การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติควรปฏิบัติตนอย่างไร

บทบาทและหน้าที่ที่ควรจะมีของพลเมืองดี

Show

การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติควรปฏิบัติตนอย่างไร

การที่ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าได้นั้น พลเมืองในประเทศต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง หากเราทุกคนทำหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี เชื่อว่าบ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้าไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

พลเมืองที่ดี หมายถึง ผู้ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องทำและควรทำได้อย่างครบถ้วน สอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรม ประเพณีที่ได้กำหนดไว้ มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ถือได้ว่า พลเมืองเป็นส่วนสำคัญของสังคม ทุกสังคมต่างต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพที่ดี คือ

  1. ให้ทราบถึงบรรทัดฐานของสังคม
  2. รู้จักการปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น
  3. ต้องเคารพกฎหมาย มีระเบียบวินัย ตามที่สังคมได้วางไว้
  4. ปรับทัศนคติและค่านิยมที่ดีในสังคม

ลักษณะของพลเมืองที่ดี คือ

  1. ต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน คือ ต้องมีความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ เห็นความสำคัญในประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าของตนเอง
  2. ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ คือ สามารถประพฤติ ปฏิบัติได้อย่างที่สังคมต้องการ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีเหตุผล

การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีตามแนวทางประชาธิปไตยทำได้หลายด้านเช่น

  • ด้านสังคม พลเมืองที่ดีต้องแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสมมีเหตุผล, รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น, ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้เป็นอย่างดี ร่วมพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า เสียสละเพื่อส่วนรวม
  • ด้านเศรษฐกิจ ต้องรู้จักประหยัด อดออม, มีความซื่อสัตย์สุจริต, ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • ด้านการเมืองการปกครอง ต้องเคารพกฎหมายบ้านเมือง, ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

หน้าที่ของพลเมืองดี ที่พึงปฏิบัติ คือ

  1. นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากกว่าประโยชน์ส่วนตน
  2. มีระเบียบ วินัย เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยความเรียบร้อย
  3. รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
  4. มีความอดทน สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีแม้ว่าจะต้องเหตุการณ์ที่สร้างความไม่พอใจก็ตาม
  5. รู้จักประหยัด อดออม ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้จ่ายยามจำเป็น ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
  6. มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักการให้อภัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
  7. มีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา
  8. เคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้เป็นอย่างดี
  9. มีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี

ทุกสังคมต้องการพลเมืองที่ดี เพื่อที่จะสามารถนำพาความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมและประเทศชาติได้อย่างมั่นคง เราควรเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี โดยมีผู้ใหญ่ทำตัวเป็นแบบอย่าง เพราะเมื่อเด็กเติบโตขึ้น พวกเขาจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพอย่างที่ทุกคนในสังคมต้องการ

พลเมืองดี

ความสำคัญของพลเมืองดี           พลเมืองดีมีความสำคัญต่อประเทศชาติอย่างมาก  โดยอาจแยกกล่าวถึงความสำคัญของพลเมืองดีได้ 3 ประการ           1.) ด้านสังคม  การเป็นพลเมืองดีจะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสันติสุข  เพราะคนในสังคมจะช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อย  และร่วมกันพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า  หลีกเลี่ยงความขัดแย้งในสังคม  พลเมืองที่ดีจะปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่พลเมืองที่ประพฤติไม่ดี ในด้านการเสียสละต่างๆ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติ          2.) ด้านเศรษฐกิจ  พลเมืองดีจะประกอบสัมมาอาชีพ  ดำรงชีวิตตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง  ประหยัด  และออมทรัพย์ไว้ใช้ในยามจำเป็น  เช่น  ยามป่วยไข้  ฉุกเฉิน เป็นต้น  และอาจนำทรัพย์ที่ออมไว้มาลงทุนทำธุรกิจเพื่อหาเลี้ยงชีพ  รวมทั้งนำทรัพย์ที่ออมไว้มาทำให้เกิดประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติ         3.) ด้านการเมืองการปกครอง  พลเมืองดีจะเป็นผู้ที่เคารพกฎหมาย  รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน  รวมทั้งไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  พลเมืองดีนั้นจะรู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ของตนเองตามกฎหมาย มีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองการปกครอง  เช่น ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  เป็นต้น         จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ทราบว่าพลเมืองมีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างมาก  เพราะพลเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมและประเทศชาติเจริญก้าวหน้า  ฉะนั้น ถ้าพลเมืองส่วนใหญ่ของสังคมเป็นพลเมืองดี  ย่อมทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป

คุณลักษณะของพลเมืองดี


                คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้

            1.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพกฏหมาย
            2.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น
            3.ต้องเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว  ดรงเรียน  ชุมชน  ประเทศชาติ  และสังคมโลก
            4.ต้องเป็นบุคคลที่มีเหตุผล  ใจกว้าง  และรับฟังความคิดเห็นของคนบุคคลอื่นเสมอ
            5.ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน
            6.ต้องเป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชุมชน  ประเทศชาติ  และสังคมโลก  หรือองค์กรที่ตนสังกัดอยู่  เช่น  ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชนให้ดีขึ้น  เป็นต้น
            7.ต้องเป็นบุคคลที่มีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางการเมืองการปกครอง  เช่น  การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  เป็นต้น

            พลเมืองที่ดีมีคุณลักษณะดังกล่าวนี้  จะเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้แก่ครอบครัว

โรงเรียน  ประเทศชาติ  และสังคมโลกเสมอ  ประเทศใดก็ตามที่มีพลเมืองดี

เป็นจำนวนมาก  ประเทศนั้นก็จะมีแต่ความสงบสุขและเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการพัฒนาตนเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ

และสังคมโลก            ถ้าบุคคลตระหนักถึงคุณลักษณะของการเป้นพลเมืองดีต่อประเทศชาติ

และสังคมโลกทั้ง 7 ประการดังกล่าวแล้ว  ก็สมควรจะพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะ

ดังกล่าวด้วย  เพื่อที่จะได้เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  โรงเรียน  และชุมชน  ซึ่งแนวทางการพัฒนาตนเป็นพลเมืองดี  มีดังนี้

           3.1 การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว

           ในครอบครัวจะประกอบด้วยสมาชิกที่สำคัญ  ได้แก่  พ่อ  แม่  และลูก  ในบางครอบครัวคนอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย  เช่น  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  เมื่อเราอยู่ร่วมกันในครอบครัว  สมาชิกทุกคนต่างก็มีบทบาทและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ  เช่น

          หน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูก

               -  หารายได้มาเลี้ยงครอบครัว

               -  อบรมสั่งสอน

               -  ให้การศึกษาแก่ลูก

               -  อื่น ๆ

          หน้าที่ของลูกที่มีต่อพ่อแม่

               -  ช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่

               -  ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน

               -  เคารพเชื่อฟังพ่อแม่

               -  อื่น ๆ

          นอกจากการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ในฐานะของสมาชิกที่ดีของครอบครัวแล้ว  ทุกคนควรปฏิบัติตามข้อตกลงของครอบครัว  และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  เพื่อให้อยู่ร่วมกันในครอบครัวอย่างมีความสุข

          3.2 การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน

          เมื่อเราอยู่ในโรงเรียน  เราทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อโรงเรียน  เพราะโรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้  ซึ่งเราต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ อีกมากมาย  ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียนและโรงเรียน  เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  และเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย  เช่น  

               -  เมื่อมาโรงเรียน  เราต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของโรงเรียน  เช่น  แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบ  มาให้ทันเข้าแถวเคารพธงชาติในตอนเช้า

               -  เมื่ออยู่ในโรงเรียน  เราต้องช่วยกันรักษาความสะอาดในห้องเรียน  และในบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียน  ทิ้งขยะลงในถังขยะที่โรงเรียนจัดให้

               -  ให้ความเคารพเชื่อฟังครูอาจารย์  ตั้งใจเรียนหนังสือ  รวมทั้งทำงานต่าง ๆ ที่ครูมอบหมายด้วยความตั้งใจและเอาใจใส่

          นอกจากนี้  เราควรปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของห้องเรียนและโรงรียน  เช่น

               -  ปฏิบัติในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  ต้องรู้ว่าเมื่อเราเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรปฏิบัติตนอย่างไร  และเมื่อเป็นผู้ตามควรปฏิบัติตนอย่างไร

               -  รู้จักแสดงความคิดเห็นตามสิทธิของตนเอง  รวมทั้งรุ้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และเคารพข้อตกลงของคนส่วนใหญ่

               -  ถ้าเกิดข้อขัดแย้งกัน  ให้แก้ปัญหาด้วยหลักเหตุผล  ไม่ใช้อารมณ์หรือพละกำลังในการแก้ปัญหา  เพราะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง  แต่กลับจะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา

               -  ในการแข่งขันทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน  เช่น  การแข่งกีฬา  การประกวดในด้านต่าง ๆ ต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้รู้จักแพ้  ชนะ  และให้อภัย  รวมทั้งยอมรับในคำตัดสินของคณะกรรมการ

           3.3 การเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน

          การปฏิบัติตนในฐานะตนในฐานะสมาชิกของชุมชน  สามารถทำได้หลายวิธี  ซึ่งในวัยของนักเรียนควรปฏิบัติ  ดังนี้

               1.  ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของชุมชน  เช่น  ปฏิบัติตามกฎจราจร  โดยข้ามถนนตรงทางม้าลาย  หรือสะพานลอย  ไม่วิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถ  ไม่ทิ้งขยะลงในที่สาธารณะ  ไม่ทำลายสิ่งของที่เป็นของสาธารณะ  และทรัพย์สินส่วนตัวของผู้อื่นให้ได้รับความเสียหายเพราะความสนุกสนานของตนเอง

               2.  เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน  เพื่อช่วยรักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนไว้  ในแต่ละชุมชนจะมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา  เช่น  ประเพณีการทำบุญเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา  ประเพณีวันสงกรานต์  ประเพณีวันลอยกระทง

               3.  บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน  เช่น  ช่วยเก็บเศษขยะที่พบเห็นในบริเวณต่าง ๆ ช่วยดูแลต้นไม้  ดอกไม้ในสวนสาธารณะของชุมชน

               4.  ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน  โดยให้ทุกคนในชุมชนมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม  เช่น  ชุมชนที่มีป่าชายเลน  ควรจะร่วมใจกันอนุรักษ์ป่าชายเลน  เพื่อให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งยังเป็นแหล่งหลบภัยของลูกสัตว์น้ำอีกด้วย

               ชุมชนที่อยู่ติดชายทะเล  ควรร่วมใจกันรักษาความสะอาดของชายหาด  เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของชุมชน

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนควรเป็นความร่วมมือกันหลายฝ่ายระหว่างบ้าน  โรงเรียน  และชุมชน

          3.4 การเป็นสมาชิกที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก

              1. เคารพกฎหมายและปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม เมื่อพลเมืองทุกคนปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้ะอื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการป้องกัน  ปราบปรามและจับกุมผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษ  นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบสงบสุขทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่หวาดระแวงคิดร้ายต่อกัน

             2.เป็นผู้มีเหตุผล  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทุกคนย่อมมีอิสระเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน  ซึ่งการรู้จักการใช้เหตุผลในการดำเนินงาน จะทำให้ช่วยประสาน  ความสัมพันธ์ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีงามต่อกัน

             3.ยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่  เมื่อมีความขัดแย้งกันในการดำเนินกิจกรรมอันเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  และจำเป็นต้องตัดสินปัญหาด้วยการใช้เสียงข้างมากเข้าช่วย และมติส่วนใหญ่ตกลงว่าอย่างไร  ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับความคิดของเรา เราก็ต้องปฎิบัติตาม เพราะเป็นมติของเสียงส่วนใหญ่นั้น

             4.เป็นผู้นำมีน้ำใจประชาธิปไตย  และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ผู้ที่มีความเป็นประชาธิปไตยนั้น จะต้องมีความเสียสละ ในเรื่องที่จำเป็น เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย  เป็นการส่งผลต่อความมั่นคง และความก้าวหน้าขององค์กร  ซึ่งสุดท้ายแล้วผลประโยชน์ดังกล่าวก็ย้อนกลับมาสู่สมาชิกของสังคม  เช่นการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  ถึงแม้ว่าเราจะมีอาชีพบางอย่างที่มีรายได้ตลอดเวลา เช่นค้าขาย แต่ก็ยอมเสียเวลาค้าขายเพื่อไปลงสิทธิ์เลือกตั้ง บางครั้งเราต้องมีน้ำใจช่วยเหลือกิจกรรมส่วนร่วม  เช่น การสมัครเป็นกรรมการเลือกตั้ง   หรือสมาคมบำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น

            5.เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น  ควรรูจักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเช่นบุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  การพูด แต่ต้องไม่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นที่ใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียหาย

            6.มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม ชุมชน ประเทศชาติ   ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ย่อมต้องมีการทำงานเป็นหมู่คณะ  จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในงานนั้นๆให้สมาชิกแต่ละคนนำไป ปฎิบัติตามที่ได้รับหมอบหมายไว้อย่างเต็มที่

            7.มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง  การปกครอง  ในสังคมประชาธิประไตยนั้นสมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครอง  เช่น การเลือกตั้ง เป็นต้น

            8.มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศษฐกิจ  สังคม  การเมืองการปกครอง  ช่วยสอดส่องพฤติกรรมมั่วสุมของเยาวชนในสถานบันเทิงต่าง  ไม่หลงเชื่อข่าวลือคำกล่าวร้ายโจมตี ไม่มองผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเราเป็นศัตรู  รวมถึงสงเสริมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆด้วยสันติวิธี  

           9. มีคุณธรรม  จริยธรรม  และปฎิบัติตนตามหลักธรรม ทุกคนควรมีศีลธรรมไว้เป็นหลักในการควบคุมพฤติกรรมของบุคลให้ดำเนินไปอย่างเหมาะสม  ถึงแม้จะไม่มีบทลงโทษใดๆก็ตาม

การมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครอง

           การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย  ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้  ดังนี้

           1. การใช้สิทธิในกรเลือกตั้งระดับต่างๆ   เมื่ออายุครบ  18   ปีบริบูรณ์  ทุคนต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งในระดับประเทศ เช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา   และการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เช่น  การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร   การเลือกตั้งสมาชิกองค์กรส่วนท้องถิ่น  เป็นต้น  เพื่อเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่บริหารประเทศหรือท้องถิ่นทั่วไป

           2. การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ  ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นประชาชนทุกคนล้วนมีส่วนร่วมมือกันสอดส่องดูแลการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ในองค์กรต่างๆ เพื่อไม่ให้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้อง

           3. การเป็นแกนนำปลุกจิตสำนึกให้แก่ผู้อื่นในการร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง  ได้แก่การใช้สิทธิเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบอำนาจของรัฐ  โดยการเป็นแกนนำนั้น สามารถปฎิบัติได้หลายอย่าง เช่น  ประกาศโฆษณาประชาสัมพันธ์  การเข้าไปชี้แจงเป็นรายบุคคลการจัดให้มีการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่มีผลกระทบต่อสังคม

อ้างอิงจาก  https://sites.google.com/site/30310great/khwam-sakhay-khxng-phlmeuxng-di