ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ มี กี่ ระบบ

พัฒนาการของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่น่าจับตามอง
จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับที่ 65 เดือนพฤษภาคม 2561

พัฒนาการของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่น่าจับตามอง

โลกแห่งเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและเกิดผลกระทบกับทุกภาคส่วน เราเคยได้ยินและเริ่มเห็นกันแล้วว่า การพัฒนาของเทคโนโลยี อาจจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่กวาดผู้คนในอาชีพต่าง ๆ ให้ตกงาน เราเริ่มเห็นห้างสรรพสินค้าในประเทศไทยให้เครื่องสแกนเนอร์มาเก็บเงินแทนแคชเชียร์ หรือร้านอาหารชื่อดังทดลองใช้หุ่นยนต์มาเสริฟแทนคน แม้กระทั่งโรงงานที่ไร้คนงาน เพราะใช้การทำงานโดยอัตโนมัติของเครื่องจักรตั้งแต่ขั้นแรกของกระบวนการผลิต จนถึงบรรจุเป็นหีบห่อขึ้นรถ ในวงการบัญชีมีหรือจะน้อยหน้าใคร ทิศทางการพัฒนาของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์กำลังก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง มาดูกันเลยค่ะว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง

1.Cloud based Accounting Software

การพัฒนาของโปรแกรมบัญชีกําลังเปลี่ยนจาก Desktop เป็นระบบ Cloud หรือที่ในบ้านเราเรียกว่าโปรแกรมบัญชีออนไลน์ เพราะช่วยให้ผู้ใช้งานจากฝ่ายต่าง ๆ นักบัญชีและผู้บริหารสามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ผ่านหลากหลายอุปกรณ์ ซึ่งการที่ทุกฝ่ายใช้ข้อมูลบนฐานข้อมูลเดียวกันจึงทําให้การแสดงผลทําได้รวดเร็ว ทันใจ ซ้ำยังไม่ต้องลงทุนค่าใช้จ่ายก้อนโตในการซื้อเหมือนระบบ Desktop แต่สามารถจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือนซึ่งถูกแพงตามขอบเขตของบริการที่เลือกใช้

2.Mobile Accounting

ในเมื่อทุกวันนี้ผู้คนต่างสะดวกและชํานาญการใช้ Application ต่าง ๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ จึงไม่มีข้อยกเว้น สําหรับงานบัญชีที่ Cloud Based Accounting Software ได้อํานวยความสะดวกในการพัฒนา Mobile Application ให้สามารถทํางานที่เกี่ยวกับการออกอินวอยซ์จ่ายเงิน-รับ ชําระหนี้ ฯลฯ ผ่านโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตหรือแม้กระทั่ง นาฬิกาอัจฉริยะ แล้วข้อมูลเหล่านั้นก็เชื่อมโยงผ่านระบบ Cloud ไปประมวลผลในระบบบัญชีของธุรกิจ

3.Artificial Intelligence (AI)

ขณะนี้ทิศทางการพัฒนาของโปรแกรมบัญชี ระดับสากลเช่น QuickBooks, Xero, Sage และซอฟท์แวร์อื่น ๆ ต่างก็มุ่งไปในทางที่จะนํา AI มาช่วยในการลงรหัสบัญชี บันทึกบัญชีและทําการกระทบยอดรายการ ธนาคาร หรือแม้กระทั้งจัดทําแบบฟอร์มภาษีโดยอัตโนมัติ เพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้น

4.Optical Character Recognition (OCR)

ในวงการซอฟท์แวร์บัญชีเริ่มนําเทคโนโลยี OCR มาใช้ โดยมีหลาย ๆ Application เช่น Hubdoc Receipt Bank, Entryless ฯลฯ ที่ผู้ใช้สามารถถ่ายภาพหรือสแกน ใบเสร็จค่าใช้จ่าย แล้ว App. เหล่านี้จะสามารถแปลงข้อมูลไปบันทึกเป็นรายการค่าใช้จ่าย ลงรหัสบัญชีและเชื่อมโยงกับ Cloud Based Accounting Software ต่าง ๆ เพื่อเข้าไปลงบัญชีให้โดยอัตโนมัติ

สภาวิชาชีพบัญชีมีวัตถุประสงค์ให้นักบัญชีตระหนักและเตรียมตั้งรับกับการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านบัญชี ที่อาจจะมีผลกระทบกับการทํางานในอนาคต และวางแผนในการปรับตัวเพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส มิฉะนั้น อาชีพ นักบัญชีจะหายไปในอีก 20 ปีข้างหน้า จริงหรือไม่จริง ก็อยู่ที่การก้าวไปในโลก Digital ให้เท่าทัน ซึ่งนักบัญชีอย่างเราๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายต้องติดตามกันอย่างตาไม่กระพริบ

โปรดติดตามตอนต่อไป

โดย นางสาวศิริรัฐ โชติเวชการ กรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการวางระบบบัญชี

Newsletter • Issue 65 Page 24-25

งานนำเสนอเรื่อง: "คือ ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คือ ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์
E-Lass คือ ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์

2 โปรแกรม E-Lass

3 จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานของ อปท
จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานของ อปท. สามารถจัดทำเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย วางฎีกาเบิกจ่าย เมื่อมีรายการที่ต้องจ่าย รับเงินทุกครั้งที่มีการรับจริงทุกประเภท จัดซื้อ/จ้างที่ต้องซื้อ/จ้าง ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลผู้เสียภาษี จัดทำเช็ค เพื่อให้ระบบลงบัญชี และออกรายงานการเงิน และ ตรวจสอบ ทุกวัน

4 ขั้นตอนการบันทึกบัญชี
1.ผู้ใช้ทุกคนต้องมีรหัสผ่านเพื่อสามารถบันทึกข้อมูลในระบบได้ 2.นำเทศบัญญัติ ที่จังหวัดอนุมัติแล้ว เข้าสู่ระบบ 3.กรอกฐานข้อมูลต่าง ๆดังนี้ -ข้อมูลบุคลากรของหน่วยงาน -ข้อมูลผู้เสียภาษี -ข้อมูลลูกหนี้/เจ้าหนี้ -ข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนต่าง ๆ เช่น ทะเบียน รายรับ / รายจ่าย

5 4. บันทึกข้อมูลรายรับรายจ่ายจริงที่เกิดขึ้นประจำวันเข้าระบบ
5. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการรายงานผล 6. ระบบจะสรุปงบประจำเดือน 7. เมื่อสิ้นปีงบประมาณระบบจะสรุปงบแสดงสถานะการเงินประจำปี

6 ประโยชน์ของ E-Lass ไม่ต้องปฏิบัติงานด้วยระบบมือ
สามารถรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลางได้ มีความทันสมัย และตรวจสอบได้ ผู้บริหารสามารถรู้ข้อมูลทางการเงิน/การคลังได้ สะดวกในการรับรู้ข้อมูลที่รวดเร็ว การบริหารงานด้านการเงิน การบัญชี มีประสิทธิภาพ ลดการทำงานที่ซับซ้อน สามารถอำนวยความสะดวกในด้านการตรวจสอบระบบบัญชีให้กับ สตง.ได้

7 E-AUCION คือ การจัดซื้อ จัดจ้าง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

8 เป็นกระบวนการประมูลซื้อขายสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ โดยการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเพื่อจัดการระบบการประมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นผู้จัดการประมูล เป็นการลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มขีดความสามารถในการจัดหา จัดจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์

9 ความเป็นมาของระบบ E-Auction
สืบเนื่องมาจากหลักเกณฑ์การซื้อและการจ้างโดยการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม จนถึงช่วงเดือนธันวาคม รัฐได้รับข้อมูลในลักษณะที่ปรากฏว่า การประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ของหลายส่วนราชการอาจไม่โปร่งใสหรืออาจมีการสมยอมราคากันล่วงหน้า รัฐจึงมีการปรับปรุง แก้ไข กฎ ระเบียบ ให้รัดกุมมากยิ่งขึ้นและได้ออกระเบียบว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีทางอิเล็กโทรนิกส์ พ.ศ.2549 ขึ้น

10 หลักการ เพื่อให้สามารถนำวิธีการจัดหาพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ได้โดยกว้างขวาง แพร่หลาย โปร่งใส มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ประหยัดงบประมาณของแผ่นดิน บังเกิดความคุ้มค่า ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จของงาน เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ สำหรับงานจัดหาพัสดุของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีมูลค่าตั้ง แต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ยกเว้นการจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงานวิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ

11 จากโจทย์ จงอธิบาย หากท่านได้รับมอบหมายภารกิจหาผู้รับจ้างในโครงการตามโจทย์ ดังต่อไปนี้ ท่านจะดำเนินการอย่างไร จงอธิบาย เทศบาลตำบลชนแดน ได้จัดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข อาคาร คสล 2 ชั้น ขนาดกว้าง 20 เมตร ขนาดยาว 20 เมตร พร้อมระบบสาธารณูปโภค และตกแต่งภายใน พื้นที่ใช้สอยรวมไม่น้อยกว่า 400 เมตร งบประมาณ 10,000,000 บาท ตามแบบเปลนที่เทศบาลกำหนด ระยะเวลาก่อสร้าง 240 วัน เบิกจ่ายเพียงงวดเดียวเมื่องานเสร็จ

12 ตอบ 1.เตรียมการวางแผนจัดหาพัสดุ 2.การกำหนดราคาเริ่มต้นในการเสนอราคา
3.แต่งตั้งคณะกรรมการร่าง TOR (TOR หมายถึง คณะกรรมการร่าง ขอบเขตของงาน)และร่างเอกสารประกวดราคา 4.เผยแพร่ประกาศร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคา (ไม่น้อยกว่า 3 วัน) 5.บันทึกขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบ E-Auction 6.แต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคา 7.คัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลาง และกำหนด วัน เวลา สถานที่เสนอราคา

13 8. จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง
9. เผยแพร่เอกสารประกาศเชิญชวน 10. รับซองข้อเสนอทางด้านเทคนิค 11. คัดเลือกเบื้องต้น/การอุทธรณ์ 12. ตลาดกลางแจ้งนัดหมายผู้มีสิทธิเสนอราคา 13. ดำเนินการประกวดราคาด้วย E-Auction แบบปิด 14. การแจ้งผลการพิจารณาเสนอราคา/การอุทธรณ์

14 15.การทำสัญญาจัดซื้อ/จัดจ้าง
16. การตรวจรับพัสดุ/รับงาน

15 ข้อแตกต่างของ E-Laas กับ E-Auction
- E-Laas คือการบันทึกบัญชีในระบบคอมพิวเตอร์ - E-Auction คือ การจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป แต่การทำงานของทั้ง 2 ระบบต้องสอดคล้องกัน เพราะเมื่อมีการทำระบบ E-Auction แล้วจะต้องนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ E-Laas ด้วย