ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดินแดนไทย ในปัจจุบันชาวอินเดียเรียกว่า อะไร

อารยธรรมอินเดีย : งานวิจัยดีเอ็นเอจากยุคโบราณ พลิกโฉมความรู้เรื่องยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอินเดียไปอย่างสิ้นเชิง

12 มกราคม 2019

ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดินแดนไทย ในปัจจุบันชาวอินเดียเรียกว่า อะไร

ที่มาของภาพ, Getty Images

โดย โทนี โจเซฟ

ใครคือชาวอินเดีย แล้วพวกเขาเหล่านี้มาจากแห่งหนตำบลใด เป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือดในอินเดียช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ แต่งานวิจัยล่าสุดจาก ม.ฮาร์วาร์ด ที่ศึกษาดีเอ็นเอยุคโบราณได้เปลี่ยนแปลงความรู้เกี่ยวกับยุคก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดียไปโดยสิ้นเชิง

กลุ่มชาตินิยมฮินดู เชื่อกันว่าอารยธรรมอินเดียมีรากเหง้ามาจากผู้คนที่เรียกตัวเองว่า อารยัน (Aryan) ชนเผ่าเร่ร่อนที่เป็นนักรบบนหลังม้า และต้อนปศุสัตว์ของพวกเขาไปทุกที่ คนเหล่านี้เองที่เป็นผู้เขียน พระเวท (Vedas) ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดของศาสนาฮินดู

กลุ่มชาตินิยมฮินดูยังพยายามบอกอีกด้วยว่าชาวอารยันก่อกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย ก่อนจะกระจายกันออกไปสู่เอเชียและยุโรป และเป็นต้นตระกูลของกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูลอินโด - ยูโรเปียน ที่ชาวยุโรปและชาวอินเดียใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

อารยันในหลายความหมาย

แต่ก่อนนี้ นักมานุษยวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รวมไปถึง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ต่างก็ยกให้ชาวอารยันเป็นเผ่าพันธุ์ของชนชั้นปกครองที่พิชิตทวีปยุโรป เพียงแต่อดีตผู้นำประเทศเยอรมนีอย่างฮิตเลอร์ สงวนความหมายของคำนี้เอาไว้แค่คนเชื้อชาตินอร์ดิกผู้มีผิวขาวและดวงตาสีฟ้าเท่านั้น

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

อารยธรรมฮารัปปาเจริญรุ่งเรืองในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียและปากีสถาน

อย่างไรก็ตาม เวลาที่นักวิชาการใช้คำว่า อารยัน พวกเขาจะหมายความถึงกลุ่มคนที่พูดภาษาอินโด - ยูโรเปียน และเรียกตัวเองว่า อารยัน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีขนาดใหญ่กว่านิยามของฮิตเลอร์ เช่นเดียวกับบทความนี้ที่ใช้คำว่าอารยันโดยไม่ได้หมายถึงเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่งอย่างที่ฮิตเลอร์หรือกลุ่มชาตินิยมฮินดูเคยใช้

ทั้งนี้ นักวิชาการชาวอินเดียหลายคนยังกังขากับทฤษฎีที่ว่าชาวอารยันเดินทางออกมาจากประเทศอินเดีย ตรงกันข้าม พวกเขาคิดว่าชาวอารยันที่พูดภาษาอินโด - ยูโรเปียน เหล่านี้อาจเป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่งในบรรดาคลื่นผู้อพยพสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่เดินทางมาถึงแผ่นดินอินเดียหลังจากอารยธรรมก่อนหน้านั้นได้ล่มสลายลงไป

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

และอารยธรรมที่ว่านั้นก็คือ ฮารัปปา หรือ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Valley) ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ร่วมสมัยกับอารยธรรมไอยคุปต์ของอียิปต์และอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

ทว่ากลุ่มชาตินิยมฮินดูอนุรักษ์นิยมไม่คิดเช่นนั้น พวกเขาเชื่อว่าอารยธรรมฮารัปปานี้ก็คืออารยัน หรืออารยธรรมแห่งคัมภีร์พระเวท

ความตึงเครียดระหว่างคนสองกลุ่มที่ต่างก็เชื่อมั่นในแนวคิดที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงกำลังทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพรรคชาตินิยมฮินดู "ภารติยะ ชนะตะ" หรือ บีเจพี ก้าวเข้ามามีอำนาจในปี ค.ศ. 2014

  • เจ้าหญิงอโยธยาผู้มาเป็นราชินีแดนโสม ตำนานสองพันปีเชื่อมสัมพันธ์อินเดีย-เกาหลีใต้
  • ไอเอส : ขุมทรัพย์จักรวรรดิอัสซีเรียที่ซุกซ่อนในอุโมงค์กลุ่มรัฐอิสลาม

อย่างไรก็ตาม เครื่องมือศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคใหม่โดยใช้แนวทางของพันธุศาสตร์ประชากร ได้เริ่มเข้ามีบทบาทมากขึ้นในการพิสูจน์ว่าความเชื่อฝ่ายใดถูกต้อง วิธีนี้ใช้การพิสูจน์ดีเอ็นเอ (DNA) หรือ สารพันธุกรรมในยุคโบราณ เพื่อหาคำตอบว่าประชากรสมัยก่อนอพยพย้ายถิ่นฐานกันเมื่อไรและมุ่งหน้าไปที่ใดกันแน่ ผลลัพธ์ของมันได้สร้างความเข้าใจต่อยุคก่อนประวัติศาสตร์ใหม่ไปทั่วทั้งโลก ในอินเดียเอง ก็ทำให้เกิดการค้นพบอันน่าตื่นใจอย่างต่อเนื่อง

เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์

โครงการวิจัย "โครงสร้างพันธุกรรมของบริเวณภาคกลางและใต้ของทวีปเอเชีย" ออกเผยแพร่เมื่อเดือน มี.ค. 2018 โดยมี เดวิด ไรคห์ นักพันธุศาสตร์จาก ม. ฮาร์วาร์ดเป็นผู้นำโครงการ ร่วมกับนักวิชาการทั่วโลกจากหลากหลายสาขา เช่น ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และมานุษยวิทยา อีก 92 คน

ภายใต้ชื่อน่าเบื่อแบบวิชาการ คือกระแสวิวาทะอันร้อนแรงที่ถั่งโถมมาจากทั้งสองฝ่าย เนื่องเพราะงานชิ้นนี้ระบุว่าในช่วง 10,000 ปีที่ผ่านมา มีการอพยพครั้งใหญ่สองระลอกเข้ามาในอนุทวีปอินเดีย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

เมืองโธลาวีระ รัฐคุชราต คือหนึ่งในซากอารยธรรมฮารัปปาที่ใหญ่ที่สุดจากทั้งหมด 5 แห่ง

กระแสแรก เป็นกลุ่มชนที่มาจากดินแดนซากรอส (Zagros) บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน สถานที่ซึ่งปรากฏหลักฐานการเลี้ยงแพะเป็นแห่งแรกของโลก พวกเขานำความรู้เรื่องการเกษตรโดยเฉพาะการเลี้ยงปศุสัตว์มาสู่อินเดีย

ช่วงเวลานี้คือประมาณ 7,000 - 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวซากรอสเหล่านี้เข้ามาอาศัยปะปนไปกับคนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ก่อนหน้า ซึ่งเชื่อกันว่าพวกเขาอพยพออกมาจากแอฟริกาตามทฤษฎี "มาจากแอฟริกา" หรือ Out of Africa อันโด่งดัง และเข้ามาถึงอินเดียเมื่อ 65,000 ปีก่อนหน้านั้น

และคนสองกลุ่มนี้เองที่ช่วยกันสร้างอารยธรรมฮารัปปาขึ้นมา

อารยันเพิ่งเดินทางมาถึง

ต่อมา เมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล พวกอารยันเดินทางมาถึงอินเดีย จากแถบทุ่งหญ้าสเตปป์ยูเรเซียน ซึ่งคือบริเวณที่เป็นประเทศคาซัคสถานในปัจจุบัน พวกเขาเหล่านี้นำภาษาสันสกฤตยุคแรกเข้ามา พร้อมด้วยความรู้ในการควบคุมม้า และขนบธรรมเนียมใหม่ ๆ เช่น พิธีกรรมบูชายัญ นี่เองเป็นรากฐานของวัฒนธรรมฮินดู/พระเวท

นอกจากนี้ การศึกษาทางด้านพันธุกรรมยังพบว่ามีผู้อพยพอีกหลายกลุ่มเดินทางเข้ามายังอนุทวีปนี้ อย่างเช่น คนที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก ที่เดินทางมาจากแถบตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

งานวิจัยพบว่าประชากรของอินเดียมีความหลากหลายอย่างมาก

เพื่อให้เข้าใจประชากรของอินเดียได้ง่ายดายมากขึ้น ลองจินตนาการถึงพิซซ่าที่มีชาวอินเดียรุ่นแรกเป็นแผ่นแป้ง หรือเป็นฐานรากของคนอินเดียปัจจุบัน เพราะจากผลการศึกษา พบว่าราว 50 - 65 % ของบรรพบุรุษชาวอินเดียนั้นสืบพันธุกรรมมาจากชาวอินเดียรุ่นแรกเหล่านี้นี่เอง

ชั้นถัดมาบนหน้าพิซซ่า คือ ซอสที่ละเลงจนทั่ว อันหมายถึงชาวฮารัปปา ต่อมาเป็นชีสและท็อปปิ้งอื่น ๆ เช่น ผู้ใช้ภาษาออสโตรเอเชียติก ชาวอารยันผู้ใช้ภาษาอินโด - ยูโรเปียน และผู้ใช้ภาษาตระกูลทิเบต - พม่า ที่อพยพเข้ามาในภายหลัง

ประวัติศาสตร์ที่เป็นยิ่งกว่าเรื่องเก่าแก่แต่หนหลัง

สำหรับกลุ่มชาตินิยมฮินดูแล้ว การค้นพบเหล่านี้ยากจะรับได้โดยเฉพาะเรื่องที่บอกว่าชาวอารยันไม่ได้ก่อกำเนิดขึ้นในอินเดีย และอารยธรรมฮารัปปานั้นมีอยู่ก่อนที่พวกอารยันจะเข้ามาถึงเนิ่นนาน เพราะหากพวกเขายอมรับทั้งสองเรื่องนี้ก็จะหมายความว่าวัฒนธรรมอารยัน/พระเวทไม่ใช่กระแสธารหลักที่ก่อกำเนิดอารยธรรมแห่งอินเดีย และพวกเขามีแหล่งกำเนิดมาจากที่อื่นแต่มิใช่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขาภาคภูมิใจ

  • สุดยอดการค้นพบทางโบราณคดีแห่งปี 2018
  • อียิปต์ค้นพบสุสานโบราณที่ 'สมบูรณ์แบบ' อายุ 4,400 ปี

พวกเขารณรงค์ให้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาและนำข้อความที่กล่าวถึงการอพยพเข้ามาของชาวอารยันออกไป ส่วนในทวิตเตอร์ ก็มีบัญชีผู้ใช้จำนวนหนึ่งที่มักโพสต์เนื้อหาประวัติศาสตร์เชิงอนุรักษ์นิยมพยายามโจมตีนักประวัติศาสตร์ชั้นนำของอินเดียผู้ยังคงยืนหยัดในทฤษฎีชาวอารยันอพยพ

รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สัตยาพาล ซิงห์ เคยกล่าวกับสื่อมวลชนเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า "การศึกษาแบบพระเวทเท่านั้นที่จะช่วยพัฒนาเด็ก ๆ ของเราได้อย่างดี และขัดเกลาจิตใจของพวกเขาให้เป็นคนรักชาติและมีระเบียบวินัยได้"

ยิ่งไปกว่านั้น แนวคิดเรื่องความหลากหลายทางประชากรยังไม่น่าอภิรมย์สำหรับกลุ่มชาตินิยมฮินดู เพราะพวกเขาให้ความสำคัญกับเชื้อชาติบริสุทธิ์อย่างมาก นอกจากนี้ หากยอมรับเรื่องชาวอารยันอพยพ ก็ยังจัดให้พวกเขาอยู่ในระดับเดียวกับชาวมุสลิมที่เข้าพิชิตแผ่นดินอินเดียและก่อตั้งจักรวรรดิโมกุล แต่ก็ถือว่าเป็นผู้มาทีหลัง

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

พราหมณ์รุ่นเยาว์กำลังฝึกตนเพื่อเป็นนักบวชในกรุงพาราณสี

ประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่สร้างจากความกลมเกลียวในความแตกต่าง

ดังนั้น นี่จึงไม่ใช่แค่การถกเถียงเรื่องทฤษฎีเท่านั้น รัฐบาลท้องถิ่นซึ่งมาจากพรรคบีเจพีมีแนวคิดชาตินิยมฮินดู ของรัฐหรยาณา ที่อยู่ติดกับกรุงนิวเดลี กำลังเรียกร้องให้เปลี่ยนชื่ออารยธรรมฮารัปปาให้เป็น "อารยธรรมแห่งลุ่มแม่น้ำสุรัสวดี" และเนื่องด้วย "สุรัสวดี" เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ปรากฎในคัมภีร์พระเวทที่เก่าแก่ที่สุด นี่จึงเป็นการตอกย้ำถึงความเชื่อมโยงระหว่างอารยธรรมฮารัปปาและอารยัน

ผลการศึกษาจาก ม. ฮาร์วาร์ด ทำให้การถกเถียงจบลง พร้อมทั้งกระทบกับความภาคภูมิใจของฮินดูชาตินิยมอย่างแรง ทวิตเตอร์ถูกใช้เครื่องมือในการโจมตี โดยกล่าวถึง ศ. ไรค์และ ศ. สุภัทรมาเนียน สวามี สมาชิกรัฐสภาผู้เคยเป็นอาจารย์สอนของ ม.ฮาร์วาร์ดที่ร่วมกันเขียนรายงานนี้ ว่า "นี่เป็นเรื่องโกหกคำโต และเป็นการกระทำอันลวงโลกจอมปลอมของทั้งสองคน"

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่งานวิจัยค้นพบนั้นน่าตื่นเต้นและให้ความหวังที่สามารถเอาไปศึกษาต่อยอดออกไปอีกมาก เพราะมันบ่งชี้ว่า ชาวอินเดียหลายรุ่นได้สร้างอารยธรรมที่ยืนยงขึ้นมาด้วยความหลากหลายทางสายเลือดและความแตกต่างทางประวัติศาสตร์

อารยธรรมอินเดียที่ยิ่งใหญ่และอยู่ในยุครุ่งเรืองที่สุดนี้คือการโอบรับ มิใช่ผลักไส ความกลมเกลียวท่ามกลางความแตกต่างคือแก่นแท้ของการผสานความหลากหลายเข้าไว้ด้วยกันของประเทศอินเดีย

โทนี โจเซฟ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Early Indians: The Story of Our Ancestors and Where We Came From