ความหลากหลายทางชีวภาพมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างไร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหลากหลายทางชีวภาพ (อังกฤษ: biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่าย ๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetics) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ

ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่าง ๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม วัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น

ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชกับสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้ง ๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. 1995)

ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่าง ๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน

ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ "บริการทางสิ่งแวดล้อม" (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิ ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น

อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ[แก้]

จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development) หรือการประชุมสุดยอดด้านสิ่งแวดล้อม (Earth Summit) ณ นครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 5–14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ประเทศทั่วโลกได้ให้การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีทั้งสิ้น 157 ประเทศร่วมลงนาม อนุสัญญาฯ ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ปัจจุบันมีภาคี 191 ประเทศ ในส่วนของประเทศไทย ได้ลงนามในอนุสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2535 และให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2547

อนุสัญญาฯ เป็นความตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ที่มีเจตนารมณ์ให้รัฐบาลทุกประเทศเคร่งครัดต่อการรักษาวินัยสิ่งแวดล้อม อนุสัญญาฯ ฉบับนี้เป็นอนุสัญญานานาชาติฉบับแรกที่ครอบคลุมการอนุรักษ์ ทั้งพันธุกรรม ชนิดพันธุ์ และระบบนิเวศ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ

  1. เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  2. เพื่อใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
  3. เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม

อ้างอิง[แก้]

  • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ
  • ในมิติแห่งความหลากหลายทางชีวภาพและกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดย วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ เก็บถาวร 2011-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • กองบรรณาธิการ. "อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ" วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย กรกฎาคม - สิงหาคม 2554: 62.

ผลของความหลากหลายทางชีวิภาพที่มีต่อมนุษย์

     มนุษย์รู้จักวิธีการนำความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ทั้งใช้เพื่อดำรงชีวิต เช่น เป็นอาหาร ยารักษาโรค เป็นต้น และในด้านอุตสาหกรรม เช่น การผลิตเชื้อเพลิง เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น โดยลักษณะการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพสามารถกล่าวโดยสรุปได้เป็นด้าน ๆ ดังนี้

     1.  ด้านการเกษตร

          มนุษย์มีการใช้พืชประมาณ 200 ชนิด ในการเพาะปลูกเป็นอาหาร  โดยส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่สามารถผลิตสารอาหารจำพวกแป้งได้ เช่น ข้าวโพด มันฝรั่ง ข้าว เป็นต้น พืชที่มนุษย์นำมาใช้เพาะปลูกเหล่านี้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยพืชหนึ่งชนิดอาจมีสายพันธุ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันมากมาย เช่น ข้าวบางสายพันธุ์ให้ผลผลิตสูงแต่มีความทนทานสูง เป็นต้น

          มนุษย์ใช้ประโยชน์จากสายพันธุ์ต่าง ๆ ของพืช โดยนำพืชแต่ละสายพันธุ์ที่มีข้อดีแตกต่างกันมาผสมพันธุ์กันและคัดเลือกให้ได้ต้นพืชสายพันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะดีตามต้องการ ตัวอย่างพืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข6 ข้าวเจ้าพันธุ์พิษณุโลก 2 เป็นต้น

          ในประเทศไทยมีการศึกษา และการเก็บรักษาพันธุ์พืชทางการเกษตรชนิดต่าง ๆ ไว้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศในประเทศไทยได้ เช่น สถานีวิจัยพืชไร่สุวรรณวาจกกสิกิจ จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น

     2.  ด้านการแพทย์

          ตั้งแต่สมัยโบราณมา  มนุษย์มีความรู้เกี่ยวกับการใช้พืชสมุนไพรต่าง ๆ ในการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งความรู้เหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดมาในลักษณะของยาแผนโบราณ ทำให้พืชสมุนไพรต่าง ๆ ถูกเก็บจากป่านำมาใช้กันอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้พืชสมุนไพรเหล่านี้มีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ในความเป็นจริงแล้วพืชพันธุ์ที่มีความใกล้กเคียง ก็อาจมีสารสำคัญที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ดังนั้น หากมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสูงจะทำให้สามารถใช้ทดแทนกันได้ ดังนั้นหากมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสูงจะทำให้สามารถเลือกใช้พืชหลายชนิดเพื่อรักษาโรคได้มากขึ้น

          นอกจากการใช้ประโยชน์ในลักษณะพืชสมุนไพรแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำพืชมาสกัดเอาสารสำคัญภายในต้นพืชเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ด้วย เช่น เปล้าน้อยมีสารเปลาโนทอล (Planotol) ซึ่งสามารถนำมาใช้รักษาโรคกระเพาะและลำไส้ ดองดึงมีสารโคลชิซีน (Colchicine) ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคไขข้อเสบ และมะเร็ง เป็นต้น

     3.  ด้านการอุตสาหกรรม

          พืชและสัตว์หลายชนิดถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมหลายประการ เช่น การใช้น้ำมันจากพืชพวกปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ และละหุ่ง มาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง การใช้เส้นใยพืชและสัตว์ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เช่น ฝ้าย ปอ ไหม ขนสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากการใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์แล้ว ยังมีการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เพื่อเป็นแหล่งผลิตสารสำคัญต่าง ๆ ในเชิงอุตสาหกรรมด้วย เช่น การใช้ยีสต์ในการผลิตแอลกอฮอล์ การใช้แบคทีเรียในการผลิตนมเปรี้ยว เป็นต้น

ความหลากหลายทางชีวภาพมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างไร
ความหลากหลายทางชีวภาพมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างไร

                      ด้านการเกษตร                                                                            ด้านการแพทย์

ความหลากหลายทางชีวภาพมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างไร
 

                 ด้านการอุตสาหกรรม