บทบาท ของพระ มหา กษัตริย์ สมัยสุโขทัย

พระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา

เมื่อสิ้นกรุงสุโขทัย พระเจ้าอู่ทองได้สร้างกรุงศรีอยุธยา ศาสนาพราหมณ์เข้ามามีบทบาทอย่างมากโดยอิทธิพลของขอมและละโว้ ซึ่งถือว่ากษัตริย์คือพระผู้เป็นเจ้าอวตารมาเกิด พระเจ้าอู่ทองก็กลายเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ รูปแบบของสถาบันพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาแตกต่างจากสมัยสุโขทัยอย่างมากระบอบการปกครองของอยุธยาเป็นระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจเป็นล้นพ้น

สังคมในสมัยอยุธยาขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์โดยตรง ซึ่งต่างกับสมัยสุโขทัยที่พระมหากษัตริย์ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร แต่ในสมัยอยุธยาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้าโดยแท้ ตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นตำแหน่งที่ช่วงชิงกันด้วยอำนาจทางทหาร แนวความคิดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราชและทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะที่ทรงเป็นสมมติเทพ กฎเกณฑ์ตลอดจนขนบประเพณีต่างๆ ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อรักษาฐานะเทวราชของพระมหากษัตริย์ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอาจเป็นล้นพ้น

ดูเพิ่ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • พระมหากษัตริย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทบาท ของพระ มหา กษัตริย์ สมัยสุโขทัย

บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย

  • บทความนี้ต้องการพิสูจน์อักษร อาจเป็นด้านการใช้ภาษา การสะกด ไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน หรือการแปลจากภาษาอื่น
  • บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
ราชวงศ์พระร่วง
บทบาท ของพระ มหา กษัตริย์ สมัยสุโขทัย
พระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย
พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย
พระมหาธรรมราชา
ปกครองกรุงสุโขทัย
เชื้อชาติไทย - ขอม[1]
จำนวนพระมหากษัตริย์9 พระองค์
ประมุขพระองค์แรกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ประมุขพระองค์สุดท้ายพระมหาธรรมราชาที่ 4
ช่วงระยะเวลาพ.ศ. 1791 - พ.ศ. 1981 (190 ปี)
สถาปนาพ.ศ. 1791
ราชวงศ์ถัดไปราชวงศ์อู่ทอง

สำหรับความหมายอื่น ดูที่ พระร่วง

ราชวงศ์พระร่วง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัยซึ่งเคยมีอำนาจครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำเมย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำโขง และ จรดชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน

ศูนย์กลางของราชวงศ์พระร่วงอยู่ที่เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยในลุ่มแม่น้ำยม อันเป็นเมืองศูนย์กลางราชธานีของราชอาณาจักรสุโขทัยในพุทธศตวรรษที่ 19 ก่อนย้ายราชธานีไปยังเมืองสองแควหรือพิษณุโลกในพุทธศตวรรษที่ 20

ราชวงศ์พระร่วงนับจากรัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนถึงรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 4 ได้ปกครองราชอาณาจักรสุโขทัยอย่างต่อเนื่องโดยการสืบราชสันตติวงศ์เกือบ 200 ปี ก่อนที่จะมีการยกเลิกไปเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จขึ้นมาครองอยู่ที่เมืองพิษณุโลก

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงมีหลายพระองค์แต่ที่ทรงมีชื่อเสียงมีพระบรมเดชานุภาพมากและพระเกียรติคุณเป็นที่ปรากฏไปยังแว่นแคว้นดินแดนต่างๆมีอยู่ 2 พระองค์ คือพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไทย) ซึ่งเป็นสองรัชสมัยที่ทำให้ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านต่าง ๆ เป็นอันมากทั้งการปกครอง การสร้างบ้านแปงเมือง การแผ่ขยายดินแดน การส่งเสริมศาสนา การเกษตร อักษรศาสตร์ ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี เศรษฐกิจการค้า การทูตการต่างประเทศ ศิลปกรรม วัฒนธรรม และอื่นๆ ซึ่งทำให้ความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฎรในราชอาณาจักรสุโขทัยยุคนั้นสมบูรณ์พูลสุขเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนบูชากันสืบมา

รายพระนามพระมหากษัตริย์[แก้]

ลำดับ พระบรมรูปหรือตราแผ่นดิน พระนาม พระราชสมภพ เริ่มครองราชย์ สิ้นรัชกาล สวรรคต ระยะเวลาครองราชย์
1
บทบาท ของพระ มหา กษัตริย์ สมัยสุโขทัย
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
(พ่อขุนบางกลางหาว)
(กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์)
พ.ศ. 1731 พ.ศ. 1781 พ.ศ. 1811
(พระชนมายุ 80 พรรษา)
30 ปี
2
บทบาท ของพระ มหา กษัตริย์ สมัยสุโขทัย
พ่อขุนบานเมือง ไม่ปรากฏ ไม่ปรากฏ ราว พ.ศ. 1822 ไม่ปรากฏ
3
บทบาท ของพระ มหา กษัตริย์ สมัยสุโขทัย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
(ขุนรามราช)
(พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช)
พ.ศ. 1790 พ.ศ. 1822 พ.ศ. 1842
(พระชนมายุ 52 พรรษา)
20 ปี
4
บทบาท ของพระ มหา กษัตริย์ สมัยสุโขทัย
พระยาเลอไทย พ.ศ. 1805 พ.ศ. 1842 พ.ศ. 1866
(พระชนมายุ 61 พรรษา)
24 ปี
5
บทบาท ของพระ มหา กษัตริย์ สมัยสุโขทัย
พระยางั่วนำถุม ไม่ปรากฏ พ.ศ. 1866 พ.ศ. 1890 24 ปี
6 พระมหาธรรมราชาที่ 1
(ลิไทย)
(พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช)
พ.ศ. 1843 พ.ศ. 1890 1911
(พระชนมายุ 68 พรรษา)
21 ปี
ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอยุธยา
7
บทบาท ของพระ มหา กษัตริย์ สมัยสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 2
(ลือไทย)
พ.ศ. 1901 พ.ศ. 1911 พ.ศ. 1942 พ.ศ. 1952
(พระชนมายุ 51 พรรษา)
31 ปี
8
บทบาท ของพระ มหา กษัตริย์ สมัยสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 3
(ไสลือไทย)
พ.ศ. 1923 พ.ศ. 1943 พ.ศ. 1962
(พระชนมายุ 39 พรรษา)
19 ปี
9
บทบาท ของพระ มหา กษัตริย์ สมัยสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 4
(บรมปาล)
พ.ศ. 1944 พ.ศ. 1962 พ.ศ. 1981
(พระชนมายุ 37 พรรษา)
19 ปี
สิ้นสภาพการปกครองตนเองถูกรวมเป็นหนึ่งอาณาจักรอยุธยา

อ้างอิง[แก้]

  • ภาสกร วงศ์ตาวัน. เรื่องเล่าครั้งกรุงเก่า ตอน ยึดบ้านครองเมือง สร้างขื่อแปในจารึกสยาม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ สยามบันทึก, พ.ศ. 2551.
  • ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. สยามประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2547 พิมพ์ครั้งที่ 3. ISBN 974-3232-76-1
  • สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงสุโขทัย มาจากไหน?. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2548. ISBN 974-323-517-5

  1. ขจร สุขพานิช. ประวัติศาสตร์ พ.ศ. 1600 - 2310. 2521. หน้า 58

พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยองค์ใดมีบทบาทมากที่สุด

3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งอาณาจักรสุโขทัย เป็นพระโอรสพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพระนางเสือง เสด็จขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช 1822.

บทบาทของพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาเป็นอย่างไร

1. พระมหากษัตริย์ พระราชฐานะและอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยา ทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพ (ไทยได้รับแนวความคิดนี้ มาจากคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ทรงเป็นประมุขของประเทศ มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะเป็นเจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดิน

สถานภาพของกษัตริย์ในสมัยสุโขทัยมีลักษณะสำคัญตามข้อใด

1. รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย 2. พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน

พระมหากษัตริย์ไทยในสมัยสุโขทัยมีทั้งหมดกี่พระองค์

กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงซึ่งขึ้นครองกรุงสุโขทัยต่อจากราชวงศ์ศรีนาวนำถุม ตามที่นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันยอมรับ มีอยู่ทั้งหมด ๙ พระองค์ แต่ปีที่เสด็จขึ้นครองราชย์และปีที่สวรรคตของกษัตริย์บางพระองค์ยังเป็นปัญหาถกเถียงกันอยู่ และยังหาข้อยุติที่แน่นอนไม่ได้ รายนามของกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงทั้ง ๙ พระองค์มีดังนี้