พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ระบอบประชาธิปไตย 26 ตุลาคม 2563


พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ชื่อเรื่อง การศึกษาและจัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่
โดย ดร.สาธิดา วิมลคุณารักษ์, ดร.สุพัตรา แผนวิชิต
ISBN :978-616-476-136-0

จัดพิมพ์โดย
สถาบันพระปกเกล้า
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ
อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

การศึกษาและจัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 (77 ครั้ง) ดาวน์โหลด


Share :

พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม


กลับไปหน้าหลัก

พระราชบัญญติคุ้ัมครองผู้บริโภค พ.ศ.2522

    มีสาระสำคัญดังนี้

    1.กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคจะได้รับ โดยกฏหมายมาตรา ๔ ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครองดังนี้

        1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณานาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ

        2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ

3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ

4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญา

5. สิทธิที่จะได้รับการพิจาณณาและชดเชยต่าเสียหาย

2.การแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยกฏหมาย มาตรา ๙ และ 10 ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้

        2.1 พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย เนื่องจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ

        2.2 ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้า ที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคและข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคที่ผู้บริโภคควรทราบ

        2.3 การกำหนดมาตราการในการคุ้มครองผู้บริโภค มีมาตราการการคุ้มครองผู้บริโภคที่สำคัญ ได้แก่

            2.3.1 การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านโฆษณาในมาตรา 22 "การโฆษณาจะต้องไม่ใช่ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมร่างกายหรือจิตใต หรืออันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค.."

            2.3.2 การคุ้มครองผู้บนิโภคในด้านฉลาก ในมาตรา 31 ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

                    - ใช้ข้อความที่ตรงต่อตวามจริง และไม่มีข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า

                    - ต้องระบุข้อความ ดังต่อไปนี้

                        (ก) ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตหรือผู้นำเพื่อขาย แล้วแต่กรณี

                        (ข) สถานที่ผลิตหรือสถานประกอบธุรกิจนำเข้า แล้วแต่กรณี

                        (ค) ระบุข้อความที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ในกรณีที่เป็นสินค้านำเข้าให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย

            2.3.3 ระบุข้อความอันจำเป็น ได้แก่ ราคา ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ คำเตือน วัน เดือน ปี ที่หมดอายุ ในกรณีเป็นสินค้าที่หมดอายุได้ หรือกรณีอื่นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค

    3. การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา มาตรา 35 ทวิ

        "ในการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการใด..ในการประกอบธุรกิจที่ควบคุมสัญญา" สัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริดภคจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

                1.ใช้ข้อสัญญาที่จำเป็นซึ่งหากมิได้ใช้ข้อสัญญาเช่นนั้นจะทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบผู้ประกอบธุรกิจเกินสมควร

                2. ห้ามใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค