เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

 

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

 ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
[email protected] 

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt


เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 15,589 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 5,726 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 7,949 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 7,187 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 5,845 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 5,777 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 13,971 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 8,763 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 12,167 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 9,560 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 5,375 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 16,903 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 5,153 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 29,283 ครั้ง

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

เปิดอ่าน 5,844 ครั้ง

3001-2001 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ


3001-2001 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ            2 - 2 - 3


                    ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม
           - คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
           - อุปกรณ์ประกอบของคอมพิวเตอร์
           - หน่วยการทำงานที่สำคัญ
           - ความหมายของโทรคมนาคม
           - องค์ประกอบของเทคโนโลยีโทรคมนาคม

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
         - ระบบครือข่ายคอมพิวเตอร์
         - ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย
         - เรียนรู้พื้นฐาน Network ด้วยตนเอง
         - ระบบสารสนเทศ
 

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
 

การจัดเก็บ ค้นคืน ส่งผ่านและจัดดำเนินการข้อมูลสารสนเทศ
 

การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศตามลักษณะงานอาชีพ
          - ความหมายของโปรแกรมสำเร็จรูป
          - การใช้โปรแกรม Microsoft Excel ทำตารางประมาณราคา
          - การใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint นำเสนอข้อมูล
 

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

1.ความหมายของข้อมูล ข้อมูล ( Data) คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือตัวเลข ซึ่งข้อความหรือตัวเลขเหล่านี้อาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ คน พืช สัตว์ และสิ่งของ เช่น ปริมาณข้าวที่ประเทศไทยผลิตได้ในในปี 2545 เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข หรือความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปข้อความ เป็นต้น

2.ชนิดของข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์จะมีทั้งหมด 4 แบบ คือ

    1. ข้อมูลตัวเลข (Number) จะประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น เช่น 125 3648 เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ

    2. ข้อมูลอักระ (Text) ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลขและอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่างๆหรือตัวเลขที่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น บ้านเลขที่ 13/2 เป็นต้น

    3 ข้อมูลภาพ (lmage) รับรู้จากการมองเห็น เช่น ภาพถ่ายคน ภาพวิวทิวทัศน์ต่างๆ

    4 ข้อมูลเสียง (Sound) รู้จักทางหูและการได้ยิน เช่น เสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น

3. ความหมายของสารสนเทศ

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้วอาจใช้วิธีง่ายๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยโดยใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น วิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจให้คำตอบปัญหาต่างๆ ได้สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปต่างๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ถ้ากล่าวง่ายๆ คือ ข้อมูลเป็นข้อมูลดิบ แต่สารสนเทศ เป็นข้อมูลที่ทำการประมวลผลแล้ว เช่น คะแนน สอบเต็ม 100คะแนน แต่นำมาตัดเกรดแล้ว เกรดนั้นคือ สารสนเทศ หรือข้อมูลที่นำมาหาค่าเฉลี่ยหรือสรุปผลแล้ว ข้อมูลนั้นก็คือ สารสนเทศ

4 ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบของการจัดเก็บประมวลผลข้อมูลโดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่างหรือระบบสารสนเทศเป็นการนำข้อมูลมาจัดกระทำให้เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบแบบแผน เพื่อสะดวกต่อการค้นคืนหรือการเลือกใช้ในการตัดสินใจและการดำเนินงานขององค์กร

5 ประเภทของระบบสารสนเทศ

1 ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ

เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรม หรือการปฏิบัติงานประจำแรงงานขั้นพื้นฐานขององค์กร เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า

2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน นอกจากนี้ ระบบนี้จะต้องให้สารสนเทศในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

   3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบ mis  อีกระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบ mis ของบริษัท สำหรับทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานปกติ แปลเบอร์ครั้งที่ผู้ตัดสินใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางจะเผชิญการตัดสินใจที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวลเข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้อง

   4 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงการสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม

5 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน gis  เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสำคัญกับข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วยgis  และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่เป็นต้น

6 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง

เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือสามารถกล่าวได้ว่าอะไรบบนี้คือส่วนหนึ่งของ dss ที่แยกออกมา เพื่อเน้นการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริการแก่ผู้บริหาร

7 ปัญหาประดิษฐ์

ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการในสาขาใดสาขาหนึ่ง คล้ายกับมนุษย์ ระบบผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนคล้ายคลึงกับระบบอื่นๆ คือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยวิธีใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์

8 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน qas  มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ แต่จะทำการส่งข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะคือ รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์

6 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

1 ฮาร์ดแวร์ คือ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงานผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้อย่างต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ

   2 ซอฟต์แวร์คือ ลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  software  จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการและประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ

3 บุคลากร คือ ผู้ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคนเช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบ

4 ขั้นตอนการปฏิบัติ คือ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลามีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการต่างๆ ต้องมีขั้นตอน  5 ขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ

5 ข้อมูล คือ เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นอยู่กับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่างๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการทำให้เกิดสารสนเทศ

6 เครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล คือ ระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือ   ข่าย จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดี คือ  internet

   7 ความหมายของระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่าย หมายถึง ระบบที่มีการคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องมาเชื่อมต่อเข้าเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันในระบบได้ และสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหรืออุปกรณ์ต่างๆในระบบร่วมกันได้

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำกลุ่มคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย ผ่านสื่อกลางส่งข้อมูล ที่อาจเป็นสายเคเบิลหรือคลื่นวิทยุเป็นเส้นทางการส่งข้อมูลให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และข้อมูลร่วมกันได้ ในทำนองเดียวกับการสื่อสารกับบุคคลอื่นๆในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

8 ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดดังนี้

    1 เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน

เครือข่ายท้องถิ่นเป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในบริเวณใกล้เคียงเข้าด้วยกัน ซึ่งระยะทางไกลสุดที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ แบบไม่ติดขัดประมาณ 100 เมตร มีการเชื่อมต่อแบบ client-server ระหว่างเครื่องลูกข่าย กับเครื่องบริการกลาง ที่ให้บริการกับผู้ใช้จำนวนไม่มาก ความสามารถในการทำงานของระบบเครือข่ายถูกกำหนดไว้ที่เครื่อง server  เพียงเครื่องเดียวที่ควบคุมด้วย software ระบบเครือข่าย

    2 เครือข่ายระดับเมือง man

เป็นเครือข่ายที่สื่อสารได้ระยะไกลกว่าเครือข่ายท้องถิ่น  Lan และระยะไกลน้อยกว่าเครือข่ายระดับประเทศ Wan สามารถรับส่งข้อมูลได้ไม่เกิน 60 กิโลเมตรซึ่งเป็นเครือข่ายในเขตเมืองครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอหรือในจังหวัดเดียวกันโดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้าด้วยกันเช่น การต่อคอมพิวเตอร์ของสาขาต่างๆในเขตเมือง เพื่อสื่อสารแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันในองค์กร

    3 เครือข่ายระดับประเทศ Wan

เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างองค์กร ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ ซึ่งเครือข่ายระดับประเทศ Wan การเชื่อมต่อระยะทางไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูงมากนัก เครือข่ายระดับประเทศ จะทำให้ทุกบริษัท ทุกองค์กร ทุกหน่วยงานเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้าสู่เครือข่ายกลาง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและทำงานร่วมกันในระบบที่ต้องติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เช่น ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากถอนเงินผ่านตู้ atm  เป็นต้น

    4 ระบบเครือข่ายไร้สาย

เครือข่ายไร้สาย เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและวิธีการจัดการทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรต่างๆ ทั้งในองค์กรเดิมที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่แล้วและองค์กรที่เกิดขึ้นใหม่ที่กำลังวางแผนติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่ง ไม่ใช่เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มาทดแทนเครือข่ายแบบใช้สัญญาณ แต่เป็นเทคโนโลยีที่สามารถขยายเครือข่ายแบบใช้สัญญาณได้

9 รูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่าย

    1 แบบบัส bus  ลักษณะของโทโปโลยีแบบบัส จะมีสายเคเบิลเส้นหนึ่งที่ใช้เป็นสายแกนหลัก โดยโดยทุกๆโหนดบนเครือข่ายจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายเส้นนี้ จึงดูเหมือนกับราวแขวนเสื้อผ้า รูปแบบการเชื่อมต่อในลักษณะนี้ มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ประหยัดสายสื่อสาร แต่ถ้าสายแกนหลักขาดหรือมีปัญหา จะส่งผลให้เครือข่ายล้มทั้งหมด

    2 แบบดาว   star  เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่แต่เดิมนั้นนำมาใช้กับเครื่องอันดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ที่ใช้เป็นศูนย์กลางแม่ข่าย และมีลูกข่ายอย่างเครื่องเทอร์มินัลเชื่อมต่อ แต่ในปัจจุบันโทโพโลยีแบบดาวนิยมนำมาใช้เชื่อมต่อบนเครือข่ายทั่วไป โดยจะมีอุปกรณ์ฮับ  ที่ใช้เป็นศูนย์กลางการควบคุมของสายสื่อสารทั้งหมด

    3 แบบวงแหวน Ring เป็นการเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดหนึ่งต่อกันไปเรื่อยๆจนกระทั่งโหนดแรกและคนสุดท้ายได้เชื่อมโยงถึงกัน จึงเกิดเป็นรูปวงกลมหรือวงแหวนขึ้นมา โดยคอมพิวเตอร์หรือโนแต่ละโหนดจะเชื่อมต่อกันในลักษณะจุดต่อจุด สัญญาณจะถูกส่งทอดจากโหนดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนทิศทางเดียวกัน  และจะส่งท่อต่อไปเรื่อยๆ

    4 แบบเมช Mesh เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเต็มรูปแบบ แต่ละโหนดจะสื่อสารผ่านสายสัญญาณที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างเต็มที่ และหากมีสายสัญญาณบางลิ้นขาดไป ก็สามารถเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นแทน จึงจัดเป็นรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีความคงทนสูงมาก แต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสัญญาณมากเช่นกัน

สมรรถนะ2 ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมในการสืบค้นและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบ

การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ

              องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม   สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source)   อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ  ข้อมูล และเสียงเป็นต้น  ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ  ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร  จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน

         2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร

หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์  ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ  ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ  กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

             3. ช่องสัญญาณ  (channel)  ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน  อาจจะเป็นอากาศ  สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว  เช่น  น้ำ  น้ำมัน เป็นต้น  เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

             4. การเข้ารหัส  (encoding)  เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย  จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้  การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน

ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง   ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้

             5. การถอดรหัส (decoding)  หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร  โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน

             6. สัญญาณรบกวน (noise)  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร  ผู้รับข่าวสาร  และช่องสัญญาณ    แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด  ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ  เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร  ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)  กรองสัญญาณแต่ต้นทาง  เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ  เช่น  การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล  เป็นต้น

ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง   การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง  อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า

ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

1.หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit) หรือ ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น

2.ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

3.หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit) หรือผู้รับข่าวสาร เป็นจุดหมายปลายทางของข่าวสาร ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ

วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์กร

ประกอบด้วย

1.เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล

2.เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

3.เพื่อลดเวลาการทำงาน

4.เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร

5.เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ

  1. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ การสืบค้นข้อมูล

    คำว่า "การสืบค้น" (Retrieval) หมายถึง การสืบเสาะค้นหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะได้รับคำตอบในรูปของบรรณานุกรม ต้นฉบับเอกสาร คำตอบที่เฉพาะเจาะจง ตัวเลข หรือข้อความของเรื่องนั้น ในที่นี้ความหมายเน้นหนักไปทางด้านการค้นหาข้อมูลโดยใช้เครื่องมือช่วยค้น ประเภทที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของห้องสมุด ฐานข้อมูล CD-ROM/DVD ฐานข้อมูลออนไลน์ Internet และ search engine ต่าง ๆ เป็นต้น.. การค้นหาข้อมูลให้ได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และตรงตามความต้องการ จำเป็นต้องอาศัยทักษะและพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูล เช่น วิธีการใช้เครื่องมือช่วยค้นแต่ละชนิด การใช้คำหรือวลี (keyword) ให้สอดคล้องกับเรื่องที่กำลังค้นหา การเลือกรูปแบบการค้นให้เหมาะสม การใช้คำเชื่อม (and, or, not, with, adjacent..) เพื่อกำหนดขอบเขตการค้นให้มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ได้ผลการค้น/รายการข้อมูล ที่ถูกต้องตรงตามความต้องการมากที่สุด

ระบบเครือข่าย (Network)

ระบบเครือข่ายจะหมายถึง การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเพื่อจะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลและเครื่องพิมพ์

"ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้" เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน ซึ่งเป็นระบบ LAN ( Local Area Network) จะได้พบต่อไปนี้ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มาเชื่อมต่อกันในบ้าน สิ่งที่เกิดตามมาก็คือประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น

1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์หลาย

2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูลตัดปัญหาเรื่องความจุของสื่อบันทึกไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลหลักอย่างฮาร์ดดิสก์ หากพื้นที่เต็มก็คงต้องหามาเพิ่ม

3. การติดต่อสื่อสาร โดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์ก สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกัน หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network

4. การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบ เน็ตเวิร์กสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว

การสืบค้นข้อมูลห้องสมุด

การสืบค้นหน้าหลัก

การสืบค้นโดยหน้าหลัก จะประกอบไปด้วยช่องแสดงรายการต่างๆใช้พิมพ์คำค้นของคำทั่วไปหรือคำเฉพาะ โดยแสดงคำค้นขึ้นต้นที่พิมพ์ และคำต่อไปตามลำดับ

ขั้นตอนการสืบค้น

- เลือกหัวข้อของการสืบค้นที่ช่องประเภทการสืบค้นตามความต้องการ เช่น ผู้แต่ง, ชื่อเรื่อง,   

 หัวเรื่อง หรือ เลขเรียกหนังสือ จากนั้นคลิกเลือกรายการที่ต้องการ

- คลิกเลือกฐานข้อมูลที่ต้องการสืบค้น เช่น       หนังสือ/วารสาร/โสตทัศนวัสดุ หรือ     

  ดรรชนีวารสาร

- พิมพ์คำค้นที่ต้องการสืบค้นที่คอลัมภ์ พิมพ์คำสืบค้นเพื่อหาชื่อทีต้องการ คลิกที่ สืบค้น

การแสดงรายละเอียดรายการตัวเล่ม

       - คลิกที่หมายเลขประจำตัวเล่ม (Item Barcode) เพื่อเลือกดูรายละเอียดของรายการตัวเล่มนั้นๆ

       - รายการตัวเล่มให้รายละเอียดของแต่ละ Item รวมถึง Copy number ที่มีอยู่ในแต่ละระเบียนโดยจะให้รายละเอียดดังนี้

·       Barcode คือ หมายเลยประจำตัวเล่ม

·       Item Class คือ ประเภทของตัวเล่ม

·       Shelf Location คือ สถานที่จัดเก็บตัวเล่มว่าอยู่ห้องสมุดไหน

·       Call Number คือ เลขเรียกหนังสือและบอกถึงหมวดหมู่ของหนังสือบนชั้นเก็บ

การสืบค้นแบบสืบค้นทั่วไป

การสืบค้นแบบสืบค้นทั่วไป จะให้ประโยชน์ในการควบคุมคำค้น และ โครงสร้างรายการโยงของห้องสมุดลักษณะการสืบค้นจะเอื้อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นในความ

หมายที่แคบลงจากหัวข้อทั่วไปให้เป็นหัวข้อที่เฉพาะเจาะจงหรือผู้ใช้ไม่รู้คำที่แน่นอนก็สามารถ

สืบค้นได้

ขั้นตอนการสืบค้น

     - เลือกประเภทการสืบค้นเป็น สืบค้นทั่วไป จะปรากฏหน้าจอ สืบค้นทั่วไป         

   - เลือกหัวข้อของการสืบค้นที่ช่องประเภทการสืบค้น เช่น ผู้แต่ง, ชื่อเรื่อง, หัวเรื่อง หรือ

เลขเรียกหนังสือ จากนั้นคลิกเลือกรายการที่ต้องการ

        - คลิกเลือกฐานข้อมูลที่ต้องการสืบค้น เช่น หนังสือ/วารสาร/โสต หรือ ดรรชนีวารสาร

        - พิมพ์คำค้นที่ต้องการสืบค้นที่คอลัมภ์ คำหรือวลี คลิกที่ สืบค้น

การสืบค้นแบบคำสำคัญ

การสืบค้นโดยใช้คำสำคัญในการสืบค้น จาก ชื่อผู้แต่ง, ชื่อเรื่อง, หัวเรื่อง หรือ คำทุกคำจาก ทุก Field ทีมีการจัดเก็บในฐานข้อมูล และสามารถสืบค้นโดยการเชื่อมคำแบบตรรกบูลีน และ, หรือ, ไม่  ในการเชื่อมคำได้มากกว่า 2 คำค้น

ขั้นตอนการสืบค้น

- เลือกประเภทการสืบค้นรูปแบบคำสำคัญ

- เลือกฐานข้อมูลที่ต้องการสืบค้น

- เลือกประเภทคำค้น เช่น ผู้แต่ง, ชื่อเรื่อง หรือ หัวเรื่อง

- ใส่คำค้นที่ช่องว่าง สามารถใส่คำค้นได้มากกว่า 1 คำ

                   - สามารถเลือกรูปแบบการผสมคำได้ เช่น และ, หรือ, ไม่ และ ใกล้เคียง

·       และ คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นทั้งหมดทุกคำสืบค้น

·       หรือ คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นทั้งหมดทุกคำสืบค้น และผลการสืบค้นที่มีคำสืบค้นคำใดคำหนึ่ง

·       ไม่ คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นคำแรกแต่จะต้องไม่มีคำสืบค้นที่2

·       ใกล้เคียง คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นคำแรกภายในคำคำสืบค้นที่ 2

การสืบค้นแบบเชี่ยวชาญ

การสืบค้นแบบ เชี่ยวชาญเป็นการสืบค้นสำหรับผู้ใช้งานที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างคำ และการผสม สำหรับการสืบค้น

การสืบค้น

- คลิกเลือกการสืบค้นแบบเชี่ยวชาญ

                -  เลือกฐานข้อมูล

                - พิมพ์คำค้นในช่องว่าง

·       ต้องการสืบค้นโดยผู้แต่ง พิมพ์ a:

·       ต้องการสืบค้นโดยหัวเรื่อง พิมพ์ s:

·       ต้องการสืบค้นโดยชื่อเรื่อง พิมพ์ t:

              - คลิกสืบค้น เพื่อสืบค้นรายการนั้น

การสืบค้นแบบหลายฐานข้อมูล

การสืบค้นแบบ หลายฐานข้อมูล เป็นการสืบค้นจากหลายฐานข้อมูล ในเวลาเดียวกัน

การสืบค้น

- คลิกเลือกการสืบค้นเป็น หลายฐานข้อมูล

- เลือกประเภทการสืบค้น เช่น ชื่อเรื่อง, ผู้แต่ง, หัวเรื่อง,ทุกเขตข้อมูล

- ใส่คำค้นที่ช่องว่าง สามารถใส่คำค้นได้มากกว่า 1 คำ

- สามารถเลือกรูปแบบการผสมคำได้ เช่น และ, หรือ, ไม่ และ ใกล้เคียง

·       และ คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นทั้งหมดทุกคำสืบค้น

·       หรือ คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นทั้งหมดทุกคำสืบค้น และผลการสืบค้นที่มีคำสืบค้นคำใดคำหนึ่ง

·       ไม่ คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นคำแรกแต่จะต้องไม่มีคำสืบค้นที่2

·       ใกล้เคียง คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นคำแรกภายในคำคำสืบค้นที่ 2

              -  เลือกฐานข้อมูลที่ต้องการสืบค้นโดยคลิกที่ช่อง หรือ คลิก ทั้งหมด เพื่อเลือกสืบค้นทุก

ฐานข้อมูลพร้อมกัน

การสืบค้นแบบคำสำคัญรายการหลัก

เป็นลักษณะการสืบค้นที่จะสืบค้นจาก รายการควบคุมรายการหลัก ซึ่งได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และหัวเรื่อง โดยเราสามารถที่จะจำกัดการสืบค้นได้ด้วยการใช้ และ,หรือ,ไม่,ใกล้เคียงรูปแบบของคำค้น ทุกคำ,คำหรือวลี,ตรงคำ

ขั้นตอนการสืบค้น

- เข้าสู่หน้าจอการสืบค้นและเลือกลักษณะการสืบค้นแบบคำสำคัญรายการหลัก ในหน้าจอการสืบค้น

- เลือกประเภทของคำสืบค้นที่ช่อง ในหน้าจอการสืบค้นแบบคำสำคัญรายการหลัก โดยการกำหนดค่าได้แก่ ชื่อเรื่อง,หัวเรื่องรายการหลัก,หัวเรื่องรายการหลักLC(Library of Congress Subject),ผู้แต่ง

- เลือกลักษณะคำสืบค้นจาก รูปแบบข้อมูลซึ่งได้แก่

· ทุกคำ คือ ผลการสืบค้นจะต้องปรากฏคำสืบค้นนั้นๆในส่วนใดของผลการสืบค้นก็ได้

· คำหรือวลี คือ ผลการสืบค้นจะต้องปรากฏคำสืบค้นนั้นๆ โดยคำสืบค้นจะต้องอยู่ติดกันหรือเป็นวลีเดียวกันเท่านั้น

· ตรงคำ คือ ผลการสืบค้นจะต้องปรากฏคำสืบค้นนั้นๆ โดยคำสืบค้นจะปรากฏอยู่ส่วนต้นของผลการสืบค้นเท่านั้น

- เลือกคำเชื่อมคำสืบค้น โดยจะมีความหมายในการสืบค้นต่างกันดังนี้

· และ คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นทั้งหมดทุกคำสืบค้น

·หรือ คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นทั้งหมดทุกคำสืบค้น และผลการสืบค้นที่มีคำสืบค้นคำใดคำหนึ่ง

· ไม่ คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นคำแรกแต่จะต้องไม่มีคำสืบค้นที่2

· ใกล้เคียง คือ ผลการสืบค้นที่ปรากฏจะต้องมีคำสืบค้นคำแรกภายในคำคำสืบค้นที่ 2

- ใส่คำสืบค้นใน คำหรือวลี และในการสร้างคำสืบค้นสามารถใช้ ฐานข้อมูลได้อีกด้วย และสามารถกำหนด หนังสือ/วารสาร/โสตหรือดรรชนีวารสาร ได้ จากนั้นคลิกปุ่ม สืบค้นเพื่อทำการสืบค้น

สมรรถนะ2 ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมในการสืบค้นและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

สมรรถนะ2 ใช้คอมพิวเตอร์แล...่ายคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

สมรรถนะ 3 จัดเก็บ ค้นคืน ส่งผ่านและจัดดำเนินการข้อมูลสารสนเทศตามลักษณะงานอาชีพ

การเตรียมการค้นคืนสารสนเทศ

การเข้าถึง(Access)

เป็นวิธีการที่ผู้ใช้สามารถค้น ค้นหา ค้นคืน และได้รับสารสนเทศ ที่เข้าถึงเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่สถาบันบริการสารสนเทศและแหล่งต่างๆ จัดเก็บไว้บริการผู้ใช้

การค้นหา(Searching)

เป็นการป้อนคำสั่งโดยผู้ค้นเตรียมประโยคหรือคำค้นไว้ และปฏิสัมพันธ์กับระบบค้นคืนและพิจารณาผลที่ได้รับ ซึ่งเป็นขั้นตอนในกระบวนการค้นหา

การค้นคืน (Retrieval)

หมายถึง การได้รับสิ่งต้องการกลับคืนมา

การค้นคืนสารสนเทศ จึงเป็นการกระทำใดๆที่คัดเลือกสารสนเทศจากแหล่งเก็บเพื่อทำให้ได้รับสารสนเทศตามที่ต้องการซึ่งอาจเป็นข้อมูล หรือรายการเอกสาร ที่มีเนื้อหาที่ต้องการ

หลักสำคัญของการค้นคืนสารสนเทศคือ การค้นหาและนำสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการ ส่งให้ผู้ใช้อย่างรวดเร็ว ทันกาล จึงเรียกว่า ระบบการค้นคืนสารสนเทศ  เช่น บัตรรายการ สิ่งพิมพ์ดรรชนี เป็นต้น

สรุป การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ คือ กระบวนการในการรวบรวมรายละเอียดของสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการกลับคืนมาได้สะดวกและรวดเร็ว ด้วยวิธีและเทคนิกอย่างเป็นขั้นตอน

การเตรียมการในการค้นคืนสารสนเทศ มีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้

1.การเตรียมรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการ

WHO หมายถึงเรื่องราวที่กำลังต้องการค้นหาเกี่ยวกับใคร ได้มีการปรึกษาบุคคลอื่นก่อนหรือไม่และมีการพูดคุยกับกลุ่มหรือบุคคลเป้าหมายใดบ้าง

WHAT หมายถึง ต้องการสนเมศอะไรบ้างหรือประเภทใดบ้างที่ต้องการการคาดว่าทรัพยากรสารสนเทศใดมีประโยชน์สูงสุดต่อการค้นหา มีการตรวจสอบทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อย่นระยะเวลาในการค้นหาและรูปแบบสารสนเทศที่ต้องการเป็นอย่างไร

WHERE หมายถึง ข้อมูลที่ต้องการค้นหาเกิดขึ้นที่ไหน สามารถค้นพบได้แหล่งใด และในอนาคตจะสามารถค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้จากที่ไหน

WHY หมายถึง จะต้องการสารสนเทศมากน้อยแค่ไหน จะนำทรัพยากรสารสนเทศที่รวบรวมมาได้มาสังเคราะห์อย่างไร มีงบประมาณเท่าไร เพียงพอ หรือไม่ที่จะสืบค้น  วิธีการค้นหาข้อมูลมี 2 แบบ ทั้งแบบ ออนไลน์ และแบบออฟไลน์ จะขอความช่วยเหลืออย่างไรถ้าเกิดปัญหา และการอ้างอิงทำอย่างไร

2.พิจารณาเลือกฐานข้อมูลโดยให้คำนึงถึง

-ขอบเขตเนื้อหาสาระของสารสนเทศในฐานข้อมูล

-ระยะเวลาของส่ารสนเทศที่บันทึกอยู่ในฐานข้อมูล

-ราคาค่าใช้จ่ายที่ต้องการสืบค้นฐานข้อมูล

-ภาษาของสารสนเทศ

-จำนวนสารสนเทศที่มีอยู่และการเพิ่มขึ้นของข้อมูล

-ลักษณะของสารสนเทศที่ให้เป็นสารสังเขป หรือข้อมูลเต็บรูป

-บริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ เช่น การพิมพ์ผลการสืบค้น หรือการส่งข้อมูลผ่าน E-Mail

การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศ

การเก็บรวบรวมข้อมูล

         การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการทางสถิติที่มีความสำคัญ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับกรอบแนวความคิด สมมุติฐาน เทคนิคการวัด และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งหมายรวมทั้ง การเก็บข้อมูล (Data Collection) คือ การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ และการรวบรวมข้อมูล (Data Compilation) ซึ่งหมายถึง การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆ มาทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ

การตรวจสอบข้อมูล

   เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้องและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย

การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล

  การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

การจัดเรียงข้อมูล

  ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง

การคำนวณ

      ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม

การทำรายงาน

  การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ

การจัดเก็บ

     ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม

การทำสำเนา

      หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว

การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล

      เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้ สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่าย เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้กว้างขวางมากขึ้น

สมรรถนะ4 นำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศในงานอาชีพโดยประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการนำเสนอ และสื่อสารข้อมูลสารสนเทศตามลักษณะงานอาชีพ

1 ความหมายของการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ

การนำเสนอข้อมูล  Presentai tion หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้ฟัง ผู้ฟังโดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆ ฉันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดหมายของการนำเสนอ

2 จุดมุ่งหมายในการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ

การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศตามลักษณะงานอาชีพ มีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอ ดังนี้

   2.1 เพื่อให้ผู้ชม ผู้ฟังเข้าใจในสาระสำคัญของการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ

   2.2 ให้ผู้ชม ผู้ฟังเกิดความประทับใจและนำไปสู่ความเชื่อถือในข้อมูลสารสนเทศที่นำเสนอ

3 หลักการพื้นฐานของการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ

การพื้นฐานของการนำเสนอผลงาน มีจุดเน้นสำคัญ ดังนี้

3.1 การดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจขึ้นเพื่อชมการนำเสนอ ดังนั้น การเลือกกลุ่มประกอบต่างๆ เช่น สีพื้น แบบ สี แบบขนาดของตัวอักษร รูปประกอบต้องเหมาะสมและสวยงาม

3.2 ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า “A picture is worth a thousand words” หรือ “ ภาพภาคหนึ่งนั้นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ” แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถามให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไร และภาพที่เลือกมานั้น สามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่

3.3 ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจุดเน้นตามข้อ 1 และข้อ  2  ข้างต้นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก การใช้สีสดๆ ภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่และเนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องวิชาการหรือธุรกิจ การใช้สีสันมากเกินไปและการใช้รูปการ์ตูนอาจทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือเพราะขาดภาพลักษณ์ของการเอาจริงเอาจังไป

3.4 หลักการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ

หลักการเลือกใช้โปรแกรม และหลักการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ โดยใช้โปรแกรมดังนี้

1 ความเข้าใจกับงานที่ต้องการนำเสนอก่อนการเลือกระบบสารสนเทศมาใช้ในการนำเสนองานนั้น ต้องเข้าใจถึงลักษณะงานที่ต้องการนำเสนอก่อนว่าเป็นงานลักษณะใด เช่น เป็นข้อความ หรือมีการคำนวณหรือเป็นงานที่เกี่ยวกับการค้น การเก็บรักษาข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ

2 เลือกโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้เพื่อทราบลักษณะของงานที่ต้องการนำเสนอแล้ว จะเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับการนำเสนองานนั้น งานบางอย่างอาจใช้ระบบสารสนเทศในการนำเสนอได้หลายอย่าง อาจต้องเลือกว่าจะใช้ระบบใด ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในความสามารถของระบบนั้น โดยเฉพาะในส่วนของโปรแกรมว่าแต่ละโปรแกรมมีความสามารถใดบ้าง เราอาจจะต้องทำการประเมินว่าโปรแกรมใดมีความเหมาะสมเพียงใด แล้วจึงเรียกโปรแกรมที่เห็นว่า เหมาะสมที่สุด

3 จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของโปรแกรม โปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความสามารถไม่เหมือนกัน ขนาดของโปรแกรมก็ไม่เท่ากัน ทำให้ความต้องการของฮาร์ดแวร์ในการทำงานตามโปรแกรมนั้นแตกต่างกันในคู่มือการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้น จะบอกข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ที่ต้องการสำหรับการใช้งานไว้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง จะต้องจัดหาฮาร์ดแวร์ให้ได้ตามข้อกำหนดนั้นให้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนใหญ่สามารถนำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่ขายทั่วไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์เลือกตามความต้องการว่าเป็นเครื่องจีนสีขาว/ดำ หรือหลายสี จอภาพจะใช้ขนาดใหญ่กี่นิ้ว หรือฮาร์ดดิสก์ที่อาจต้องดูขนาดความต้องการว่าซอฟต์แวร์ขนาดเท่าใด  และฮาร์ดดิสก์จะพอใช้หรือไม่ เพราะในไมโครคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง นั้นเรามักจะบรรจุโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ไว้หลายชนิด และปริมาณแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจมากจนกระทั่งพื้นที่ที่เหลือไม่เพียงพอต่อการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปใหม่นั้น

4 การใช้งานโปรแกรมในการใช้งานนั้น นอกจากผู้ชายจะต้องทำความเข้าใจการทำงานของฮาร์ดแวร์ว่าใช้งานอย่างไรแล้ว รายละเอียดการใช้งานซอฟต์แวร์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน ส่วนใหญ่จะศึกษาจากคู่มือของโปรแกรมสำเร็จรูปนั้นเพื่อความเข้าใจในความสามารถก่อน ปกติแล้วคู่มือการใช้งานมาจากเจ้าของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ซึ่งมักจะอธิบายถึงความสามารถตามฟังก์ชันที่มีอยู่ แต่มักจะไม่ค่อยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ผู้ใช้ต้องทดลองเองจึงได้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในโปรแกรมนั้นๆ ทำคู่มือการใช้งานในลักษณะการประยุกต์ มีตัวอย่างของงานแสดงให้เห็น ทำให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างเร็วขึ้นและในปัจจุบันนี้มีการทำคู่มือการใช้งาน ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ทำเป็นซีดีการใช้งาน เป็นต้น ฉะนั้น ผู้ใช้งานที่ยังไม่มีประสบการณ์จึงควรเรียนรู้จากคู่มือการใช้งาน ทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

5 รูปแบบการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

รูปแบบการนำเสนอข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ปัจจุบันที่นิยมใช้กันมี 3 แบบคือ

1 การนำเสนอแบบ Web Page รูปแบบการนำเสนอที่ใช้บนอินเตอร์เน็ต การนำเสนอแบบนี้สามารถสร้างการเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่างๆ ตลอดส่วนสามารถสร้างการเชื่อมโยงเอกสารที่ต่างรูปแบบนั้นได้ เราต้องใช้เวลาในการจัดทำมากกว่าผู้จัดทำต้องมีความรู้ความชำนาญในโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ และโปรแกรมที่นิยมใช้มากที่สุดคือ โปรแกรม adobe dream weaver

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

2 การนำเสนอแบบ Slide Presentation

เป็นการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมนำเสนอ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายมาก มีรูปแบบการนำเสนอให้เลือกใช้หลายแบบ สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และตกแต่งด้วยสีสัน สีพื้น สีของอักษร รูปแบบของฟอนต์ของตัวอักษรได้ง่ายและสะดวก ในปัจจุบันสื่อนำเสนอรูปแบบ Slide Presentation หรืิสไลด์ ดิจิทัล มักจะสร้างด้วยโปรแกรมในกลุ่ม Presentation  เช่น  microsoft powerpoint , OfficeTLE lm press เทคนิคการออกแบบสื่อนำเสนอ สื่อนำเสนอที่ดี ควรมีความโดดเด่น น่าสนใจ จะเน้นความคิด “หนึ่งสไลด์ต่อหนึ่งความคิด”

มีการสรุปประเด็น มีสาระสำคัญโดยมีแนวทาง 3 ประการในการออกแบบ ได้แก่

1  สื่อความหมายได้รวดเร็ว สื่อนำเสนอที่ดีต้องสามารถสื่อความหมายให้ผู้ฟัง ผู้ชมได้อย่างรวดเร็ว การออกแบบสีนำเสนอในประเด็นคู่ออกแบบจะต้องกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ สถานที่และเวลาที่ต้องการนำเสนอเพื่อการออกแบบสื่อ เช่น กลุ่มเป้าหมายขนาดเล็ก สื่อควรให้ความสำคัญกับผู้ฟังมากกว่าเนื้อหา สามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่างๆ โปรแกรมสร้างสื่อมาใช้ได้อย่างเต็มที่ กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะโต้ตอบ เช่น การนำเสนอทางวิชาการ การบรรยาย หรือการฝึกอบรม สื่อนำเสนอควรให้ความสำคัญกับเนื้อหา รวมทั้งยังสามารถนำเทคนิคหรือ Effect ต่างๆโปรแกรมสร้างสื่อมาใช้ได้อย่างเต็มที่เช่นกัน กลุ่มเป้าหมายเฉพาะกิจ เช่น ผู้บริหาร นักวิชาการ สื่อนำเสนอจะต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาและผู้นำเสนอเป็นสำคัญเนื้อหาความมุ่งเฉพาะเป้าหมายของการนำเสนอ ดังนั้น สื่อนำเสนอไม่ควรเน้น Effect แต่ควรให้ความสำคัญกับขนาดอักษร สีตัวอักษร และลักษณะของพื้นสไลด์

2 เนื้อหาเป็นลำดับ สื่อนำเสนอที่ดีควรมีการจัดลำดับเนื้อหาเป็นลำดับ มีระเบียบ ดูง่าย ไม่ซับซ้อนสิ่งที่จะช่วยให้การออกแบบสื่อนำเสนอที่ต้องการจัดลำดับเนื้อหาให้เป็นระเบียบและดูง่าย คือ

2.1 รูปแบบเนื้อหา สื่อนำเสนอแต่ละสไลด์ ควรหลีกเลี่ยงการนำเสนอแบบย่อหน้า หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรใช้เทคนิคการเน้นแนวคิดหลัก ในแต่ละย่อหน้าด้วยสีที่โดดเด่น เช่น พื้นหลังสีขาว ตัวอักษรสีดำ ควรเน้นแนวคิดหลัก ด้วยสีแดง เป็นต้น แต่ละสไลด์เนื้อหาไม่ควรเกิน 6-8 บรรทัด ควรสรุปเนื้อหาให้เป็นหัวเรื่องและหัวข้อหรือแนวคิดหลัก

2.2 แบบอักษรการควบคุมการแสดงข้อความในแต่ละสไลด์ ควรให้ความสำคัญของขนาดตัวอักษรดังนี้

  • หัวข้อใหญ่กำหนดขนาดอักษรใหญ่กว่าหัวข้อย่อย

  • เลือกใช้แบบอักษรที่เหมาะสม

  • เปลี่ยนลักษณะของตัวอักษรนั้น ใช้ตัวหนาในข้อความที่ต้องการเน้น

  • ใช้ช่องว่างในการจัดกลุ่มของเนื้อหา

  • ข้อความที่ต้องการให้อ่านก่อน ควรจัดไว้ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของหน้า

  • พิมพ์ตัวอักษรลงกรอบที่วางแบบไว้แล้ว

  • เล่นหัวข้อก่อนแล้วจึงอธิบายอย่างละเอียด

  • ใช้สีที่แตกต่างกันหรือตัวอักษรสีสลับกัน

3 สื่อนำเสนอต้องระบุสายตาและน่าสนใจ สื่อนำเสนอที่ดีนั้นจะต้องมีจุดเด่นน่าสนใจ สามารถดึงดูดสายตาของผู้ดู ผู้ฟังได้ ซึ่งจุดเด่นนี้ได้มาจากขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่ หรือจากการใช้สีที่แตกต่างออกไป รวมถึงการเลือกใช้ภาพ การใช้สี และการใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอที่เหมาะสมประกอบการนำเสนอ

3.1 การใช้ภาพ เนื่องจากภาพจะช่วยให้ผู้ฟัง ผู้ชม สามารถจดจำได้นานกว่าตัวอักษร ดังนั้น การแปลเนื้อหาให้เป็นรูปภาพหรือผังภาพก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างความน่าสนใจให้กับสื่อที่นำเสนอ การเลือกใช้ภาพก็ควรเลือกใช้ภาพที่มีลักษณะที่เหมาะสมกันและกัน คือถ้าในสไลด์นั้นเลือกใช้ภาพถ่ายก็ควรใช้ภาพถ่ายกับ ภาพทุกภาพในสไลด์ แต่ถ้าเลือกใช้ภาพวาด ก็ควรใช้ภาพวาดทั้งสไลด์เช่นกัน ดังนั้น จึงไม่ควรใช้ภาพวาดผสมกับภาพถ่าย ใส่เทคนิคที่น่าสนใจให้กับภาพเพื่อสร้างจุดเด่น การเอียงภาพ การเว้นช่องว่างระหว่างภาพ  การเปลี่ยนสีภาพให้แตกต่างจากปกติ ควรระวังการเลือกใช้ภาพเป็นพื้นหลังสไลด์ เพราะอาจจะทำให้ผู้ชมสนใจพื้นสไลด์มากกว่านี้หาที่ต้องการนำเสนอ หรืออาจทำให้ผู้ชมไม่สนใจมองสไลด์เลยก็ได้ เรื่องจากภาพทำให้ตัวอักษรไม่โดดเด่น ไม่น่ามองหรืออาจยาก

3.2 การใช้สี การเลือกใช้สี ควรเลือกใช้สีที่ตัดกันระหว่างสีตัวอักษร สีวัตถุและสีพื้น เช่น เลือกใช้พื้นสไลด์สีขาวหรือสีอ่อนๆ สีตัวอักษรก็ไม่ควรจะเป็นสีดำ สีน้ำเงินเข้มหรือสีแดงเลือดหมู กรณีเลือกใช้สีในโทนร้อน เช่น สีแดงสด สีเหลืองสด สีเขียวสด สีวัตถุ สีแท่งกราฟหรือสีของตาราง ก็ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสีตัวอักษร และสีพื้น ด้วยการเลือกใช้สีใดๆ ก็ควรเป็นสีในชุดเดียวกันสำหรับสไลด์ทั้งหมด  ไม่ควรใช้หนึ่งสีสไลด์

3.3  การใช้  Effect ควบคุมการนำเสนอ ไม่ควรใส่ Effect มากเกินไป เพราะจะส่งผลให้ผู้ฟัง ผู้ชม สนใจ Effect มากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ หรืออาจไม่สนใจการนำเสนอเลยก็ได้ และ Effect พี่มากนี้จะเป็นการรบกวนการจดจำ การอ่านหรือการชม เลือกใช้ Effect ไม่ควรเกิน 3 แบบ  แบบในแต่ละสไลด์ควรเลือกใช้ Effect แสดงข้อความเลื่อนจากขอบซ้ายมาขอบขวาของจอ ธรรมชาติการอ่านของคนไทยอ่านข้อความจากบนลงล่างและอ่านจากด้านซ้ายไปด้านขวา

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

3 การนำเสนอในรูปแบบเอกสาร เรื่องการนำเสนอนี้จะมีหลายรูปแบบด้วยกัน คือ ใช้โปรแกรม  microsoft word,  microsoft excel และ microsoft  powerpoint  ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำเสนอแบบใดที่จะสะดวกและเข้าใจง่าย หรือเหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ ทั้งนี้สามารถที่จะนำโปรแกรมดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลตามลักษณะงานอาชีพได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

6 อุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงาน

อุปกรณ์ดิจิทัลที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงในงานนำเสนอหา เพื่อให้งานนำเสนอมีคุณภาพ ผู้ชมและผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt
1 โปรเจกเตอร์ เป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพที่ใช้ในการนำเสนอ โดยสามารถรองรับสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่น  vcd เครื่องเล่น dvd  และเครื่องกำหนดภาพอื่นๆ แล้วแสดงผล ขยายขนาดบนจอรับภาพช่วยให้มองเห็นได้ไกลขึ้นเพราะสำหรับการนำเสนอข้อมูลในห้องประชุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมองเห็นภาพหรือข้อความได้อย่างชัดเจน

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

2 วิชวลไลเซอร์  เป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง  ซึ่งพัฒนามาจากโอเวอร์เฮดหรือเครื่องฉายข้ามศีรษะ ใช้แสดงภาพวัตถุและเอกสารสู่จอภาพที่มีอยู่จริงได้เลยโดยไม่ต้องดัดแปลง อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนองานต่างๆ โดยเฉพาะครูหรืออาจารย์ที่สอนหนังสือ และใช้ได้ดีในการนำเสนอภาพนิ่งมากกว่าภาพเคลื่อนไหว แต่ถ้าที่แสดงออกมานั้นก็ให้ความคมชัด มีสีสดใส และมีโหมดของการแสดงภาพให้ปรับการทำงานด้วย การควบคุมการทำงานสามารถทำได้โดยใช้รีโมต

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

3 กล้องถ่ายรูปดิจิทัล เป็นอุปกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิล์มมาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อถ่ายรูปที่ต้องการแล้ว รูปจะถูกเก็บลงในหน่วยความจำ  memory  ที่อยู่ในกล้อง เมื่อต้องการดูรูปทำได้โดยการถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำลงบนเครื่องพิมพ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีขนาดที่ต้องการ สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงหรือเงาแล้วแต่ความพอใจ หรือจะเพิ่มรูปแบบก็สามารถทำได้ และเมื่อจะถ่ายใหม่ ก็สามารถใช้หน่วยความจำเดิมได้เลย

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

4 กล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิทัล เป็นอุปกรณ์รับภาพที่บันทึกข้อมูล ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เก็บไว้ในหน่วยความจำแบบเฟลชภายในกล้อง สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงเงาของภาพได้ และในปัจจุบันสามารถคัดลอกข้อมูลลงในแผ่นซีดีได้เลยโดยไม่ต้องโอนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์

5คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหรือโน้ต เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น โปรเจกเตอร์ เพื่อนำเสนองาน และใช้นำเสนองานผ่านจอภาพของคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

5 เครื่องเล่นเสียง หรือเครื่องเล่น mp3  เป็นอุปกรณ์ซึ่งบรรจุข้อมูลเสียงที่ใช้เล่นในคอมพิวเตอร์และสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลเสียงนั้นใช้เทคโนโลยีบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงมากกว่าข้อมูลเสียง ปกติถึง 12 เท่า  แม้ขนาดข้อมูลจะเล็กลง แต่คุณภาพเสียงไม่ได้เสียอย่างไรก็ตาม หากเรานำข้อมูลเสียงจากเครื่องเล่น mp3  ไปเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า จับด้านเสียงในขณะกระตุกหรือใช้งานไม่ได้เลย

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ppt

6โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่น เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ผู้ใช้สามารถนำเสนองานที่สร้างด้วยโปรแกรม  microsoft  powerpoint  ผ่านเครื่องโปรเจคเตอร์ได้อย่างสะดวกง่ายต่อการติดตั้ง เพียงเชื่อมต่อโปรเจคเตอร์เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสายเคเบิล แล้วเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบลูทูธ

นอกจากอุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงานแล้ว ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญในการนำเสนองาน คือ คำบรรยาย  บทพากย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านโสตหรือเสียงนั่นเอง โดยมีวิธีการและหลักในการพิจารณาดังนี้

1 การบรรยายสด เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี รู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดไหนหรือปฏิกิริยาจากผู้ชมทำให้ผู้บรรยายรู้ว่าผู้ชม สามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่ รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด

2 การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดีคือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรีเสียงประกอบ เพื่อสร้างบรรยากาศ แต่ข้อเสียคือ ไม่มีความยืดหยุ่น ไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ฟังได้ในขณะนั้น