เบิกค่ารถยกกับประกันกี่วันได้

เอกสารประกอบการตั้งเบิกค่ายางรถยนต์

1. ใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม) ที่บริษัทฯออกให้ ณ วันที่เกิดเหตุ (ฉบับจริง / ถ้ามี)

2. สำเนาใบขับขี่ของผู้ขับขี่ขณะเกิดเหตุ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
3. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกัน (รับรองสำเนาถูกต้อง)
4. สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารที่ระบุชื่อผู้เอาประกัน (รับรองสำเนาถูกต้อง)
5. สำเนาทะเบียนรถ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
6. รูปถ่ายความเสียหายของยางก่อนจัดซ่อม
7. ใบเสร็จรับเงิน (ฉบับจริง)
8. เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯอาจร้องขอเพิ่มเติม

**การเปลี่ยนยางที่ร้านนอกคู่สัญญา ผู้เอาประกันจะต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของร้านให้ชัดเจน โดยบริษัทฯอาจทำการตรวจสอบรายการความเสียหายตามขั้นตอนต่อไป**

เอกสารประกอบการตั้งเบิกค่ารถยก1. สำเนาใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)

2. ใบเสร็จรับเงิน (ฉบับจริง)

3. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกัน (รับรองสำเนาถูกต้อง)

4. สำเนาบันทึกประจำวันที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุ (รับรองสำเนาถูกต้องจากพนักงานสอบสวน / ถ้ามี)

5. สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารที่ระบุชื่อผู้เอาประกัน (รับรองสำเนาถูกต้อง)

6. เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯอาจร้องขอเพิ่มเติม

เอกสารประกอบการตั้งเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บกรณีสำรองจ่าย1. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ฉบับจริง)

2. ใบรับรองแพทย์ (ฉบับจริง)

3. สำเนาบัตรประชาชนของผู้บาดเจ็บ (รับรองสำเนาถูกต้อง)

4. สำเนาบันทึกประจำวันที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุ (รับรองสำเนาถูกต้องจากพนักงานสอบสวน / ถ้ามี)

5. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่สำรองจ่าย (รับรองสำเนาถูกต้อง)

6. สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารที่ระบุชื่อผู้สำรองจ่าย (รับรองสำเนาถูกต้อง)

7. เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯอาจร้องขอเพิ่มเติม


เอกสารประกอบการตั้งเบิกค่าปลงศพ / เสียชีวิต
1. สำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต

2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิต ประทับตรา "ตาย" จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

3. สำเนาใบมรณบัตร สำเนาหนังสือรับรองการตาย หรือ สำเนาเอกสารการชันสูตรพลิกศพ รับรองสำเนาถูกต้องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4. สำเนาบันทึกประจำวันที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุรับรองสำเนาถูกต้องจากพนักงานสอบสวน 

5. สำเนาบัตรประชาชนของทายาท (รับรองสำเนาถูกต้อง)

6. สำเนาทะเบียนบ้านของทายาท (รับรองสำเนาถูกต้อง)

7. สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารของทายาท (รับรองสำเนาถูกต้อง)

8. เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯอาจร้องขอเพิ่มเติม

เอกสารเพิ่มเติมกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับค่าสินไหมทดแทน1. หนังสือมอบอำนาจพร้อมอากรแสตมป์ 30 บาท

2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)

3. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)

4. เอกสารอื่นๆที่บริษัทฯอาจร้องขอเพิ่มเติม

เอกสารประกอบการตั้งเบิกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

1. สำเนาใบรับรถที่ระบุช่วงเวลาการจัดซ่อมอย่างชัดเจน (ออกโดยศูนย์บริการฯ หรืออู่ที่นำรถเข้าจัดซ่อม)

2. สำเนาใบเสนอราคาค่าซ่อมออกโดยศูนย์บริการฯ หรืออู่ที่นำรถเข้าจัดซ่อม

3. สำเนาใบรับรองความเสียหาย (ใบเคลม)

4. สำเนาทะเบียนรถของรถที่เข้าจัดซ่อม (รับรองสำเนาถูกต้อง)

5. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ (รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมบรรยายรายละเอียดการเรียกร้อง)

6. สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารของเจ้าของรถ (รับรองสำเนาถูกต้อง)

7. สำเนาหน้าตารางกรมธรรม์ภาคสมัครใจ / พรบ. ของรถที่เข้าจัดซ่อม

“ค่ายกรถ” ประกันภัยรถยนต์ จ่ายหรือไม่

ข้อมูลจาก: สยามอินชัวร์ นิวส์

โดย: support เมื่อวันที่: 28/3/2560

จำนวนผู้เข้าชม: 2995

คำถามจากปัญหาเกี่ยวกับ ประกันภัยรถยนต์ กรณีเมื่อ รถยนต์ เกิดอุบัติเหตุขับเคลื่อนไม่ได้ และไม่สามารถตกลงกับคู่กรณีได้ว่าใครถูกใครผิด ตำรวจจึงได้เรียก รถยก นำ รถยนต์ ไปเก็บไว้ที่โรงพัก และในที่สุดตำรวจได้ชี้ให้ รถยนต์ ของตัวเองเป็นฝ่ายผิด จึงได้ว่าจ้าง รถยก นำไปส่งอู่ในเครือของบริษัท ประกันภัย ที่อยู่ใกล้บ้าน (พนักงานเคลมของบริษัทแนะนำให้เข้าไปซ่อมที่อู่ในเครือใกล้โรงพัก) และเมื่อนำใบเสร็จรับเงินค่า รถยก ทั้ง 2 รายการไปเบิกกับบริษัท ประกันภัย ปรากฏว่าถูกปฏิเสธค่าจ้าง รถยก ในรายการหลัง อ้างว่าเป็นความประสงค์ของผู้เอา ประกันภัย เอง ที่ต้องการให้ยก รถยนต์ ไปซ่อมที่อู่ใกล้บ้าน จึงมีคำถามว่า บริษัท ประกันภัย มีหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าว่าจ้าง รถยก อย่างไร

สำหรับคำตอบในกรณีนี้ บริษัทประกันภัยที่ให้ความคุ้มครอง รถยนต์ ของท่าน ทำไมจึงให้ผู้เอา ประกันภัย ต้องควักเงินค่าจ้างเอง เพราะคู่มือตีความกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ของสำนักงาน คปภ.ระบุไว้ชัดเจน...

“เมื่อ รถยนต์ เกิดความเสียหาย ซึ่งมีความคุ้มครองตามกรมธรรม์นี้ บริษัทจะจ่ายค่าดูแลรักษา รถยนต์ และค่าขนย้าย รถยนต์ ทั้งหมด นับตั้งแต่วันเกิดเหตุจนกว่าการซ่อมแซม หรือการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเสร็จสิ้นตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของค่าซ่อมแซม”

สรุปว่า จะลากกี่ครั้งกี่หน บริษัท ประกันภัย ต้องจ่าย แต่จำกัดวงเงินไว้ว่าไม่เกิน 20% ของค่าซ่อมรถ

ส่วนประเด็นที่บริษัทปฏิเสธการจ่ายในการยก รถยนต์ ครั้งที่ 2 จากโรงพักไปอู่ซ่อม โดยอ้างว่าเป็นความประสงค์ของผู้เอา ประกันภัย เอง การอ้างในกรณีนี้เข้าข่ายเล่าความจริงไม่หมด และถ้าเล่าความจริงไม่หมดมันเป็นการ “โกหก”

เพราะในคู่มือตีความกรมธรรม์ฯ ได้อธิบายในประเด็นนี้ไว้ว่า...กรณีที่บริษัท ประกันภัย ลาก รถยนต์ ไปยังอู่ซ่อมที่ผู้เอา ประกันภัย เป็นผู้เลือกเอง แต่ผู้เอา ประกันภัย ไม่พอใจการซ่อม ขอย้ายอู่ ค่ารถลาก รถยนต์ ในส่วนนี้ บริษัทไม่ต้องรับผิดชอบ...

หมายความว่า ยกรถไปให้เสร็จสรรพตามอู่ที่ประสงค์ แต่ผู้เอา ประกันภัย ไม่พอใจ กรณีอย่างนี้ผู้เอา ประกันภัย ต้องควักเอง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ยกรถไปถึงแล้ว แต่ปรากฏว่าบริษัท ประกันภัย ไม่พอใจ ค่าซ่อมที่เสนอมา จึงต้องยกรถยกรถไปซ่อมที่อื่น กรณีนี้บริษัท ประกันภัย ต้องจ่าย และแม้ว่าค่าใช้จ่ายจะเกิน 20% ตามเงื่อนไข ส่วนที่เกินบริษัท ประกันภัย ก็ต้องรับผิดชอบเช่นกัน