ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดความรู้สึกอย่างไร

          ข้อควรพิจารณาในเรื่องภาษามีอิทธิพลต่อมนุษย์คือ การยึดถือถ้อยคำโดยไม่คำนึงถึงหลักเหตุผล  ก็อาจนำมาซึ่งการประพฤติหรือปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง  เช่น  การตัดต้นไม้ที่มีชื่อไม่เป็นมงคลแทนที่จะอนุรักษ์  หรือการมุ่งสวดคาถาเพื่อให้เกิดโชคลาภในการค้าขายมากกว่าการคิดค้น    ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  นักเรียนจึงควรไตร่ตรองว่า  แม้ภาษาจะสร้างความรู้สึกต่างๆ หรือควบคุมความคิดของเราได้  แต่เราต้องไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาษามากจนลืมหลักเหตุผลและข้อเท็จจริง

เมื่อพูดถึงอิทธิพลของภาษาที่มีต่อความคิดของคนเรา หลายท่านคงจะพอทราบว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับทฤษฎี ทฤษฎีหนึ่งที่เรียกกันว่า “Sapir-Whorf Hypothesis” ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีมานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ในยุโรป แต่มาเป็นทีรู้จักกันอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 20 ในอเมริกา โดยเริ่มจาก Sapir (1884-1939) นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกันได้เสนอความคิดว่า ภาษาเป็นตัวชี้นำความคิดของคนเรา ตนเราไม่ได้มีชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้อย่างอิสรเสรี แต่เรามีชีวิตอยู่ ภายใต้อิทธิพลของภาษากับสังคม เมื่อภาษาเป็นลักษณะใด โลกของคนก็จะเป็นไปตามนั้น ดังนั้น เมื่อ 2 ภาษา ต่างกัน โลกของ 2 คน จะเป็นคนละใบกัน ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเราจะเห็นหรือได้ยินเป็นอย่างไร ก็จะเป็นไปตามที่ภาษาได้กำหนดทางเลือกไว้ให้กับเรา โดย Sapir บอกว่า “We see and hear and otherwise experience very largely as we do because the language habits of our community predispose certain choices of interpretation” (Sapir, 1988 : 143-148)

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด
    ภาษากับมีอิทธิพลต่อความคิดหรือความคิดควบคุมการใช้ภาษายังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติว่า
แท้จริงแล้วภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของมนุษย์หรือความคิดเป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
อย่างไรก็ตามนักภาษาต่างเห็นตรงกันว่า
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกจากกันมิได้
ในระหว่างที่มนุษย์คิดก็ต้องอาศัยภาษาและในขณะที่ใช้ภาษาก็ต้องอาศัยการคิดควบคู่ไปด้วย
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ

1. ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิด
มนุษย์ติดต่อกันโดยอาศัยภาษาซึ่งเป็นระบบสัญลักษณ์อาจเป็นการพูด การเขียน
การแสดงท่าทาง และอื่นๆ ถ้ามนุษย์ไม่มีภาษาแล้วก็คงติดต่อกันด้วยความลำบากเพราะ
“การที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ภาษาขึ้นใช้ทำให้มนุษย์สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบความคิดให้มนุษย์คิดเป็นภาษา
และใช้ภาษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความคิดให้เป็นระบบระเบียบ” เช่น
การบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ทำให้คนรุ่นใหม่รู้เรื่องราวของคนรุ่นเก่าได้

2. ภาษาเป็นสิ่งสะท้อนความคิดให้ปรากฏ
ไม่ว่ามนุษย์จะใช้ภาษาลักษณะใดก็ตามในขณะที่ใช้ภาษาถ่ายทอดความต้องการของตนนั้น
จะทำให้ผู้รับสารรับรู้ว่า ผู้ส่งสารคิดอะไรอย่างไร
“ภาษาย่อมเป็นเครื่องสะท้อนความคิดอ่านของคนเรา ไม่ว่าจะพูดหรือจะเขียนเราย่อม

ต้องใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อบอกสิ่งที่ต้องการให้ผู้อื่นได้เข้าใจหรือได้รับทราบสิ่งที่ต้องการนี้”
แต่ใน

บางครั้งการใช้ภาษาของมนุษย์ก็อาจไม่ได้สะท้อนความคิดที่แท้จริงออกมาก็ได้
ทั้งนี้เพราะมนุษย์รู้จักปกปิดบิดเบือนความคิดที่แท้จริงของตนเอง

3. ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดและความคิดก็มีอิทธิพลต่อภาษา
แม้ว่าภาษาจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่มนุษย์กำหนดขึ้นใช้
แต่ส่วนหนึ่งมนุษย์ก็เข้าใจว่าภาษาคือสิ่งที่แทนนั้น
ทำให้การใช้ภาษามีส่วนช่วยกำหนดความคิดของมนุษย์ได้ด้วย
ด้วยเหตุนี้ภาษาจึงมีอิทธิพลต่อความคิด เช่น
การตั้งชื่อของคนไทยจะต้องเลือกชื่อที่มีความหมายดีเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในทางตรงข้ามความคิดก็เป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
เมื่อมนุษย์ต้องการถ่ายทอดความต้องการของตนให้ผู้อื่นรับรู้
ก็จะต้องเลือกเฟ้นถ้อยคำที่มีความหมายสื่อความให้ตรงกับความคิดของตน

4. ภาษาช่วยพัฒนาความคิดและความคิดก็ช่วยพัฒนาภาษา
สมรรถภาพในการคิดและสมรรถภาพในการใช้ภาษาของบุคคลจะมีผลต่อเนื่องกันเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
ขณะที่มนุษย์คิดนั้นจะต้องอาศัยภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดและจะต้องเลือกถ้อยคำนำมาเรียบเรียงถ่ายทอด
ซึ่งการทำเช่นนี้ความคิดจะถูกขัดเกลาให้ชัดเจนเหมาะสม
ความคิดก็จะพัฒนายิ่งขึ้นด้วยและขณะที่มีความคิดกว้างไกลก็จะรู้จักใช้ภาษาได้กว้างขวางขึ้น
ความคิดจึงช่วยพัฒนาภาษาเช่นกันเราจะเห็นอย่างชัดเจนว่าภาษาสัมพันธ์กับความคิด

แนวทางปฏิบัติโดยทั่วไปเพื่อช่วยสร้างเสริมความคิด อาจทำได้ดังนี้

1. ใฝ่ใจค้นคว้า ในเวลาที่คิดนั้นปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้น คือ คิดไม่ออก
ไม่รู้จะคิดว่าอย่างไร สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นดีพอ
ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความคิดจะต้องเป็นผู้ใฝ่ใจศึกษา ค้นคว้าหาความรู้
เก็บข้อมูลต่างๆ สะสมไว้ในสมอง ความรู้จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราว
เกิดความคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆ ได้
ซึ่งการค้นคว้าหาความรู้อาจทำได้โดยการฟังหรือการอ่าน

2. หมั่นหาประสบการณ์ ประสบการณ์เป็นวัตถุดิบเบื้องต้นที่จะช่วยทำให้เกิดความ
คิดการได้สัมผัสกับสภาพความจริงจะช่วยก่อกำเนิดความคิดได้ดี
การมีความรู้คู่ประสบการณ์จะทำให้คิดได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ดังนั้นจึงควรสนใจหมั่นหาประสบการณ์อยู่เสมอเพื่อจะได้รู้จริง
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการคิดอย่างมาก

3. มีความสามารถทางภาษา การรู้จักจัดลำดับความคิดให้เป็นระเบียบ
เลือกเฟ้นถ้อยคำที่เหมาะสมถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
ก็จะช่วยพัฒนาความคิดขึ้นโดยลำดับและขณะเดียวกันก็พัฒนาความคิดของผู้รับสารด้วย

4. ใช้ปัญญาสร้างภาพ วิธีที่จะช่วยสร้างความคิดอีกวิธีหนึ่ง คือ
การนึกเห็นภาพในใจก่อนภาพนี้ไม่ใช่ภาพประเภทเพ้อฝันไร้สาระ
แต่เป็นภาพที่ใช้ข้อมูลมาประกอบการสร้างความคิดจะทำให้สายตากว้างไกล
การสร้างภาพจะช่วยทำให้ความคิดแจ่มแจ้งชัดเจน เช่น
ในการแก้ไขปัญหาถ้าสร้างภาพนึกเห็นไว้ก่อนว่าสถานการณ์อย่างนี้จะแก้ไขอย่างไร
วิธีใด ความคิดก็จะบังเกิดควบคู่ไปกับการเห็นภาพ