บริเวณ ที่ ไว ต่อ การ สัมผัส จะ มี ส่วน ของ เส้น ประสาท ใด มาก เป็น พิเศษ

บริเวณ ที่ ไว ต่อ การ สัมผัส จะ มี ส่วน ของ เส้น ประสาท ใด มาก เป็น พิเศษ

การตรวจร่างกายทางระบบประสาท ทำอย่างไร ?

ผู้ป่วยหลายคนมักจะมีความสงสัยเสมอ โดยเฉพาะเวลาที่ไปพบหมอด้านระบบประสาทและกระดูกสันหลัง ว่าหมอมีวิธีการตรวจร่างกายอย่างไรบ้าง บางทีก็ให้ผู้ป่วยยกแขนยกขาไปมา เอาไม้จิ้มฟันหรือสำลีแอลกอฮอร์มาป้าย รวมถึงบางทีก็เอาไม้มาเคาะที่หัวเข่า ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นวิธีการตรวจร่างกายทางระบบประสาทตามมาตรฐานทั่วไปนะครับ วันนี้ผมจะมาลงรายละเอียดให้ฟังครับว่าที่หมอเค้าทำไปนั้นจริงๆแล้วมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะตรวจอะไรบ้าง

โดยทั่วไปการตรวจร่างกายทางระบบประสาทประกอบไปด้วยการตรวจ 3 อย่างด้วยกันได้แก่

– การตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ เพื่อประเมินเส้นประสาทที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อ

–  การตรวจการรับความรู้สึกของผิวหนัง เพื่อประเมินเส้นประสาทรับความรู้สึก

– การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติ เพื่อประเมินระบบประสาทโดยรวม

  1. การตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ (Motor Function) : อย่างที่ผมได้เคยเล่าให้ฟังไปแล้วในบทความเรื่อง “หน้าที่ของเส้นประสาท” ว่าเส้นประสาทแต่ละเส้นที่เชื่อมต่อลงมาจาก สมอง > ไขสันหลัง > เส้นประสาทส่วนปลาย จะมีหน้าที่ในการส่งสัญญาณประสาทเพื่อควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแต่ละมัดที่แตกต่างกัน การตรวจกำลังของกล้ามเนื้อแต่ละมัดนั้นทำได้ง่ายๆโดยการให้คนไข้ออกแรงต้านกำลังกับหมอ

บริเวณ ที่ ไว ต่อ การ สัมผัส จะ มี ส่วน ของ เส้น ประสาท ใด มาก เป็น พิเศษ

ยกตัวอย่างเช่นถ้าหมอต้องการตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ Bicep muscle ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแขนที่ใช้ในการงอศอก หมอก็จะบอกให้คนไข้งอศอกค้างไว้เพื่อฝืนแรงกันและหมอก็จะทำการดึงแขนของคนไข้ออก (อย่างสุดแรงของหมอ) เพื่อประเมินระดับกำลังของกล้ามเนื้อ โดยที่ระดับพละกำลังของกล้ามเนื้อนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ดั้งนี้

  • Grade V : ระดับกำลังกล้ามเนื้ออยู่ในเกณฑ์ปกติ คือสามารถต้านแรงของแพทย์ได้
  • Grade IV : ระดับกำลังกล้ามเนื้อน้อยกว่าปกติเล็กน้อย คือยังสามารถต้านแรงแพทย์ผู้ตรวจได้แต่ไม่เต็มที่
  • Grade III : ระดับกำลังกล้ามเนื้อน้อยลงชัดเจน ไม่สามารถต้านแรงของแพทย์ได้ แต่ยังสามารถยกแขนขึ้นมาได้เอง (ยังสามารถยกขึ้นมาต้านแรงโน้มถ่วงของโลกได้)
  • Grade II : ระดับกำลังกล้ามเนื้อน้อยลงอย่างมาก ไม่สามารถต้านแรงของแพทย์ได้เลย และไม่สามารถยกแขนขึ้นมาในแนวต้านแรงโน้มถ่วงของโลกได้ ทำได้แค่ขยับแขนได้ในแนวราบ (ขนานกับพื้นโลก)
  • Grade I : ระดับกำลังกล้ามเนื้อน้อยมาก ไม่สามารถขยับได้ ทำได้เพียงการเกร็งกล้ามเนื้อเท่านั้น
  • Grade 0 : ไม่สามารถเกร็งกล้ามเนื้อได้เลย

จะเห็นได้ว่าในคนปกติกำลังกล้ามเนื้อจะต้องอยู่ในระดับ Grade V เท่านั้น ส่วนในระดับ Grade IV อาจเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยอาจมีการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อหรือมีพยาธิสภาพที่ไม่มากนัก แต่ในระดับ Grade 0 – III ส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพอะไรบางอย่าง ในระดับที่มีนัยยะทางการแพทย์และจำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็นพิเศษ

บริเวณ ที่ ไว ต่อ การ สัมผัส จะ มี ส่วน ของ เส้น ประสาท ใด มาก เป็น พิเศษ

  1. การตรวจการรับความรู้สึกของผิวหนัง (Sensory function) : จริงๆแล้วการตรวจเส้นประสาทรับรู้ความรู้สึกแบบเต็มรูปแบบนั้น จะประกอบไปด้วยการตรวจความรู้สึกในหลายส่วนและปกติอาจจะต้องใช้เวลาตรวจนานมาก ในการตรวจผู้ป่วยที่แผนกคนไข้นอก (OPD) แพทย์ส่วนใหญ่จึงนิยมตรวจระบบประสาทความรู้สึกใน 2 ส่วนคือระบบการรับความเจ็บปวด (Pain sensation) และระบบการรับรู้อุณหภูมิ (Temperature sensation) ซึ่งสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
  • Pain sensation : การตรวจความรู้สึกเจ็บปวดสามารถทำได้โดยการนำของปลายแหลมมาจิ้มที่ผิวหนังของผู้ป่วย (แต่ของต้องไม่แหลมมากจนทำให้เป็นแผลนะครับ) ซึ่งโดยส่วนมากจะใช้ไม้จิ้มฟันกันครับ โดยหมอจะบอกให้ผู้ป่วยหลับตาและทำการจิ้มในบริเวณที่ต้องการตรวจพร้อมๆกันสองข้างทั้งซ้ายและขวา และให้ผู้ป่วยบอกความรู้สึกว่ารู้สึกถึงปลายแหลมของไม้จิ้มฟันเหมือนกันหรือไม่เมื่อเทียบกันสองข้าง
  • Temperature sensation : เป็นการตรวจการรับรู้อุณหภูมิของผิวหนัง โดยหมอจะนำสำลีชุบแอลกอฮอร์มาลูบผิวหนังบริเวณที่ต้องการตรวจทั้งสองข้าง และถามผู้ป่วยว่ารู้สึกถึงความเย็นเท่ากันหรือไม่ครับ

บริเวณ ที่ ไว ต่อ การ สัมผัส จะ มี ส่วน ของ เส้น ประสาท ใด มาก เป็น พิเศษ

  1. การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติ (Deep tendon reflex) : ในส่วนการตรวจนี้จะเป็นการตรวจโดยการ “เคาะ” ไปในบริเวณเส้นเอ็นต่างๆในร่างกาย เพื่อประเมินการตอบสนองของเส้นประสาททั้งในส่วนเส้นประสาทรับความรู้สึกและเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสองส่วนในเวลาเดียวกัน โดยหมอจะใช้ค้อนเล็กๆ เคาะบริเวณเส้นเอ็นสำคัญต่างๆในร่างกายและประเมินการตอบสนองของกล้ามเนื้อในลักษณะของการ “เด้ง” สวนกลับมา

ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราต้องการตรวจ Deep tendon reflex ของเส้นประสาท L3,L4 เราจะต้องทำการเคาะเส้นเอ็น Patella Tendon ที่อยู่บริเวณหัวเข่า เมื่อเราเคาะไปแล้วนั้นจะเป็นการไปกระตุ้นระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ Quadricep Muscle ที่ถูกควบคุมโดยเส้นประสาท L3,L4 เช่นเดียวกัน และแสดงผลออกมาโดยการ “กระเด้ง” ออกมาของหน้าแข้งของผู้ป่วยโดยอัตโนมัติ โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องออกแรงใดๆเลย

บริเวณ ที่ ไว ต่อ การ สัมผัส จะ มี ส่วน ของ เส้น ประสาท ใด มาก เป็น พิเศษ

โดยการแปลผลการตรวจ Deep tendon reflex นั้นสามารถแปลผลได้ดังนี้

  • DTR 3+ : คือมีการตอบสนองที่มากกว่าปกติ โดยอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) หรือโรคทางอายุรกรรมอื่นๆ เช่นโรคไทรอยด์สูง
  • DTR 2+ : คือมีการตอบสนองอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • DTR 1+ : คือมีการตอบสนองที่น้อยกว่าปกติ โดยอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทส่วนปลาย หรือโรคทางอายุรกรรมอื่นๆ เช่นโรคไทรอยด์ต่ำ
  • DTR 0 : คือไม่มีการตอบสนองเลย

จะเห็นได้ว่าการตรวจร่างกายทางระบบประสาทนั้นมีความซับซ้อน และมีรายละเอียดแฝงอยู่ค่อนข้างมากเลยนะครับ ในตอนถัดๆไปเราจะเริ่มเข้าเรื่องความรู้ทางโรคกระดูกสันหลัง และแนวทางการวินิจฉัยโดยการใช้เครื่องมืออย่าง X-ray และ MRI Scan กันครับ

Reference pictures

  • https://pin.it/5AyZHRo
  • https://pin.it/4z2uUib
  • https://pin.it/439bdsg
  • https://pin.it/2ept6mS
  • https://pin.it/7HcYywO
  • https://pin.it/4PUqkgI

บริเวณ ที่ ไว ต่อ การ สัมผัส จะ มี ส่วน ของ เส้น ประสาท ใด มาก เป็น พิเศษ