IPv4 address ประกอบด้วยข้อมูลกี่ส่วน

IP Address คือหมายเลขที่สามารถระบุแยกแยะความแตกต่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมต่อในเครือข่ายเดียวกัน หรือจะเป็นการเชื่อมต่อนอกเครือข่ายก็ได้เช่นกัน อย่างที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า IP Address เปรียบได้ดังเลขที่บ้านในการตั้ง IP Address จะตั้งไม่ให้ซ้ำกันอย่างเด็ดขาด เพราะถ้าซ้ำกันจะทำให้เกิดความสับสนในการติดต่อสื่อสารภายในเครือข่าย ซึ่งนี่เองเลยมีหน่วยงานที่ออกมากำหนดเรื่องของการตั้งค่า IP Address ขึ้นมา

IPv4 address ประกอบด้วยข้อมูลกี่ส่วน
โครงสร้าง IP Address v4

หน่วยงานนี้คือ องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) เป็นผู้ดำเนินการจัดสรร IP Address ทั่วโลก และให้หน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค (RIR) ทำหน้าที่จัดสรรกลุ่มเลขที่อยู่ IP Address สำหรับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและหน่วยงานอื่น ๆที่เกี่ยวข้องอีกทีหนึ่ง

โดยที่เลข IP Address ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ IPv4 และ IPv6 ซึ่ง IP Address IPv4 นี้ถือกำเนิดมาก่อนเป็นแบบ ตัวเลข 32 บิต ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีใช้งานอยู่แต่เนื่องจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันในเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ต้องมีการคิดค้นเลข IP Address ขึ้นมารองรับ นั้นก็คือ IPv6 ใช้ตัวเลข 128 บิต พัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1995 และได้ทำให้เป็นมาตรฐานใน อาร์เอฟซี 2460 เมื่อ ค.ศ. 1998

IPv4 address ประกอบด้วยข้อมูลกี่ส่วน
ตัวอย่างการตั้งค่า IP Address

ประโยชน์ของ IP Address ในระบบ Network

IP Address มีประโยชน์ในระบบ Network อย่างมาก ก็อย่างที่เกริ่นไปแล้วในตอนแรกแล้วว่า IP Address มีความสำคัญมากสำคัญระบบเครือข่าย เพราะว่าเลข IP Address เป็นเลขเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีเลข IP Address ที่ไม่เหมือนกัน เพื่อไม่ให้เกิดความความสับสนในการติดต่อสื่อสารภายในเครือข่าย และยังช่วยให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายสามารถออกแบบสร้างและควบคุมการทำงานของเครือข่ายได้อย่างง่ายได้และไม่สับสนIP Address เป็นสิ่งที่ทุกคนควรที่จะรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ IP Address ให้มากยิ่งขึ้นหลักใหญ่ใจความในการตั้งเลข IP Address และเป็นหลักที่สำคัญไม่ว่าระบบ Network นั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ก็คือต้องไม่ตั้งเลข IP Address ให้ซ้ำกันอย่างเด็ดขาดเลยทีเดียว

การแบ่ง Class ของเครือข่าย IP Address

การติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะต้องมี IP Address สำหรับการส่งข้อมูลเพื่อติดต่อถึงกัน โดยตามปกติแล้ว IP Address จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่บ่งบอกว่าเป็นหมายเลขเครือข่าย และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งค่าของ IP Address จะมีการกำหนดค่าของ IP Address เป็นไบต์ (Byte) และกำหนดค่าด้วยเลขฐานสิบ ตัวอย่างเช่น IP Address 202.28.8.1 เป็นต้น

โดยการทำงานภายใน IP Address ยังมีการแบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ต่าง ๆ 5 Class คือ Class A, B, C, D และ E ซึ่งในแต่ละ Class จะมี หมายเลข IP จะมีทั้งหมด 32 บิต แบ่งออกเป็น 4 ฟิลด์ โดยแต่ละฟิลด์จะมี 8 บิต ซึ่งการแบ่งเป็น 4ฟิลด์นั้น ความจริงเป็นการกำหนดหมายเลขของเครื่องเครือข่าย และหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ รายละเอียดของแต่ละ Class มีดังนี้

Class A: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.0-127.255.255.255 ซึ่งเหมาะสมสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถรองรับจะมีเครือข่ายได้ 126 เน็ตเวิร์ค และในแต่ละเครือข่ายสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ประมาณ 16 ล้านเครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class A เป็น 120.25.2.3 หมายถึง เครือข่าย 120 หมายเลขเครื่อง 25.2.3

Class B: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.0-191.255.255.255 จะมีเครือข่ายขนาด 16384 เน็ตเวิร์ค และจำนวนเครื่องลูกข่ายในเครือข่ายได้ 64,516 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class B เป็น 145.147.45.2 หมายถึง เครือข่าย 145.147 หมายเลขเครื่อง 45.2

Class C: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 192.0.0.0-223.255.255.255 จะมีจำนวนเครือข่ายขนาด 2M+ เน็ตเวิร์ค และเครื่องลูกข่ายในแต่ละเครือข่ายได้ประมาณ 254 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class C เป็น 202.28.10.5 หมายถึง หมายเลขเครือข่าย 202.28.10 หมายเลขเครื่อง 5

Class D:เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 224.0.0.0-239.255.255.255 สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ซึ่งจะไม่มีการแจกจ่ายใช้งานทั่วไปสำหรับบุคคลทั่วไป

Class E: เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 240.0.0.0-255.255.255.255 สำหรับการทดสอบ และพัฒนา

IPv4 address ประกอบด้วยข้อมูลกี่ส่วน

IPv4 (ไอพีวี 4) คืออะไรIPv4(ไอพีวี 4)คือ หมายเลข IP Address (ไอพี แอดเดรส)มีขนาด 32 บิท IPv4 ย่อมาจาก “Internet Protocol Version 4 ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 บิท หมายเลขไอพี เป็นรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆในระบบเครือข่าย          

     IPv4 จะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคจุด . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมด เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ

IPv4 address ประกอบด้วยข้อมูลกี่ส่วน
การแบ่ง IP addressการแบ่งคลาสของ IPv4 เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป

     – คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254              

     – คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254    

     – คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254            

     – คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast            

     – คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน      

  สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ  

แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)

โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่

   – ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป  

   – ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป  

   – ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป        

   – ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)

ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน

จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เตรื่องที่หนึ่งใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว

 
IPv4 address ประกอบด้วยข้อมูลกี่ส่วน

เรียนรู้เกี่ยวกับ IPv6

IPv6 คือคำย่อของ “”Internet Protocol Version 6” IPv6 คือโปรโตคอลรุ่นล่าสุดของอินเตอร์เน็ต ออกแบบมาเพื่อแทนที่โปรโตคอลอินเตอร์เน็ตปัจจุบัน ซึ่งเป็น IP เวอร์ชั่น 4

เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ จะต้องมีที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับ ที่อยู่ที่เป็นตัวเลขเหล่านี้รู้จักกันในนามของที่อยู่โปรโตคอลอินเตอร์เน็ต ในขณะที่อินเตอร์เน็ตและจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ ความต้องการสำหรับที่อยู่ IP ก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

IPv6 คือมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นโดย Internet Engineering Task Force ซึ่งเป็นองค์กรที่พัฒนาเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตต่างๆ IETF ได้เตรียมรับมือกับความต้องการที่อยู่ IP ที่เพิ่มขึ้น จึงได้สร้าง IPv6 เพื่อปรับตัวให้เข้ากับจำนวนผู้ใช้และอุปกรณ์ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น 

IPv6 ทำให้ผู้ใช้และอุปกรณ์จำนวนมากขึ้นสามารถสื่อสารกันบนอินเตอร์เน็ตได้ด้วยการใช้ตัวเลขที่มากขึ้นเพื่อสร้างที่อยู่ IP ภายใต้ IPv4 ทุกๆ ที่อยู่ IP จะยาวเท่ากับ 32 บิต ซึ่งทำให้ได้ที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกัน 4.3 พันล้านที่อยู่ ตัวอย่างของที่อยู่ IPv4 คือ

 

แบบ Dynamic และแบบ Static

IP แบบ Static คือ IP Address ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ของคุณกำหนดให้และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแม้ในขณะที่ รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ โดยที่สัญญาของคุณกับผู้ให้บริการไม่หมดอายุ IP แบบ Dynamic ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จะให้ IP Address แก่คุณ แต่คุณได้รับ IP Address ใหม่ทุกครั้งที่รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์หรือเราเตอร์ใหม่อีกครั้ง

ข้อดีและข้อเสีย

 แบบ Staticแบบ DynamicIP Addressไม่เปลี่ยนแปลงเปลี่ยนเมื่อมีการรีสตาร์ทค่าใช้จ่ายแพงกว่าประหยัดกว่าความเสถียรเสถียรมากเสถียรน้อยกว่าความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวความเป็นส่วนตัวน้อยความเป็นส่วนตัวมาก

ค่าใช้จ่าย

IP Address แบบ Static โดยทั่วไปมีค่าใช้จ่ายมากกว่า IP แบบ Dynamic ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) มักกำหนด IP Address แบบ Dynamic จาก IP Address ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ซึ่งมีอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด ขณะมี IP Address สาธารณะที่จำกัดซึ่งสามารถใช้เป็นแบบ Static ได้ ผู้ให้บริการต้องทำการซื้อ IP Address เพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายจะถูกรวมในต้นทุนการให้บริการ

นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรด้านเทคนิคและกำลังคนมากขึ้นซึ่งมีความจำเป็นในการดูแลรักษาและจัดการ IP Address แบบ Static เนื่องจาก IP Address ดังกล่าวนั้นถูกใช้งานตลอดเวลา

ความเสถียร

ทรัพยากรบางอย่างเช่น ชื่อโดเมนและอีเมลที่เกี่ยวข้อง หรือระบบการทำงานต่างๆ เช่นการดาวน์โหลดไฟล์บางครั้งอาจเชื่อมโยงกับ IP Address ในกรณีเช่นนี้หากมีการตั้งค่า IP Address ทุกครั้งที่รีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเราเตอร์อาจทำให้การเข้าถึงอีเมลหรือเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถทำงานได้

ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

การเปลี่ยนแปลง IP Address แบบ Dynamic จะเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาบนเครือข่าย แฮกเกอร์จึงเข้าถึงและเจาะระบบความปลอดภัยข้อมูลได้ยาก เนื่องจาก IP Address แบบ Static ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงอาจกลายเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเนื่องจากสามารถติดตามคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงได้ง่ายขึ้น และไม่สามารถเปลี่ยน IP Address แบบ Static ได้ง่ายหลังจากมีการเจาะเข้าระบบ ดังนั้นจึงทำให้ระบบมีความเสี่ยงต่อการถูกเจาะข้อมูลครั้งต่อไป อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านความปลอดภัยนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยง่ายโดยการใช้ชุดรักษาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตหรือไฟร์วอลล์ที่เหมาะสมและมีการอัพเดตสม่ำเสมอ

จริงๆ แล้วคุณต้องการอะไร?

โดยสรุปคือ IP Address แบบ Static นั้นมีความน่าเชื่อถือและเข้าถึงง่ายกว่า IP Address แบบ Dynamic แต่จะเพิ่มค่าใช้จ่าย ลดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย หากธุรกิจของคุณต้องการความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมาก เราขอแนะนำให้คุณใช้ IP Address แบบ Static เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียกับธุรกิจของคุณสามารถเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของคุณได้สะดวก นอกจากนี้ยังช่วยให้มั่นใจว่าชื่อโดเมนและอีเมลของคุณเกิด Downtime น้อยที่สุด สาหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ IP Address แบบ Dynamic ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวเท่านั้น แต่ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีความปลอดภัยเช่นกัน