วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

เพื่อความประหยัดและลดค่าครองชีพเรามีเทคนิค วิธีทำน้ำยาล้างจานใช้เอง ด้วยวิธีง่ายๆ มีขั้นตอนการผสมอย่างละเอียด โดยสามารถนำความรู้นี้ นำไปใช้เพื่อผสมใช้เองภายในบ้าน หรือทำน้ำยาล้างจานเพื่อขายภายในชุมชน และอาจจัดทำโครงการทำน้ำยาล้างจานเป็นสินค้า OTOP นำรายได้เข้าสู่ชุมชน ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อเศรษฐกิจแบบพอเพียง

ซึ่งอาจจะมีการประยุกต์การผสมน้ำยาล้างจานให้เป็นสูตรเข้มข้นหรือสูตรธรรมชาติ ที่ผลิตมาจากมะขามเปียก สับปะรด มะเฟือง มะกรูด หรือทำเป็นสูตรถนอมมือเพื่อใช้กับผู้ที่แพ้น้ำยาล้างจานที่ขายทั่วไป ในขั้นตอนด้านล่างนี้จะแสดงถึงกรรมวิธีการผลิตสูตรทั่วไป โดยรายละเอียดในการปรับปรุงสูตรการผลิตที่เป็นสูตรพิเศษอื่นๆ จะกล่าวในหัวข้อต่อไป

สารบัญ : วิธีการทำน้ำยาล้างจานใช้เอง

  • สารเคมีทำน้ำยาล้างจานใช้เอง
  • สูตรน้ำยาล้างจานทำใช้เองและเทคนิคการผสม
  • วิธีทำน้ำยาล้างจานใช้เองให้เหนียว สูตรเข้มข้น
  • วิธีทําน้ำยาล้างจานสมุนไพร Organic
  • โครงงานการทําน้ำยาล้างจาน
  • ต้นทุนน้ำยาล้างจาน
  • สรุปวิธีการทำน้ำยาล้างจานใช้เอง

สารเคมีทำน้ำยาล้างจานใช้เอง

ก่อนการเริ่มผสมน้ำยาล้างจานสิ่งแรกที่ต้องเรียนรู้ คือ สารเคมีทำน้ำยาล้างจานสำหรับใช้เอง ซึ่งต้องมีความรู้และเข้าใจถึงสารเคมีเพื่อที่จะสามารถผสมน้ำยาล้างจานได้อย่างถูกต้อง ไม่ทำให้เกิดปัญหา เช่น น้ำยาล้างจานไม่เหนียวข้น มีปัญหาการแยกชั้นของน้ำยาล้างจาน มีคราบตะกอนแยกชั้นระหว่างส่วนผสมสารเคมีที่มีการผสมลงไป

ในสมัยก่อนผู้ที่ต้องการผสมน้ำยาล้างจานใช้เอง จะต้องมีการเลือกซื้อวัตถุดิบหรือสารเคมีจากหลายๆ ที่มาผสมกัน แต่ในปัจจุบันได้มีการจัดชุดเคมีภัณฑ์ที่พร้อมสำหรับทำน้ำยาล้างจาน ทำให้สะดวกต่อการจัดการผลิต เช่น

ชุดทำน้ำยาล้างจาน ศึกษาภัณฑ์ หรือ ชุดทำน้ำยาล้างจาน ฮงฮวดหรือเราจะเรียกว่าหัวเชื้อน้ำยาล้างจานก็ได้ ซึ่งก็มีหลากหลายราคากรณีที่มีการสั่งซื้อเยอะก็จะได้ชุดทำน้ำยาล้างจานราคาส่ง โดยสามารถนำผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานที่เราใช้ทำเองมาประกอบอาชีพ ทำน้ำยาล้างจานขายได้

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

นอกเหนือจากสารเคมีทำน้ำยาล้างจานแล้วอาจจะต้องมีการซื้อวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับทำน้ำยาล้างจานด้วย เช่น ไม้พาย ถังพลาสติกสำหรับผสมผลิตภัณฑ์ล้างจาน บีกเกอร์หรือเข็มฉีดยาสำหรับและตาชั่งขนาดเล็กสำหรับตวงวัดเพื่อให้เกิดความถูกต้องในการผลิต แต่หากมีความชำนาญเป็นอย่างดีแล้วก็อาจไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการชั่งตวงผสมเลย

ดังนั้นเราควรศึกษาพื้นฐานแรกในเรื่องของสารเคมีก่อนที่จะลงมือผลิตจริงเพื่อป้องกันปัญหาด้านคุณภาพที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้ต้องสูญเสียทั้งเงินที่ลงทุนและเวลาที่ทำน้ำยาล้างจานได้ โดยเคมีภัณฑ์หลักๆ ที่จำเป็นต้องมีสำหรับการผลิตน้ำยาล้างจานซึ่งจะยกตัวอย่างชื่อสารเคมีที่มีการระบุข้างฉลากน้ำยาล้างจานที่ขายตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อ จะไม่ได้อ้างอิงถึงชื่ออื่นๆ เพื่อความเข้าใจข้อมูลได้ง่ายๆ มีดังนี้

  • หัวเชื้อ N70 หรือ หัวแชมพู 70% หรือ Sodium lauryl ether sulfate หรือ SLES โดยอาจจะมีชื่อทางการค้าได้หลากหลาย เช่น N70 หรือ Texapon N70 เป็นเคมีที่ผลิต โดยบริษัท BASF ซึ่งเป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ที่ก่อตั้งที่ประเทศเยอรมัน ผู้ที่ขายชุดทำน้ำยาล้างจานมักจะขายสารเคมีชนิดนี้และใช้ชื่อในการขายว่า N70 หรือหัวเชื้อน้ำยาล้างจาน

นอกจาก N70 ที่ขายโดยบริษัท BASF แล้วยังมีชื่อทางการค้าอีกหลายๆ ชื่อแต่ที่นิยมในประเทศไทยก็จะมีอีกบริษัทที่ทำมาขายเป็นคู่แข่งกัน คือ บริษัท KAO ซึ่งเป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ที่ก่อตั้งที่ประเทศญี่ปุ่น และมีชื่อการค้าว่า Emal 270 TH

สังเกตุว่าทำไมต้องมีเลข 70 อยู่ในชื่อการค้าทั้ง 2 เนื่องจากว่าสารเคมีดังกล่าวมีความเข้มข้นที่ 70% ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่นิยมเป็นอย่างมากในการขายชุดน้ำยาล้างจานราคาส่ง โดยสารเคมีนี้เป็นสารลดแรงตึงผิวประจุลบ (Anionic)

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

  • สารขจัดคราบมัน หรือ Linear alkylbenzene sulfonate, sodium salt หรือ LAS F50 หรือจะติดปากเรียกว่า F50 และก็มี F24 ด้วยโดยสารเคมีทั้ง 2 ตัวนี้ต่างกันทีความเข้มข้น กล่าวคือ F50 มีความเข้มข้นที่ 50% , F24 จะมีความเข้มข้นที่ 24% จากความเข้มข้นนี้ก็จะคำนวนได้ว่า F50 จะมีความเข้มข้นมากกว่า F24 อยู่ประมาณ 1 เท่าตัว

หากเรามีสูตรน้ำยาล้างจานที่ใส่ F24 ก็สามารถแปลงสูตรโดยการนำ F50 มาหาร 2 เช่น ในสูตรต้องใส่ F24 จำนวน 1 กิโลกรัม แต่หากเรามีแต่ F50 ก็สามารถใส่ที่ 0.5 กิโลกรัมก็ได้ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน สารเคมีนี้เป็นสารลดแรงตึงผิวประจุลบ (Anionic) เหมือนกับ N70 หรือ Emal 270 TH จากข้อมูลด้านบน

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

  • เกลือสำหรับทำน้ำยาล้างจาน หรือ Nacl โดยจะมีหลายเกรดเช่น ชนิดที่ใช้ทำอาหาร ชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มีข้อแตกต่างกันเรื่องของความชื้น ความละเอียดของเม็ดเกลือ หากทำใช้เองก็สามารถใช้ได้ทั้งแบบทำอาหารและอุตสาหกรรม แต่หากทำขายควรใช้แบบเกลืออุตสาหกรรมเนื่องจากสามารถแตกตัวได้ดีกว่า โดยเรามักจะได้ข้อมูลว่าเกลือคือผงข้นหรือผงหนืด ซึ่งเป็นคำฮิตติดปากหลายๆคนที่ทำน้ำยาล้างจานใช้เอง

ในข้อเท็จจริงแล้ว เกลือเป็นสารเคมีที่ช่วยให้ SLES หรือ N70 แตกตัวได้ดีและจะมีส่วนช่วยให้มีความหนืดขึ้นแต่ถ้ามองตามหลักความเป็นจริงแล้วหากเราทดลองโดยการซื้อน้ำยาล้างจานที่สำเร็จรูปตามร้านสะดวกซื้อแล้วนำมาใส่เกลือหรือที่เรียกว่าผงข้นก็จะพบว่ายิ่งใส่มากจนถึงที่เกินจุดอิ่มตัวแล้วก็จะทำให้น้ำยาล้างจานที่เราได้ใส่เกลือไปกลับกลายเป็นน้ำเหลวๆ มีความขุ่นเกิดขึ้น ดังนั้นเราจะพบว่ายิ่งใส่เกลือมากเกินไปก็จะไม่ดี ต้องมีการใส่ในอัตราส่วนที่เหมาะสม

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

  • ผงฟองหรือ SLS (Sodium lauryl sulfate) ก็เป็นสารเคมีสำหรับทำน้ำยาล้างจานใช้เองเช่นกัน ข้อดีของสารตัวนี้คือทำให้เกิดฟองในปริมาณที่มาก เป็นสารลดแรงตึงผิวของน้ำได้เป็นอย่างดี แต่ข้อเสียก็คือทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังเป็นอย่างมาก โดย SLS กับ SLES ก็เป็นสารทำความสะอาดที่มีความคล้ายกันแต่ SLES หรือหัวแชมพูจะมีผลกระทบต่อการระคายเคืองที่น้อยกว่าการใช้ SLS

คุณสมบัติเด่นของ SLES N70 และ LAS F50 คือ การทำให้เกิดฟองเยอะ สามารถขจัดคราบน้ำมัน ไขมัน และคราบสกปรกได้เป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นสารลดแรงตึงผิวประจุลบ ดังนั้นหากเราต้องการเพิ่มฟองของน้ำยาล้างจานก็ให้เพิ่มอัตราส่วนผสมของ LAS F50 ในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะช่วยเพิ่มการขจัดคราบ ความเหนียวเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ล้างจานให้มีมากขึ้นไปอีกด้วย

กล่าวสรุปคือเราจะไม่แนะนำให้มีการใช้ SLS (Sodium lauryl sulfate) หรือผงฟองในการผลิตน้ำยาล้างจานเนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยต่อผู้ล้างจานที่มีผิวแพ้ง่ายอาจเกิดการระคายเคืองผิวหนังได้ โดยในเนื้อหาที่เราจะกล่าวถึงต่อไปจะมีการแนะนำถึงการทำน้ำยาล้างจานแบบธรรมชาติ Organic หรือน้ำยาล้างจานไร้สารเคมีด้วย เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้มีผิวที่บอบบางแพ้สารเคมีง่าย

  • สารแต่งสีและกลิ่นสำหรับผลิตน้ำยาล้างจานใช้เอง จะขึ้นอยู่กับความขอบของแต่ละบุคคล สีและกลิ่นที่เป็นที่นิยมคือ สีเหลืองกลิ่นมะนาวหรือ สีใส กลิ่นมะนาว โดยกลิ่นมะนาวเป็นกลิ่นที่ผู้ผลิตน้ำยาล้างจานนิยมใช้เนื่องจากเป็นกลิ่นสามารถขจัดกลิ่นคาวได้เป็นอย่างดี รวมถึงปัจจัยด้านต้นทุนราคาของน้ำหอมกลิ่นมะนาวก็ไม่แพงเมื่อเทียบกับน้ำหอมกลิ่นอื่นๆ

ในกลุ่มผู้ใช้น้ำยาล้างจานบางคนอาจจะนิยมใช้น้ำยาล้างจานสีใส ไร้กลิ่น ซึ่งมีคุณสมบัติสำหรับคนที่ไม่ต้องการใส่สารเคมีให้มากเกินไป หรือผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ไม่ต้องการน้ำยาล้างจานแบบมีกลิ่นหอมและใส่สีลงไป สำหรับผู้ที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ตนเองชอบก็อาจจะซื้อน้ำหอมมาผสมลงในสูตรการผลิตตามที่ต้องการได้ เช่น กลิ่นตะไคร้หอม กลิ่นสมุนไพร กลิ่นกุหลาบ และอื่นๆ อีกมากมาย

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

  • สารกันบูดสำหรับทำน้ำยาล้างจาน หากผู้ที่ผลิตน้ำยาล้างจานใช้เองภายในบ้านต้องการที่จะทำเป็นจำนวนมาก เราควรที่จะใส่สารกันบูดด้วย เนื่องจากน้ำที่เรานำมาทำผลิตภัณฑ์ล้างจานอาจมีความสะอาดไม่เพียงพอ อาจก่อให้เกิดเชื้อโรคสะสมได้ เราสามารถใช้สารกันบูด เช่น 5-Bromo-5-nitro-1,3-dioxane หรือมีชื่อทางการค้าว่า Bronidox L ซึ่งเป็นสารกันบูดที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

สูตรน้ำยาล้างจานทำใช้เองและเทคนิคการผสม

ส่วนผสมของสูตรน้ำยาล้างจานทำใช้เองและเทคนิคการผสมนี้ อ้างอิงถึงสูตรส่วนผสมของน้ำยาล้างจานที่มีขายทั่วไปและเป็นสูตรเข้มข้น ในระดับที่สามารถล้างจานได้สะอาดและประหยัดต้นทุนการผลิต โดยจะใช้ข้อมูลของสารเคมีหลักคือ SLES N70 และ LAS F50 เนื่องจากเป็นสารเคมีที่หาได้ง่าย มีวิธีผสมน้ำยาล้างจานที่ไม่ยุ่งยาก คุณสมบัติการละลายน้ำได้ง่ายและมีความปลอดภัยสูตร Organic

หากดูข้อมูลตามสูตรข้างฉลากของน้ำยาล้างจานที่ได้รับความนิยมเป็นสูตรที่เราต้องการทำ มีข้อมูลของสารสำคัญ ดังนี้

  1. Linear alkylbenzene sulfonate, sodium salt มีส่วนผสมอยู่ 7.0%
  2. Sodium lauryl ether sulfate มีส่วนผสมอยู่ที่ 3.0%

จากข้อมูลสูตรด้านบนเราก็จะมาคำนวณสูตรเพื่อให้ได้น้ำยาล้างจานที่มีสูตรใกล้เคียงกันโดยคิดสูตรเป็นหน่วย %

  • LAS F50 ใส่ในสูตรน้ำยาล้างจาน จำนวน = 14 % [ที่มา : ความเข้มข้น LAS = 50% x 14 % = 7.0 % ตรงตามสูตรที่เราต้องการ]
  • SLES N70 ใส่ในสูตรน้ำยาล้างจาน จำนวน = 4.3 % [ที่มา : ความเข้มข้น N70 =  70% x 4.3 % = 3.0% ตรงตามสูตรที่เราต้องการ]

ข้อมูลของสารเคมีทั้ง 2 ตัวข้างต้นเป็นข้อมูลของสารสำคัญในการทำความสะอาดที่เราสามารถรู้ได้เนื่องจากเป็นกฏระเบียบด้านกฏหมายของทาง อย.(กรมการอาหารและยา) ที่ระบุให้มีการจดแจ้งวัตถุอันตรายและแสดงข้อมูลของสารสำคัญบนฉลาก แต่ในส่วนของสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่สารสำคัญในการทำความสะอาดเราจะไม่สามารถรู้ได้ ขึ้นอยู่กับสูตรลับเฉพาะของผู้ผลิตในแต่ละโรงงานที่ผลิตน้ำยาทำความสะอาด

โดยข้อมูลที่ได้มาก็มีความเพียงพอในการผลิตน้ำยาล้างจานเพื่อใช้เองภายในครัวเรือนได้อย่างสะอาดและปลอดภัย ซึ่งกล่าวโดยสรุปของสูตรการผลิตจะมีข้อมูลดังนี้

  1. LAS F50 จำนวน 14 %
  2. SLES N70 จำนวน 4.3 %
  3. เกลือ จำนวน 1.5 %
  4. น้ำหอมกลิ่นมะนาว 0.2 %
  5. สารกันบูด 0.2 %
  6. สารแต่งสี : ใส่ตามความต้องการ
  7. น้ำสะอาดจำนวน 80 %

จากสูตรถ้าเราต้องการผลิตน้ำยาล้างจานจำนวนทั้งหมด 1 กิโลกรัม ก็จะคิดสูตรเป็นดังนี้

  1. LAS F50 จำนวน 140 กรัม
  2. SLES N70 จำนวน 43 กรัม
  3. เกลือ จำนวน 15 กรัม
  4. น้ำหอมกลิ่นมะนาว จำนวน 2 กรัม
  5. สารกันบูด จำนวน 2 กรัม
  6. สารแต่งสี : ใส่ตามความต้องการ
  7. น้ำสะอาดจำนวน 800 กรัม

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

เมื่อเราได้สูตรและเตรียมสารเคมีครบแล้วก็จะเป็นขั้นตอนการผสมเพื่อผลิตน้ำยาล้างจาน โดยเราจะต้องผสมให้ถูกวิธีเพื่อไม่ให้น้ำยาล้างจานที่เราผลิตเอง เกิดปัญหาด้านคุณภาพ เช่น ความเหนียวข้นไม่ได้ น้ำยาล้างจานมีปัญหาการแยกชั้นหรือมีกลิ่นเหม็นเน่า ซึ่งเทคนิคในการผสมนั้นมีเคล็บลับดังนี้

  1. ใส่เกลือลงในถังผสมก่อน
  2. ใส่ SLES 70 ลงในถังผสมในขั้นตอนต่อไป ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นเคล็ดลับในการผลิตเนื่องจากหากใส่ SLES N70 ลงในถังผสมก่อนก็จะทำให้ SLES N70 ติดก้นถังเป็นก้อนทำให้ยากต่อการผสม ดังนั้นเราจึงควรใช้เกลือเป็นสารที่ช่วยไม่ให้เกิดปัญหา
  3. ใส่น้ำลงไปประมาณ 10% ของสูตร เช่น ถ้าตามสูตรต้องใส่น้ำสะอาดทั้งสิ้น 800 กรัม ก็ให้ใส่น้ำสะอาดประมาณ 80 กรัมก่อน
  4. ใช้ไม้พายกวนให้เกลือและ SLES N70 ผสมให้เข้ากันเพื่อเป็นการละลาย N70 ให้แตกตัวเป็นเนื้อละเอียดไม่เป็นก้อน
  5. ใส่ LAS F50 ลงในถังผสมทั้งหมดแล้วกวนให้เข้ากัน
  6. ใส่น้ำหอมและสารแต่งสี แล้วกวนให้เข้ากัน
  7. ใส่น้ำที่เหลือทั้งหมดลงไปแล้วกวนให้เข้ากัน ในการผลิตตอนแรกเนื้อของน้ำยาล้างจานจะเกิดฟองเป็นจำนวนมากต้องรอประมาณ 4 – 5 ชั่วโมงเนื้อน้ำยาก็จะมีสีใสไม่มีฟองและมีความพร้อมในการใช้งาน

เพียงเท่านี้เราก็สามารถผลิตน้ำยาล้างจานใช้เองได้อย่างถูกต้อง โดยใช้เทคนิคตามที่กล่าวมาเพื่อความประหยัดตามนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงหรือเพื่อการมีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวในวันหยุดและอาจจัดทำเป็นโครงงานน้ำยาล้างจาน Organic เพื่อทำขายภายในชุมชนได้.

วิธีทำน้ำยาล้างจานใช้เองให้เหนียว สูตรเข้มข้น

จากข้อมูลสูตรการผลิตน้ำยาล้างจานหากเราต้องการทราบถึง วิธีทำน้ำยาล้างจานใช้เองให้เหนียว สูตรเข้มข้น มากขึ้นกว่าปรกติ เราก็สามารถทำได้ โดยเราสามารถผลิตน้ำยาล้างจานให้มีความเข้มข้น มีความหนืดของน้ำยาล้างจานที่ค่ามากขึ้น ซึ่งวิธีทำน้ำยาล้างจานสูตรเข้มข้นหรือให้เหนียวขึ้นเราใช้วิธีการเพิ่มปริมาณของสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในการทำความสะอาด

ในการเพิ่มอัตราส่วนของสารสำคัญในการล้างจานจาน ทำให้มีความหนืดมากขึนมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสูตรการผลิตที่แสดงข้างฉลากของน้ำยาล้างจานสูตรเข้มข้นดังนี้

  1. Linear alkylbenzene sulfonate, sodium salt มีส่วนผสมอยู่ในช่วง 13.0 – 14.00%
  2. Sodium lauryl ether sulfate มีส่วนผสมอยู่ในช่วง 3.0 – 4.00%

จากข้อมูลดังกล่าวเราก็สามารถแปลงสูตรการผลิตตามตัวอย่างที่ได้แสดงเอาไว้ก็ให้เปลี่ยนตัวเลขของ LAS F50 จาก 7% เป็น 14% แล้วคำนวณจำนวนสารผสมให้อยู่ในหน่วยกิโลกรัม ก็จะได้สูตรส่วนผสมการทำน้ำยาล้างจานให้หนืดเหนียว เข้มข้นมากขึ้น

เมื่อเราทราบถึงสูตรและวิธีการผลิตน้ำยาล้างจานสำหรับใช้เองแล้ว บางท่านอาจมีโครงการทำน้ำยาล้างจานขาย ซึ่งก่อนที่จะมีการขายน้ำยาล้างจานได้นั้นจะต้องการขออนุญาตจาก อย.(กรมการอาหารและยา) ก่อนที่จะมีการผลิตขาย โดยเมื่อเรามีการขออนุญาตและได้รับเอกสารใบขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเราจะต้องมีการจำทำฉลากให้ถูกต้องตามกฏระเบียบจอง อย.ด้วย

การทำฉลากน้ำยาล้างจานจะต้องมีข้อมูลที่ปรากฏบนฉลาก คือ ชื่อการค้าของผลิตภัณฑ์ , วิธีการใช้ , คำเตือน , วิธีเก็บรักษา , ปริมาตรสุทธิ , ชื่อและอัตราส่วนประกอบสารสำคัญ , วิธีแก้พิษเบื้องต้น , สัญลักษณ์และข้อมูลด้านความปลอดภัย GHS , ข้อมูลผู้ผลิต , เลขที่ อย.หรือเลขที่รับแจ้ง

โดยผู้ที่ต้องการใช้น้ำยาล้างจาน เช่น กลุ่มโรงงานผลิตอาหาร โรงแรม บริษัทแม่บ้าน ร้านอาหารขนาดใหญ่ อาจต้องการน้ำยาล้างจานที่มีคุณภาพที่ดีและมีราคาถูก ได้รับการรับรอง อย.,กรมปศุสัตว์, โรงงานผลิตรับรอง Green, รับรองการผลิตด้วยเอกสาร COA ทุก LOT และมีเอกสาร MSDS , GHS รับรองด้านความปลอดภัย

ซึ่งก็อาจจะต้องติดต่อโรงงานผู้ขายน้ำยาล้างจานโดยตรงเพื่อมาตรฐานและคุณภาพที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการผลิตเอง เมื่อเปรียบเทียบด้านราคาแล้วหากมีการใช้ในปริมาณมากก็จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการผลิตเอง

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

วิธีทําน้ำยาล้างจานสูตร Organic

กรณีที่ต้องการน้ำยาล้างจานที่มีความเป็นพิษน้อยลงก็จะมี วิธีทําน้ำยาล้างจานสมุนไพร สูตร Organic โดยสูตรการผลิตนั้นก็จะมีการใช้สมุนไพรที่เราปลูกอยู่ที่บ้านหรือหาซื้อได้ง่าย นำมาแทนสาร LAS F50 โดยสมุนไพรที่เรานำมาใช้เพื่อการทำน้ำยาล้างจาน เช่น

สูตรน้ำยาล้างจานจากมะขาม น้ำยาล้างจานจากมะนาว การทำผลิตภัณฑ์ล้างจานจากสับปะรด (มักนิยมใช้สับปะรดทำน้ำยาทำความสะอาดชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำจากสับปะรด) น้ำยาล้างจานสมุนไพร จากตะไคร้ มะขามเปียก น้ำยาล้างจานจากส้ม

การทำน้ำยาล้างจานใช้เองจากหยวกกล้วย ดอกอัญชันและมะเฟือง โดยสมุนไพรที่ได้กล่าวไปนั้นสามารถนำมาผลิตน้ำยาล้างจานสำหรับการใช้เองภายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดีและมีสารพิษน้อยลงเมื่อเทียบกับน้ำยาล้างจานที่ใช้ LAS F50 เป็นหัวเชื้อในการผลิตโดยสูตรการผลิตน้ำยาล้างจานแบบ Organic ซึ่งจะเป็นสูตรการผลิตที่สามารถผลิตได้ 1 กิโลกรัม มีข้อมูลดังนี้

  1. SLES N70 จำนวน 60 กรัม
  2. เกลือ จำนวน 60 กรัม
  3. สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์จากพืช 120 กรัม
  4. น้ำสะอาด 760 กรัม

หลังจากทราบสูตรน้ำยาล้างจานสมุนไพรแล้ว ต่อไปก็จะแสดงข้อมูลวิธีทําน้ำยาล้างจานสมุนไพร Organic ซึ่งจะมีเคล็ดลับการผลิตที่ไม่ซับซ้อน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือความสะอาดของพืชและผลไม้ที่เรานำมาใช้ ซึ่งมีวิธีทำดังนี้

  1. นำสมุนไพรที่เราเลือกนำมาล้างให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก
  2. ใส่น้ำในหม้อต้มประมาณ 700 กรัม ต้มน้ำให้เดือดโดยใช้ไฟกลางๆ
  3. ใส่สมุนไพรลงในน้ำที่เดือด ใช้ไม้พายคนให้ต้มโดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที
  4. เมื่อครบ 30 นาทีให้ใช้ผ้าสะอาดกรองก็จะได้น้ำสมุนไพรเข้มข้น ทิ้งไว้ให้เย็น
  5. ในระหว่างรอให้เย็นก็นำ SLES ผสมกับเกลือโดยใส่น้ำที่เหลือจำนวน 60 กรัม
  6. เมื่อ SLES N70 ละลายละเอียดแล้วก็ให้นำน้ำสมุนไพรที่ได้จากการกรองมาผสม
  7. คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 4 – 5 ชั่วโมงก็สามารถบรรจุลงในภาชนะสำหรับใส่น้ำยาล้างจานได้

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

โครงงานการทําน้ำยาล้างจาน

เนื่องจากความจำเป็นในการใช้น้ำยาล้างจานได้มีการจัดทำ โครงงานการทำน้ำยาล้างจาน เพื่อเกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชน ซึ่งอาจจะมีความยากลำบากในการซื้อน้ำยาล้างจานเนื่องจากความห่างไกลจากตัวเมือง ความจำกัดในการใช้จ่ายหรือต้องการหารายได้ให้กับชุมชนโดยมีโครงงานน้ำยาล้างจานที่มีการจัดตั้งขึ้นและมีสร้างคุณประโยชน์มากมาย เช่น

โครงงานเศรษฐกิจพอเพียงน้ำยาล้างจาน โครงการน้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำภายในชุมชน โครงงานทำน้ำยาล้างจานจากดอกอัญชัน โครงงานทำน้ำยาล้างจานจากมะนาว โครงงานทำน้ำยาล้างจานสมุนไพร มะขาม

โดยโครงงานดังกล่าวเป็นโครงงานการทำน้ำยาล้างจานที่ช่วยสร้างรายได้เข้าสู่หมู่บ้านหรือตำบล สร้างรายได้เป็นสินค้า OTOP ตามนโยบายด้านเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดการสร้างและกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

ต้นทุนน้ำยาล้างจาน

จากข้อมูลสูตรการผลิตน้ำยาล้างจานทำให้เราทราบถึงรายละเอียดของวัตถุดิบที่เราต้องใช้โดยต้นทุนการผลิตน้ำยาล้างจานจะขึ้นอยู่กับปริมาณการซื้อ ถ้าซื้อมากก็จะได้ราคาส่งหากซื้อน้อยก็จะได้ราคาปลีกซึ่งเราสามารถซื้อชุดทำน้ำยาล้างจานราคาถูกได้ เช่น ชุดทำน้ำยาล้างจานจาก ธกส หรือซื้อจากร้านเคมีภัณฑ์ เช่น ฮงฮวด ไทยสงวนวัฒน์เคมีภัณฑ์

ซึ่งจะขาย LAS F50 หรือ N70 ที่ใช้ทำน้ำยาล้างจานเป็นวัตถุดิบหลัก โดยการทำน้ำยาล้างจานขายนั้นต้นทุนของวัตถุดิบในการผลิตน้ำยาล้างจานก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

โดยจะต้องมีการคำนวณต้นทุนของวัตถุดิบซึ่งเป็นต้นทุนทางตรง หรือต้นทุนทางอ้อมต่างๆ ค่าใข้จ่ายแฝงในการผลิต โดยหากต้องการทำเพื่อขายก็จำเป็นที่จะต้องคิดถึงกำไรในการทำน้ำยาล้างจานขายด้วย รายละเอียดของต้นทุนวัตถุดิบการทำผลิตภัณฑ์ล้างจานจำนวน 1 กิโลกรัมมีดังนี้ (Remark : 2021 AVG Price)

  • LAS F50 จำนวน 140 กรัม ราคาขาย 75 บาท/กิโลกรัม ถ้าใช้ 140 กรัม จะมีต้นทุน = 10.50 บาท
  • SLES N70 จำนวน 43 กรัม ราคาขาย 70 บาท/กิโลกรัม ถ้าใช้ 43 กรัม จะมีต้นทุน = 3.01 บาท
  • เกลือ จำนวน 15 กรัม ราคาขาย 22 บาท/กิโลกรัม ใช้จำนวน 15 กรัม ต้นทุน = 0.33 บาท
  • น้ำหอมกลิ่นมะนาว จำนวน 2 กรัม ราคาขาย 22 บาท/ 25 กรัม ใช้จำนวน 15 กรัม ต้นทุน = 1.76 บาท
  • สารกันบูด จำนวน 2 กรัม ราคาขาย 645 บาท/กิโลกรัม ใช้จำนวน 2 กรัม ต้นทุน = 1.29 บาท
  • สารแต่งสี : ใส่ตามความต้องการ ต้นทุนประมาณ 4.5 บาท

ต้นทุนของวัตถุดิบที่ไม่รวมค่าน้ำ จะมีผลรวมเท่ากับ 21.39 บาท/กิโลกรัม ซึ่งหากผลิตเพื่อใช้เองก็สามารถบรรจุลงในขวดหรือภาชนะที่เรามีอยู่แต่ในกรณีที่ต้องการทำเพื่อบรรจุขายจะต้องมีต้นทุนเรื่องของแกลลอนขนาด 3.8 ลิตร (ราคาประมาณ 24 บาท) และค่าทำสติ๊กเกอร์ประมาณ 3 บาท/ชิ้น ซึ่งหากเราคิดในปริมาณ 3.8 กิโลกรัมต้องมีต้นทุนเฉพาะวัตถุดิบ = (21.39 x 3.8) + 24 +3 ก็จะมีผลรวม = 108.28 บาท/แกลลอน 3.8 ลิตร

โดยที่ผลรวมดังกล่าวยังไม่รวมต้นทุนค่าแรงและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง รวมถึงกำไรที่จำเป็นที่ต้องคิดเพื่อการต่อยอดทางธุรกิจ ดังนั้นหากต้องการผลิตน้ำยาล้างจานเพื่อใช้เองหรือเพื่อขายก็ควรประเมินถึงต้นทุนในการทำน้ำยาล้างจานนี้ด้วย

น้ำยาล้างจานสูตรเข้มข้นราคาโรงงานผู้ผลิต

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

น้ำยาล้างจานขายส่ง

กลิ่นมะนาว

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

น้ำยาล้างจาน สีใส

Food Grade

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

ล้างจานสูตรเข้มข้น

ขจัดคราบฝังแน่น

วิธีทําน้ํายาล้างจาน จากมะนาว

ล้างจานเข้มข้นสีใส

Food Grade

สรุป

จากข้อมูลที่กล่าวมาทำให้เราทราบถึงขั้นตอน วิธีการทำน้ำยาล้างจานใช้เอง อย่างละเอียด โดยเริ่มจากสารเคมีตั้งต้นในการทำผลิตภัณฑ์ล้างจานเพื่อนำไปประยุกต์ในการผลิตน้ำยาล้างจานตามสูตรการผลิตและเทคนิคการผสมอย่างง่ายดาย สามารถทำน้ำยาล้างจานที่มีความเหนียว เข้มข้นขึ้นรวมไปถึงการผลิตน้ำยาล้างจานจากสมุนไพร Organic ได้ด้วย

ข้อมูลที่ได้รับสามารถนำไปใช้เพื่อทำโครงงานการทำน้ำยาล้างจานเพื่อความก้าวหน้าของชุมชน เพื่อทำเป็นกิจกรรมยามว่างกับครอบครัว หรือเพื่อนำไปสร้างเป็นอาชีพให้กับชุมชนโดยเป็นสินค้าค้าขายภายในหมู่บ้านหรือสหกรณ์ ซึ่งควรมีการคิดคำนวณต้นทุนของน้ำยาล้างจานให้ถี่ถ้วนเพื่อความคุ้มค่าต่อการลงทุน รวมถึงการวางแผนการผลิตเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ล้างจานไม่เกิดปัญหาด้านคุณภาพ

มาตรฐานน้ำยาทำความสะอาด

เข้าสู่ระบบ