ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

บริษัท เอ็นแคร์ อินโนเวชั่น จำกัด (ENCARE INNOVATION CO., LTD.) มีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มวิศวกรและนักวิชาการสาขาต่างๆที่มากประสบการณ์ในการดำเนินงานเป็นที่ปรึกษา การให้คำแนะนำ การแก้ไขปัญหา และการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าเกิดประโยชน์และความพึงพอใจมากที่สุด ทั้งนี้เรายังตระหนักถึงการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการบำบัดมลพิษไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการด้านพลังงาน ไฟฟ้า สารเคมี และอายุการใช้งานของอุปกรณ์ ลูกค้าของเราจึงมั่นใจได้ว่าบริษัท เอ็นแคร์ อินโนเวชั่น จำกัด ให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานธุรกิจของท่านได้เป็นอย่างดี

การบริการ :

- ให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม (Environmental Consultants)

- บริการขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ ประเภทนิติบุคคล (Pollution Controllers)

- รับเดินระบบและควบคุมระบบบำบัดมลพิษ (Operation and Start Up)

- ตรวจสอบและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ (Examination and Efficiency Analysis)

- การลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดมลพิษ (Reduce Operation Cost)

- บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาอุปกรณ์ (Repair and Maintenance)

- การจัดอบรม และ สัมมนา (Technical – Training Organizer)

รับออกแบบ ติดตั้ง และปรับปรุง ระบบบำบัดน้ำเสีย ติดตั้งระบบประปา สุขาภิบาล ระบบนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ ระบบรดน้ำต้นไม้ ระบบดับเพลิง ปรับปรุงซ่อมแซมระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การบำบัดน้ำเสีย การผลิตน้ำประปา และการบำบัดอากาศเสียรับทำระบบบำบัดน้ำเสียโรงงาน และ รับดูแลระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ บริการคำนวณออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียโรงงาน

รับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ให้คำปรึกษาด้านระบบบำบัดน้ำเสีย ออกเเบบระบบบำบัดน้ำเสีย ติดตั้งอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย ให้เหมาะกับคุณลักษณะของน้ำและงบประมาณ ให้คำปรึกษา ออกแบบ ก่อสร้างและติดตั้ง ระบบผลิตน้ำดีและบำบัดน้ำเสีย ออกแบบ-ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียโรงงาน เป็นที่ปรึกษางานระบบบำบัดน้ำเสียโรงงาน ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานให้คำปรึกษาในการควบคุมดูและระบบบำบัดน้ำเสียรวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆของระบบบัดน้ำเสีย

 

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

 

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project:Turnkey Wastewater Treatment Plant 1,200 m3/day

Client: Latex SystemsPLC.                               Owner:S-TradeCorporation Co., Ltd.

Source: Rubber Products                                 Type:Chemical and Biological Treatment

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

 

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project:Turnkey Wastewater Treatment 400 m3/day

Client: The Riverie by Katathani Collection

Source: Toilet Kitchen and Laundry               Type:Fixed-Film Aeration and Disinfection

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป
 

Project:Installation and Operation Wastewater Treatment 180 m3/day

Client: Holiday Inn Pattaya                        Owner:C&Sun Sanitary System (2004) Co., Ltd.

Source: Toilet and Kitchen                         Type: Activated Sludge

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project: Installation and Operation Wastewater Treatment 420 m3/day

Client: WhizdomInspire Sukhumvit 101        Owner: Tri-En Solution Co., Ltd.

Source: Toilet and Kitchen                            Type: Activated Sludge

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project: Turnkey Wastewater Treatment Plant 2.5 m3/day

Client: Crathco Co., Ltd.                    .

Source: Zinc Product and Kitchen                                 Type:Chemical and Activated Sludge

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project:Turnkey Wastewater Treatment Plant 10 m3/day

Client:Skintec Interproducts Co., Ltd.

Source:Cosmetic and Skin Care Products   Type: Chemical+DAF, Anaerobic Filter and Activated Sludge

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

 

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project: Turnkey Wastewater Treatment Plant 10 m3/day

Client: Suchada Meat Product Co., Ltd.

Source: Sausage Products                              Type: Anaerobic Filter and Fix-Film Aeration

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project: Turnkey Wastewater Treatment Plant 20 m3/day

Client: BoonChai Durian Product Co., Ltd.

Source: Durian Products                                   Type: Anaerobic Filter and Activated Sludge

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project:Design and Installation PH and DO Online and VSD Controller

Client: Eaton Industries (Thailand) Co., Ltd. Type: PH and DO Online

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project: Design Air Pollution Treatment 1,800 m3/hr.

Client: CPRAM Co., Ltd.

Source: Sludge Dewatering Treatment          Type: Ozone System

 

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project:Turnkey Wastewater Treatment Plant 100 m3/day

Client: Maruey Rubber Co., Ltd.      

Source: Rubber Products                                 Type: Aerated Lagoon and Recycling Water

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project:RenovationWastewater Treatment 24 m3/day

Client: WS Vibratory Machine Co.,Ltd.

Source: Zinc and Chromium Product         Type: Chemical+DAF and Aerated Lagoon

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป
 

Project:TurnkeyWastewater Treatment 2 m3/day and Filter Press System 200 l/batch

Client: Golden Paper Box Co.,Ltd.

Source: Color and Paper Box Products        Type: Activated Sludge and Filter Press

 

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project:TurnkeyWastewater Treatment 10 m3/day and 2 m3/day

Client: T.A.K. Packaging Co., Ltd.

Source: Toilet and Kitchen                               Type: Fixed-Film Aeration

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project: Operation and Preventive Maintenance for wastewater treatment 2017-2019

Client: Ek-Chai Distribution System Co., Ltd (TESCO LOTUS)

Quantity: 33 Store (Khon Kaen, Udon Thani, Chaiyaphum, Sakon Nakhon,Nong Bua Lamphu)

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project: Cleaning Wastewater Treatment Plant 250 m3 (Confined space)

Client: Pat Rangsit Hospital

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project: Renovate Wastewater Treatment Plant 600 m3 (Confined space)

Client: Somdech Phra Debaratana Medical Centre

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project: Cleaning Wastewater Treatment Plant 600 m3 (Confined space)

Client: Watergate Pavilion

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

Project: Cleaning Wastewater Treatment Plant 2,000 m3 (Confined space)

Client: Chakri Narubodin Hospital

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

 

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

หัวข้อการอบรม: การจัดการน้ำเสียและหน้าที่ของแหล่งกำเนิดมลพิษ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ประจำปี 2560

สถานที่: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 กลุ่มจังหวัดภูเก็ต พังงา ตรัง กระบี่ และระนอง

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

หัวข้อการอบรม: โครงการพัฒนาคุณภาพน้ำในคลองตำบลกระทุ่มล้ม ประจำปีงบประมาณ 2560

สถานที่: เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม จังหวัดนครปฐม

 

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

หัวข้อการอบรม: เทคนิคการตรวจสอบ ควบคุม และดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย แบบ AS

สถานที่: บริษัท เอกชัย ดิสทริบิวชั่น จำกัด

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

หัวข้อการอบรม: เทคนิคการตรวจสอบ ควบคุม และดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย แบบเคมี DAF

สถานที่: บริษัท สกินเทค อินเตอร์โปรดักส์ จำกัด

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป
 

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

หัวข้อการอบรม: เทคนิคการตรวจสอบ ควบคุม และดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย แบบเคมี DAF

สถานที่: บริษัท สกินเทค อินเตอร์โปรดักส์ จำกัด

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

หัวข้อการอบรม: ระบบน้ำสำหรับหม้อน้ำ

สถานที่: กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

 

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)

เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 รูปแบบ คือ บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) และหากมีบ่อหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายจะทำหน้าที่เป็นบ่อบ่ม (Maturation Pond) เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม บ่อปรับเสถียรสามารถบำบัดน้ำเสียจากชุมชน หรือโรงงานบางประเภท เช่น โรงงานผลิตอาหาร โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น และเป็นระบบที่มีค่าก่อสร้างและค่าดูแลรักษาต่ำ วิธีการเดินระบบไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ควบคุมระบบไม่ต้องมีความรู้สูง แต่ต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างมากจึงเป็นระบบที่เหมาะกับชุมชนที่มีพื้นที่เพียงพอและราคาไม่แพง ซึ่งโดยปกติระบบบ่อปรับเสถียรจะมีการต่อกันแบบอนุกรมอย่างน้อย 3 บ่อ

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)

เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ สำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้นกว่าการปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดปริมาณความสกปรกของน้ำเสียในรูปของค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand; BOD) ได้ร้อยละ 80-95 โดยอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic) โดยมีเครื่องเติมอากาศซึ่งนอกจากจะทำหน้าเพิ่มออกซิเจนในน้ำแล้วยังทำให้เกิดการกวนผสมของน้ำในบ่อด้วย ทำให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึงภายในบ่อ

ระบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland)

บึงประดิษฐ์ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยกระบวนการทางธรรมชาติกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้ว แต่ต้องการลดปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสก่อนระบายออกสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง นอกจากนี้ระบบบึงประดิษฐ์ก็ยังสามารถใช้เป็นระบบบำบัดน้ำเสียในขั้นที่ 2 (Secondary Treatment) สำหรับบำบัดน้ำเสียจากชุมชนได้อีกด้วย ซึ่งข้อดีของระบบนี้ คือ ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องใช้เทคโนโลยีในการบำบัดสูง

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process)

เป็นวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา โดยใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ระบบเแอกทิเวเต็ดสลัดจ์เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่การเดินระบบประเภทนี้จะมีความยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากจำเป็นจะต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ให้เหมาะสมแก่การทำงานและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor)

ลักษณะสำคัญของระบบแอกติเวเต็ดสลัดจ์แบบนี้ คือ เป็นระบบแอกทิเวเต็ดจ์สลัดจ์ประเภทเติมเข้า-ถ่ายออก (Fill-and-Draw Activated Sludge) โดยมีขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสียแตกต่างจากระบบตะกอนเร่งแบบอื่น ๆ คือ การเติมอากาศ (Aeration) และการตกตะกอน (Sedimentation) จะดำเนินการเป็นไปตามลำดับภายในถังปฏิกิริยาเดียวกัน

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch ; OD)

เป็นระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge) ประเภทหนึ่ง ที่ใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย และเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน ก่อนที่จะถูกแยกออกจากน้ำทิ้งโดยวิธีการตกตะกอน การเดินระบบบำบัดประเภทนี้จะมีความยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจาก จำเป็นจะต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อการทำงานและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor; RBC)

ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพเป็นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีววิทยาให้น้ำเสียไหลผ่านตัวกลางลักษณะทรงกระบอกซึ่งวางจุ่มอยู่ในถังบำบัด ตัวกลางทรงกระบอกนี้จะหมุนอย่างช้า ๆ เมื่อหมุนขึ้นพ้นน้ำและสัมผัสอากาศ จุลินทรีย์ที่อาศัยติดอยู่กับตัวกลางจะใช้ออกซิเจนจากอากาศย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียที่สัมผัสติดตัวกลางขึ้นมา และเมื่อหมุนจมลงก็จะนำน้ำเสียขึ้นมาบำบัดใหม่สลับกันเช่นนี้ตลอดเวลา

ระบบบำบัดน้ำเสียอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม เป็นระบบบำบัดหรือกำจัดสารมลทินที่ปนเปื้อนมากับน้ำเสีย “น้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านขบวนการใช้งานมาแล้ว” เช่นน้ำจากการชำระล้างต่างๆ น้ำจากขบวนการผลิตของโรงงานน้ำที่ผ่านการผสมสารเคมีต่างๆ รวมถึงน้ำที่ถูกใช้แล้วในชีวิตประจำวัน เช่นน้ำจากห้องน้ำห้องส้วมเป็นต้น

ชนิดและประเภทของน้ำเสียก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขบวนการที่นำน้ำไปใช้งานดังนั้นสารมลทินที่ปนเปื้อนก็จะมีชนิดประเภทและปริมาณที่แตกต่างกันออกไปซึ่งพอที่จะแยกตามประเภทของน้ำเสียออกได้เป็น 2 ประเภทตามการปนเปื้อนของสารมลทิน

*   น้ำเสียที่เป็นอินทรีย์สารซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่มาจาก อาคาร บ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
*   น้ำเสียที่เป็นอนินทรีย์สารโดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียที่มาจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม

สารมลทินที่ต้องการบำบัดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของน้ำเสียและแหล่งน้ำทิ้ง ซึ่งน้ำเสียที่ผ่านขบวนการบำบัดแล้วจะต้องมีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้และเครื่องจักรอุปกรณ์ที่บริษัทฯออกแบบก่อสร้างจัดหาและจัดจำหน่ายเพื่อการบำบัดน้ำเสียที่มีสารมลทินปนเปื้อนข้างต้นได้แก่

Ø ระบบบำบัดทางกายภาพ (ระบบการกรอง การตกตะกอน ถังดักไขมัน)

Ø  ระบบบำบัดทางเคมี (การเพิ่ม-ลดประจุไฟฟ้าของอิเลคตรอน)

Ø ระบบบำบัดชีวภาพ (แบบใช้ออกซิเจน และไม่ใช้ออกซิเจน)  

Ø ระบบการทำให้ระเหยด้วยความร้อน   

Ø ระบบบำบัดด้วยไฟฟ้า 

ระบบบำบัดทางกายภาพ (ระบบการกรอง การตกตะกอน ถังดักไขมัน)

การบำบัดน้ำเสีย การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของน้ำเสีย ระดับการบำบัดน้ำเสียที่ต้องการ สภาพทั่วไปของท้องถิ่น ค่าลงทุนก่อสร้างและค่าดำเนินการดูแลและบำรุงรักษา และขนาดของที่ดินที่ใช้ในการ ก่อสร้าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียที่เลือกมีความเหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยการบำบัดน้ำเสียสามารถแบ่งได้ตามกลไกที่ใช้ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสีย ได้ดังนี้

1. การบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment) เป็นวิธีการแยกเอาสิ่งเจือปนออกจากน้ำเสีย เช่น ของแข็งขนาดใหญ่ กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร กรวด ทราย ไขมันและน้ำมัน โดยใช้อุปกรณ์ในการบำบัดทางกายภาพ คือ ตะแกรงดักขยะ ถังดักกรวดทราย ถังดักไขมันและน้ำมัน และถังตกตะกอน ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่มีในน้ำเสียเป็นหลัก

2. การบำบัดทางเคมี (Chemical Treatment) เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางเคมี เพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในน้ำเสีย วิธีการนี้จะใช้สำหรับน้ำเสียที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ ค่าพีเอชสูงหรือต่ำเกินไป มีสารพิษ มีโลหะหนัก มีของแข็งแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก มีไขมันและน้ำมันที่ละลายน้ำ มีไนโตรเจนหรือฟอสฟอรัสที่สูงเกินไป และมีเชื้อโรค ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี ได้แก่ ถังกวนเร็ว ถังกวนช้า ถังตกตะกอน ถังกรอง และถังฆ่าเชื้อโรค

3. การบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment) : เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทาง ชีวภาพหรือใช้จุลินทรีย์ ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยความสกปรกเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในถังเลี้ยงเชื้อเพื่อการเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Organisms) หรือไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Organisms) ก็ได้ ระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยหลักการทางชีวภาพ ได้แก่ ระบบ แอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activate Sludge, AS) ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contractor, RBC) ระบบคลอง วนเวียน (Oxidation Ditch, OD) ระบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon, AL) ระบบโปรยกรอง(Trickling Filter) ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย (Stabilization Pond) ระบบยูเอเอสบี (Upflow Anaerobic Sludge Blanket, UASB) และ ระบบกรองไร้อากาศ (Anaerobic Filter, AF) เป็นต้น

การบำบัดน้ำเสีย สามารถแบ่งได้ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. การบำบัดขั้นต้น (Preliminary Treatment) และการบำบัดเบื้องต้น (Primary Treatment) : เป็นการบำบัดเพื่อแยกทราย กรวด และของแข็งขนาดใหญ่ ออกจากของเหลวหรือน้ำเสีย โดยเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย ตะแกรงหยาบ (Coarse Screen) ตะแกรงละเอียด (Fine Screen) ถังดักกรวดทราย (Grit Chamber) ถังตกตะกอนเบื้องต้น (Primary Sedimentation Tank) และเครื่องกำจัดไขฝ้า (Skimming Devices) การบำบัด น้ำเสียขั้นนี้สามารถกำจัดของแข็งแขวนลอยได้ร้อยละ 50 - 70 และกำจัดสารอินทรีย์ซึ่งวัดในรูปของบีโอดีได้ ร้อยละ 25 - 40

2. การบำบัดขั้นที่สอง (Secondary Treatment) : เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดขั้นต้นและการบำบัดเบื้องต้นมาแล้ว แต่ยังคงมีของแข็งแขวนลอยขนาดเล็กและสารอินทรีย์ทั้งที่ละลายและไม่ละลายใน น้ำเสียเหลือค้างอยู่ โดยทั่วไปการบำบัดขั้นที่สองหรือเรียกอีกอย่างว่าการบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment) จะอาศัยหลักการเลี้ยงจุลินทรีย์ในระบบภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกินสารอินทรีย์ได้รวดเร็วกว่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และแยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ำทิ้งโดยใช้ถังตกตะกอน (Secondary Sedimentation Tank) ทำให้น้ำทิ้งมีคุณภาพดีขึ้น จากนั้นจึงผ่านเข้าระบบฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคปนเปื้อน ก่อนจะระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือนำกลับไป ใช้ประโยชน์ (Reuse) การบำบัดน้ำเสียในขั้นนี้สามารถกำจัดของแข็งแขวนลอยและสารอินทรีย์ซึ่งวัดในรูปของ บีโอดีได้มากกว่าร้อยละ 80

3. การบำบัดขั้นสูง (Advance Treatment หรือ Tertiary Treatment) : เป็นกระบวนการกำจัดสารอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) สี สารแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก และอื่นๆ ซึ่งยังไม่ได้ถูกกำจัดโดยกระบวนการบำบัดขั้นที่สอง ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดียิ่งขึ้นเพียงพอที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้ นอกจากนี้ยังช่วย ป้องกันการเติบโตผิดปกติของสาหร่ายที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำเน่า แก้ไขปัญหาความน่ารังเกียจของแหล่งน้ำอันเนื่องจากสี และแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ระบบบำบัดขั้นที่สองมิสามารถกำจัดได้

กระบวนการบำบัดขั้นสูง ได้แก่

- การกำจัดฟอสฟอรัส ซึ่งมีทั้งแบบใช้กระบวนการทางเคมีและแบบใช้กระบวนการทางชีวภาพ

- การกำจัดไนโตรเจน ซึ่งมีทั้งแบบใช้กระบวนการทางเคมีและแบบใช้กระบวนการทางชีวภาพ โดยวิธีการทางชีวภาพนั้นจะมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการเปลี่ยนแอมโมเนียไนโตรเจนให้เป็น ไนเทรต ที่เกิดขึ้นในสภาวะแบบใช้ออกซิเจน หรือที่เรียกว่า "กระบวนการไนทริฟิเคชั่น (Nitrification)" และขั้นตอนการเปลี่ยนไนเทรตให้เป็นก๊าซไนโตรเจน ซึ่งเกิดขึ้นในสภาวะไร้ออกซิเจน หรือที่เรียกว่า "กระบวนการดีไนทริฟิเคชั่น (Denitrification)"

- การกำจัดฟอสฟอรัสและไนโตรเจนร่วมกันโดยกระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกระบวนการแบบใช้อากาศและไม่ใช้อากาศในการกำจัดไนโตรเจนโดยกระบวนการไนตริฟิเคชันและกระบวนการดีไนตริฟิเคชันร่วมกับกระบวนการจับใช้ฟอสฟอรัสอย่างฟุ่มเฟือย (Phosphours Luxuty Uptake) ซึ่งต้องมีการใช้กระบวนการแบบไม่ใช้อากาศต่อด้วยกระบวนการใช้อากาศด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จะต้องมีการประยุกต์ใช้โดยผู้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการดังกล่าวเป็นอย่างดี

- การกรอง(Filtration) ซึ่งเป็นการกำจัดสารที่ไม่ต้องการโดยวิธีการทางกายภาพ อันได้แก่ สารแขวนลอยที่ตกตะกอนได้ยากเป็นต้น

- การดูดติดผิว (Adsorption) ซึ่งเป็นการกำจัดสารอินทรีย์ที่มีในน้ำเสียโดยการดูดติดบนพื้นผิวของของแข็ง รวมถึงการกำจัดกลิ่นหรือก๊าซที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการเดียวกัน

- การบำบัดกากตะกอนหรือสลัดจ์ (Sludge Treatment) ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้หลักการทางชีวภาพจะมีกากตะกอนจุลินทรีย์หรือสลัดจ์เป็นผลผลิตตามมาด้วยเสมอซึ่งเป็นผลจากการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในการกินสารอินทรีย์ในน้ำเสียดังนั้นจึงจำเป็นต้องบำบัดสลัดจ์เหล่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเน่าเหม็นของสลัดจ์การเพิ่มภาวะมลพิษและเป็นการทำลายเชื้อโรคด้วย

นอกจากนี้การลดปริมาตรของสลัดจ์โดยการกำจัดน้ำออกจากสลัดจ์ช่วยให้เกิดความสะดวกในการเก็บขนไปกำจัดทิ้งหรือนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆทั้งนี้ในการบำบัดสลัดประกอบด้วยกระบวนการหลักๆได้แก่

1. การทำข้น (Thickener) โดยใช้ถังทำข้นซึ่งมีทั้งที่ใช้กลไกการตกตะกอน (Sedimentation) และใช้กลไกการลอยตัว (Flotation) ทำหน้าที่ในการลดปริมาณสลัดจ์ก่อนส่งไปบำบัดโดยวิธีการอื่นต่อไป

2. การทำให้สลัดจ์คงตัว(Stabilization) โดยการย่อยสลัดจ์ด้วยกระบวนการใช้อากาศหรือใช้กระบวนการไร้อากาศเพื่อทำหน้าที่ในการลดสารอินทรีย์ในสลัดจ์ ทำให้สลัดจ์คงตัวสามารถนำไปทิ้งได้โดยไม่เน่าเหม็น

3. การปรับสภาพสลัดจ์ (Conditioning) เพื่อทำให้สลัดจ์มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปเช่น ทำปุ๋ย การใช้ปรับสภาพดินสำหรับใช้ทางการเกษตร เป็นต้น

4. การรีดน้ำ (De watering)เพื่อลดปริมาณสลัดจ์ที่จะนำไปทิ้งโดยการฝังกลบ การเผา หรือนำไปใช้ประโยชน์อื่น ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกในการขนส่ง โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการรีดน้ำ ได้แก่ เครื่องกรองสูญญากาศ (Vacuum filter) เครื่องอัดกรอง (Filter press) หรือเครื่องกรองหมุนเหวี่ยง (Centrifuge) รวมถึงการลานตากสลัดจ์ (Sludge drying bed)

การกำจัดกากตะกอนหรือสลัดจ์ (Sludge Disposal)

หลังจากสลัดจ์ที่เกิดขึ้นจากการบำบัดน้ำเสียได้รับการบำบัดให้มีความคงตัว ไม่มีกลิ่นเหม็นและมีปริมาตรลดลงเพื่อความสะดวกในการขนส่งแล้วในขั้นต่อมาก็คือการนำสลัดจ์เหล่านั้นไปกำจัดทิ้งโดยวิธีการที่เหมาะสม ซึ่งวิธีการกำจัดทิ้งที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่

- การฝังกลบ (Landfill): เป็นการนำสลัดจ์มาฝังในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้และกลบด้วยชั้นดินทับอีก ชั้นหนึ่ง

- การหมักทำปุ๋ย (Composting) : เป็นการนำสลัดจ์มาหมักต่อเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ย ซึ่งเป็นการนำสลัดจ์กลับมาใช้ประโยชน์ในการเป็นปุ๋ยสำหรับปลูกพืช เนื่องจากในสลัดจ์ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืชได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และแร่ธาตุต่างๆ

- การเผา (Incineration) : เป็นการนำสลัดจ์ที่จวนแห้ง (ตั้งแต่ร้อยละ 40 ของของแข็งขึ้นไป) มาเผาเพราะเนื่องจากไม่สามารถนำไปใช้ทำปุ๋ยหรือฝังกลบได้

ปัญหาที่มักพบระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศชนิด Activated Sludge; AS ก็คือ “การเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ในระบบไม่ขึ้น” ซึ่งมีหลากหลายสาเหตุ แต่จะยกมา 1 สาเหตุ คือ “Wash Out” 

โดยมากปัญหา Wash Out จะเกิดกับ ห้างสรรพสินค้า, โรงแรม, ร้านอาหาร, อาคารสำนักงาน, โรงพยาบาล และสถานประกอบการที่เปิดกิจการช่วงเวลาหนึ่งของวัน

Wash Out คือการที่เชื้อในระบบหลุดออกไปกับน้ำเสียจำนวนมาก ส่งผลให้ระบบไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ ค่าน้ำออกไม่ผ่านมาตรฐาน

ปัญหาการ Wash Out ในระบบ AS เกิดจาก:

1. มีการทิ้งน้ำเสียช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งมากเกินไป

2. ขนาดถังพักน้ำเสียก่อนเข้าระบบบำบัด หรือ Equalization Tank มีขนาดไม่เหมาะสม และไม่มีปั๊มจ่ายน้ำเสียเข้าระบบ

3. ขนาดถังตกตะกอน หรือ Sedimentation Tank มีขนาดเล็กเกินไป ไม่เหมาะสมกับปริมาณน้ำเสีย

4. การควบคุมระบบ Return Sludge ไม่เหมาะสม

5. มีไขมัน หรือ น้ำมัน (Grease and Oil) เข้าสู่ระบบเติมอากาศจำนวนมาก

การตรวจสอบและแก้ไขปัญหา

1. เทียบปริมาณน้ำเสียที่เกิดกับชั่วโมงการทิ้งน้ำ เช่น ห้างสรรพสิค้าเปิดทำการ 12 ชม./วัน เกิดน้ำเสีย 120 ลบ.ม./วัน แสดงว่าน้ำเสียเข้าระบบ เฉลี่ยที่ 12 ลบ.ม./ชม. หากเป็นช่วง Peak Load อาจคิดน่ำเสียที่ 24-30 ลบ.ม./ชม.

จะเห็นว่าน้ำเสียจริงๆไม่ได้เข้าระบบที่ 24 ชั่วโมง และ ไม่ได้เกิดน้ำเสียเท่ากันทุกช่วงเวลา

2. ขนาดของถังพักน้ำเสีย (E.Q. Tank) ต้องมีขนาดพอเหมาะกับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น (ในการบำบัดเราสามารถจ่ายน้ำเสียเข้าระบบหลังห้างปิดทำการได้ เพราะฉะนั้น E.Q. Tank จึงมีความสำคัญมาก)

3. ปั๊มสูบน้ำเสียเข้าระบบ (E.Q. Pump) ต้องมีความเหมาะสม ในการจ่ายน้ำเสียที่เกิดขึ้นเข้าระบบได้ 24 ชั่วโมง

4. การจ่ายน้ำเสียเข้าระบบจากปั๊ม ต้องไม่มากกว่าขนาดถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) รับได้ ปกติถังตกตะกอน ควรพักน้ำเสียได้มากกว่า 1 ชั่วโมง ขึ้นไป

5. การสูบตะกอนย้อนกลับ (Return Sludge) ต้องเหมาะสมกับปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้น ไม่ควรเปิด Return Sludge ตลอดเวลา เพราะจะสูบแต่น้ำกลับไปบ่อเติมอากาศ ส่งผลให้ระยะเวลาการเติมอากาศ (HRT) ในบ่อเติมอากาศลดลงเวลามีน้ำเสียเข้าระบบพร้อมการสูบตะกอนกลับ

6. ทำการตรวจเช็คและทำความสะอาด บ่อดักไขมัน พยามอย่าให้มีไขมันเข้าระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์ลอยและไม่ตกตะกอน 

7. หากแก้ไขไม่ได้ อาจต้อง ปรับปรุงระบบบำบัด หรือ ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียเพิ่มเติม โดยสามารถติดต่อ #encare ได้จ้า ยินดีบริการตลอด 24 ชั่วโมง ^^

ติดต่อสอบถาม

โทร : 086-688-5504 คุณจักรพงษ์  

อีเมล์ :

ระบบบำบัดทางเคมี (การเพิ่ม-ลดประจุไฟฟ้าของอิเลคตรอน)

การบำบัดน้ำเสียหมายถึงการกำจัดหรือทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป หรือเหลือน้อยที่สุดให้ได้มาตรฐานที่กำหนดและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม น้ำเสียจากแหล่งต่างกันจะมีคุณสมบัติไม่เหมือนกันดังนั้นกระบวนการบำบัดน้ำจึงมีหลายวิธี โดยระบบบำบัดน้ำเสียทั่วไปมี 3 วิธีคือ

1. กระบวนการทางเคมี (chemical process) เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยการแยกสารต่างๆ หรือสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียที่บำบัด เช่น โลหะหนัก สารพิษ สภาพความเป็นกรด ด่างสูงๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ด้วยการเติมสารเคมีต่าง ๆ ลงไปเพื่อให้เข้าไปทำปฏิกิริยาซึ่งจะมีประโยชน์ในการแยกสาร แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือ เมื่อเติมสารเคมีลงในน้ำเสียแล้ว ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายสำหรับสารเคมีค่อนข้างสูง ดังนั้นกระบวนการทางเคมีจะเลือกใช้ก็ต่อเมื่อน้ำเสียไม่สามารถบำบัดได้ด้วยกระบวนการทางกายภาพหรือชีวภาพ

การทำให้เกิดตะกอน (precipitation) อาศัยหลักการเติมสารเคมีลงไปทำปฏิกิริยาทำให้เกิดกลุ่มตะกอนตกลงมา โดยทั่วไปสารแขวนจะมีประจุลบ ดังนั้นสารเคมีที่เติมลงไปจึงเป็นประจุบวกเพื่อทำให้เป็นกลาง การแยกด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูงแต่ก็มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน ดังนั้นวิธีนี้จะเลือกใช้ต่อเมื่อไม่สามารถ แยกได้โดยกระบวนการทางชีวภาพหรือกายภาพ

โดยส่วนมากสารเคมีที่ทำให้เกิดตะกอนจะละลายน้ำ เช่น เกลือของสารประกอบต่างๆ เช่น เกลืออะลูมิเนียมซัลเฟต หรือสารส้ม (Al2(SO4)) เกลือเหล็ก (FeCl3, FeSO4) และเกลือของแคลเซียม (Ca(OH)2) ส่วนเกลือที่นำมาช่วยในการเกิดตะกอนได้ดียิ่งขึ้นนี้เป็นสารประกอบของ กลุ่ม Activated ของ Silica และ Poly electrolytes โดยกระบวนการทางเคมีมีหลายวิธี

การเกิดออกซิเดชันทางเคมี (chemical oxidation) อาศัยหลักการเสียอิเล็กตรอนของอะตอม ให้แก่สารเคมีที่เติมลงไปในน้ำเสียโดยสารเคมีนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไดซ์ (oxidizing agent) ส่วนมากวิธีนี้จะนิยมใช้เปลี่ยนโมเลกุลของโลหะที่เป็นพิษ เช่น การเปลี่ยน Fe2+ ซึ่งมีพิษมากไปเป็นสาร Fe3+ ซึ่งมีพิษน้อย ด้วยคลอรีน

การเกิดรีดักชันทางเคมี (chemical reduction) เป็นปฏิกิริยาที่มีการรับอิเล็กตรอน วิธีการนี้เป็นการเปลี่ยนสภาพของสารพิษไปเป็นสารที่มีอันตรายน้อยลง อะตอมหรืออิออน ของสารพิษจะรับอิเล็กตรอนจากสารเคมีที่เติมลงไปซึ่งมีสมบัติเป็นตัวรีดิวซ์ (reducing agent) เช่น การเปลี่ยน Cr6+ ซึ่งมีพิษมากไปเป็น Cr3+ ด้วย เฟอรัสซัลเฟต (FeSO4) ในสภาพที่เป็นกรด

การสะเทิน (neutralization) เป็นการเปลี่ยนค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้ำเสียให้มีฤทธิ์เป็นกลาง (pH = 7) ถ้าต้องการปรับค่าน้ำเสียที่มีฤทธิ์เป็นกรด (pH < 7 ในน้ำเสียให้สูงขึ้นต้องเติมสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ส่วนกรณีถ้าต้องการปรับน้ำเสียมีฤทธิ์เป็นด่าง (pH > 7) ให้มีค่า pH ต่ำลงจะต้องเติมกรด เช่น กรดซัลฟิวริก กรดไนตริก กรดเกลือและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น

2. กระบวนการทางชีววิทยา (Biological Process)

กระบวนการทางชีววิทยา (biological process) เป็นการอาศัยหลักการใช้จุลินทรีย์ต่าง ๆ มาทำการย่อยสลายเปลี่ยนอินทรีย์สารไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนีย เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ดีที่สุดในแง่ของการลดปริมาณสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำ แต่หลักการนี้เลือกสภาวะแวดล้อมให้เหมาะกับการทำงานของจุลินทรีย์ โดยสัมพันธ์กับปริมาณของจุลินทรีย์ และเวลาที่ใช้ในการย่อยสลาย แบคทีเรียที่เลือกใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์แยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แบคทีเรียที่ต้องใช้ออกซิเจน (aerobic bacteria) ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นพวกไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic bacteria)

3. กระบวนการทางกายภาพ (physical process)

กระบวนการทางกายภาพ (physical process) เป็นการบำบัดน้ำเสียอย่างง่ายซึ่งจะแยกของแข็งที่ไม่ละลายน้ำออก วิธีนี้จะแยกตะกอนได้ประมาณ 50-65% ส่วนเรื่องการแยกความสกปรกในรูปของสารอินทรีย์ (BOD5) ประมาณ 20-30% เท่านั้น  วิธีการต่าง ๆ ในกระบวนการนี้มีหลายวิธี เช่น การดักด้วยตะแกรง (screening) เป็นการแยกเศษขยะต่าง ๆ ที่มากับน้ำเสีย เช่น เศษไม้ ถุงพลาสติก กระดาษ ตะแกรงมีหลายขนาด การดักด้วยตะแกรงจึงเป็นการแยกขั้นตอนแรกในการบำบัดน้ำเสีย การตัดย่อย (combination) คือ การใช้เครื่องตัดทำลายเศษขยะขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง การกวาด (skimming) เป็นการกำจัดนำมันและไขมันโดยทำการดักหรือกวาดออกจากน้ำเสีย การทำให้ลอย (floating) จะใช้กับตะกอนที่มีความถ่วงจำเพาะน้อยกว่าน้ำ การตกตะกอน (sedimentation) เป็นการแยกตะกอนออกจากน้ำเสียโดยอาศัยหลักการเรื่องแรงโน้มถ่วง ซึ่งจะใช้กับตะกอนที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ

4. กระบวนการทางกายภาพ-เคมี (physical-chemical process)

เป็นกระบวนการที่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยมากกว่ากระบวนการที่กล่าวมา ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้ในขั้นตอนสุดท้ายในการบำบัดน้ำเสีย ที่ผ่านกระบวนในขั้นตอนอื่นแล้ว เช่น กระบวนการดังต่อไปนี้

4.1 การดูดซับด้วยถ่าน (carbon adsorption) วิธีการนี้ใช้ผงถ่านหรือคาร์บอนเป็นตัวดูดซับสารเจือปนที่ละลายอยู่ในน้ำทิ้ง

4.2 การแลกเปลี่ยนประจุ วิธีการนี้อาศัยหลักการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างสารปนเปื้อนในน้ำเสียกับตัวกลางที่บรรจุซึ่งมีทั้งประจุบวกและประจุลบ โดยจะมีการลำเลียงน้ำภายใน

วิธีการบำบัดน้ำเสีย

ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย โดยทั่วไปการบำบัดน้ำทิ้งแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นดังนี้

1. การบำบัดขั้นเตรียมการ (preliminary treatment) เป็นขั้นตอนการแยกสิ่งสกปรกที่มีขนาดใหญ่ ไม่ละลายน้ำออกจากน้ำ โดยการใช้ตะแกรง (Screens)

2. การบำบัดขั้นต้น (primary treatment) น้ำเสียที่ผ่านขั้นตอนจากข้อที่ 1 แล้ว จะถูกนำมาตกตะกอนในถังตกตะกอน ซึ่ง เรียกว่า primary sludge การบำบัดในขั้นนี้จะลดค่า BOD ได้ประมาณ 25-40% แล้วแต่คุณลักษณะของน้ำทิ้งและประสิทธิภาพของถังตกตะกอน

3. การบำบัดขั้นที่สอง (secondary treatment) น้ำเสียจากข้อ 2 จะถูกนำเข้าไปสู่ถังเติมอากาศซึ่งจะมีการเติมอากาศให้แก่แบคทีเรียโดยใช้เครื่องเติมอากาศ แบคทีเรีย ช่วยย่อยสลายและกำจัดสารอินทรีย์หรือ BOD ซึ่งอยู่ในรูปของสารละลายหรืออนุภาคคอลลอยด์ ออกไปจากน้ำ กลายเป็นตะกอน ตกลงไปที่ก้นถังกากตะกอนในส่วนนี้จะถูกนำไปกำจัดต่อไป น้ำในส่วนบนของถังตกตะกอนจะใสขึ้น ในขั้นตอนนี้จะช่วยลดค่า BOD ลงได้ประมาณ 75-95% ซึ่งค่า BOD ของน้ำส่วนนี้จะต่ำกว่า 20 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถปล่อยทิ้งลงสู่แม่น้ำได้แต่ถ้าต้องการความสะอาดเหมาะแก่การนำกลับมาใช้ใหม่เข้าสู่การบำบัดขั้นที่ 3 ต่อไป

4. การบำบัดขั้นที่สาม (Tertiary treatment) ต้องการความบริสุทธิ์สะอาดสามารถนำกลับมาใช้อุปโภคและบริโภคได้ กระบวนการบำบัดนี้จึงเป็นกระบวนการเคมีรวมกับฟิสิกส์ - เคมี น้ำทิ้งจากการบำบัด ขั้นตอนที่สอง จะถูกนำมาตกตะกอนด้วยวิธีทางเคมีแยกสารประกอบฟอสเฟตออกด้วยปูนขาว จากนั้นจึงนำมากำจัดสารอินทรีย์ที่เหลืออยู่ด้วยกระบวนการทาง ฟิสิกส์ -เคมีด้วยวิธีการ ion exchange ซึ่งจะได้น้ำที่สะอาดเมื่อผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้วจะได้น้ำที่สะอาด

หลักการจัดการน้ำเสีย

หลักการจัดการน้ำเสียที่สำคัญได้แก่การนำน้ำเสียที่เกิดขึ้นเข้าสู่กระบวนการบำบัดให้ได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัย โดยทั่วไปการจัดการน้ำเสียจะประกอบด้วย

1. การรวบรวมน้ำเสีย (collection)

2. การบำบัดน้ำเสีย (treatment)

3. การนำกลับมาใช้ประโยชน์ (reuse and reclamation)

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียต่างกันไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ในการจัดการเรื่องระบบน้ำเสีย สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการถ่ายเทน้ำเสียในปริมาณมากออกสู่สิ่งแวดล้อม เช่นโรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตอาหารทางการเกษตร จะมีการจัดการเรื่องระบบบำบัดซึ่งต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ ดังนั้นระบบบำบัดจึงเหมาะสำหรับเป็นระบบบ่อชนิดต่างๆ ทั้งมีการใช้ออกซิเจนและไม่มีการใช้ออกซิเจน

บ่อบำบัดที่ใช้ออกซิเจน

ที่อาศัยหลักการธรรมชาติและง่ายที่สุดเช่น ระบบบ่อผึ่ง (oxidation pond) นอกจากนี้ยังมี บ่อเติมอากาศ (aerated Lagoon) บ่อที่มีออกซิเจน (aerobic pond)

บ่อบำบัดที่ไม่ใช้ออกซิเจน เช่น บ่อหมัก (anaerobic pond)

บ่อบำบัดทั้งสองประเภทจะเป็นรูปบ่อเดียวหรือหลายบ่อต่อเป็นอนุกรมก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและปริมาณของน้ำเสียที่จะทำการบำบัด

ระบบบำบัดน้ำเสียเหล่านี้อาศัยการทำงานของแบคทีเรียและสาหร่าย บ่อเหล่านี้ยังให้ผลพลอยได้ เช่น จะให้ก๊าซมีเทนมาใช้หุงต้มอาหาร แต่มีข้อจำกัดที่ใช้เนื้อที่ขนาดใหญ่และการทำงานจะดียิ่งขึ้นถ้าบริเวณนั้นมีแสงแดดมาก ดังนั้นระบบแบบนี้จึงเหมาะกับประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องการลงทุนและค่าใช้จ่าย

ระบบบำบัดที่ใช้พื้นที่น้อย ระบบบำบัดในกลุ่มนี้ก็มีมากมายหลายชนิดให้เลือก มีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกันออกไปเริ่มจากระบบตะกอนแขวนลอย (activated sludge, AS) ที่ต้องใช้เครื่องจักรกลมากที่สุดและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่มีคุณภาพในการจัดการสูง ระบบตะกอนยึดติดวัสดุ (Trickling Filter, TF) ระบบคลองวนเวียน (oxidation ditch) ระบบจานหมุน (rotating biological contractors) ระบบบำบัดในกลุ่มนี้ ออกแบบยากกว่า ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจจึงจะเกิดประสิทธิภาพ

โดยสรุประบบบำบัดน้ำเสียโดยชีวภาพที่นิยมในประเทศไทยมีด้วยกัน 5 ระบบได้แก่

การบำบัดโดยชีวภาพ ที่นิยมใช้ในประเทศไทยมี 5 ระบบ ได้แก่

- ระบบเอเอส (Activited Sludge - AS)

- ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch - OD)

- ระบบจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactors - RBC)

- ระบบบ่อผึ่ง (Oxidation Pond)

- ระบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon)

บำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ (aerobic wastewater treatment)

วิธีบำบัดน้ำเสียโดยใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย หลักการทำงานของระบบ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ 1.ถังเติมอากาศ (Aeration Tank)  2. ถังตกตะกอน (Sedimentation Tank)

น้ำเสียจะถูกส่งเข้าไปยังถังเติมอากาศภายถังในเติมอากาศจะติดตั้งเครื่องเติมอากาศ (Aerator) เพื่อเพิ่มออกซิเจนภายใน ซึ่งในน้ำเสียมีโคลนอยู่เป็นจำนวนมากและสภาวะแวดล้อมภายในถังเติมอากาศจะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียให้อยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไหลไปยังถังตกตะกอนเพื่อแยกโคลนออกจากน้ำใส โคลนส่วนหนึ่งที่แยกตัวจะอยู่ที่ก้นถังตกตะกอนและโคลนอีกส่วนหนึ่งจะถูกสูบกลับเข้าไปในถังเติมอากาศ เพื่อรักษาความเข้มข้นของโคลนที่อยู่ในถังเติมอากาศให้ได้ตามที่กำหนด และอีกส่วนหนึ่งเป็นโคลนส่วนเกิน (Excess Sludge) ที่ต้องทำการกำจัดต่อไป สำหรับน้ำใสส่วนบนจะเป็นน้ำทิ้งที่สามารถระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ ตัวแปรสำหรับการควบคุมระบบ Activated sludge

1. อายุตะกอน (Sludge Age) หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ยที่ตะกอนจุลินทรีย์หมุนเวียน อยู่ในถังเติมอากาศการควบคุมกระทำได้โดยการนำตะกอนส่วนเกินออกจากระบบ ดังนั้นจึงสามารถควบคุมให้มีค่าคงทีได้ตามต้องการ โดยทั่วไปจะควบคุมให้มีระบบอายุตะกอน 5-15 วัน

2. อัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์( F/M ratio ) หมายถึง อัตราส่วนของน้ำหนักสารอินทรีย์ในน้ำเสียที่เข้าระบบ ( กิโลกรัมต่อวัน ) ต่อน้ำหนักตะกอน จุลินทรีย์ในระบบ ( กิโลกรัม ) โดยทั่วไปจะควบคุมให้ระบบมีค่า F/M ratio ระหว่าง 0.1-0.4 ต่อวันคุณสมบัติของน้ำเสีย มักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในแง่อัตราการไหลและความเข้มข้นของสารอินทรีย์ที่เข้าสู่ระบบทำให้การควบคุมระบบ โดยใช้ F/M ratio กระทำได้ยากและมีความไม่แน่นอน ในทางปฏิบัติจึงนิยมควบคุมระบบโดยอายุตะกอนมากกว่า ปัญหาสำคัญในการควบคุมระบบ Activated sludge

1. การลอยตัวของตะกอนในถังตกตะกอน สาเหตุเนื่องมาจาก ตะกอนตกอยู่ในก้นถังตกตะกอนนานเกินไปจนทำให้เกิดปฏิกิริยาชีวเคมีเปลี่ยนสารประกอบ ไนไตรท์และไนเตรตเป็นก๊าซไนโตรเจน ก๊าซที่เกิดขึ้นจะถูกกักอยู่ในตะกอนถ้ามีมากจะพาตะกอนลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ

2. ตะกอนเบาจมตัวลำบาก ในระบบ Activated sludge ที่มีประสิทธิภาพการบำบัดสูงตะกอนจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศจะมีสีน้ำตาลแก่จับกัน เป็นก้อนใหญ่และจมตัวได้อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่เกิดตะกอนเบานั้นจะเป็นตะกอนละเอียดจมตัวได้ช้าและไม่อัดตัวแน่นสาเหตุ มีสองประการคือ อาจเกิดจากเชื้อราที่เป็นเส้นใย หรืออาจเกิดจากมีน้ำอยู่ในตะกอนระหว่างเซลของจุลินทรีย์มากทำให้ตะกอน มีความหนาแน่นเกือบเท่ากับน้ำจึงจมตัวได้ลำบาก

ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามชนิดของจุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่ การบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ หรือใช้ออกซิเจน (aerobic wastewater treatment) และการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ หรือไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic wastewater treatment)

กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ (aerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียโดยจุลินทรีย์กลุ่มที่ต้องอาศัยออกซิเจนละลายน้ำ (dissolved oxygen) หรือ ออกซิเจนอิสระ ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ปฏิกิริยาการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยแบคทีเรียกลุ่มที่ใช้อากาศ (aerobic bacteria) สามารถจำแนกได้เป็น 2 ขั้นตอน ตามลำดับดังนี้ คือ

ขั้นตอนที่ 1 : เป็นกระบวนการนำสารอินทรีย์หรือสารอาหารเข้าไปในเซลล์ โดยจุลินทรีย์จะส่งเอนไซม์ (enzyme) ออกมาย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มาเกาะติดที่ผนังเซลล์เพื่อเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของสารโมเลกุลเล็กที่จะสามารถซึมผ่านเข้าไปในเซลล์ของจุลินทรีย์ได้

ขั้นตอนที่ 2 : เป็นกระบวนการทางชีวเคมีภายในเซลล์จุลินทรีย์ เพื่อที่จะผลิตพลังงานไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ และการสร้างเซลล์ใหม่ โดยเขียนอยู่ในรูปของสมการโดยรวมได้ ดังนี้

เมื่อสารอินทรีย์ในน้ำเสียถูกเปลี่ยนรูปมาเป็นจุลินทรีย์เซลล์ใหม่ จะรวมตัวกันเป็นฟล็อก (biological flocculation) ก็จะมีน้ำหนักมากขึ้น และแยกออกจากน้ำเสียได้ง่ายด้วยการตกตะกอน

กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ จำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ

1) ระบบบำบัดที่จุลินทรีย์แขวนลอยอยู่ในระบบ (suspended system) เช่น บ่อแอโรบิก (Aerobic Pond) บ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon) ระบบแอคติเวทเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge) เป็นต้น

2) ระบบบำบัดที่จุลินทรีย์เกาะติดผิวตัวกลาง หรือ ระบบฟิล์มตรึง (fixed film system) เช่น ระบบโปรยกรอง (Trickling Filter) และระบบแผ่นหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor) เป็นต้น

กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ (anaerobic wastewater treatment) เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียในสภาวะไร้ออกซิเจน โดยจุลินทรีย์จะอาศัยสารประกอบอื่นเป็นตัวรับอิเล็กตรอนแทนออกซิเจนละลายน้ำ (dissolved oxygen) หรือออกซิเจนอิสระ กลไกการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศหรือออกซิเจน สามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ตามลำดับดังนี้

-      เป็นกระบวนการไฮโดรไลซิส (hydrolysis) โดยอาศัยเอนไซม์ (enzyme) ที่ถูกส่งออกมานอกเซลล์ เพื่อเปลี่ยนสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลเล็ก

-      เป็นกระบวนการสร้างกรด (acidogenesis) โดยแบคทีเรียสร้างกรด ซึ่งจะเปลี่ยนผลผลิตที่ได้จากฏิกิริยาไฮโดรไลซิสในขั้นตอนที่ 1 ไปเป็นกรดไขมันระเหย (volatile fatty acid; VFA)

-       เป็นกระบวนการสร้างกรดอะเซติกจากกรดไขมันระเหย (acetogenesis) โดยแบคทีเรียกลุ่มอะซีโตเจนิก (acetogenic bacteria) จะเปลี่ยนกรดไขมันระเหย ไปเป็นผลผลิตสำคัญในการสร้างก๊าซมีเทน ได้แก่ กรดอะเซติก กรดฟอร์มิก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซไฮโดรเจน

-      เป็นกระบวนการสร้างมีเทน (methanogenesis) โดยผลผลิตที่ได้จากแบคทีเรียสร้างกรดในขั้นตอนที่ 3 จะถูกเปลี่ยนไปเป็นก๊าซมีเทนโดยแบคทีเรียกลุ่มสร้างมีเทน (methanogenic bacteria) แบคทีเรียกลุ่มที่สร้างมีเทนนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ชนิดแรก คือ แบคทีเรียที่สร้างมีเทนจากคาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรเจน (hydrogenotrophic bacteria) โดยได้คาร์บอนมาจากคาร์บอนไดออกไซด์และได้พลังงานจากไฮโดรเจน ชนิดที่สอง คือ แบคทีเรียที่สร้างมีเทนจากกรดอะเซติก (acetotrophic bacteria) ซึ่งใช้อะเซเตดเป็นตัวรับอิเล็กตรอน และใช้ไฮโดรเจนเป็นแหล่งพลังงาน

ระบบบำบัดแบบไม่ใช้ออกซิเจน

(Anaerobic Treatment System) ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยวิธี Anaerobic เป็นวิธีที่ไม่ต้องเติมออกซิเจนหรือนิยมเรียกว่า ระบบไร้ออกซิเจนหรือถังหมัก ระบบนี้เริ่มนิยมใช้กันแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะสามารถประหยัดพลังงานในการเติมอากาศและยังได้พลังงานที่เกิดจากระบบไร้ออกซิเจนได้แก่ก๊าซมีเทน(Methane gas) เป็นต้น ซึ่งทุกท่านทราบกันดีแล้วว่าเป็นก๊าซที่ใช้ในการหุงต้มทำอาหารได้ และใช้ในการหุงต้มน้ำในหม้อต้มน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมได้ เมื่อสมัยก่อนเข้าใจกันว่าระบบบำบัดน้ำเสียด้วยวิธี Anaerobic จำเป็นต้องมีน้ำเสียที่สกปรกมาก (BOD มากๆ) แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนารูปแบบของถังปฎิกิริยาขึ้นมาเรื่อยๆ จนสามารถบำบัดน้ำเสียที่มี BOD ต่ำๆ เช่น น้ำเสียจากชุมชนเป็นต้น

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศมีอยู่ด้วยกันหลายอย่างอาทิ

- บ่อหมัก (Aerobic) บ่อหมักแบบนี้อาจเป็นบ่อดินหรือบ่อคอนกรีตโดยอาจมีขนาดความลึกของบ่อตั้งแต่ 1-9 เมตร  ก็ยังมีใช้กันบ่อประเภทนี้จะเป็นบ่อที่รับน้ำเสียที่มีปริมาณ BOD (กก.ต่อวัน) มากๆ จนทำให้บ่อไม่สามารถผลิตออกซิเจนเนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์แสงในบ่อสามารถไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการลดพื้นที่ผิวของบ่อเพิ่มความลึกของบ่อและเพิ่มปริมาณ BOD ขึ้น(กก.ต่อวัน) โดยทั่วไปบ่อประเภทนี้จะมีบ่อสีดำเกิดขึ้นภายในบ่อหมัก ถ้าพบว่าบ่อมีน้ำสีเขียวแสดงว่าบริเวณผิวชั้นบนจะมีการเกิดกระบวนการสังเคราะห์ แสง ขึ้นในบ่อ ส่วนบริเวณก้นบ่อโดยมากจะเกิดปฏิกิริยาชีวเคมีของกระบวนการ Aerobic ขึ้น ซึ่งลักษณะนี้นิยมเรียกว่า Facultative Pond โดยทั่วไปบ่อหมักจะมีเวลาเก็บกัก ตั้งแต่ 1-200 วัน บ่อประเภทนี้จะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียขั้นแรกที่ต้องการลดหรือกำจัด BOD ลงไปส่วนหนึ่งก่อน เพื่อการประหยัดพลังงานในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ประสิทธิภาพในการกำจัด BOD ของบ่อหมักจะอยู่ในช่วงระหว่าง  20 -95% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของน้ำเสียด้วย

- บ่อเกรอะ(Septic Tank) บ่อเกรอะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียประเภท Aerobic เช่นเดียวกัน เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดเหมาะสำหรับอาคารพักอาศัยส่วนบุคคล อาคารสำนักงาน ฯลฯ ที่มีปริมาณน้ำทิ้งไม่มากนัก ระบบนี้จะมีการก่อสร้างไม่ยุ่งยากนักสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยไม่จำเป็นต้องมีผู้ชำนาญการดูแลรักษาระบบแต่มีข้อเสียที่สำคัญคือ น้ำทิ้งไหลผ่านบ่อเกรอะแล้วจะยังมีความสกปรกอยู่มาก จึงต้องมีการบำบัดขั้นต่อไปอีก

- ถังปล่อยทิ้ง (Wash – out  Reactor) ระบบนี้มีลักษณะการทำงานเป็นระบบที่มีการไหลเวียนกลับแต่ไม่มีการแยกตะกอนออกจากน้ำเช่น ไม่มีถังตกตะกอน ระบบนี้จะเหลือใช้ก็ต่อเมื่อไม่สามารถแยกน้ำสลัดจ์กับน้ำในระบบได้เช่น พวกสลัดจ์ ถ้าระบบนี้มีเวลาเก็บกักต่ำกว่าเวลาที่จุลชีพเพิ่มขึ้นผลก็คือระบบภายในถังหมักจะไม่มีตะกอนจุลชีพหลงเหลืออยู่ ซึ่งทำให้กระบวนการของ Anaerobic หยุดลง

- ระบบเอเอสแบบแอนแอโรบิก (Anaerobic Activated Sludge) ระบบนี้อาจเรียกอีกชื่อว่า กระบวนการสัมผัสแอนแอโรบิก (Anaerobic Contact Process) ระบบนี้จะมีถังปฎิกิริยา (ถังหมัก) และระบบแยกตะกอนซึ่งอาจใช้ถังตกตะกอน ถังทำให้ลอย (Flotation) หรือการหมุนเหวี่ยง (Centrifugal) ข้อดีของระบบนี้คือ มีก๊าซมีเทนผลิตขึ้นมาสามารถรับปริมาณ BOD  สูงๆได้ดี และการเพิ่มขึ้นของน้ำสลัดจ์ไม่มากนักเทื่อเปรียบเทียบกับระบบเอเอสแบบใช้ออกซิเจน ระบบเอเอสแบบแอนแอโรบิกนี้จะมีเวลาเก็บกักของน้ำเสียประมาณ 0.5 – 10 วัน ระดับอุณหภูมิภายในถังควรมีประมาณ 35 องศาเซลเซียส และจะใช้อัตราไหลเวียนกลับประมาณ 2 – 4 เท่าของปริมาณน้ำเสียไหลเข้า

- ถังแบบฟิล์มตรึง (Fixed – film Reactor) ระบบนี้เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ตัวกลางบรรจุอยู่ภายในระบบถัง ทั้งนี้เพื่อให้มีอายุสลัดจ์หรือเวลาเก็บกักของน้ำสลัดจ์ยาวนาน แต่มรเวลาเก็กกักของน้ำเสียต่ำกว่า เพราะน้ำสลัดจ์จะไปเกาะบริเวณผิวตัวกลางยิ่งมีผิวขรุขระมาเท่าไหร่ก็จะยิ่งสามารถมีจำนวนสลัดจ์(จำนวนต่อตารางเมตร) มากขึ้นด้วย

ระบบนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1. ถังกรองไร้อากาศแบบไหลขึ้น (Up flow Anaerobic Filter)

2. ถังกรองไร้อากาศแบบไหลลง (Down flow Anaerobic Filter)

- ถังกรองไร้อากาศแบบไหลขึ้น จุลชีพที่บรรจุอยู่ในระบบจะทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ ซึ่งตัวจุลชีพจะเกาะอยู่บริเวณผิวตัวกลาง และบางส่วนจะอาศัยอยู่ช่องว่างระหว่างตัวกลาง ทำให้ระบบนี้ไม่ต้องกวนน้ำเสียภายในถัง การย่อยสลายในถังการย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบนี้จะใช้เวลาเก็บกักของน้ำเสียอาจมีตั้งแต่ 1 – 10 วัน โดยสามารถรับ COD ของน้ำเสียได้ตั้งแต่ 4-16 กก.COD/(ลบ.ม.วัน) ได้อย่างมีประสิทธิภาพตัวกลางที่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือพวกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้โดยธรราติได้แก่ ก้อนหิน พลาสติก อิฐ ยาง ดินเผา เป็นต้น พบว่า ตัวกลางที่ใช้ดินเผาจะมีประสิทธิภาพในการทำงานของระบบดีมาก เพราะว่า มีพื้นที่ผิวขรุขระมากสามารถมีจำนวนสลัดจ์มากในระบบบำบัดน้ำเสีย สำหรับขนาดของตัวกลางไม่ควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไปถ้ามีขนาดเลกเกินไปอาจจะทำให้เกิดปัญหาอุดตันขึ้นได้ง่ายทำให้เกิดการไหลลัดวงจรแต่ถ้าใช้ตัวกลางขนาดใหญ่เกินไปอาจทำให้มีพื้นที่ผิวตัวกลางน้อยลงซึ้งส่งผลให้ประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียลดลงในบางครั้งน้ำเสียที่ไหลเข้าระบบมีค่า BOD สูงกว่าปกติ ก็อาจแก้ไขได้โดยการสูบน้ำทิ้งที่ไหลผ่านระบบ Anaerobic Filter นี้แล้วกลับเข้าสูระบบอีกครั้งเพื่อทำให้ BOD ผสมมีปริมาณความเข้มข้นปกติ

สำหรับขนาดความลึกของตัวกลางที่ควรมีในระบบไม่จำเป็นต้องมีมากๆ เพราะถ้ามีขนาดความลึกของตัวกลางมากเกิน 1.50 ม.ก็อาจเริ่มเกิดปัญหาอุดตันหรือสูญเสียความดัน (head loss) ขึ้น ดังนั้นอาจใช้ความลึกของตัวกลางประมาณ 1.20 ม. ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการบำบัดน้ำเสียทั่วไป  เวลาเก็บกักของถังกรองไร้อากาศ มีประมาณ 1 วันขึ้นไปจึงจะได้ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียดี และต้องมีเวลาเก็บกักอย่างน้อย 4 วันสำหรับการบำบัดน้ำเสียจากชุมชนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำโสโครก

- ถังกรองไร้อากาศแบบไหลลง จะมีตัวกลางบรรจุอยู่ในระบบสำหรับระบบนี้จะมีปริมาณสารแขวนลอยไม่มากเท่ากับของระบบถังกรองไร้อากาศแบบไหลขึ้น (Up flow Anaerobic Filter) น้ำเสียน้ำเสียที่ถูกบำบัดแล้วจะไหลทางส่วนก้นถัง และน้ำทิ้งบางส่วนน้ำทิ้งบางส่วนควรสูบกลับไปที่ระบบอีกครั้งเพื่อให้ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียดียิ่งขึ้นสำหรับข้อมูลอื่นๆก็จะเหมือนกับของระบบถังกรองไร้อากาศแบบไหลขึ้น

- ถังกรองแบบฟลูอิดไดซ์ (Fluidise Bed Reactor) ระบบน้ำเป็นระบบที่ได้มีการพัฒนามาจากระบบถังกรองไร้อากาศ (Anaerobic Filter) ซึ่งมีปัญหาด้านการอุดตันการเกิดไหลลัดวงจรและมีความสูญเสียความดัน(Head loss)ทำให้ได้มีการดัดแปลงโดยใช้ตัวกลางที่มีพื้นที่ผิวมากๆ โดยใช้ทราย Anthracite, Activated carbon หรือ วัสดุอื่นๆที่มีขนาดไกล้เคียงกับเม็ดทราย แต่จะให้ตัวกลางมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำให้สามารถป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการอุดตันได้ และจะทำให้ต้องการเวลาเก็บกักของน้ำเสียต่ำกว่ามาก

- ถังแบบชั้นสลัดจ์ (Sludge Blanket Reactor) ระบบบำบัดน้ำเสียแบบนี้มีการไหลขึ้น ซึ่งนิยมเรียกระบบนี้ว่า Up flow Anaerobic Sludge Blanket Treatment  (UASB) จะอาศัยตะกอนจุลชีพแบบแขวนลอยโดยที่หลังการดำเนินการได้ระยะเวลาหนึ่งจะเกิดตะกอนจุลชีพที่มีลักษณะเป็นเม็ดๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 มม.ขึ้นภายในถังปฏิกิริยาซึ่งมีคุณสมบัติในการตกตะกอนได้ดีมาก ระบบนี้มีประสิทธิภาพในการบำบัด BOD สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับระบบบำบัดแบบไร้อากาศแบบอื่นๆแม้กระทั้งระบบถังกรองแบบฟลูอิดไดซ์ (Fluidise Bed Reactor) ก็ตาม ภายในระบบจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นน้ำและชั้นตะกอนจะมีระบบแยกน้ำใสภายในถังและมีระบบเก็บรวบรวมก๊าซที่ผลิตขึ้นมา ระบบนี้ต้องพยายามควบคุมระบบให้ได้ตะกอนที่มีลักษณะเป็นเม็ดๆจึงจะบอกได้ว่าระบบนี้ทำงานบางครั้งพบว่าจำเป็นต้องน้ำนำตะกอนที่เป็นเม็ดๆแล้วจากถังอื่นมาช่วยให้ระบบนี้ทำงานได้ดี

- ถังแบบแผ่นกั้น(Baffled Reactor) ระบบบำบัดน้ำเสียแบบนี้มีลักษณะเป็นถังที่มีแผ่นกั้นขวางหลายแผ่นวางตั้งไว้ในถังยาว การไหลของน้ำเข้าระบบจะเป็นในลักษณะไหลขึ้น ไหลลงสลับกันไปหลายๆครั้ง โดยอาจจะมีความเร็วในการไหลขึ้นประมาณ 0.2 – 0.4  ม./ชม.

ระบบการบำบัดน้ำเสียด้วยไฟฟ้า

ระบบการบำบัดน้ำเสียด้วยไฟฟ้าเหมาะสำหรับงานบำบัดน้ำเสียทั่วๆไปเช่น งานบำบัดน้ำเสียจากชุมชน งานบำบัดน้ำเสียจากโรงงาน งานบำบัดน้ำเสียจากสถานีบริการน้ำมันเชื่อเพลิงหรือ (ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง) งานบำบัดน้ำเสียจากศูนย์บริการรถยนต์ งานบำบัดน้ำเสียจากใต้ท้องเรือ (Bilge water) น้ำเสียโรงพยาบาล น้ำเสียห้างสรรพสินค้า ร้านค้า โรงอาหาร น้ำเสียโรงแรม น้ำเสียหน่วยงานต่างๆ น้ำเสียที่มีปริมาณ ไขมันสะสมสูง จำนวนมหาศาล

ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยไฟฟ้า ข้อได้เปรียบของระบบ (Electrocution Automatic Wastewater Treatment) เป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบอัตโนมัติ ที่มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อการปฏิรูประบบเดิม จากที่ไม่เคยมีมาก่อนให้เป็นจริงด้วยเทคโนโลยีสิ่งนี้ ทำให้การบำบัดน้ำเสียที่เคยยุ่งยาก กลับเป็นสิ่งที่ง่ายและสมบูรณ์ที่สุด เกินมาตรฐานกำหนดและสามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว กลับไปทำ RECYCLE system ได้ทันที ด้วยคุณสมบัติในการลดต้นทุนแต่ละขั้นตอนดังนี้

- ลดปริมาณตะกอนลดการใช้พื้นที่  - เพื่อประโยชน์ในการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ (recyclable)  - ไม่ต้องเติมสารเคมีใดๆ

- ง่ายต่อการควบคุม  - ง่ายต่อการบำรุงรักษา

ระบบ (Electrocution Automatic Wastewater Treatment) คือตัวเลือกที่ดีที่สุด ความสามารถระบบ

แยกโลหะหนักออกทุกชนิด

แยกของเหลวกับของแข็งออกจากกัน

ทำลายไขมันจากน้ำเสีย

แยกสารอินทรีย์

ฆ่าและแยกเชื้อแบคทีเรีย,VIRUS และcysts

สามารถจัดการสารอันตรายซับซ้อน

สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรมเช่น

1) Textile       2) Metal Plating                                3) Meat and Poultry Processing                  4) Water Supply(ประปา)

5) Farming    6) อุตสาหกรรม อิเลคทรอนิกส์ Hi-Tech   7) Chemical Industry (อุตสาหกรรมทางเคมี)    8) น้ำเสียภายในประเทศ

ผลหลังจากได้ใช้ระบบการบำบัดน้ำเสียด้วยกระแสไฟฟ้าแล้วทำให้น้ำเสียโดยรวมภายในประเทศดีขึ้นเป็นส่วนใหญ่

วัตกรรมใหม่ในวงการระบบบำบัดน้ำเสีย เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปทุกประเภท มีรูปแบบในการทำงานของระบบที่ไม่ต้องการใช้สารเคมีใดๆมาช่วยบำบัด และ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมใดๆ

ตามธรรมชาติของสารแขวนลอย และ สิ่งเจือปนต่างๆในน้ำที่มีคุณสมบัติในการทำปฏิกิริยากับกระแสไฟฟ้า เช่นเชื้อ แบคทีเรีย อัลจี น้ำมันเครื่อง ดินโคลน ทราย ฟอสเฟต ผงถ่าน นิเกิ้ล ตะกั่ว สารสี และ ไออ้อนของแร่ธาติต่างๆ กรรมวิธีที่จะทำให้สิ่งดังกล่าวเหล่านั้นแยกตัวออกจากน้ำได้นั้น สามารถทำได้ทั้งระบบสารเคมีบำบัด และ ระบบกระแสไฟฟ้าบำบัด

การบำบัดน้ำเสียด้วยกระแสไฟฟ้า ได้เคยมีการนำมาใช้บำบัดน้ำเสียมานานแล้วโดยใช้กระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันสูงมากเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กเข้มข้นหนาแน่นสูง ที่สามารถทำปฏิกิริยากับสารแขวนลอยเหล่านั้นให้รวมตัวกันจนตกตะกอนได้ และ แยกตัวกันกับน้ำเสียได้เด็ดขาด.... แต่สมัยก่อนๆนั้นต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก โดยผลลัพธ์ที่ได้มีอัตราการไหลของน้ำต่ำ จึงยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร การใช้สารเคมีบำบัดจึงนิยมใช้กันแพร่หลายมากกว่า อันเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดมลภาวะซ้ำซ้อนจากกากมลพิษของสารเคมีที่เป็นพิษที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกวัน จนเริ่มถึงขีดอันตรายแล้ว องค์การระหว่างประเทศนาๆชาติทางด้านสิ่งแวดล้อมเริ่มมีการเคลื่อนไหว ออกกฎ ระเบียบร่วมกันที่เข้มงวดมากขึ้น การใช้สารเคมีบำบัดจึงมีความลำบาก ยุ่งยากมากขึ้นเช่นกัน

โรงงานอุตสาหกรรมมีมากมายหลายประเภท ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ลักษณะของน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมจะเหมือนกันทุกโรงงาน แม้กระทั่งในโรงงานประเภทเดียวกัน ลักษณะของน้ำเสียที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงานและยังแตกต่างกัน และช่วงเวลาทำงานก็แตกต่างกันบางโรงงานผลิต 8 -12 ชม. บางโรงงานผลิต 24 ชม. โดยเฉพาะโรงงานที่มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างลักษณะน้ำเสียในแต่ละเวลาก็จะแตกต่างกันมาก ทั้งอัตราการไหลและส่วนประกอบในน้ำเสียนั้น

สามารถสรุปลักษณะน้ำเสียตามประเภทอุตสาหกรรมได้ดังนี้

อุตสาหกรรมอาหาร

น้ำเสียจากอุตสาหกรรมประเภทนี้จะมีความแตกต่างกันตามประเภทโรงงาน วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และปริมาณผลผลิต ลักษณะโดยทั่วไปจะประกอบด้วย 1) อินทรีย์วัตถุ  2) ตะกอนแขวนลอย 3) ปริมาณและลักษณะน้ำเสียมีความเปลี่ยนแปลงสูงตามฤดูกาลโดยเฉพาะประเภทผลไม้ 4) น้ำที่ใช้ล้าง (บางครั้งเป็นน้ำร้อน) มักถูกปล่อยออกมาเป็นจำนวนมาก โดยปกติแล้วจะไม่มีสารอันตราย อย่างเช่น โลหะหนัก 5) มักจะประกอบด้วยน้ำมัน ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยเฉพาะพวกแป้งและเบียร์จะทำให้มีค่าบีโอดีสูง

อุตสาหกรรมสิ่งทอ

มีความแตกต่างกันอย่างมากมายในส่วนประกอบของน้ำเสียระหว่างอุตสาหกรรมสิ่งทอธรรมชาติกับสิ่งทอทางด้านเคมี น้ำเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอขนสัตว์ประกอบด้วยค่าบีโอดีที่มีความเข้มข้นสูงไขมันและด่าง น้ำเสียจากการย้อมจะประกอบด้วยมลสาร เช่น สีย้อม และสารเคมีอื่น ๆ คุณภาพและปริมาณจะแตกต่างกันไปตามวันต่อวัน ตามฤดูกาล และตามการเปลี่ยนแบบตามแฟชั่น

อุตสาหกรรมผลิตกระดาษและเยื่อกระดาษ

อุตสาหกรรมผลิตกระดาษและเยื่อกระดาษเป็นลักษณะโดยเฉพาะของอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำสำหรับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษใช้ต้นไม้จากธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ นำมาเติมด้วยสารเคมีและนำไปต้มเอาเพียงเซลลูโลสมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นปล่อยส่วนประกอบอื่น ๆ ให้เป็นวัตถุเจือปนลงในน้ำเสีย ทำให้น้ำเสียเกิดมีมลพิษสูง และน้ำเสียจะมีลักษณะที่มีทั้งค่าบีโอดีและมีสิ่งเจือปนที่ค่อนข้างสูง ส่วนในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษมีกระบวนการเพิ่มเติมจากอุตสาหกรรม คือนำเยื่อกระดาษมาเติมด้วยตัวฟิลเลอร์ (Kaolin, Clay และตัวอื่น ๆ) เพื่อทำให้เป็นแผ่นกระดาษ ลักษณะของน้ำเสียจึงประกอบไปด้วยเส้นใยละเอียดหรือกระดาษ และสารที่เป็นฟิลเลอร์ต่าง ๆ และยังเต็มไปด้วยวัสดุจำนวนมากที่ลอยในอยู่บนผิวหน้า

อุตสาหกรรมเครื่องหนัง

น้ำเสียและมีค่าบีโอดีค่อนข้างสูงซึ่งมาจากสารแทนนินที่ใช้ในการฟอกหนังและจากหนังดิบ และยังประกอบด้วยโครเมียมที่ใช้ในการฟอกหนัง และปูนขาวที่ใช้ในการบำบัดขั้นต้น ของแข็งแขวนลอยและสีจากการย้อม

อุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์

น้ำเสียมักจะประกอบไปด้วยสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามประเภทของกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีจะปล่อยน้ำเสียที่มีสารเคมีและประเภท สารอันตราย สารประกอบที่มีกลิ่นเหม็น ซึ่งมีสภาพของการเป็นกรดหรือเป็นด่างสูง และจะมีสารประกอบที่มีค่าซีโอดีสูง

อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน

ส่วนประกอบที่สำคัญของมลสาร คือ น้ำมันที่ล้นออกมา ที่มีอยู่ในสภาพอีมัลชั่น และน้ำเสียก็ยังเต็มไปด้วยสารที่มีกลิ่นเหม็น เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซัลไฟด์ตัวอื่น ๆ แอมโมเนีย เมอร์แคปแทน และฟีนอล ฯลฯ

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

เป็นน้ำเสียที่ประกอบด้วย สารไฮโดรคาร์บอน สารประกอบอินทรีย์ ตัวเค็ทตาลิตส์ต่าง ๆ และส่วนประกอบอื่น ๆ ขึ้นกับประเภทของผลิตภัณฑ์

อุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเหล็กกล้า

เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำในปริมาณสูง น้ำเสียเกิดจากกระบวนการการทำความเย็นและทำความสะอาดสำหรับเตาหลอมถ่านโค้ก ประกอบด้วย แอมโมเนีย ไซยาไนด์ ฟีนอล ฯลฯ นอกจากนี้น้ำเสียที่มาจากกระบวนการกำจัดฝุ่นจากเตาหลอมจะประกอบด้วยของแข็งแขวนลอย (ฝุ่นของถ่านโค้กและแร่เหล็ก) และจากกระบวนการล้างด้วยกรดประกอบด้วย กรด เหล็ก และน้ำมัน

อุตสาหกรรมผลิตโลหะที่นอกเหนือไปจากเหล็ก

สินแร่ดิบทองแดง ทองคำ และเงิน โดยปกติมักจะประกอบด้วยสารเจือปนพวกแคดเมียม ตะกั่ว สาร-หนู ฯลฯ สารเหล่านี้อาจจะถูกละลายออกมาในระหว่างกระบวนการผลิตหรืออยู่ในน้ำเสีย ซึ่งอาจจะตกค้างในดินหรือเกิดการปนเปื้อนในน้ำใต้ดินหากมีกระบวนการระบายน้ำเสียที่ไม่ได้มาตรฐานลงสู่ผิวดิน

อุตสาหกรรมการเคลือบโลหะ

มีการใช้วัตถุดิบและสารเคมีหลายตัวในอุตสาหกรรมประเภทนี้ ดังนั้นในน้ำเสียจึงประกอบด้วยโลหะหนักหลายชนิด เช่น แคลเซียม สังกะสี ทองแดง ไซยาไนด์ โครเมี่ยมเฮ็กซาวาเล้นท์ กรด และด่าง ฯลฯ

อุตสาหกรรมเซรามิกส์และซีเมนต์

มีน้ำเสียที่ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์แขวนลอยที่มีสภาพเป็นด่าง ในส่วนของอุตสาหกรรมเซรามิกส์ยังมีสารจำพวกให้สี และสารพวกวัตถุอันตรายเจือปนอยู่ด้วย


ปรึกษาเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียได้ที่   

คุณ จักรพงษ์  086-688-5504  (ผู้จัดการ)

อ้อมฤทัย สนพะเนา (อ้อม)
เบอร์ 0993290990
E-mail
ID Line sale.encare

ในระบบทางเทคโนโลยีของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป

บริษัท เอ็นแคร์ อินโนเวชั่น จำกัด

157 อาคารศิริเลิส ห้อง 805 ชั้น 8

ถ.เพชรเกษมแขวงหนองค้างพลู

เขตหนองแขม กรุงเทพ 10160

Tel: 02-101-5553

Fax: 02-101-5554

E-mail: 

http://www.encare-innovation.com/

https://www.ระบบบําบัดน้ําเสีย.net/