สังคมผู้สูงอายุส่งผลอย่างไร

Show

สังคมผู้สูงอายุ

การเตรียมความพร้อมและรับมือกับสังคมผู้สูงอายุของไทย

ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางประชากรอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านโครงสร้างอายุของประชากร ที่มีสัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง (ต้องการการดูแลจากรัฐและครอบครัว) ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นท้าทายสำคัญ ที่ประเทศไทยจำเป็นต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างการมีอายุขัยที่ยืนยาวกับสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ก้าวหน้า

#01

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร

มีการคาดการณ์ว่าในปี 2583 ประเทศไทยจะมีอัตราส่วนผู้สูงอายุถึง 32.1 %

ในปี 2561 ประเทศไทยมีประชากรทั้งสิ้น 66.4 ล้านคน โดยมีประชากรวัยทำงาน (15-59 ปี) ร้อยละ 64.7 ประชากรวัยเด็ก (แรกเกิด- 14 ปี) ร้อยละ 16.8 ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 16.0 (ข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ) มีการคาดการณ์ว่าในปี 2583 ประเทศไทยจะมีประชากรลดลง เหลือร้อยละ 63.9 แต่มีโครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงอย่างมากคือ มีประชากรวัยทำงาน (15-59 ปี) ร้อยละ 55.1 ประชากรวัยเด็ก (แรกเกิด- 14 ปี) ร้อยละ 12.8 และมีผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) สูงถึงร้อยละ 32.1 ทั้งนี้เนื่องจากการมีอัตราการเกิดที่น้อยลง และการพัฒนาทางการแพทย์ที่ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น

สังคมผู้สูงอายุส่งผลอย่างไร

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อประเทศไทยค่อนข้างมาก เพราะเรามีกลุ่มประชากรวัยทำงานน้อยลง ส่งผลโดยตรงต่อกำลังการผลิตและเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะจะขาดแคลนกำลังคนทั้งในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ ทำให้กลุ่มวัยทำงานมีรายได้และค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน ทำให้ขาดดุลรายได้การบริโภค ขาดเงินออม และไม่สามารถเกื้อหนุนกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุได้

#02

ความท้าทายในการรับมือสังคมสูงวัย

ผู้สูงอายุถือเป็น "วัยพึ่งพิง"

โดยเฉพาะในส่วนงบประมาณการรักษาและฟื้นฟูร่างกายจากอาการเจ็บป่วย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนอกจากชุมชนและครอบครัวต้องปรับตัวแล้ว นโยบายที่มีคุณภาพของภาครัฐก็เป็นสิ่งจำเป็นในการบริหารจัดการให้ประเทศเข้าสู่โอกาสใหม่ของเศรษฐกิจอายุวัฒน์ และได้รับประโยชน์จากการเป็นสังคมสูงวัยที่มีสุขภาพที่ดีื ทั้งกายและใจ

โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปส่งผลให้ความจำเป็นที่ต้องบริโภคสินค้าและบริการด้านสุขภาพมีสูงขึ้น ถึงแม้จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่เพียงพอต่อการบริโภค จนไม่สามารถเกื้อหนุนผู้สูงวัยได้ ผู้สูงวัยจึงต้องถ่ายโอนสินทรัพย์มาใช้เพื่อดำรงชีวิต เพื่อแก้ปัญหานี้ “การออมเงินก่อนเข้าวัยเกษียณอายุ ” จึงมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องช่วยส่งเสริมให้ประชากรไทยเริ่มดูแลสุขภาพกายและสุขภาพทางการเงินตั้งแต่อายุ 30 ปี

การปรับตัวของภาคธุรกิจ

ตลาดผู้สูงวัยถือเป็นตลาดที่ท้าทาย เพราะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง มีความพร้อมในการใช้จ่าย แต่ผู้ทำธุรกิจจำเป็นต้องเข้าใจนิสัยและความต้องการที่หลากหลายและพร้อมจะปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาของคนกลุ่มนี้ให้ได้ โดยภาคธุรกิจไทยมีศักยภาพในการก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้าเรื่องสุขภาพ เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจการย่างก้าวทางธุรกิจให้สอดคล้องกับช่วงวัยของผู้บริโภค

ผู้ประกอบการจึงควรสร้างระบบวัฒนธรรมการทำงานที่สามารถดูแลคนแต่ละช่วงวัยที่มีความแตกต่างด้านความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม และค่านิยม

สังคมผู้สูงอายุส่งผลอย่างไร

การปรับตัวของชุมชน

ความเป็นอยู่ที่ดีเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคม การสร้างพื้นที่ให้เหมาะสำหรับคนทุกวัยจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ชุมชนต้องร่วมมือกัน ทั้งการมีพื้นที่สันทนาการและออกกำลังกาย มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวย สะดวก ปลอดภัย เพราะพื้นที่นี้จะเป็นพื้นที่ที่จะสร้างโอกาสใหม่ให้เกิดขึ้นในชุมชน 

ชุมชนจะได้ประโยชน์จากผู้สูงอายุที่ยังทำงานอยู่ในชุมชน ในขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยหนุ่มสาวจะได้รับประโยชน์จากการอยู่ร่วมกันระหว่างประชากรต่างวัย ทั้งเรื่องการเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน

"เพื่อให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัยในประเทศ เพราะการเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องของความมั่นคงทางการเงิน และสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ หากทำให้คนในประเทศเห็นความสำคัญของการดูแลตัวเองในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่ปัจจุบัน เราจะเป็นประเทศที่อยู่ในสังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพในอนาคต"

#03

รูปแบบการอยู่อาศัย
กับความเปราะบางของผู้สูงอายุ

ในปี 2561 ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่สัดส่วนของผู้สูงอายุมีมากกว่าสัดส่วนประชากรวัยเด็ก โดยไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้ามาเป็นสังคมสูงวัยที่กำลังจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีก 3 ปีข้างหน้า อันเป็นผลมาจากการที่คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ในขณะที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลง ส่งผลให้ประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงไปด้วย

สังคมผู้สูงอายุส่งผลอย่างไร

โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปนี้ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เนื่องด้วยแบบแผนของสังคมไทยที่ครอบครัวนั้นมีส่วนสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้แบบแผนการอยู่อาศัยร่วมกันในครอบครัวของผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไป โดยในงานวิจัยเรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนซึ่งมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลายในสังคมไทย เพื่อประเมินความเข้มแข็งและความต้องการสนับสนุนของครัวเรือน” ได้ชี้ให้เห็นภาพการดูแลผู้สูงอายุในสังคมไทย ผ่านการศึกษารูปแบบการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุไทยเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ชีวิตร่วมกันของสมาชิกในครัวเรือนผู้สูงอายุ และชี้ให้เห็นนัยยะของการดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนเปราะบาง รวมถึงความต้องการสนับสนุนของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ

#04

วิจัย...สูงวัย

การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพเป็นเป้าหมายสำคัญาของประเทศไทย และเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายนั้น การทำวิจัยจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการค้นหาปัญหาที่แท้จริงของผู้สูงอายุในประเทศไทยในมิติต่างๆ ทั้งเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ การเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม รายได้ การพัฒนาศักยภาพรวมถึงเรื่องราวของโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงจัดการกับปัญหาเพื่อหาทางออกที่จะทำให้ผู้สูงอายุ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้น

#05

แก่แล้วไง...วิจัยยังได้

โครงการแนวทางฟื้นฟูและพัฒนาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพและสร้างรายได้เสริมของกลุ่มผู้สูงอายุบ้านปลักปรือ จ.ปัตตานี

ปกติเราเห็นคนหนุ่มสาวเป็นแกนนำชุมชน แต่ที่บ้านปลักปรือนี้พิเศษอยู่อย่างที่ผู้สูงอายุเป็นแกนนำของทุกอย่าง ด้วยความรู้สมุนไพรที่สั่งสมมานาน ประสานเข้ากับกระบวนการวิจัย สร้างผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยภูมิปัญญาของชุมชน จนผู้สูงอายุบ้านปลักปรือได้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเดอะที่ลูกหลานต้องจับตามอง

#06

ให้ค่าความเก๋า...
อุตสาหกรรมยานยนต์พร้อมจ้างผู้สูงวัย

อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ใช่ว่าผู้สูงอายุของไทยเมื่ออายุมากขึ้นจะไม่สามารถทำงานได้ ในความเป็นจริงผู้สูงอายุหลายคนยังมีศัยกภาพเพียงพอที่จะทำงานต่อไปแม้จะเลยวัยเกษียณอายุแล้วก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ยังต้องการความเชี่ยวชาญและความชำนาญของคนกลุ่มนี้อยู่ ในมุมของผู้ประกอบการมองกว่าคนกลุ่มนี้พร้อมที่จะทำงานต่อเนื่องเพราะรู้และเข้าใจในวัฒนธรรมและระบบขององค์กรเป็นอย่างดี 

ในส่วนของผู้สูงอายุเองก็ต้องการทำงานต่อเนื่องทั้งจากศักยภาพที่มีอยู่ และภาระรับผิดชอบที่ยังคงมีอยู่ โดยพร้อมที่จะปรับรูปแบบของงานและค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตัวเอง เพราะชีวิตหลังเกษียณควรเป็นชีวิตที่ผู้สูงวัยได้เลือกเอง

สังคมผู้สูงอายุส่งผลอย่างไร

“ชีวิตหลังเกษียณก็คือชีวิตของเราเอง ชีวิตก่อนเกษียณอาจจะเป็นชีวิตที่เราทำเพื่ออะไรบางอย่าง เช่น ทำเพื่อครอบครัว พ่อแม่ ลูก ชื่อเสียง หน้าที่ หรือประเทศชาติ แต่พอชีวิตหลังวัยเกษียณนั่นคือชีวิตที่เราเลือกได้เอง ทำเพื่อความสุข ทำสิ่งที่เป็นอิสระเสรี และเลือกใช้ชีวิตในแบบที่เป็นตนเอง”

#07

ช่างชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย

โครงการการเตรียมความพร้อมของชุมชนกึ่งเมืองเพื่อรองรับสังคมสูงวัย: กรณีศึกษาชุมชนตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้สูงอายุใน อ.วารินชำราบ ต้องเสี่ยงชีวิตจากการอาศัยในบ้านที่ทรุดโทรม เมื่อไม่มีทางเลือกพวกเขาก็ต้องจำใจอยู่อย่างเดียวดาย แต่สังคมที่มีคุณภาพ จะไม่ปล่อยให้ผู้สูงอายุต้องอยู่โดดเดี่ยว จึงเป็นที่มาของอาสาสมัคร “ช่างชุมชน” กลุ่มช่างที่มาด้วยใจ เพื่อเปลี่ยนบ้านให้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยโดยใช้ทุนของชุมชน

#08

นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ

เพราะผู้สูงอายุเริ่มมีร่างกายที่อ่อนแอ อวัยวะต่าง ๆก็เสื่อมถอยลงไปตาลกาลเวลา อาการเจ็บป่วยจึงเข้ามารุมเร้า ด้วยเหตุนี้นักวิจัยไทยจึงเร่งคิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุดีขึ้น สามารถต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ ความเสื่อมถอยของร่างกายได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้น 

ไม้เท้าเลเซอร์ช่วยเดิน

สังคมผู้สูงอายุส่งผลอย่างไร

“ล้ม” ครั้งเดียวเปลี่ยนชีวิตได้เลย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนที่ผิดปกติอย่างผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มักเกิดผู้สูงอายุ ซึ่งมีโอกาสล้มถึง 50% ที่อาจทำให้เกิดเรื่องร้ายแรงถึงการเสียชีวิตได้ นักวิจัยจึงได้คิดค้นไม้เท้าเลเซอร์ช่วยเดินจากวิจัยไทย ทำให้ผู้ป่วยเดินได้ด้วยตนเองลดปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม มีลำแสงนำทาง สังเกตง่าย และทุกชิ้นส่วนผลิตได้ในประเทศไทย ทำให้มีต้นทุนต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ

พุดดิ้งผักสำหรับผู้สูงวัยที่สูญเสียฟัน

สังคมผู้สูงอายุส่งผลอย่างไร

เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของผู้สูงวัยก็ร่วงโรย ฟันก็เป็นอีกอวัยวะที่ร่วงหลุดและผุพังจนเป็นอุปสรรคต่อการกินอาหาร เป็นเหตุให้ผู้สูงวัยที่ร่างกายอ่อนแอ เพราะขาดสารอาหาร 

ผลิตภัณฑ์พุดดิ้งผักสำหรับผู้สูงวัยที่มีสารอาหารครบถ้วน 3 รสชาติ คือ มันเทศเหลือง ข้าวโพดหวาน และฟักทอง เพื่อเพิ่มปริมาณใยอาหาร วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ และแคโรทีนอยด์ รวมทั้งมีเนื้อสัมผัสที่เหมาะสมกับการสูญเสียฟันในแต่ละระดับ  พุดดิ้งผักสามารถรับประทานได้ทันที เหมาะสำหรับเป็นอาหารระหว่างมื้อหรือขนมหวาน เพื่อให้ผู้สูงวัยได้รับสารอาหารสำคัญเพิ่มขึ้น

เครดิตภาพ : https://unsplash.com/

เครดิตวีดิโอ : https://pixabay.com