รายงานตัวว่างงานประกันสังคม

วิธีลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม และการรายงานตัวว่างงาน กรมการจัดหางาน ผ่าน E-service

รายงานตัวว่างงานออนไลน์ คืออะไร

การขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์จะทำได้ก็ต่อเมื่อ

1. คุณเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 33 จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน

เงื่อนไขการว่างงานคือ

1.1) ลาออกจากงาน หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วันต่อรอบปฏิทิน

ยกตัวอย่างเช่น หากค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.30 x 90) / 30 = 150 บาทต่อวัน ไม่เกิน 90 วัน

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ หากว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้น จะได้เงินตั้งแต่ 150-13,500 บาท

  • ว่างงาน 1 วัน = ได้รับเงินชดเชย 150 บาท
  • ว่างงาน 7 วัน = ได้รับเงินชดเชย 1,050 บาท
  • ว่างงาน 15 วัน = ได้รับเงินชดเชย 1,500 บาท
  • ว่างงาน 30 วัน (1 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 4,500 บาท
  • ว่างงาน 60 วัน (2 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 9,000 บาท
  • ว่างงาน 90 วัน (3 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 13,500 บาท

(**เป็นการคำนวณแบบคร่าวๆ)

1.2) ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 180 วันต่อรอบปฏิทิน

ยกตัวอย่างเช่น หากค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.50 x 180) / 30 = 250 บาทต่อวัน ไม่เกิน 180 วัน

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ หากว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้น จะได้เงินตั้งแต่ 250-45,000 บาท

  • ถูกเลิกจ้าง 30 วัน (1 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 7,500 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 60 วัน (2 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 15,000 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 90 วัน (3 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 22,500 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 120 วัน (4 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 30,000 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 150 วัน (5 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 37,500 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 180 วัน (6 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 45,000 บาท

(**เป็นการคำนวณแบบคร่าวๆ)

2. ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม สปส.2-01/7 หรือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (คลิกที่นี่)

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน ดังนี้

2.1) ชื่อสกุล เลขบัตรประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล
2.2) ยื่นคำร้องในฐานะผู้ประกันตน หรือผู้มีสิทธิ์ กรณีออกจากงาน หรือเหตุสุดวิสัย
2.3) กรอกชื่อสถานประกอบการสุดท้ายที่ว่างงาน
2.4) วันเดือนปีที่ออกจากงาน
2.5) กรอกสาเหตุที่ออกจากงาน

E-service รายงานตัวว่างงาน

เงินสมทบที่จ่ายทุกเดือนจะถูกแบ่งไว้ร้อยละ 0.5 เพื่อจ่ายทดแทนเมื่อว่างงานจากการลาออก หรือถูกเลิกจ้าง โดยผู้ประกันตนต้องยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม และลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ https://e-service.doe.go.th เพื่อรับรหัสผ่านไปกดรายงานตัว

วิธีเข้าสู่ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนและรายงานตัวกรณีว่างงานผ่านอินเทอร์เน็ตครั้งแรก ดังนี้

1. เข้าเบราว์เซอร์ Google Chrome พิมพ์ empui.doe.go.th เลือก “กรณีใช้บริการจากที่บ้านหรือสถานที่อื่นที่ไม่ใช่สำนักงาน” หรือ “กรณีเดินทางมาใช้บริการที่สำนักงาน”

2. เลือก “ลงทะเบียน” หรือ “ลงชื่อเข้าใช้งาน”

2.1) ลงทะเบียน สำหรับผู้ใช้ใหม่
2.2) ลงชื่อเข้าใช้งาน เพื่อใส่เลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านที่เคยได้รับแล้ว

3. อ่านรายละเอียด และกดยอมรับและเข้าใช้งาน

4. กรอกข้อมูลจากบัตรประชาชน ใช้ข้อมูลด้านหน้า และด้านหลังบัตรประชาชน

5. อัปโหลดรูปและกรอกข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ

6. คลิกดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

7. เลือกเมนูขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานทางด้านซ้ายของจอ ได้แก่ สถานที่ทำงานล่สุด วันที่ออกจากงาน สาเหตุที่ออกจากงาน ข้อมูลนายจ้างหรือสถานประกอบการ ตำแหน่ง เงินเดือนล่าสุด

8. เมื่อกรอกข้อมูลหมดแล้ว คลิกข้อมูลขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง หากต้องการแก้ไขคลิกที่ “ข้อมูลส่วนตัว”

9. รับเอกสาร “หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน” และ “วันที่นัดรายงานตัวของผู้ประกันตน” สามารถพิมพ์ออกมาเก็บไว้ได้ และตรวจสอบวันรายงานตัวว่างงาน 8 ครั้ง

10. หากต้องการหางาน สามารถคลิกค้นหาตำแหน่งเพิ่มเติม ที่ช่อง “งานแนะนำ” และกด “สมัครงาน Smart Job”

Q & A ข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอน “รายงานตัวว่างงาน”

Q : ออกจากงานกี่วันถึงแจ้งว่างงานได้
A : ผู้ประกันตนยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานได้ตั้งแต่วันที่ลาออก หรือถูกเลิกจ้างภายใน 30 วัน และต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับสิทธิทดแทนกรณีว่างงาน

Q : เอกสารขอรับประโยชน์ทดแทนว่างงาน ใช้อะไรบ้าง
A : 1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) หรือ สปส.6-09 หรือ หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
2. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา
3. รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 รูป
4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ได้แก่

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

Q : รายงานตัวว่างงานก่อนกําหนด กี่วันได้เงิน
A : เมื่อผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานแล้วในระบบ กรมการจัดหางานจะกำหนดวันที่นัดรายงานตัวว่างงาน 6 ครั้ง โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าสู่ระบบมากดรายงานตัวก่อนได้ ส่วนเงินจะได้เมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับรอบการโอนเข้าบัญชี

ที่มา : empui.doe.go.th

รายงานตัวว่างงานประกันสังคมทำยังไง

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของ กรมจัดหางาน 2. เลือก “ลงทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงานเลิกจ้าง/ลาออกปกติ” ให้ยอมรับเงื่อนไขและเข้าใช้งาน 3. กรอกเลขบัตรประชาชน และ Laser Code หลังบัตรประจำตัวประชาชนด้วย เมื่อครบแล้วให้กดปุ่ม “ตรวจสอบข้อมูล” 4. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบ พร้อมกับแนบไฟล์รูปภาพของตัวเอง (ขนาดไม่เกิน 5 MB)

รายงานตัวว่างงาน ประกันสังคม ได้ที่ไหน

ผู้ประกันตนกรณีว่างงานสามารถยื่นเอกสาร เพื่อขอรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ที่สำนักงานประกันสังคม ดังนี้ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน แบบฟอร์ม สปส 2-01/7.

ลาออกจากงานกี่วันถึงจะแจ้งว่างงานได้

ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับ ...

กรณีว่างงานประกันสังคมจ่ายยังไง

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท