ความ เลื่อมใส ศรัทธา ใน พระพุทธ ศาสนา ของ ประชาชน ชาว สุโขทัย ส่ง ผล ดี ต่อการ ดำรง ชีวิต อย่างไร

ความ เลื่อมใส ศรัทธา ใน พระพุทธ ศาสนา ของ ประชาชน ชาว สุโขทัย ส่ง ผล ดี ต่อการ ดำรง ชีวิต อย่างไร

          �ҵ����ջ��ླ��ѹ�է�����ʹ�׺��͡ѹ���������ҳ��� �����ѡ�ҹ����ҡ������к���� �������⢷���ջ��ླշ����ʹ��������ҧ �ҷ� ���ླշҧ��ҹ��ʹ� �����⢷���繾ط�����з������ѷ�������������㹾�оط���ʹ������ҧ��� �����⢷�� �Ѻ������ҡ�ѵ���쨹�֧��Ǻ�ҹ����仨���Ѵ�Ӻح�ӷҹ�ѡ��������ҧ��觤�Ѵ 仿ѧ��и����ȹҷ���ҧ���������ͧ��⢷�� ����Ͷ֧�ȡ����Ҿ�������͹ 8 �����⢷���ա�ö����� �Ӻح �ӷҹ ��źص÷�������ؾ�����á��͡�Ǫ���ԡ��ʧ��㹾�оط���ʹҪ�������������Ҿ���ҵ�����ླչ��� �������Ͷ֧�ȡ���͡��������͹ 11 ���ա�� �ʹ��Թ���»Ѩ��� �� ���¾������ �����ҡ ����͡��� ������͹��� ��͹�͹ �繵� ��÷ʹ��Թ�����Ҩ����稡���������͹˹�� ��ȡ���͡����ҡ��ա������蹵�ҧ� �� ��蹴͡���� ˡ����� ���ʹ��ǧ ��Ᾱ ��蹴���� �Ѻ��ͧ ���к��ӿ�͹ ����ͧ���������¹���� ��ͧǧ ��ͧ��������ҧ� �ҷ� ��ͧ����з֡ �� �ѧ�� �Цѧ �ѧʴ�� ��觩Һ �ѳ����� �Գ ��Ы� �繵�

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระมหาธรรมราชาที่ 1
พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช

พระบรมรูปพระมหาธรรมราชาที่ 1

พระมหากษัตริย์สุโขทัย
ครองราชย์พ.ศ. 1890 - 1911 (21 ปี)
ก่อนหน้าพระยางั่วนำถุม
ถัดไปพระมหาธรรมราชาที่ 2
อัครมเหสีสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา
พระราชบุตรพระมหาธรรมราชาที่ 2
ราชวงศ์พระร่วง
พระราชบิดาพระยาเลอไทย
พระราชสมภพพ.ศ. 1843
อาณาจักรสุโขทัย
สวรรคตพ.ศ. 1911 (68 พรรษา)
อาณาจักรสุโขทัย
ศาสนาพุทธ

พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช[1], พระบาทกมรเตงอัญฦๅไทยราช [1], พระยาฦๅไทย[2] หรือ พญาลิไทย[3] (ประสูติ พ.ศ. 1843 - 1911) เป็นพระมหากษัตริย์สุโขทัยลำดับที่ 6 ในราชวงศ์พระร่วง เป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทย และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระราชประวัติ[แก้]

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
ความ เลื่อมใส ศรัทธา ใน พระพุทธ ศาสนา ของ ประชาชน ชาว สุโขทัย ส่ง ผล ดี ต่อการ ดำรง ชีวิต อย่างไร
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ความ เลื่อมใส ศรัทธา ใน พระพุทธ ศาสนา ของ ประชาชน ชาว สุโขทัย ส่ง ผล ดี ต่อการ ดำรง ชีวิต อย่างไร
พ่อขุนบานเมือง
ความ เลื่อมใส ศรัทธา ใน พระพุทธ ศาสนา ของ ประชาชน ชาว สุโขทัย ส่ง ผล ดี ต่อการ ดำรง ชีวิต อย่างไร
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ความ เลื่อมใส ศรัทธา ใน พระพุทธ ศาสนา ของ ประชาชน ชาว สุโขทัย ส่ง ผล ดี ต่อการ ดำรง ชีวิต อย่างไร
พระยาเลอไทย
ความ เลื่อมใส ศรัทธา ใน พระพุทธ ศาสนา ของ ประชาชน ชาว สุโขทัย ส่ง ผล ดี ต่อการ ดำรง ชีวิต อย่างไร
พระยางั่วนำถุม
พระมหาธรรมราชาที่ 1
ความ เลื่อมใส ศรัทธา ใน พระพุทธ ศาสนา ของ ประชาชน ชาว สุโขทัย ส่ง ผล ดี ต่อการ ดำรง ชีวิต อย่างไร
พระมหาธรรมราชาที่ 2
ความ เลื่อมใส ศรัทธา ใน พระพุทธ ศาสนา ของ ประชาชน ชาว สุโขทัย ส่ง ผล ดี ต่อการ ดำรง ชีวิต อย่างไร
พระมหาธรรมราชาที่ 3
ความ เลื่อมใส ศรัทธา ใน พระพุทธ ศาสนา ของ ประชาชน ชาว สุโขทัย ส่ง ผล ดี ต่อการ ดำรง ชีวิต อย่างไร
พระมหาธรรมราชาที่ 4

เป็นหลานปู่ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชพระยาลิไทยเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรสุโขทัย มีพระนามเดิมว่าฦๅไทย (ลือไทย) ซึ่งภาษาบาลีสะกดว่า ลิเทยฺย[4] (ลิไทย) ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางั่วนำถุม เดิมทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะอุปราชหรือรัชทายาทเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1882

เมื่อพระยาเลอไทยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1884 พระยางั่วนำถุมได้ขึ้นครองราชย์จนเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1890 พระยาลิไทยโดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม พระยาลิไทยยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงษ์รามมหาธรรมราชาธิราช

พระองค์ทรงรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่แยกเป็นอิสระให้กลับมารวมตัวอีกครั้ง อาณาเขตในรัชสมัยของพระองค์ได้แก่ เมืองต่าง ๆ ระหว่างแม่น้ำปิง แม่น้ำน่านและแควป่าสัก มีเชียงทอง (ตาก) กำแพงเพชร พระบาง (นครสวรรค์) ปากยม (พิจิตร) สองแคว สระหลวง (พิษณุโลก) ขึ้นไปถึงกลุ่มเมืองราด เมืองสะค้า เมืองลุมบาจา เมืองน่านและเชาบุรี (หลวงพระบาง)[5]

พระราชกรณียกิจ[แก้]

ศาสนา[แก้]

พระยาลิไทยทรงเลื่อมใสในศาสนาพุทธเป็นอย่างมากนโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนา เป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ด้วยทรงดำริว่าการจะขยายอาณาเขตต่อไปเช่นเดียวกับในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง พระอัยกา ก็จักต้องนำไพร่พลไปล้มตายอีกเป็นอันมาก พระองค์จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะปกครองบ้านเมืองเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงปกครองอินเดียให้เจริญได้ด้วยการส่งเสริมพระพุทธศาสนา และสั่งสอนชาวเมืองให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันจะเป็นวิธีรักษาเมืองให้ยั่งยืนอยู่ได้

ทรงสร้างเจดีย์ที่เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) ผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่วัดป่ามะม่วงการที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน แม้แต่พญากือนาแห่งอาณาจักรล้านนาก็นิมนต์พระสุมณเถระจากสุโขทัยไปเพื่อเผยแพร่ธรรมที่อาณาจักรล้านนา

นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

พระยาลิไทย ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกภาษาบาลี พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา"

พระยาลิไท ได้สร้างและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระธาตุช่อแฮ (วัดพระธาตุช่อแฮปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 1902

นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยยังทรงอุปถัมภ์ศาสนาฮินดูด้วยโดยทรงสร้างเทวรูปขนาดใหญ่หลายองค์ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพิษณุโลก

ภาษาและวรรณคดี[แก้]

ด้านอักษรศาสตร์ทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงที่นับเป็นงานนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ด้วยทรงเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกจึงทรงนิพนธ์ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ประเพณีในพระพุทธศาสนา โลกมนุษย์ สวรรค์ และนรก

นอกจากพระเจ้าลิไทยจะทรงนิพนธ์วรรณคดีเล่มแรกของไทยแล้ว ยังทรงดัดแปลงการเขียนหนังสือไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงสร้างไว้ โดยกำหนดให้มีสระข้างบน ข้างล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง รวมทั้งแก้ไขรูปพยัญชนะให้อ่านเขียนสะดวกขึ้น

การสร้างเมือง[แก้]

ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม

ทรงสร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวงโดยการย้ายเมืองซึ่งเคยอยู่ที่สองแควซึ่งเดิมอยู่ทางใต้ (วัดจุฬามณีในปัจจุบัน) แต่ยังคงเรียกว่าเมืองสองแควตามเดิม

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้]

นับแต่พระยาลิไทยได้ครองราชย์มา 2 ปี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา ได้ให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1ยกทัพมาตีเมืองชัยนาท หัวเมืองชั้นในของกรุงสุโขทัยด้วยขณะนั้นกรุงสุโขทัยอ่อนแอจากทุพภิกขภัย ข้าวกล้าในนาเสียหาย ชาวเมืองอดอยาก

ต่อมาพระยาลิไทยได้ส่งทูตไปเจรจาให้กรุงศรีอยุธยาคืนเมืองชัยนาทแต่โดยดี และจะยินยอมให้เป็นประเทศอิสระและมีไมตรีกันเช่นเดียวกับขอมที่ครองเมืองลพบุรี กรุงศรีอยุธยาเห็นควรด้วยเกรงว่าขอมจะร่วมมือกับกรุงสุโขทัยจัดทัพกระหนาบมาตี กรุงศรีอยุธยาจึงคืนเมืองชัยนาทให้พระยาลิไทย

หลังจากสัมพันธไมตรีระหว่าง 2 กรุงดำเนินมาได้ราว 10 ปี เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคต ไมตรีระหว่างกรุงสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยาก็เริ่มตึงเครียดขึ้น และเมื่อขุนหลวงพระงั่ว (พระบรมราชาธิราช) ได้ราชสมบัติครองกรุงศรีอยุธยา ก็ได้กรีธาทัพไปตีกรุงสุโขทัย สงครามระหว่าง 2 กรุงดำเนินไปถึง 6 ปีเศษ ขุนหลวงพระงั่วก็ไม่อาจเอาชัยทัพพระยาลิไทย กรุงสุโขทัยได้

พงศาวลี[แก้]

พงศาวลีของพระมหาธรรมราชาที่ 1
8. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
4. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
9. นางเสือง
2. พระยาเลอไทย
1. พระมหาธรรมราชาที่ 1

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ

  1. ↑ 1.0 1.1 ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย (2549). จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) ด้านที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  2. ศานติ ภักดีคำ. "พระนามกษัตริย์สุโขทัย : ความสัมพันธ์กับเขมรโบราณ". ดำรงวิชาการ. 6:1 (มกราคม-มิถุนายน 2550), หน้า 92
  3. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 33
  4. พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย ไตรภูมิกถา, หน้า 3
  5. ศิริสาร เหมือนโพธิ์ทอง. "การกัลปานาในจารึกสุโขทัย อยุธยา และธนบุรี-รัตนโกสินทร์" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 29.

บรรณานุกรม

  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย (PDF). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. p. 33. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-04-30.
  • ราชบัณฑิตยสถาน (2554). พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย ไตรภูมิกถา. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. p. 3.

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย