ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมในสมัยธนบุรี

Normal
0

false
false
false

EN-US
X-NONE
TH

/* Style Definitions */
table.MsoNormalTable
{mso-style-name:ตารางปกติ;
mso-tstyle-rowband-size:0;
mso-tstyle-colband-size:0;
mso-style-noshow:yes;
mso-style-priority:99;
mso-style-parent:””;
mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;
mso-para-margin-top:0cm;
mso-para-margin-right:0cm;
mso-para-margin-bottom:10.0pt;
mso-para-margin-left:0cm;
line-height:115%;
mso-pagination:widow-orphan;
font-size:11.0pt;
mso-bidi-font-size:14.0pt;
font-family:”Calibri”,”sans-serif”;
mso-ascii-font-family:Calibri;
mso-ascii-theme-font:minor-latin;
mso-hansi-font-family:Calibri;
mso-hansi-theme-font:minor-latin;
mso-bidi-font-family:”Cordia New”;
mso-bidi-theme-font:minor-bidi;}

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยด้านศิลปกรรมสมัยธนบุรี

           เนื่องจากสมัยธนบุรีเป็นราชธานีในระยะเวลาสั้นๆ และต้องตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลา ภูมิปัญญาแลละวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมจึงมีอยู่บ้าง เช่น เรือ  การต่อเรือเจริญมากเพราะมีการต่อเรือรบ เรือสำเภา ตลอดจนเรือกระบวนไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก

สถาปัตยกรรม  กรุงธนบุรีเป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง  จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก  อาทิ  พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอารามต่าง ๆ  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา  ทรงอาคารจะสอบชะลูดขึ้นทางเบื้องบน  ส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาคารก็ไม่แตกต่างจากอยุธยามากนัก  เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมสมัยธนบุรีมักได้รับการบรูณะซ่อมแซมในสมัยหลังหลายครั้งด้วยกัน  ลักษณะในปัจจุบันจึงเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่บูรณะครั้งหลังสุด  เท่าที่ยังปรากฏเค้าเดิมในปัจจุบัน ได้แก่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรง และพระตำหนักเก๋งคู่ในพระราชวังเดิมที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากจีน  พระอารามทั้งในพระนครและหัวเมืองที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลนี้ล้วนแต่ได้รับการบรูณะใหม่ในรัชกาลต่อมาเช่นกัน  ที่ยังแสดงลักษณะศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี  ได้แก่  พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม  พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม  ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตาราม  และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนารามประณีตศิลป  กรุงธนบุรีมีนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างพร้อมมูล ทั้งช่างรัก ช่างประดับช่างแกะสลัก ช่างปั้นและช่างเขียน  งานประณีตศิลป์ชิ้นสำคัญสมัยนี้ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ 4 ตู้ในหอวชิรญาณ  ซึ่งได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม  ช่างหล่อคนสำคัญปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า  โปรดให้หลวงวิจิตรนฤมล  ปั้นพระพุทธรูปให้ต้องตามพุทธลักษณะที่โปรดให้สอบสวน  แล้วหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนองค์หนึ่งปางสมาธิองค์หนึ่ง  งานแกะสลัก  ได้แก่พระแท่นบรรทมในพระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม  ในพระวิหารวัดอินทาราม  และตั่งจากอำเภอแกลงจังหวัดระยอง  ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯจิตรกรรม  ภาพจิตรกรรมสมัยธนบุรีอาจดูได้จาก ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง)  มีการวาดภาพเกี่ยวกับไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม  เพื่อปลูกฝังให้คนไทยเกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ  ประพฤติกรรมดี ละเว้นความชั่ว  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ  และลวดลายรดน้ำที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎกและภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมในสมัยธนบุรี
ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมในสมัยธนบุรี
ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมในสมัยธนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมในสมัยธนบุรี

ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมในสมัยธนบุรี

ศิลปะธนบุรี หรือ ศิลปะกรุงธนบุรี หมายถึง ศิลปะในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) ซึ่งมีไม่ค่อยมากนัก เพราะทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี และบ้านเมืองอยู่ในภาวะสงคราม ถึงกระนั้นก็พอมีงานศิลปะออกมาบ้าง ส่วนผลงานด้านสถาปัตยกรรมในสมัยธนบุรี ไม่มีผลงานดีเด่นที่พอจะอ้างถึงได้มากนัก

สถาปัตยกรรม[แก้]

สถาปัตยกรรมในสมัยกรุงธนบุรีนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินรับสั่งให้มีการก่อสร้างจำนวนไม่น้อย เพราะต้องฟื้นฟูบ้านเมืองในช่วงสงครามให้กลับมาโดยเร็ว และเพื่อเป็นการเสริมสร้างบารมีและเป็นหน้าประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมในยุคสมัยของพระองค์ จึงมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมเป็นจำนวนมาก เช่น กำแพงพระนคร ป้อมปราการ พระราชวัง พระอารามต่าง ๆ สถาปัตยกรรมส่วนมากที่กล่าวมาล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาทั้งสิ้น เพราะเป็นช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกัน ส่วนต่าง ๆ เช่น ฐานอาคารและรูปทรงอาคารจะไม่แตกต่างจากกรุงศรีอยุธยามากนัก

สถาปัตยกรรมสมัยกรุงธนบุรีมักจะมีการบูรณะซ่อมแซมบูรณะ ไม่ว่าจะเป็นในยุคสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเอง หรือยุคสมัยต่อ ๆ มา ทำให้ไม่ค่อยเหลือเค้าโครงเดิม แต่ก็ยังมีสถาปัตยกรรมบางแห่งที่บูรณะแล้วยังปรากฏเค้าโครงเดิม เช่น ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรงและพระตำหนักเก๋งคู่ในท้องพระโรงเดิม สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2310 ท้องพระโรงเป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาแต่ไม่มียอดปราสาท เดิมเป็นอาคารไม้ แต่สันนิษฐานว่ามีการบูรณะให้เป็นอาคารปูนในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ในพระราชวังเดิม[1] ส่วนวัดวาอาราม ที่ยังมีเค้าโครงเดิม ได้แก่ พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์ พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม ตำหนักแดงวัดระฆังโฆสิตาราม และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม[2]

แผนผังการสร้างพระราชวังและวัดยังคงมีการรักษาขนบแบบกรุงศรีตอนปลาย มีอาคารขนาดไม่ใหญ่มาก สัดส่วนอาคารแคบยาว หน้าจั่วมีแบบมุขลดและแบบพรมพักตร์ หน้าบันทำเป็น 2 ชั้น ชั้นบนมีลวดลาย ชั้นล่างของหน้าบันมักฉาบเรียบและนิยมเจาะร่องหน้าต่าง 2 ช่อง ซึ่งได้แบบจากสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประติมากรรม[แก้]

มีการพบพระพุทธรูปสมัยกรุงธนบุรีอย่างน้อย 2 องค์ ในด้านรูปแบบยังไม่ปรากฏเอกลักษณ์ชัดเจน แต่เริ่มมีการสร้างพระพุทธรูปแทนตน โดยเปรียบเทียบส่วนที่เหมือนจากพุทธลักษณะ ส่วนเทคนิคยังคงใช้การหล่อสัมฤทธิ์เช่นสมัยกรุงศรีอยุธยา[3]

จิตรกรรม[แก้]

จิตรกรรมพระพุทธศาสนา มุ่งสอนประชาชนให้เข้าใจพระพุทธศาสนาจากเรื่องไตรภูมิ กล้าตีความโดยใช้สัญลักษณ์เพื่อถ่ายทอดเนื้อหา รูปแบบการใช้สี มีการใช้สีมากกว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา มักใช้สีแดงเป็นหลัก บางครั้งยังพบการไล่น้ำหนักสี ลักษณะรูปแบบในงานถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกที่ดูเข้มแข็ง ชัดเจน จริงจัง แม้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและอิทธิพลของต่างชาติแต่ความอ่อนช้อยของเส้นและรูปแบบปรากฏให้เห็น[3] จิตรกรรมในสมัยกรุงธนบุรีที่หลงเหลือมายังปัจจุบัน คือ ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง) ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ

ศิลปะประยุกต์และประณีตศิลป์[แก้]

เครื่องเบญจรงค์สมัยกรุงธนบุรียังคงมีลวดลายแบบเดิม เช่น กระหนก เทพพนม นรสิงห์ นิยมชามทรงบัว การเคลือบภายในนิยมเคลือบขาวแทนสีเขียว ส่วนการผูกลายนั้นเป็นแบบเดียวกับกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่สะบัดพลิ้วเท่ากับของเดิม รูปแบบลวดลายเริ่มมีการประดิษฐ์ให้ห่างจากความจริง นิยมลวดลายเครือเถากระหนกแทรกและนิยมการเขียนลายแบบลดรูป ถือได้ว่าครั้งกรุงธนบุรี กรมช่างสิบหมู่มีความเจริญรุ่งเรือง[3] งานประณีตศิลป์ชิ้นสำคัญสมัยนี้ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ 4 ตู้ ในหอวชิรญาณ ซึ่งได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม

อ้างอิง[แก้]

  1. ""พระราชวังเดิม" วังกรุงธนบุรี ที่ประทับกษัตริย์-เจ้านาย 2 ราชธานี". ประชาชาติธุรกิจ.
  2. "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี". มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
  3. ↑ 3.0 3.1 3.2 "นิทรรศการดิจิทัลศิลปกรรมกรุงธนบุรี".

ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมในสมัยธนบุรีคืออะไร

จิตรกรรม ภาพจิตรกรรมสมัยธนบุรีอาจดูได้จาก ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง) มีการวาดภาพเกี่ยวกับไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม เพื่อปลูกฝังให้คนไทยเกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ ประพฤติกรรมดี ละเว้นความชั่ว ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ และลวดลายรดน้ำที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎกและภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

วรรณกรรมใดที่เป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยธนบุรี

สมัยกรุงธนบุรียังมีวรรณกรรมอีกหลายเรื่องถูกประพันธ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นลิลิตเพชรมงกุฎ และอิเหนาคำฉันท์ ประพันธ์ขึ้นโดย หลวงสรวิชิต (หน), กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินท์, โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี ประพันธ์โดยนายสวนมหาดเล็ก และนิราศกวางตุ้งหรือนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนครั้ง ...

สถาปัตยกรรมเด่นในสมัยธนบุรีคืออะไรมีความสําคัญอย่างไร

สถาปัตยกรรม กรุงธนบุรีเป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก อาทิ พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอารามต่าง ๆ ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา ทรงอาคารจะสอบชะลูดขึ้นทางเบื้องบน ส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาคารก็ไม่แตกต่างจาก ...