาอาศัยกัน ทำงานเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อจุดประสงค์บางอย่างเปรียบเทียบเหมือนร่างกายมนุษย์ที่ต้องสัมพันธ์กันองค์การเช่นเดียวกันที่ผู้บริหารต้องสามารถมองเห็นภาพรวมขององค์การทั้งหมดตามหน้าที่ที่สัมพันธ์กันกับสิ่งแวดล้อมเพราะองค์การต้องทำงานในระบบเปิดคือต้องมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหากองค์การใดมีการจัดการเป็นระบบแล้วสามารถดำเนินงานต่างๆได้อย่างมีคุณภาพการนำระบบงานและคนเข้ามาประยุกต์เข้าด้วยกันพร้อมทั้งพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมควบคู่กันไปเป็นระบบผู้ศึกษาทฤษฎีนี้ คือ นอร์เบิร์ต เวียร์เนอร์  (Norbert Wiener) ซึ่งเป็นชาวอเมริกาและเป็นนักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาการควบคุมระบบที่นำไปสู่สาขาวิชา Gybemetic ให้แนวคิดขององค์การอย่างชัดเจนว่าองค์การเป็นระบบหนึ่งที่ประกอบด้วยสิ่งนำเข้า กระบวนการ สิ่งส่งออก สิ่งย้อนกลับ และสภาพแวดล้อม ได้ใช้วิธีการศึกษาแบบสหวิชาเช่น สาขาวิชาวิศวกรรมการควบคุม วิศวกรรมการติดต่อสื่อสาร คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีววิทยา แพทยศาสตร์ ดาราศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น

ทฤษฎี การ บริหาร สมัยใหม่ pdf

ภาพที่ 1.23  Norbert  Wiener

สมยศ  นาวีการ (2547: 84 – 85) ได้กล่าวว่า ในทางการบริหารจัดการ ระบบที่สมบูรณ์จะต้องบรรลุถึงหลักเกณฑ์ทางธุรกิจ ซึ่งก็คือเป้าหมาย (Goals) และวัตถุประสงค์ (Objectives) ของธุรกิจ ทรัพยากร ความสัมพันธ์ระหว่างกัน และกระบวนการ ส่วนประกอบของระบบคือ ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) การป้อนกลับ (Feedback) และสภาพแวดล้อม (Environment) ดังภาพที่ 1.25

ทฤษฎี การ บริหาร สมัยใหม่ pdf

ภาพที่  1.24  รูปแบบของการบริหารที่เป็นระบบโดยทั่วไป (Systems  format)

ที่มา ดัดแปลงมาจากสมยศ  นาวีการ  (2547 :84)

                      1.  ปัจจัยนำเข้า คือ ทรัพยากรที่ใส่เข้าไปจะถูกแปรสภาพตามกระบวนการ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การปัจจัยนำเข้าคือ 6 Ms ได้ กำลังคน หรือพนักงาน (Manpower) เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ (Machines) วัตถุดิบ (Materials)  ตลาด (Markets) ซึ่งก็คือลูกค้าเงินทุน (Money)  วิธีการ หรือกระบวนการ (Methods)

                     2.  กระบวนการ (Process) เป็นขั้นตอนในการทำงาน รูปแบบกิจกรรมการผลิตเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การอธิบายรายละเอียดของลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน

                                3.  ผลผลิต (Output) เป็นส่วนประกอบของระบบองค์การซึ่งเกี่ยวกับสินค้า บริการ

และผลผลิตอื่น ๆ เช่น ศักยภาพของพนักงานที่พัฒนาขึ้น เป็นต้น และสิ่งอื่นที่ถูกผลิตโดยองค์การ                      

                               4.  การป้อนกลับ (Feedback) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพ  และผลลัพธ์เกี่ยวกับกิจกรรมขององค์การ  ข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อปรับปรุงปัจจัยนำเข้าและกระบวนการแปรสภาพเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจมากขึ้นซึ่งการป้อนกลับจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดตามเป้าหมายที่ต้องการ   

                      5. สภาพแวดล้อม (Environment) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกหรือภายในซึ่งมีผลกระทบต่อ

 การปฏิบัติงานในองค์การ 

              7.3 ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ (The contingency theory)

                        ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ เป็นการประสมประสานแนวคิดในการบริหารจัดการที่สำคัญ  คือ  แนวคิดแบบดั้งเดิม แนวคิดเชิงพฤติกรรม แนวคิดเชิงปริมาณ และแนวคิดเชิงระบบ เป็นแนวคิดที่ว่าไม่มีทฤษฏี หรือวิธีการทางการบริหารวิธีใดที่จะนำไปใช้ได้ทุกสถานการณ์ หรือไม่มีแบบการบริหารแบบใดดีที่สุด การบริหารแต่ละแบบและแต่ละวิธีจะก่อให้เกิดผลแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมแต่ละอย่าง การเลือกการบริหารจัดการแบบใดให้เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผู้ที่กำหนดทฤษฎีนี้คือ เฟรด อี ฟีดเลร์ (Fred E. Fieldler)  

ทฤษฎี การ บริหาร สมัยใหม่ pdf

ภาพที่  1.25  Fred E. Fiedler

เฟรด อี ฟีดเลอร์ (Fred E. Fieldler) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกา สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก มีความเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาธุรกิจ และการบริหารจัดการ ได้ศึกษาหลักการของการบริหารโดยสถานการณ์ซึ่งแนวคิดทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http : //  www.kroobannok.com/blog/20420 (2554). สืบค้น 12 มิถุนายน 2554.  มีดังนี้

                            1.  การบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

                            2.  ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด

                                       3.  การบริหารเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิดและยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน

                            4.  สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจและรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม

                                       5.  คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงานโดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย

                            6.  เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่าง  ที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่นความแตกต่างระหว่างบุคคลความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์วิธีการกระบวนการและการควบคุมงานความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การ ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ  เป็นต้น             

                   7.4 ทฤษฏีการบริหารโดยวัตถุประสงค์ (Management  by  objective)

                          ทฤษฎีการบริหารโดยวัตถุประสงค์  เป็นทฤษฏีการบริหารโดยผู้บริหารกับผู้ร่วมงานกำหนดวัตถุประสงค์  เพื่อได้ดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ร่วมกันมีทิศทางการทำงานที่แน่นอนทำให้บุคคลในองค์การทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพผู้คิดทฤษฏีนี้ คือ ปีเตอร์ เอฟ ดรั๊กเกอร์ (Peter F. Drucker)

               ปีเตอร์ เอฟ ดรั๊กเกอร์ (Peter F. Drucker) ชาวอเมริกา ได้เขียนหนังสือชื่อ The practice of management Drucker ที่ชี้ให้เห็นว่าทุกองค์การต้องมีเป้าหมายเพื่อนำทางบุคคลที่บริหารงานองค์การประสานเป้าหมายร่วมกันทำงานตามที่ได้ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ และหาวิธีการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน

ทฤษฎี การ บริหาร สมัยใหม่ pdf

ภาพที่  1.26  Peter F. Drucker

ยาเป็น เรืองจรูญศรี (การบริหารโดยวัตถุประสงค์ (MBO http://www. kroobannok.com/blog/21393 (มปป.) สืบค้น 12 มิถุนายน 2554 ได้กล่าวว่า กระบวนการหรือขั้นตอนในการบริหาร โดยยึดวัตถุประสงค์ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

                              1. การกำหนดวัตถุประสงค์และการวางแผน เป็นหลักการสำคัญอันดับแรกคือ  การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ โดยผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชากำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน                     

                             2. การมอบหมายงานและหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชางานขั้นนี้เป็นการแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับรู้ถึงขอบเขตของอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่และสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำงานด้วยตัวเอง โดยมอบความไว้วางใจและความเป็นอิสระในการทำงานให้ ทั้งนี้จะต้องชี้แจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบถึงงานหลักและมาตรฐานงานที่ต้องการ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายรวมขององค์การ โดยผู้บังคับบัญชาพร้อมที่จะให้คำปรึกษาหารือเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการ

                             3.  ตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างมีระบบงานในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบว่า การดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้ก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด และมีสิ่งใดที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

                             4.  การประเมินผลงาน เป็นการประเมินผลงานที่เน้นวัตถุประสงค์ และผลงานเป็นสำคัญโดยมีหลักและวิธีการประเมินผลงานที่สำคัญ คือ

                                  4.1  ผู้ประเมิน และผู้ได้รับการประเมินผลงาน จะต้องตั้งวัตถุประสงค์และปัจจัยในการประเมินผลงานร่วมกันตั้งแต่ตอนต้น หรือการกำหนดแผนการดำเนินงาน

                                   4.2  การประเมินผลงานตามหลักการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบุคคลและเพิ่มประสิทธิภาพงานมากกว่าที่จะใช้การประเมินผล  เพื่อพิจารณาความดีความชอบหรือการลงโทษ

                                   4.3  เน้นการวัดผลการปฏิบัติงานที่ผลงานขั้นสุดท้าย นอกจากนั้นยังเน้นความสำเร็จของผลงาน และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าความประพฤติของผู้ปฏิบัติงาน

                             4.4  ใช้วัตถุประสงค์ และผลงานเป็นตัวประเมินมากกว่าการให้คะแนน

                                   4.5  การประเมินผลงาน กระทำเมื่อผลงานขั้นสุดท้ายเสร็จสิ้นลง โดยผู้ประเมินและผู้ได้รับการประเมินได้มีโอกาสปรึกษาหารือร่วมกัน ทั้งในระยะกำหนดวัตถุประสงค์และระยะประเมินผลงาน

                   7.5  ทฤษฎี Z (Theory Z)

                           ทฤษฎี Z (Theory Z)  เป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเหตุการณ์ ที่สำคัญในด้านธุรกิจประการหนึ่งเกิดขึ้นคือ ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นทุกๆปีและเพิ่มขึ้นในอัตราสูง แต่ในขณะที่อุตสาหกรรมในอเมริกากลับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำมากและต่ำกว่าอัตราผลผลิตของประเทศต่างๆในยุโรปนักธุรกิจชาวอเมริกันได้ตระหนักถึงความจริงในเรื่องนี้  จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าหาวิธีต่าง ๆ ที่จะนำมาแก้ไจสถานการณ์ เพื่อความอยู่รอดขององค์การ ผู้ศึกษาทฤษฎีนี้คือวิลเลี่ยม โออุชิ (William G. Ouchi)

        วิลเลี่ยม โออุชิ (William G. Ouchi)  เป็นศาสตราจารย์ใน University of California at Los Angeles (UCLA)  ได้ศึกษา ทฤษฎี Z (Theory Z) เป็นทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจที่เกิดขึ้นจากผลกระทบระหว่างระบบการบริหารธุรกิจแบบญี่ปุ่นกับระบบการบริหารธุรกิจแบบอเมริกัน  ทฤษฎี Z เป็นชื่อที่ ใช้เรียกการบริหารธุรกิจระบบหนึ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีเก่าสองทฤษฎีที่ Dauglas MeGregor ได้ตั้ง คือ ทฤษฎี X และทฤษฎี Y เมื่อมีทฤษฎี X และทฤษฎี Y แล้ว ทฤษฎีต่อมาควรเป็นทฤษฎี Z  วิลเลี่ยม โออุชิ ได้รับทุนให้ทำการศึกษาจากสถาบัน National Commission On Productivity

ทฤษฎี การ บริหาร สมัยใหม่ pdf

ภาพที่ 1.27 William G. Ouchi

อิศรพงษ์  แสงตะวัน (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก w.geocities.com/buucu5231/pattama 2 .doc (n.d.) สืบค้น 15 มิถุนายน 2554 ได้กล่าวว่า โออุชิทำการศึกษาวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อโครงสร้างองค์การ  และระบบการบริหารการศึกษาของเขาแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ

                            ขั้นตอนที่ 1 ทำการศึกษาโครงสร้างของระบบการบริหารงานแบบญี่ปุ่น และการบริหาร งานแบบอเมริกัน แล้วนำโครงสร้างทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน เพื่อค้นหาข้อแตกต่างระหว่าง 2 ระบบนี้ เพื่อจะได้ทราบว่า ในระบบอเมริกันยังขาดลักษณะอะไรบ้าง จึงจะทำให้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมหรือเหมือนกับระบบญี่ปุ่น

                 ขั้นตอนที่ 2 ทำการศึกษาบริษัทที่สำคัญ ๆ ในอเมริกา เพื่อค้นหาว่าจะนำสิ่งที่

เรียนรู้อะไรบ้างจากระบบญี่ปุ่นมาใช้ได้แล้วกำหนดแนวทางหรือวิธีการบริหารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างทั้งสองระบบไม่แตกต่างกันจึงได้หันมาศึกษาวิธีการบริหารงานของบริษัทต่างๆซึ่งพบว่าทั้งสองระบบมีลักษณะที่แตกต่างกันองค์การแบบอเมริกา (Type A และ แบบญี่ปุ่น (Type J)  ซึ่งการบริหารงานของทั้ง 2 รูปแบบ มีความแตกต่างกัน รูปแบบ และ รูปแบบ J  รูปแบบ A มีกฎและข้อกำหนดที่เป็นทางการ การจัดองค์การเป็นลำดับขั้นการบังคับบัญชา มีการรวมอำนาจการตัดสินใจ รูปแบบการติดต่อ สื่อสารเป็นแนวดิ่ง และให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ มากกว่าพนักงาน ส่วนรูปแบบ มีลักษณะของกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นทางการมากนักและเน้นการให้ความสำคัญกับกลุ่มมีรูปแบบการสื่อสารเป็นแบบแนวราบและมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับคนมากกว่าสิ่งต่าง ๆ ดังตาราง ที่ 1.1

ตารางที่  1.1  แสดงการเปรียบเทียบองค์การแบบ และ แบบ J  

ทฤษฎี การ บริหาร สมัยใหม่ pdf

ที่มา :  อิศรพงษ์  แสงตะวัน (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก w.geocities.com/buucu5231 /pattama2.doc 

          (n.d.) สืบค้น 15 มิถุนายน 2554.