ข้อสอบ กลาง ภาค ภูมิศาสตร์ ม.5 พร้อมเฉลย

ข้อสอบ  สาระ ภูมิศาสตร์  จำนวน 60 ข้อ
ปีการศึกษา 2551 (พร้อมเฉลย)
จาก สถาบันการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ(O-NET)

  1. เพราะเหตุใดแผนที่ชุด L7018 ของกรมแผนที่ทหารจึงจัดเป็นแผนที่อ้างอิง

1    เพราะเป็นแผนที่ที่เป็นสากล

2    เพราะเป็นแผนที่ที่แสดงภูมิประเทศ

3    เพราะเป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นจากหน่วยงานที่น่า เชื่อถือ

4    เพราะเป็นแผนที่ที่จัดทำด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่

1    แสดงเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญ

2    เหมาะสำหรับแสดงพื้นที่ขนาดเล็ก

3    ไม่สามารถแสดงข้อมูลปลีกย่อยได้

4    มีมาตราส่วนตั้งแต่ 1:50,000 ขึ้นไป

  1. องค์ประกอบของแผนที่ใดเป็นองค์ประกอบแรกที่บอกให้เรารู้ว่าแผนที่นั้นเป็นแผนที่อะไร

1    ทิศ

2    ชื่อแผนที่

3    มาตราส่วน

4    ชื่อภูมิศาสตร์

  1. ชื่อภูมิศาสตร์ในข้อใดเขียนได้ถูกต้อง

1    Asia

2    BANGKOK

3    Mekong River

4    SIRIKIT DAM

  1. ชื่อภูมิศาสตร์ภาษาอังกฤษของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ และแหล่งอารยธรรมโบราณควรเขียนอย่างไร

1    ใช้ตัวเอน ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด

2    ใช้ตัวตรง ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด

3    ใช้ตัวตรง ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก

4    ใช้ตัวเอน ตัวพิมพ์ใหญ่ตัวแรก ต่อด้วยตัวพิมพ์ เล็ก

  1. ตัวอักษรใดที่อยู่ข้างบนของทิศเหนือกริดในแผนที่ประเทศไทย มาตราส่วน 1:50,000

1    GN

2    GD

3    MN

4    MD

7. การปฏิบัติตนเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทำได้หลายวิธียกเว้นข้อใด

1   การหลกเลี ยงไม่ ใช่สินค้าที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

2   การล้างรถยนต์ด้วยการตักน้ำใส่ถังแทนการใช้น้ำจากสายยาง

3  การเลือกใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับฐานะของครอบครัว

4   การใช้หนังสือพิมพ์ห่อเศษอาหารก่อนนำไปทิ้งในถังขยะสีเขียว

  1. มุมแอซิมัทที่วัดจากที่วัดจากเส้นฐานเหนือจริงเรียกว่ามุมอะไร

1    มุมแอซิมัท

2    มุมแอซิมัทจริง

3    มุมแอซิมัทกริด

4    มุมแอซิมัทเหนือจริง

  1. หน่วยความยาวใดที่นิยมใช้ในมาตราส่วนเส้นและมาตราส่วนรูปแท่ง

1    เมตร

2    กิโลเมตร

3    มิลลิเมตร

4    เซนติเมตร

  1. ถ้าวัดระยะทางในแผนที่มาตราส่วน 1:250,000 ได้ 27.5 เซนติเมตร แสดงว่าในภูมิประเทศจริงมีระยะทางเท่าไร

1    67.5 กิโลเมตร

2    68.5 กิโลเมตร

3    67.75 กิโลเมตร

4    68.75 กิโลเมตร

  1. เส้นชั้นความสูงในแผนที่ภูมิประเทศนิยมใช้เส้นสีใด

1    สีดำ

2    สีแดง

3    สีเขียว

4    สีน้ำตาล

  1. สิ่งใดที่สามารถใช้สัญลักษณ์ที่เป็นจุดแทนลงในแผนที่ได้

1   บึง

2  ทุ่งนา

3  ที่ตั้งจังหวัด

4  อาณาเขตประเทศ

  1. ข้อใดไม่ใช่วิธีการจัดการคุณภาพดิน                                                                                    1   การปรับปรุงบำรุงดิน                                                                                                  2   การปลูกพืชหลากชนิด                                                                                              3   การปลูกพืชหลากชนิด                                                                                              4   การปลูกพืชหลากชนิด
  2.  ลักษณะเส้นชั้นความสูงที่เรียงอยู่ชิดกันบริเวณยอดแล้วค่อย ๆ ขยายออกห่างบริเวณฐานมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบใด

1    ลาดเว้า

2    ลาดชัน

3    ลาดนูน

4    ลาดสม่ำเสมอ

  1. ในพื้นที่ที่ลาดเทมาก ลักษณะของเส้นลายขวานสับจะเป็นเช่นไร

1    ขีดยาว บาง อยู่ชิดกัน

2    ขีดสั้น หนา อยู่ชิดกัน

3    ขีดยาว บาง อยู่ห่างกัน

4    ขีดสั้น หนา อยู่ห่างกัน

  1. การแรเงาเพื่อแสดงความสูง–ต่ำของภูมิประเทศมักแรเงาให้เหมือนกับว่ามีแสงทำมุมอยู่กี่องศา

1    45 องศา

2    90 องศา

3    135 องศา

4    180 องศา

  1. แถบสีขาวมักใช้แทนภูเขาที่มีลักษณะเป็นอย่างไร

1    ภูเขาหินปูน

2    ภูเขายอดป้าน

3    ภูเขายอดแหลม

4    ภูเขามีหิมะปกคลุม

  1. เข็มบอกทิศของเข็มทิศจะแกว่งไกวอย่างอิสระ โดยทำปฏิสัมพันธ์กับสิ่งใด

1    ช่วงเวลาที่ใช้งาน

2    แรงเหวี่ยงของผู้ใช้งาน

3    การหมุนรอบตัวเองของโลก

4    แรงดึงดูดของขั้วแม่เหล็กโลก

  1. ก้อนถ่วงน้ำหนักของเครื่องมือวัดพื้นที่มีไว้เพื่ออะไร

1    ถ่วงไม่ให้จุดที่วางเคลื่อนที่

2    ใช้เปรียบเทียบค่าที่วัดได้จากแผนที่

3    ช่วยเคลื่อนแขนของเลนส์ขยายได้สะดวก

4    ใช้ลากมาตรวัดพื้นที่ไปยังจุดที่ต้องการวัด

  1. บารอกราฟและบารอมิเตอร์แบบแอนิรอยด์มีความแตกต่างกันอย่างไร

1    บารอกราฟสามารถวัดค่าอุณหภูมิได้ แต่บารอมิเตอร์แบบแอนิรอยด์วัดไม่ได้

2    บารอกราฟมีหน้าปัดขนาดใหญ่ไว้บอกค่าที่วัดได้แต่บารอมิเตอร์แบบแอนิรอยด์ไม่มีหน้าปัดบอกค่า

3    บารอกราฟมีแขนปากกาใช้ขีดค่าที่วัดได้ลงกระดาษกราฟ แต่บารอมิเตอร์แบบแอนิรอยด์มีเพียงหน้าปัดบอกค่าที่วัดได้

4    บารอกราฟมีตลับโลหะบาง ๆ ที่สูบอากาศออก เกือบหมด แต่บารอมิเตอร์มิเตอร์แบบแอนิรอยด์ไม่มีตลับโลหะ

  1. เทอร์โมมิเตอร์แบบใดที่สามารถใช้วัดอุณหภูมิของดินได้

1    เทอร์โมกราฟ

2    เทอร์โมมิเตอร์สูงสุด

3    เทอร์โมมิเตอร์ธรรมดา

4    เทอร์โมมิเตอร์แบบซิกซ์

  1. เครื่องมือชนิดใดกับชนิดใดที่สามารถนำมารวมกันได้

1    ไฮโกรมิเตอร์กับมาตรวัดลม

2    ไฮโกรมิเตอร์กับเครื่องวัดฝน

3    เทอร์โมมิเตอร์กับไฮโกรมิเตอร์

4    เทอร์โมมิเตอร์กับไซโครมิเตอร์

  1. ไซโครมิเตอร์ใช้สำหรับวัดอะไร

1    ความเร็วลม

2    ความกดอากาศ

3    ความชื้นในอากาศ

4    จุดน้ำค้างในอากาศ

  1. เครื่องมือใดที่อยู่ในขั้นตอนการรับสัญญาณข้อมูลของระบบการรับรู้จากระยะไกล

1    แผนที่

2    คอมพิวเตอร์

3    เครื่องกราดภาพ

4    ภาพจากดาวเทียม

  1. ฟิล์มชนิดใดที่นิยมนำมาใช้บันทึกภาพทางอากาศเพื่อทำแผนที่และการรังวัดพื้นที่

1    ฟิล์มสีธรรมชาติ

2    ฟิล์มขาว–ดำธรรมดา

3    ฟิล์มออร์โทโครเมติก

4    ฟิล์มขาว–ดำอินฟราเรด

  1. ดาวเทียมธีออสของประเทศไทยถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเพื่อจุดประสงค์ใด

1    พยากรณ์อากาศ

2    สำรวจทรัพยากร

3    ตรวจสภาพการเกิดพายุ

4    วิเคราะห์ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

  1. ข้อมูลที่ใช้นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไม่ควรมีลักษณะอย่างไร

1    เชื่อถือได้

2    มีราคาแพง

3    มีความถูกต้อง

4    เป็นปัจจุบันมากที่สุด

  1. ฮาร์ดแวร์หมายถึงองค์ประกอบใดของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

1    อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

2    ขั้นตอนการดำเนินงาน

3    ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม

4    ข้อมูลภาพจากดาวเทียม

  1. ข้อใดกล่าวถึงข้อมูลแบบเวกเตอร์ได้ถูกต้อง

1    เป็นข้อมูลที่อยู่ในเชิงตัวเลข

2    เป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นจุดภาพ

3    เป็นข้อมูลที่เป็นจุด เส้น และบริเวณ

4    เป็นข้อมูลที่ได้จากการรับรู้จากระยะไกล

  1. ในระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ดาวเทียมทำหน้าที่ส่งสัญญาณอะไร

1    สัญญาณภาพ

2    สัญญาณไฟฟ้า

3    สัญญาณคลื่นวิทยุ

4    สัญญาณคลื่นแม่เหล็ก

  1. ชั้นไซอัลได้ชื่อเช่นนี้เพราะมีอะไรเป็นส่วนประกอบ

1    ซิลิกาและอะลูมินา

2    ซิลิกาและแมกนีเซียม

3    แมกนีเซียมและอะลูมินา

4    แมกนีเซียมและแมงกานีส

  1. ข้อใดเป็นข้อสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ถึงลักษณะของหินในชั้นเนื้อโลก

1    เป็นหินต่างชนิดกันทั้งชั้น

2    เป็นหินชนิดเดียวกันทั้งชั้น

3    เป็นหินที่มีส่วนผสมของแร่เหล็ก

4    ไม่มีข้อถูก

  1. โครงสร้างส่วนใดของโลกที่มีความหนาแน่นมากที่สุด

1    ชั้นไซมา

2    ชั้นเนื้อโลก

3    ชั้นแก่นโลกชั้นใน

4    ชั้นแก่นโลกชั้นนอก

  1. ชั้นมอฮอ หมายถึงชั้นใดของโครงสร้างโลก

1    ชั้นไซอัล

2    ชั้นเนื้อโลก

3    ชั้นที่มีหินบะซอลต์

4    ชั้นที่เป็นแนวกั้นชั้นไซมาและชั้นเนื้อโลก

  1. ความสัมพันธ์ในข้อใดเป็นความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง

1    พื้นที่ที่อยู่ด้านหลังเทือกเขาจะมีฝนตกหนัก

2    พื้นที่ที่อยู่บนยอดเขามีอากาศอบอุ่นน่าอยู่อาศัย

3    พื้นที่ทะเลทรายมีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานจำนวนมาก

4    พื้นที่ที่เป็นที่ราบมีการเพาะปลูกพืชอย่างกว้างขวาง

  1. เทือกเขาหิมาลัยมีลักษณะของสัณฐานที่เกิดจากกระบวนการใด

1    การผุพังอยู่กับที่

2    การเกิดรอยเลื่อน

3    การปะทุของภูเขาไฟ

4    การคดโค้งของเปลือกโลก

  1. หน้าผาที่มีโอกาสจะเกิดการถล่มลงมาได้ง่ายมักเกิดจากรอยเลื่อนในทิศทางใด

1    รอยเลื่อนย้อน

2    รอยเลื่อนปกติ

3    รอยเลื่อนในแนวนอน

4    รอยเลื่อนในแนวระดับ

  1. ข้อใดคือลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากรอยเลื่อนในแนวดิ่ง

1    แก่ง

2    เขาโดด

3    แอ่งกราเบิน

4    ภูเขาหินโค้งรูปประทุน

  1. ข้อใดเป็นลักษณะการเกิดภูเขาไฟฟุจิ ในประเทศญี่ปุ่น

1    เกิดจากเถ้าถ่านเย็นตัวอย่างรวดเร็วกองทับกัน เป็นชั้นสูงขึ้น

2    เกิดจากหินหนืดที่ออกมาจากปล่องมีอัตราการไหลที่เร็วมาก

3    เกิดจากเถ้าถ่านที่พ่นออกมาจากปากปล่องขยาย แผ่กว้างออกไปไกลมาก

4    เกิดจากหินหนืดที่ถูกดันออกมาทางด้านข้าง  ของปล่องมีความหนืดสูงไหลไปได้ไม่ไกล

  1. กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดินกระบวนการใดที่มีการกระทำของต้นไม้และแบคทีเรียเข้ามาเกี่ยวข้อง

1    การกร่อน

2    การพัดพา

3    การทับถม

4    การผุพังอยู่กับที่

  1. เพราะเหตุใดจึงมักพบถ้ำหรือโพรงใต้ดินในบริเวณที่เป็นหินปูน

1    หินปูนเกิดการผุพังไปตามสภาพอายุหิน

2    หินปูนเกิดการละลายโดยน้ำฝนและน้ำใต้ดิน

3    หินปูนถูกออกซิเจนในอากาศทำปฏิกิริยาจนผุพังลง

4    หินปูนถูกธารน้ำแข็งกัดเซาะจนลักษณะทางเคมีภายในเสื่อมสภาพ

  1. แม่น้ำในวัยใดที่มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแก่งหรือน้ำตกเกิดขึ้นได้

1    วัยชรา

2    วัยอ่อน

3    วัยหนุ่ม

4    เกิดได้ทุกวัย

  1. ข้อใดอธิบายถึงลักษณะภูมิประเทศในบริเวณแม่น้ำวัยชราได้ถูกต้อง

1    มีหุบเขากว้างขวาง

2    มีเกาะแก่งและน้ำตก

3    มีหุบเขาที่มีหน้าผาชันรูปตัววี

4    มีทะเลสาบรูปแอกบนที่ราบน้ำท่วมถึง

  1. บริเวณที่มีการเปลี่ยนระดับทางน้ำจากหุบเขาชันลงสู่ที่ราบจะมีลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างไร

1    ที่ราบน้ำท่วมถึง

2    ทะเลสาบรูปแอก

3    เนินตะกอนน้ำพารูปพัด

4    ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

  1. พื้นที่ใดที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็งจนเกิดยอดเขาแหลมรูปพีระมิดสูง

1    แอ่งไฟยุม

2    แอร์สร็อก

3    แมตเตอร์ฮอร์น

4    คาบสมุทรแลบราดอร์

  1. ทุ่งหญ้าปัมปัสในประเทศอาร์เจนตินา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างไร

1    ที่ราบดินลมหอบ

2    แอ่งในทะเลทราย

3    เขาโดดในทะเลทราย

4    เนินทรายหรือสันทราย

  1. ทาร์น เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็งจนมีลักษณะเป็นอย่างไร

1    เป็นสันเขาหยักและแหลม

2    เป็นแอ่งน้ำขังคล้ายทะเลสาบ

3    เป็นแอ่งลึกอยู่ระหว่างหุบเขา

4    เป็นยอดเขารูปพีระมิดทรงสูง

  1. ทะเลสาบน้ำเค็ม เกิดมาจากอะไร

1    พื้นที่กลางที่ราบชายฝั่งที่ยุบจมลงไปในทะเล

2    สันดอนบริเวณปากอ่าวทับถมกันจนปิดปากอ่าว

3    ที่ราบชายฝั่งที่มีน้ำทะเลท่วมถึงและขังอยู่ภายในเป็นเวลานาน

4    สันดอนที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งและเกิดการทับถมจนถึงชายฝั่งทะเล

  1. ช่วงเดือนใดเป็นช่วงที่แห้งแล้งที่สุดของทุ่งกุลาร้องไห้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

1    มีนาคม–เมษายน

2    กันยายน–ตุลาคม

3    ธันวาคม–มกราคม

4    พฤษภาคม–มิถุนายน

  1. ทะเลทรายใดที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากลมค้า

1    ทะเลทรายธาร์

2    ทะเลทรายโกบี

3    ทะเลทรายนามิบ

4    ทะเลทรายอาตากามา

  1. เซเรียร์ เป็นชื่อเรียกทะเลทรายในประเทศอียิปต์และประเทศลิเบียที่มีลักษณะอย่างไร

1    เป็นทะเลทรายที่ปกคลุมด้วยเศษหินและกรวด

2    เป็นทะเลทรายที่มีการทับถมกันของเนินทรายแบบต่าง ๆ

3    เป็นทะเลทรายที่มีร่องธารและหุบเหวขนาดใหญ่กว้างและลึก

4    เป็นทะเลทรายที่เป็นภูเขาหรือที่ราบสูงที่ถูกน้ำค้างแข็งกัดกร่อน

  1. กิจกรรมใดของมนุษย์ที่จะยิ่งทำให้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินถล่มมากยิ่งขึ้น

1    การทำฝนเทียม

2    การทำไร่เลื่อนลอย

3    การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ

4    การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  1. อุทกภัยประเภทใดที่จะทำให้เกิดโรคระบาดในพื้นที่ที่เกิดมากที่สุด

1    น้ำท่วมขัง

2    น้ำล้นตลิ่ง

3    น้ำท่วมฉับพลัน

4    น้ำป่าไหลหลาก

  1. ข้อใดเป็นวิธีการป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยที่ดีที่สุด

1    วิ่งหนีให้เร็วที่สุด

2    อพยพไปอยู่ในที่สูง

3    พายเรือออกจากฝั่งทันที

4    ต่อเติมอาคารให้แข็งแรง

  1. ข้อใดคือผลกระทบด้านสังคมที่เกิดขึ้นจากปัญหาภัยแล้ง

1    ที่ดินถูกทิ้งร้าง

2    สินค้ามีราคาสูงขึ้น

3    ประชากรละทิ้งถิ่นฐาน

4    ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค

  1. ถ้าเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในขณะที่นักเรียนยืนอยู่กลางห้องโล่ง นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไร

1    วิ่งไปที่ประตูห้องให้เร็วที่สุด

2    ยืนอยู่กลางห้องไม่ต้องขยับไปไหน

3    ยืนชิดเสาบริเวณมุมห้องให้มากที่สุด

4    วิ่งไปรอบ ๆ ห้องเพื่อหลบสิ่งที่จะพังลงมา

  1. ตามมาตรการ 14 ข้อในการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิของกรมอุตุนิยมวิทยา ถ้าเราอยู่ในเรือที่จอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าวริมฝั่งทะเล เราควรทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยที่สุด

1    ทิ้งเรือแล้ววิ่งหนีขึ้นฝั่ง

2    รีบนำเรือออกจากฝั่งทันที

3    ลากเรือขึ้นฝั่งแล้วหลบอยู่ในเรือ

4    ไม่ต้องทำอะไรเพราะเรือจะเป็นเกราะป้องกันให้เราได้

  1. ในปัจจุบันวิธีป้องกันภัยจากภูเขาไฟระเบิดที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้คือวิธีใด

1    การจำกัดเขตภูเขาไฟระเบิด

2    การอพยพผู้คนและทรัพย์สิน

3    การหาวิธีปิดปากปล่องภูเขาไฟ

4    การใช้สารเคมีดับไฟจากเถ้าถ่านลาวา

  1. พายุหมุนเขตร้อนจากแหล่งกำเนิดที่อ่าวเบงกอลหรือทะเลอันดามันจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยเฉพาะช่วงเดือนใดเท่านั้น

1    มีนาคม

2    เมษายน

3    มิถุนายน

4    พฤษภาคม

  1. ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ที่อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ได้รับความเสียหายอย่างมากจากพายุหมุนเขตร้อนชนิดใดที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย

1    พายุไต้ฝุ่น

2    พายุไซโคลน

3    พายุโซนร้อน

4    พายุดีเปรสชัน

เฉลย

1.

2

2.

2

3.

2

4.

3

5.

4

6.

1

7.

1

8.

2

9.

2

10.

4

11.

4

12.

3

13.

1

14.

1

15.

3

16.

1

17.

4

18.

4

19.

1

20.

3

21.

1

22.

3

23.

4

24.

3

25.

2

26.

2

27.

2

28.

1

29.

3

30.

3

31.

1

32.

2

33.

3

34.

4

35.

4

36.

4

37.

1

38.

3

39.

4

40.

4

41.

2

42.

2

43.

4

44.

3

45.

3

46.

1

47.

2

48.

2

49.

3

50.

2

51.

1

52.

2

53.

1

54.

2

55.

3

56.

3

57.

2

58.

2

59.

4

60.

1

อ้างอิง http://lnwsudsud.blogspot.com/2013/01/onet-2551-1.html