กรุงสุโขทัยจัดการปัญหาการเพาะปลูกด้วยวิธีการใด

          ���ͧ�ҡ��Ҿ��鹷�����dz���ͧ��⢷�����§�Ҵ���������ö�纹�����������ҵ� ��駾�鹷������Դ���� ���繵�ͧ�Ѳ�������纹��������Ĵ���� �����⢷�����¹�鹨֧��Ѳ�ҡ���纡ѡ����¡�����ҧ��ҧ�纹�� �ӹ����ͤѹ�Թ ���ҧ�觹�����ͷ��ش���繷���ѧ��š ���¡��� ��;����ǧ �觹������㹵�����ͧ���͢ѧ�����й���˭����������� ����Т�Ҵ�˭�㹡�ᾧ���ͧ���ͷ�����¡��� ��оѧ �� ��оѧ�ͧ ��оѧ�Թ ��оѧ�� �ա�âش��͹�ӡ���԰�ӹǹ�ҡ ������鹷������ͧ��⢷�����Ҵ�Ź��� �ա�êŻ�зҹ���͡���ɵ÷��������ö��Ե�ת�ѹ���ѭ��������ش�����ó� �ѧ����㹨��֡������

รายละเอียด ผู้ดูแลระบบ หมวดหลัก: ข่าวความเคลื่อนไหวงานพัฒนา สร้างเมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2554 ฮิต: 15921

ตัวอย่างการจัดการน้ำของคนสุโขทัย เป็นตัวอย่างของภูมิปัญญาไทยในการควบคุมสภาวะธรรมชาติให้เหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานการดำรงชีวิต 

ระบบการจัดการน้ำเป็นภูมิปัญญาที่เกิดในประเทศไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยการตั้งบ้านแปลงเมือง ดังหลักฐานทางด้านโบราณคดีตามชุมชนโบราณขนาดใหญ่หลายแห่ง มีการขุดคูน้ำและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค นอกจากเหตุผลการป้องกันข้าศึกศัตรูแล้วยังเป็นแหล่งอาหารให้กับประชาชนอีกด้วย ในสมัยสุโขทัย บริเวณที่ตั้งเมืองสุโขทัยมักประสบปัญหาความขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง อันเป็นปัญหาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของสุโขทัยที่ปราศจากแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง เพราะฉะนั้น คนไทยสมัยสุโขทัย จึงได้ดัดแปลงสภาพธรรมชาติในรูปแบบการจัดระบบชลประทาน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยในการจัดระบบน้ำที่สลับซับซ้อน ตั้งแต่การนำน้ำหรือส่งน้ำไปยังพื้นที่ที่ต้องการน้ำ การเก็บกักน้ำไว้ใช้และแจกจ่ายเพื่ออุปโภค บริโภค คนสุโขทัยบังคับน้ำที่ไหลจากที่สูงลงมายังพื้นที่ราบให้ไหลไปตามแนวดินและท่อส่งน้ำ ไปยังแหล่งเก็บกักน้ำต่างๆ นอกจากนี้ระบบการควบคุมน้ำดังกล่าว ยังลดสภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย


            เครือข่ายองค์กรชุมชนลูกพ่อขุนราม ร่วมกับเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดสุโขทัย จึงได้จัดเวทีสรุปบทเรียน น้ำท่วม น้ำแล้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็นและแนวคิดการจัดการน้ำทั้ง ๙ อำเภอของจังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดงเดือย อำเภอกงไกลาศ จังวัดสุโขทัย โดยมีตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมน้ำแล้งจากทุกอำเภอเข้าร่วมกว่า ๓๐ คน 
  

กรุงสุโขทัยจัดการปัญหาการเพาะปลูกด้วยวิธีการใด
นายสมศักดิ์ คำทองคง ประธานองค์กรชุมชนลูกพ่อขุนราม กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง อาจมองเป็นคนละเรื่อง แต่เรื่องการจัดการน้ำ ถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ปัญหาส่วนใหญ่ของการจัดการน้ำจะเป็นเรื่องของการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ แต่ก็มีการแก้ไขปัญหาคือการตั้งเครือข่ายมาร่วมกันบริหารจัดการน้ำตั้งแต่การเปิดปิดประตูระบายน้ำ มีการตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำโดยขบวนชาวบ้าน และมีข้อเสนอต่อราชการซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการของชาวบ้าน

ระบบผันน้ำปิงสู่น้ำยม

           ตามหลักศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ที่ว่า “เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” การจัดการปัญหาน้ำเพื่อใช้ปลูกข้าวที่ก้าวหน้ายิ่ง คือการใช้แนวถนนพระร่วงเป็นคันกั้นน้ำเป็นช่วงๆ ทำให้สองข้างทางเป็นเสมือนคลองชลประทานผันน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้อนุรักษ์แนวคลองชลประทานโบราณนี้ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำทำนาตามที่ราษฎรกำแพงเพชรทูลเกล้าถวายฎีกา ชื่อว่า “โครงการพระราชดำริท่อทองแดง” 


กรุงสุโขทัยจัดการปัญหาการเพาะปลูกด้วยวิธีการใด
นายจรูญ สุขแป้น กำนันตำบลหนองจิก อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย เล่าว่า โครงการท่อทองแดง เป็นโครงการระบบส่งน้ำ ลำน้ำปิง ลำน้ำยม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาชาวบ้านได้มีการประสานงานตั้งเป็นเครือข่ายผู้ใช้น้ำท่อทองแดง มีจังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร การใช้น้ำบริเวณที่ต้นน้ำและพื้นที่ปลายน้ำ โดยจะมีการประชุมกันและมีการประกาศทางวิทยุชุมชน หอกระจายข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์แนวทางการเพาะปลูกของเกษตรกร หากน้ำมามากก็จะปล่อยให้ไหลไปตามธรรมชาติ ไม่กั้นน้ำไว้เหมือนคนกรุงเทพ หากน้ำมีน้อยก็จะแจ้งเกษตรกรว่าควรปลูกถั่วเหลือง หรือพืชที่ใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสียหายแก่เกษตรกรในช่วงหน้าแล้ง

นอกจากนั้นทางเครือข่ายยังมีการพูดคุยกันถึงการปิด –เปิด ประตูน้ำในช่วงน้ำหลาก – น้ำน้อย การจัดสรรน้ำก่อน –หลัง ปริมาณน้ำที่กักเก็บได้จะเพียงพอทำการเกษตรจำนวนกี่ไร่ รวมถึงแต่ละหมู่บ้านมีผู้ใช้น้ำ จะทำหน้าที่ผลัดเวรกันดูแลฝายอย่างไร สำหรับแนวทาวการจัดการน้ำต้องอาศัยจารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสาน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมกันจริงๆ ภาครัฐช่วยประสาน คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญจริงๆในการแก้ปัญหาทรัพยากรน้ำ ชาวบ้านต้องมีการใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และดูแลรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด หากช่วยกันดูแลรักษา ชุมชนท้องถิ่นก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ยาวนาน


            “ทั้งนี้ทางเครือข่ายยังสมทบงบประมาณการบริหารจัดการน้ำกันเอง โดยเก็บเงินเกษตรกรไร่ละ ๕ บาท โดยจัดสรรให้เครือข่ายบริหารจัดการน้ำในตำบล ๔ บาท และอีก ๑ บาท สมทบกับเครือข่ายกำแพงเพชร และปลูกต้นไม้เพื่อดูแลต้นน้ำของเราที่จังหวัดตากด้วย”
นายจรูญกล่าว