ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

Skip to content

การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

ในปัจจุบันหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการในด้านต่างๆ ให้งานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด หน่วยงานในภาครัฐและรัฐวิสาหกิจได้นำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมทรัพยากรธรณี กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานจังหวัด กรมวิชาการการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ กรมชลประทาน สถาบันการศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปาภูมิภาคและนครหลวง และองค์การโทรศัพท์ เป็นต้น นอกจากนี้ในภาคเอกชนที่ได้มีการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทน้ำมัน บริษัทที่ปรึกษาด้านการทำแผนที่ และสิ่งแวดล้อม การประเมินโครงการวิศวกรรม และการประเมินผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ และรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีความทันสมัย สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

ที่ผ่านมารัฐบาลได้เน้นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาประเทศ จึงได้จัดตั้งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ขึ้นในปี พ.ศ.2543 เป็นหน่วยงานของรัฐในรูปแบบองค์การมหาชน ภายในกำกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นการบริหารและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบริการข้อมูลจากดาวเทียม ข้อมูลภูมิสารสนเทศ และบริการวิชาการต่างๆ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน

ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นในการสืบค้นข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผู้ใช้สามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลทางภูมิศาสตร์และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้สะดวกและมีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จอย่างสูงในอนาคต นอกจากนี้ยังมีโครงการดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ในการให้บริการการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ด้านอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทย ได้รับการพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ร่วมกับกรมแผนที่ทหาร และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและจัดเตรียมข้อมูลการสำรวจโลกผ่านซอฟต์แวร์รหัสต้นฉบับ NASA World Wind ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดได้ มีข้อมูลภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่ปรับให้ทันต่อเหตุการณ์ประกอบด้วย ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT ปี พ.ศ. 2549 ทั่วประเทศไทย ข้อมูลแนวแบ่งเขตการปกครองระดับจังหวัดและอำเภอ ข้อมูลที่ตั้งอำเภอ เส้นทางคมนาคม และสถานที่สำคัญอื่นๆ ลักษณะเด่นของดิจิทัลไทยแลนด์คือ สามารถทำงานแบบออฟไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเรียนรู้ได้เข้าถึงเทคโนโลยีสำรวจโลกจากห้วงอวกาศทุกที่ ทุกเวลาโดยไร้ข้อจำกัดทางอินเทอร์เน็ต ผลที่คาดว่าจะได้รับในระยะแรกคือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ภูมิสารสนเทศในระดับนักเรียน รวมทั้งเผยแพร่เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศที่ทันสมัย โดยดำเนินการแจกจ่ายโปรแกรมในรูปแบบดีวีดีแก่ครู นักเรียน และประชาชนที่สนใจ ในระยะที่สองจะทำการพัฒนาบริการแบบออนไลน์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน ซึ่งงานด้านหลักๆ ได้แก่ด้านเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ และระบาดวิทยา เป็นต้น

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

Copyright © 2018 LEARN : อาณาจักรภูมิสารสนเทศ อาณาเขตแห่งการเรียนรู้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

แผนที่กายภาพของโลกพร้อมกับเส้นแบ่งเขตการปกครองใน ค.ศ. 2016

ภูมิศาสตร์ (อังกฤษ: geography, กรีก: γεωγραφία แปลว่า "การพรรณนาเกี่ยวกับโลก"[1]) เป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นถึงการศึกษาเกี่ยวกับพื้นดิน ภูมิประเทศ ประชากร และปรากฏการณ์บนโลก[2] บุคคลแรกที่ใช้คำว่า γεωγραφία คือเอราทอสเทนีส (276–194 ปีก่อน ค.ศ.)[3] ภูมิศาสตร์ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและความซับซ้อนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติที่เกิดขึ้นซึ่งไม่เฉพาะแต่ในรูปธรรมแต่ยังรวมถึงความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

โดยทั่วไปภูมิศาสตร์มักถูกแบ่งออกเป็นสองสาขาหลักคือภูมิศาสตร์มนุษย์และภูมิศาสตร์กายภาพ[4][5] ภูมิศาสตร์มนุษย์เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นที่และสถานที่[6] ขณะที่ภูมิศาสตร์กายภาพเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงกระบวนการและแบบรูปในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอันประกอบด้วย บรรยากาศภาค อุทกภาค ชีวภาค และธรณีภาค

สี่ขนบธรรมเนียมทางประวัติศาสตร์ในการวิจัยทางภูมิศาสตร์ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ของปรากฏการณ์ธรรมชาติและมนุษย์ การศึกษาพื้นที่ของสถานที่และภูมิภาค การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นดินกับมนุษย์ และวิทยาศาสตร์โลก[7] ภูมิศาสตร์ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "สาขาวิชาแห่งโลก" และ "ตัวเชื่อมระหว่างมนุษย์และวิทยาศาสตร์กายภาพ"

บทนำ[แก้]

นักภูมิศาสตร์ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับนักทำแผนที่และผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับลำดับและชื่อของสถานที่ต่าง ๆ แม้ว่านักภูมิศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนเกี่ยวกับภูมินามวิทยาและการทำแผนที่แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นหน้าที่หลักของนักภูมิศาสตร์ นักภูมิศาสตร์เป็นผู้ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่และการกระจายของฐานข้อมูลเชิงเวลาจากปรากฏการณ์ กระบวนการ คุณลักษณะ ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม [8] เนื่องจากพื้นที่และสถานที่ส่งผลต่อความหลากหลายของสิ่งต่าง ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ สุขภาพ ภูมิอากาศ พืช และสัตว์ ทำให้ภูมิศาสตร์มีความเป็นสหวิทยาการสูง ลักษณะการเป็นสหวิทยาการของวิธีการทางภูมิศาสตร์ขึ้นอยู่กับความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ทางกายภาพและมนุษย์รวมถึงแบบรูปเชิงพื้นที่ที่เกิดขึ้น[9]

ภูมิศาสตร์สามารถแบ่งสาขาออกกว้าง ๆ ได้ออกเป็นสองสาขา คือ ภูมิศาสตร์มนุษย์และภูมิศาสตร์กายภาพ ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นถึงสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างว่ามนุษย์สามารถรังสรรค์ จัดการ มีมุมมองและอิทธิพลต่อพื้นที่นั้นอย่างไร ในภายหลังได้มีการมุ่งเน้นถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติว่าสิ่งมีชีวิต ภูมิอากาศ ดิน น้ำ และธรณีสัณฐานมีผลและปฏิสัมพันธ์อย่างไร[10] ความแตกต่างระหว่างวิธีการศึกษาเหล่านี้นำไปสู่​​การเกิดสาขาที่สามซึ่งผสานกันระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์คือ ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและมนุษย์[8]

แขนงวิชา[แก้]

ภูมิศาสตร์กายภาพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภูมิศาสตร์กายภาพ

ภูมิศาสตร์กายภาพเป็นสาขาที่มุ่งเน้นการศึกษาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์โลก เพื่อเข้าใจลักษณะและปัญหาของธรณีภาค อุทกภาค บรรยากาศ และชีวภาค

  • ภูมิศาสตร์กายภาพสามารถแบ่งประเภทออกได้อีก เช่น
  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

ภูมิศาสตร์มนุษย์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภูมิศาสตร์มนุษย์

ภูมิศาสตร์มนุษย์เป็นสาขาที่มุ่งเน้นถึงการศึกษาการศึกษาแบบรูปและกระบวนการอันเกิดจากสังคมมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมทั้งมนุษย์ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ

  • ภูมิศาสตร์มนุษย์สามารถแบ่งประเภทออกได้อีก เช่น
  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

  • ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

แนวทางต่าง ๆ ในการศึกษาภูมิศาสตร์มนุษย์ที่เกิดขึ้นใหม่และรวมถึง:

  • ภูมิศาสตร์พฤติกรรม
  • ภูมิศาสตร์สตรีนิยม
  • ทฤษฎีทางวัฒนธรรม
  • ภูมิปรัชญา

ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม[แก้]

ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมเป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่อธิบายถึงลักษณะเชิงพื้นที่ของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติของโลก การศึกษาภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงลักษณะดั้งเดิมของภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์ตลอดจนวิธีการที่สังคมมนุษย์กำหนดกรอบความคิดให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย

ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นตัวเชื่อมระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์อันเนื่องมาจากความเชี่ยวชาญของทั้งสองสาขาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมซึ่งมีผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จึงจำเป็นที่ต้องมีวิธีแบบใหม่ในการเข้าใจความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงและพลวัต ตัวอย่างของการศึกษาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดการภาวะฉุกเฉิน การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน นิเวศวิทยาการเมือง

ภูมิสารสนเทศ[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภูมิสารสนเทศ

ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

ภูมิสารสนเทศเป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคนิคเชิงพื้นที่แบบดั้งเดิมในการทำแผนที่และศึกษาภูมิประเทศร่วมกับการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 เทคนิคต่าง ๆ ของภูมิสารสนเทศเป็นที่แพร่หลายในสาขาวิชาอื่นมากมาย เช่น จีไอเอส และการรับรู้จากระยะไกล นอกจากนี้ภูมิสารสนเทศยังส่งผลต่อ​​การฟื้นฟูหน่วยงานทางภูมิศาสตร์บางส่วนซึ่งถูกลดสถานะลงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ

ภูมิสารสนเทศมีความครอบคลุมกับสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงพื้นที่อย่างมาก เช่น การทำแผนที่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) การรับรู้จากระยะไกล และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS)

ภูมิศาสตร์ภูมิภาค[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภูมิศาสตร์ภูมิภาค

ภูมิศาสตร์ภูมิภาคเป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่ศึกษาถึงท​​ุกภูมิภาคของโลกซึ่งแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างเฉพาะตัว หลักสำคัญของภูมิศาสตร์ภูมิภาคคือเพื่อเข้าใจถึงเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะตัวของภูมิภาคนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไรทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อมและมนุษย์ที่อยู่อาศัยในภูมิภาคนั้นด้วย ภูมิศาสตร์ภูมิภาคยังมีผลต่อภูมิภาคาภิวัตน์ซึ่งครอบคลุมถึงการใช้วิธีที่เหมาะสมในการแบ่งพื้นที่ออกเป็นภูมิภาคต่าง ๆ ด้วย

ภูมิศาสตร์ภูมิภาคถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการหนึ่งสำหรับการศึกษาองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ (คล้ายคลึงกับการปฏิวัติเชิงปริมาณ หรือภูมิศาสตร์เชิงวิพากษ์)

สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง[แก้]

  • การผังเมือง การวางแผนภาค และการวางแผนเชิงพื้นที่ เป็นการใช้องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ช่วยในการกำหนดแนวทางในการพัฒนา (หรือไม่พัฒนา) ที่ดินให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ความปลอดภัย ความสวยงาม โอกาสทางเศรษฐกิจ การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมทางธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น เป็นต้น การวางแผนพื้นที่ของเมือง นคร และชนบทโดยส่วนมากจะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์ภูมิภาค ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 วอลเตอร์ ไอสาร์ดได้นำเสนอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเพื่อเป็นพื้นฐานหาคำตอบทางภูมิศาสตร์โดยเน้นเชิงปริมาณมากขึ้น ตรงข้ามกับการใช้แนวโน้มเชิงพรรณนาที่อยู่ในแบบแผนดั้งเดิม วิทยาศาสตร์ภูมิภาคประกอบด้วยองค์ความรู้ซึ่งในมิติเชิงพื้นที่ใช้เป็นบทบาทพื้นฐาน เช่น การจัดการทรัพยากร ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง การวางแผนภาคและเมือง การขนส่งและการสื่อสาร ภูมิศาสตร์มนุษย์ การกระจายของประชากร นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมเชิงคุณภาพ
  • วิทยาดาวเคราะห์ โดยทั่วไปภูมิศาสตร์จะมีความเกี่ยวข้องเฉพาะกับโลก อย่างไรก็ตามภูมิศาสตร์ก็สามารถนำมาใช้ในการศึกษาถึงโลกอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะและนอกเหนือไปจากระบบสุริยะ วิทยาดาวเคราะห์เป็นการศึกษาระบบที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นสาขาหนึ่งของดาราศาสตร์หรือจักรวาลวิทยา ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น อังคารวิทยา (การศึกษาเกี่ยวกับดาวอังคาร) ได้รับการเสนอแต่ยังไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย
  • วิทยาศาสตร์ดาวเทียม โดยศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมในการเป็นเครื่องมือศึกษาทางภูมิศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์โลก หรือ โลกศาสตร์ นำวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษาโลกในด้านที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิศาสตร์
  • วิศวกรรมสำรวจ ใช้หลักทางวิศวกรรมมาใช้ในการช่วยศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยครอบคลุมรวมไปถึง วิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมธรณี วิศวกรรมชลศาสตร์ วิศวกรรมทรัพยากรธรณี วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า และ วิชาการทำแผนที่

เทคนิค[แก้]

แผนที่เป็นเครื่องมือหลักสำคัญขององค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งการทำแผนที่แบบดั้งเดิมได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์และการใช้คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นรากฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในปัจจุบัน

ในการศึกษานักภูมิศาสตร์จะคำนึงถึงสี่ปัจจัย ประกอบด้วย

  • เป็นระบบ (Systematic) — องค์ความรู้ต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ในแต่ละประเภทสามารถใช้ได้สำหรับทุกพื้นที่
  • ภูมิภาค (Regional) — การวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบสำหรับภูมิภาคที่เจาะจงหรือที่ตั้งบนโลกในแต่ละประเภท
  • พรรณนา (Descriptive) — ระบุคุณสมบัติและลักษณะของประชากรในแหล่งที่ตั้ง
  • วิเคราะห์ (Analytical) — ว่า ทำไม (why) เราจึงพบคุณสมบัติและลักษณะของประชากรในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เจาะจงนั้น

การทำแผนที่[แก้]

ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ใช้ประโยชน์ในด้านใด

ดูบทความหลักที่: การทำแผนที่

การทำแผนที่เป็นการศึกษาถึงการแสดงลักษณะพื้นผิวโลกด้วยสัญลักษณ์แบบนามธรรมซึ่งมีการเติบโตมาช้านานอันเป็นผลจากเทคนิคการเขียนถึงสภาพความเป็นจริงที่พัฒนามากขึ้น และแม้ว่าภูมิศาสตร์สาขาต่าง ๆ จะใช้แผนที่เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอผลการวิเคราะห์ แต่ความจริงแล้วองค์ความรู้ของการทำแผนที่นั้นมีมากพอที่จะแยกออกมาเป็นสาขาต่างหาก

นักทำแผนที่ต้องเรียนรู้ถึงจิตวิทยาการรู้คิดและการยศาสตร์เพื่อเข้าใจถึงการสื่อข้อมูลสัญลักษณ์เกี่ยวกับโลกให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงพฤติกรรมทางจิตวิทยาเพื่อให้ผู้อ่านแผนที่เข้าใจข้อมูลได้ ตลอดจนภูมิมาตรศาสตร์และคณิตศาสตร์ขั้นสูงเพื่อเข้าใจว่ารูปร่างของโลกส่งผลต่อการผิดเพี้ยนของตำแหน่งสัญลักษณ์บนแผนที่ซึ่งฉายไปยังวัสดุพื้นผิวราบเรียบได้อย่างไร จึงกล่าวได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งว่าการทำแผนที่กำเนิดจากการที่สาขาวิชาทางภูมิศาสตร์มีการเติบโตที่ใหญ่ขึ้น นักภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่จะยกตัวอย่างว่าแผนที่เป็นจุดเริ่มต้นของความสนใจทางภูมิศาสตร์ในวัยเด็กของพวกเขา

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์[แก้]

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือจีไอเอส (GIS) เป็นการจัดการถึงการจัดเก็บและการเรียกคืนข้อมูลเกี่ยวกับโลกด้วยคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติซึ่งมีความถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านจีไอเอสต้องเข้าใจถึงวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูลนอกเหนือไปจากสาขาอื่น ๆ ทางภูมิศาสตร์ด้วย จีไอเอสเป็นการปฏิวัติสาขาวิชาการทำแผนที่โดยนำซอฟต์แวร์จีไอเอสมาช่วยในการทำแผนที่เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน จีไอเอสยังหมายถึงการใช้ซอฟต์แวร์และเทคนิคทางจีไอเอสเพื่อทดแทน วิเคราะห์ และคาดการณ์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ในบริบทนี้จีไอเอสเป็นตัวแทนสำหรับภูมิสารสนเทศศาสตร์

การรับรู้จากระยะไกล[แก้]

การรับรู้จากระยะไกลเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการรับข้อมูลของลักษณะพื้นผิวโลกจากระยะไกล ข้อมูลจากการรับรู้จากระยะไกลมีการได้มาหลายรูปแบบ เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ รวมถึงข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องรับรู้แบบพกพา (hand-held sensors) นักภูมิศาสตร์จำนวนมากใช้การรับรู้จากระยะไกลเพื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิประเทศ ทะเล และบรรยากาศของโลก เนื่องจากการรับรู้จากระยะไกลสามารถ

  • ค้นหาข้อมูลตามวัตถุประสงค์ซึ่งมีความหลากหลายของพื้นที่หลายระดับ (ตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงทั่วโลก)
  • ทำให้สรุปจากมุมมองของพื้นที่ที่สนใจได้ง่ายขึ้น
  • ช่วยให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงได้
  • แสดงข้อมูลเชิงคลื่นนอกเหนือจากส่วนที่มองเห็นได้จากสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า
  • อำนวยความสะดวกในการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะหรือพื้นที่ในช่วงเวลาต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร

ข้อมูลจากการรับรู้จากระยะไกลอาจถูกใช้ร่วมในการวิเคราะห์ร่วมกับชั้นข้อมูลเชิงดิจิทัลอื่น ๆ (เช่นในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์)

วิธีเชิงปริมาณ[แก้]

ดูบทความหลักที่: ธรณีสถิติ

ธรณีสถิติจัดการกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยเฉพาะการประยุกต์กับระเบียบวิธีทางสถิติเพื่อสำรวจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางภูมิศาสตร์ ธรณีสถิติถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในหลากหลายสาขา ตลอดจนอุทกวิทยา ธรณีวิทยา การสำรวจปิโตรเลียม การวิเคราะห์ลมฟ้าอากาศ การผังเมือง โลจิสติกส์ และวิทยาการระบาด พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับธรณีสถิติได้มาจากการวิเคราะห์การกระจุก การวิเคราะห์การจำแนกเชิงเส้น สถิติไร้พารามิเตอร์ และความหลากหลายของสาขาวิชาอื่น ๆ การประยุกต์ของธรณีสถิติถูกใช้อย่างมากบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการประมาณค่าในช่วง นักภูมิศาสตร์เป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างโดดเด่นในกระบวนการของเทคนิคเชิงปริมาณ

วิธีเชิงคุณภาพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: ชาติพันธุ์วรรณนา

วิธีเชิงคุณภาพทางภูมิศาสตร์หรือเทคนิคการวิจัยทางชาติพันธุ์วิทยาถูกใช้โดยนักภูมิศาสตร์มนุษย์ ในภูมิศาสตร์วัฒนธรรมมีแบบแผนของการใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพและยังใช้ในสาขามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกถูกใช้โดยนักภูมิศาสตร์มนุษย์นำมาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพ

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ห้าแก่นเรื่องทางภูมิศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

  1. Harper, Douglas. "Online Etymology Dictionary". Etymonline.com. Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 10 November 2016.
  2. "Geography". The American Heritage Dictionary/ of the English Language, Fourth Edition. Houghton Mifflin Company. สืบค้นเมื่อ 9 October 2006.
  3. Eratosthenes (2010-01-24). Eratosthenes' Geography. แปลโดย Roller, Duane W. Princeton University Press (ตีพิมพ์ 24 January 2010). ISBN 9780691142678.
  4. Pidwirny, Dr. Michael; Jones, Scott. "CHAPTER 1: Introduction to Physical Geography". Physicalgeography.net. University of British Columbia Okanagan. สืบค้นเมื่อ 10 November 2016.
  5. Bonnett, Alastair (2008-01-16). What is Geography?. SAGE Publications (ตีพิมพ์ 16 January 2008). ISBN 9781849206495. สืบค้นเมื่อ 10 November 2016.
  6. Johnston, Ron (2000). "Human Geography". ใน Johnston, Ron; Gregory, Derek; Pratt, Geraldine; และคณะ (บ.ก.). The Dictionary of Human Geography. Oxford: Blackwell. pp. 353–360.
  7. Pattison, William D. (Summer 1990). "The Four Traditions of Geography" (PDF). Journal of Geography. National Council for Geographic Education (ตีพิมพ์ 1964). September/October 1990 (5): 202–206. doi:10.1080/00221349008979196. ISSN 0022-1341. สืบค้นเมื่อ 10 November 2016.
  8. ↑ 8.0 8.1 Hayes-Bohanan, James. "What is Environmental Geography, Anyway? October 9, 2006"
  9. An introduction to Settlement Geography. Cambridge university press. 1990.
  10. "What is geography?". AAG Career Guide: Jobs in Geography and related Geographical Sciences. Association of American Geographers. Archived from the original on October 6, 2006. Retrieved July 19, 2016.