วิธีการทำงานของสกุลเงินดิจิทัล

สกุลเงินดิจิทัล

หน้านี้พิมพ์ขึ้นเมื่อ Nov 28, 2022 หากต้องการเวอร์ชันปัจจุบัน โปรดไปที่ https://help.shopify.com/th/manual/payments/additional-payment-methods/cryptocurrency

สกุลเงินดิจิทัลคือสกุลเงินในรูปแบบดิจิทัลหรือบนระบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถถ่ายโอนได้โดยตรงจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งผ่านอินเทอร์เน็ต สกุลเงินดิจิทัลมีประโยชน์ต่อผู้ขายดังต่อไปนี้:

  • ทำธุรกรรมได้รวดเร็ว
  • ค่าธรรมเนียมการดำเนินการต่ำ
  • ไม่มีการเรียกคืนยอดเงิน
  • ทำธุรกรรมได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • สามารถแปลงการชำระเงินไปใช้สกุลเงินกระดาษใดๆ เช่น USD หรือ CAD ได้

สกุลเงินดิจิทัลนั้นมีความผันผวนมากกว่าสกุลเงินแบบดั้งเดิม โปรดปรึกษานักบัญชีของคุณเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการการชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัล

หากต้องการยอมรับสกุลเงินดิจิทัลเป็นรูปแบบการชำระเงิน ให้เปิดใช้งานวิธีการรับชำระเงินเพิ่มเติมต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งวิธีจากหน้าการชำระเงินในส่วนการตั้งค่าของส่วน Shopify admin ของคุณ:

  • Crypto.com ยอมรับสกุลเงินดิจิทัลกว่า 20 สกุลเงิน เช่น Bitcoin, Ethereum และ Dogecoin หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม โปรดดูคำแนะนำในการตั้งค่าเหล่านี้

  • Coinbase Commerce รับสกุลเงินดิจิตอลหลากหลายประเภท เช่น Bitcoin, Ethereum, Dogecoin และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ Coinbase ยังช่วยให้การแปลงเป็นสกุลเงินกระดาษได้ง่ายอีกด้วย หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม โปรดดูที่คําแนะนําในการตั้งค่าเหล่านี้

  • BitPay รับสกุลเงินดิจิทัล 14 สกุลเงิน ได้แก่ Bitcoin, Bitcoin Lightning, Ethereum และ Dogecoin ที่ได้รับการชําระเงินในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม โปรดดูที่คําแนะนําในการตั้งค่าเหล่านี้

  • DePay รับโทเค็น Ethereum, Binance Smart Chain หรือโทเค็น Polygon ซึ่งมีสภาพคล่องในการแลกเปลี่ยนแบบกระจายศูนย์DePay เป็นช่องทางการชําระเงินแบบ peer-to-peer ที่ใช้สัญญาอัจฉริยะในการแปลงสกุลเงินแบบทันทีหากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม โปรดดูที่คําแนะนําในการตั้งค่าเหล่านี้

  • OpenNode รับ Bitcoin และ Bitcoin Lightning ที่ได้รับการชําระด้วย Bitcoin หรือสกุลเงินกระดาษหากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม โปรดดูที่คําแนะนําในการตั้งค่าเหล่านี้

  • Strike ยอมรับ Bitcoin Lightning ที่ชำระในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม โปรดดูคำแนะนําในการตั้งค่าเหล่านี้

หลังจากที่คุณเปิดใช้วิธีการชำระเงินที่รองรับสกุลเงินดิจิทัลแล้ว คุณสามารถรับชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลใดๆ ก็ตามที่บริการเหล่านั้นรองรับ

โดยคุณอาจยังคงถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมจากภายนอกสำหรับการชำระเงินที่ประมวลผลผ่านเกตเวย์เหล่านี้ โปรดดูแผน Shopify ของร้านค้าคุณเพื่อดูจำนวนค่าธรรมเนียมที่จะถูกเรียกเก็บ

การเปิดใช้งานเกตเวย์เพิ่มเติมจะไม่ส่งผลกระทบต่อเกตเวย์ที่คุณมีอยู่ หากคุณประสบปัญหาด้านการลงทะเบียนหรือการชำระเงินผ่านเกตเวย์ของสกุลเงินดิจิทัล คุณก็สามารถติดต่อช่องทางช่วยเหลือของเกตเวย์ของสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าวได้

ธุรกรรมในสกุลเงินดิจิทัลอาจทําให้เกิดการขายสินค้าเกินจำนวนในช่วงแฟลชเซลล์เนื่องจากการชำระเงินในสกุลเงินดิจิทัลใช้เวลานานกว่า โปรดใช้วิธีการชำระเงินโดยตรง เช่น Shopify Payments เพื่อประสิทธิภาพการขายสูงสุดในช่วงแฟลชเซลล์

จะไม่มีการคืนเงินสำหรับการชำระเงินในสกุลเงินดิจิทัลผ่าน Shopify โดยอัตโนมัติ คุณจะต้องดำเนินการคืนเงินด้วยตนเองผ่านช่องทางการชำระเงินของคุณ

ข่าวเทคโนโลยีในต้นปีนี้ คงไม่มีอะไรที่เด่นเกินเรื่องของเงินสกุลดิจิทัล ซึ่งมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก ว่าเงินสกุลดิจิทัลคืออะไร มีเงินสกุลดิจิทัลอะไรบ้าง เงินเหล่านี้น่าเชื่อถือหรือไม่ โลกมีการกำกับดูแลเงินสกุลดิจิทัลหรือไม่อย่างไร และประเทศไทยมีทิศทางอย่างไรต่อเรื่องเงินสกุลดิจิทัล วันนี้เราจึงมาทำความรู้จักกับเงินสกุลดิจิทัลกัน

เงินสกุลดิจิทัลคืออะไร

ในปัจจุบันยังเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากสาธารณชนโดยส่วนใหญ่เกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัล ทั้งนี้หากจะอธิบายโดยย่อ ระบบเงินสกุลดิจิทัลเริ่มต้นจากการพัฒนาระบบการโอนเงินที่สาธารณะร่วมกันทำงาน โดยไม่ต้องใช้สถาบันการเงินหรือหน่วยงานใดเป็นตัวกลางในการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลการโอนเงิน หากแต่ทุกคนสามารถอาสามีส่วนร่วมโดยการนำคอมพิวเตอร์ของตนเองมาร่วมทำงานในระบบนี้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเมื่อต้นทางสั่งโอนเงินไปยังปลายทาง คอมพิวเตอร์ของทุกคนในระบบจะเห็นคำสั่งดังกล่าว และช่วยกันตรวจสอบว่าการสั่งโอนดังกล่าวมาจากต้นทางที่แท้จริงหรือไม่ และต้นทางมีเงินเพียงพอหรือไม่ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบจะให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายแข่งกันคำนวณเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และเครื่องใดทำได้ก่อนจะได้รางวัลเป็นเหรียญในสกุลเงินดิจิทัล และข้อมูลที่ตรวจสอบเสร็จแล้ว จะถูกนำไปเก็บไว้ในรายการประวัติธุรกรรมที่เป็นบล็อกเชน (Block Chain) ซึ่งเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บแบบเรียงลำดับต่อไปเรื่อยๆ ตามลำดับของการเกิดขึ้นของธุรกรรม และข้อมูลประวัติธุรกรรมนี้จะถูกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อาสามาร่วมในเครือข่ายสกุลเงินนี้

จากหลักการเบื้องต้นนี้ จะเห็นได้ว่าระบบเงินสกุลดิจิทัล ใช้พื้นฐานของการจัดเก็บประวัติธุรกรรมแบบบล็อกเชน (Block Chain) ซึ่งระบบจัดเก็บนี้ เมื่อนำข้อมูลมาเรียงต่อกันตามลำดับธุรกรรมแล้ว จะทำให้เกิดการแก้ไขประวัติย้อนหลังได้ยากมาก เพราะนอกจากต้องแก้ไขข้อมูลในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เก็บข้อมูลให้ตรงกันแล้ว การจะแก้ไขตัวเลขที่เป็นดัชนีในการชี้ลำดับข้อมูลที่เก็บไว้ให้เป็นตัวเลขชุดใหม่ก็ทำได้ยากมากในทางคณิตศาสตร์เช่นกัน ซึ่งในกรณีของบิทคอยน์ ได้เป็นตัวอย่างแรกๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการนำการจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อกเชน (Block Chain) มาประยุกต์ใช้ในวงกว้าง

นอกจากนี้ระบบเงินสกุลดิจิทัลยังให้รางวัลกับผู้เข้าร่วมการตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม เป็นเหรียญของสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งกระบวนการนี้เป็นสิ่งที่เรียกว่าการขุดเหมือง (mining) ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้มีผู้มาร่วมเชื่อมต่อกับเครือข่ายและนำทรัพยากรทั้งการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ การใช้กระแสไฟฟ้า และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายในการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลธุรกรรม ดังนั้นมูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลในมุมหนึ่งจึงขึ้นกับต้นทุนของทรัพยากรที่จะนำมาร่วมใช้ในการทำงานให้กับเครือข่ายด้วยเช่นกัน

สำหรับที่มาของเงินสกุลดิจิทัลที่เพิ่งจะมาเป็นประเด็นร้อนในช่วงปีที่ผ่านมานั้น สามารถย้อนกลับไปได้เป็นสิบปี โดยในช่วงปี ค.ศ. 1998-2009 ก็เริ่มมีแนวคิดและความพยายามที่จะสร้างเงินสกุลดิจิทัลที่ทำให้ปลอดภัยได้ด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัส ตัวอย่างเช่น B-Money และ Bit Gold อย่างไรก็ตามเงินสกุลดิจิทัลนี้ ถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี ค.ศ.2008 ถึงต้นปี ค.ศ. 2009 โดยโปรแกรมเมอร์อัจฉริยะ (หรือกลุ่มโปรแกรมเมอร์) ที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto โพสต์บทความชื่อ Bitcoin – A Peer to Peer Electronic Cash System ไปในกลุ่มเมล์ด้านเทคโนโลยีการเข้ารหัส และชักชวนให้บุคคลทั่วไปนำโปรแกรมภาษา C++ ที่เขาพัฒนาขึ้นไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพื่อร่วมในเครือข่ายของการตรวจสอบและเก็บข้อมูลธุรกรรม โดยผู้เข้าร่วมจะได้เหรียญในสกุลเงินบิตคอยน์เป็นค่าตอบแทน ซึ่งในปีแรกๆ ของการเกิดบิตคอยน์ก็ยังไม่มีใครให้ความสนใจและไม่สามารถกำหนดราคาของเงินสกุลดิจิทัลนี้ได้ และมีเรื่องร่ำลือกันว่าในปี 2010 มีคนขายบิตคอยน์ของตัวเองเป็นครั้งแรก โดยแลก 10,000 เหรียญบิตคอยน์กับพิซซ่า 2 ถาด คำนวณได้คร่าวๆ ว่า 10,000 เหรียญบิตคอยน์ในวันนั้น จะคิดเป็นมูลค่าเงินดอลล่าร์ในวันนี้มากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ

เงินสกุลดิจิทัลมีอะไรบ้าง

ในช่วงเริ่มต้น คนส่วนใหญ่ใช้คำว่าบิตคอยน์กับคำว่าเงินสกุลดิจิทัลเสมือนเป็นคำเดียวกัน แต่ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมาก็มีการสร้างเงินสกุลดิจิทัลด้วยอัลกอริทึ่มอื่นขึ้นมาอีกมากมาย โดยหากเรียงตามมูลค่าตามราคาตลาด (Market Cap คำนวณจากจำนวนเหรียญคูณด้วยอัตราซื้อขาย) เงินสกุลดิจิทัล 5 อันดับแรกของวันนี้มีตัวอย่างได้แก่ Bitcoin, Ethereum, Ripple, Bitcoin Cash, และ Litecoin แต่ในความเป็นจริงแล้วเงินสกุลดิจิทัลที่มีการสร้างขึ้นมานั้นมีสูงถึงกว่า 1,500 สกุล ซึ่งแต่ละสกุลเงินที่ถูกสร้างขึ้นมีระดับความนิยมและความน่าเชื่อถือแตกต่างกันไป

วิธีการทำงานของสกุลเงินดิจิทัล

ที่มา: https://coinmarketcap.com/

โดยจะเห็นว่าบิตคอยน์นั้นยังคงเป็นเงินสกุลดิจิทัลที่แพงที่สุดและเป็นที่นิยมที่สุดมีมูลค่าตามราคาตลาดสูงถึงกว่า 1 แสน 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามมาด้วยอีเธอเรียม (Ethereum) ซึ่งถูกพัฒนาโดย Vitalik Buterin ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ผู้เชี่ยวชาญบิตคอยน์ในยุคเริ่มต้น และได้มองเห็นถึงข้อจำกัดหลายประการของระบบสกุลเงินบิตคอยน์ จึงได้พัฒนาสกุลเงินใหม่ขึ้นมา และได้เพิ่มเติมคุณสมบัติในหลายด้าน รวมถึงความสามารถในการรองรับ Smart Contract ซึ่งเป็นชุดโปรแกรมที่ Vitalik Buterin พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยการเก็บสัญญาไว้บนการจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อกเชน (Block Chain) ซึ่งทำให้ยากต่อการแอบแก้ไขสัญญา และเมื่อเกิดการทำธุรกรรม จะใช้สกุลเงินอีเธอเรียม (Ethereum) เป็นสื่อกลาง โดยอีเธอเรียม (Ethereum) ได้รับความคาดหวังว่าจะได้รับความนิยมที่แพร่หลายมากกว่าบิตคอยน์ เพราะ Smart Contract สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด และทำให้เกิดนวัตกรรมของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างหลากหลาย

เงินสกุลดิจิทัลมีความน่าเชื่อถือหรือไม่

ปัจจุบัน เงินสกุลดิจิทัลเป็นเงินที่ยังไม่ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ รวมถึงไม่มีการใช้สินทรัพย์เช่น ทองคำ หรือตราสารมาค้ำประกัน ดังเช่นการพิมพ์ธนบัตรของสกุลเงินประเทศต่างๆ โดยที่ราคาหรือมูลค่าของเงินสกุลดิจิทัลนั้นจะขึ้นลงตามอุปสงค์และอุปทาน ถือเป็นกลไกตลาดอย่างแท้จริง ผู้สนใจเงินสกุลดิจิทัลนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่การทดลองเล่นกับนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงินด้วยความอยากรู้อยากเห็น การขุดเหมือง (ร่วมผลิตเงินสกุลดิจิทัล) เพื่อหวังผลตอบแทน การใช้เงินสกุลดิจิทัลเป็นทางเลือกในการเก็บเงิน การลงทุนระยะสั้นและระยะยาวเพื่อหวังกำไร หรือแม้แต่การลงทุนกับกลุ่มสตาร์ทอัพที่ระดมทุนแบบ Initial Coin Offering (ICO)

โดยที่ตลาดเงินสกุลดิจิทัลเป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูงมาก ซึ่งตลาดเงินสกุลดิจิทัลนั้นมีเงินลงทุนไหลเข้ามามาก ทำให้ราคาเกิดความผันผวน และตลาดมีความอ่อนไหวสูง ยกตัวอย่างเช่น ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ราคาของบิตคอยน์เกิดการตกลงอย่างรุนแรงถึง 12 ครั้ง และนับตั้งแต่เกิดการพัฒนาเงินสกุลดิจิทัล นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลและนักการเงินที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น Paul Krugman, Joseph Stiglitz, Robert Shiller, Warren Buffett รวมถึงสถาบันการเงินขนาดใหญ่ เช่น JP Morgan ได้มองว่าระบบเงินสกุลดิจิทัลจะไม่มีความยั่งยืน เพราะไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยมีสินทรัพย์ที่มีค่ารองรับมูลค่าของสกุลเงิน และยังมองว่าปริมาณเงินที่สร้างขึ้นก็อาจไม่สามารถควบคุมให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริงได้

วิธีการทำงานของสกุลเงินดิจิทัล

ที่มา: https://howmuch.net/articles/bitcoin-all-major-crashes

นอกจากนี้ ในธุรกิจเงินสกุลดิจิทัล มีการโจมตี ขโมย กลโกง หรือการหลอกลวงเกิดขึ้นเป็นระยะ ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2014 บริษัท Mt.Gox อันเป็นศูนย์ให้บริการรับแลกเปลี่ยนบิตคอยน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนั้น ได้หยุดการซื้อขายและพบว่า บิตคอยน์ของลูกค้าและบริษัทได้หายไปถึง 850,000 เหรียญ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันถึงกว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหลังจากนั้นบริษัทก็ได้ประกาศล้มละลายไป และคดีนี้ยังอยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวน หรือในปี ค.ศ. 2018 เกิดการเจาะระบบของ Coincheck ซึ่งเป็นศูนย์ให้บริการรับแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลในญี่ปุ่น ทำให้เงินสกุล NEM coins หายไปจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจเงินสกุลดิจิทัลนี้ยังปรากฏนักหลอกลวงต้มตุ๋นเกิดขึ้นมากมาย เช่น การเปิดเงินสกุลดิจิทัลขึ้นใหม่และมาหลอกระดมทุนในลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่ เป็นต้น

โลกมีการกำกับดูแลเงินสกุลดิจิทัลหรือไม่อย่างไร

ในขณะที่เงินสกุลดิจิทัลมีอัตราการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบรุนแรง (disrupt) กับธุรกิจการเงินทั่วโลก ประเทศต่างๆ มีการออกนโยบายหรือมาตรการการกำกับที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ค่อนข้างเปิดกว้างยอมรับเงินสกุลดิจิทัล ค่อนข้างระมัดระวังหรืออยู่ระหว่างการออกกฎกติกาการกำกับดูแล ไปจนถึงปิดกั้นการมาถึงของเงินสกุลดิจิทัล โดยมีตัวอย่างที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

สวิสเซอร์แลนด์ มีท่าทีเปิดกว้างต่อเงินสกุลดิจิทัล โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนสมาคมเอกชนในชื่อ The Crypto Valley Association ที่ดำเนินการอยู่ในประเทศ และสวิสเซอร์แลนด์ดึงดูดสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนจากนอกประเทศเข้าไปทำธุรกิจ โดยรัฐบาลได้สั่งปิดบริษัทที่เข้าข่ายหลอกลวง และกำลังอยู่ระหว่างการออกแนวทางการกำกับดูแลเงินสกุลดิจิทัล โดยมีแนวโน้มที่จะเป็นการกำกับดูแลในทางส่งเสริม

สหรัฐอเมริกา มีท่าทีเปิดกว้างต่อเงินสกุลดิจิทัล โดยถือว่าเงินสกุลดิจิทัล เป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือหลักทรัพย์ แล้วแต่กฎหมายของแต่ละรัฐ ที่ต้องมีการเสียภาษี ส่วนกรณีของ ICO นั้น US Securities and Exchange Commission อันเป็นคณะกรรมการกำกับดูแลตลาดทุนของสหรัฐฯ พิจารณาให้เทียบเท่ากับการเสนอขายหุ้นใหม่ให้ประชาขน หรือที่เรียกว่า Initial Public Offering (IPO) นอกจากนี้ ในด้านการกำกับดูแล รัฐบาลมีการปิดบริษัทที่เข้าข่ายหลอกลวงไปแล้ว และอยู่ในระหว่างการหาแนวทางกำกับดูแลเงินสกุลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยในเบื้องต้นมีแนวคิดว่าเงินสกุลดิจิทัลจะต้องได้รับการกำกับดูแลแบบเดียวกับเงินปกติ

ญี่ปุ่น เป็นผู้นำของโลกประเทศหนึ่งในเรื่องเงินสกุลดิจิทัล เงินสกุลดิจิทัลในญี่ปุ่นนั้นใช้ได้อย่างถูกกฎหมาย ตั้งแต่ 1 เมษายน ค.ศ. 2018 อย่างไรก็ตามนิติบุคคลต้องขอใบอนุญาต มีเงินสำรอง และถูกตรวจสอบ รวมถึงรายได้จากเงินสกุลดิจิทัลถือเป็นรายได้ของธุรกิจที่จะต้องเสียภาษี นอกจากนี้ Financial Service Agency อันเป็นองค์กรกำกับดูแลด้านการเงินของญี่ปุ่นมีการแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยงของการลงทุนในรูปแบบ ICO

จีน เป็นประเทศที่มีความย้อนแย้งในตัวเองสูง ในขณะที่ประเทศจีนมีนักลงทุนในเงินสกุลดิจิทัล และมีการซื้อขายเงินสกุลดิจิทัลมากที่สุดในโลกอีกประเทศหนึ่ง (มูลค่าซื้อขายประมาณ 50% ของโลกในปี ค.ศ. 2017) รัฐบาลจีนเองเพิ่งจะประกาศห้ามธุรกิจ ICO ห้ามการขุดเหมืองบิตคอยน์ และส่งสัญญาณลบมากต่อการแลกเปลี่ยนซื้อขายเงินสกุลดิจิทัลภายในประเทศ ทำให้เมื่อปลายปี ค.ศ. 2017 มูลค่าบิตคอยน์ตกลงรุนแรงรวดเดียวถึง 20% อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่ารัฐบาลจีนอาจจะใช้มาตรการนี้ชั่วคราวก่อนจะมีการออกแนวทางการกำกับดูแลเงินสกุลดิจิทัลที่ใช้จริง โดยก่อนหน้านี้ จีนมีแนวคิดในการสร้างเงินสกุลดิจิทัลของตัวเองที่เรียกว่า RMBCoin ด้วย

เวเนซูเอลา เป็นประเทศที่มีความพิเศษในตัวเอง ด้วยเวเนซูเอลาเป็นประเทศที่โดนคว่ำบาตรในโลกนำโดยสหรัฐฯ ทำให้เงินโบลิวาร์ของเวเนซูเอลาเองไม่มีค่าน่าเชื่อถือนัก รัฐบาลจึงพยายามหาวิธีใหม่เพื่อแก้ไขการโดนคว่ำบาตรด้วยการประกาศเงินสกุลดิจิทัลของตนเอง ที่มีการหนุนค่าด้วยน้ำมัน หรือที่เรียกกันว่า “the Petro” ซึ่งทำให้เวเนซูเอลาเป็นโมเดลที่น่าสนใจอย่างมากอีกโมเดลหนึ่งในเรื่องของการกำกับดูแลเงินสกุลดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพิ่งออกประกาศห้ามบริษัทและประชาชนของสหรัฐฯ ซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลของเวเนซูเอลานี้

วิธีการทำงานของสกุลเงินดิจิทัล

ประเทศไทยมีทิศทางอย่างไรต่อเรื่องเงินสกุลดิจิทัล

สำหรับประเทศไทยเอง ความสนใจเรื่องเงินสกุลดิจิทัลเริ่มต้นจากผู้สนใจทางด้านเทคโนโลยี แต่ต่อมาก็เริ่มเป็นที่สนใจจากสาธารณชนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้หน่วยงานราชการทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังได้ติดตามอย่างใกล้ชิด รวมถึงได้เริ่มศึกษาการประยุกต์และการปรับแก้ข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยได้เวียนจดหมายถึงสถาบันการเงินทุกแห่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 ขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินไม่ให้ทำธุรกรรม หรือมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปลงทุนซื้อขายเงินสกุลดิจิทัล การให้บริการรับแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัล การสร้างแพลตฟอร์มให้ลูกค้าเข้าไปทำธุรกรรมเกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัล การให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อเงินสกุลดิจิทัล หรือการให้คำปรึกษากับลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศในงาน Bangkok Fintech Fair 2018 ว่ามีแผนจะนำร่องทดสอบเงินเหรียญ คริปโตบาท ในชื่อ “อินทนนท์” โดยจะทำงานร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 5 แห่ง โดยเงินสกุลดิจิทัลที่ประกาศนี้จะใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเหมือนเงินสกุลดิจิทัลอื่นๆ และจะนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนและประสิทธิภาพในการชำระราคาระหว่างธนาคารพาณิชย์ด้วยกันเอง แต่จะไม่ได้นำมาใช้กับประชาชนทั่วไป

สำหรับกระทรวงการคลัง ได้มีการติดตามและมีการผลักดันประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องของไทย โดยมติของคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561 ได้เห็นชอบหลักการตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ในการแก้ไขกฎหมายประมวลรัษฎากร โดยการปรับเพิ่มประเด็นนิยามของทรัพย์สินดิจิทัลในทางกฎหมาย และกำหนดนิยามของทั้งคริปโทเคอร์เรนซีและ โทเคนดิจิทัล นอกจากนี้ยังกำหนดแนวทางอัตราการจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินดิจิทัล ในอัตราร้อยละ 15

นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ก.ล.ต.) ได้มีการติดตามกรณีของการระดมทุนผ่าน ICO อย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะ โดยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ก.ล.ต. ได้เปิดเผยว่าได้มีแนวทางที่จะกำหนดให้ผู้ลงทุนรายย่อยสามารถลงทุนได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อ ICO หนึ่งโครงการ หรือไม่เกิน 3 ล้านบาทในการลงทุน ICO ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีแนวทางที่จะกำหนดให้บริษัทที่แจกจ่าย โทเคนดิจิทัล จะสามารถระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยได้สูงสุด 20 ล้านบาทต่อ 1 โครงการ และการระดมทุน ICO ทั้งหมดต้องไม่เกิน 40 ล้านบาท และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ได้มีการระดมทุน ICO เป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดย JFin Coin ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท JayMart ได้ระดมทุนโดยการขาย 100 ล้านโทเคนดิจิทัล ณ ราคา 6.60 บาทต่อโทเคน โดยสามารถขายได้หมดภายใน 55 ชั่วโมง และทำให้สามารถระดมเงินได้ราว 660 ล้านบาท และล่าสุด ในเดือนมิถุนายน 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติเห็นชอบ แนวทางการกำกับดูแลการระดมทุนแบบ ICO และ การประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขาย นายหน้า และ ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งจะทำให้เงินสกุลดิจิทัล 7 สกุล (Bitcoin, Bitcoin cash, Ethereum, Ethereum Classic, Litecoin, Ripple, และ Stellar ที่มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง) สามารถใช้เป็นฐานในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ (Base trading pair) และ ลงทุนในไอซีโอ ได้ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งนับว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจมาก

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าในกรณีของประเทศไทย หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ให้ความสนใจ และมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในภูมิภาคในการวางรากฐานการใช้ประโยชน์และการควบคุมเงินสกุลดิจิทัล รวมถึงทรัพย์สินดิจิทัลและการระดมทุนผ่าน ICO ซึ่งจะต้องมีการส่งเสริมการเผยแพร่ทั้งความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัลและการพัฒนาเทคโนโลยีรวมถึงบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์และลดโอกาสที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจต่อไป

วิธีการทำงานของสกุลเงินดิจิทัล คืออะไร

Cryptocurrency มีหลักการทำงานอย่างไร? Cryptocurrency ทำงานอยู่บนเทคโนโลยีที่ชื่อว่า “บล็อกเชน” (Blockchain) เป็นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการเข้ารหัสคอมพิวเตอร์ โดยจะบันทึกข้อมูลลงในกล่อง (Block) และนำมาต่อกันเรื่อย ๆ เหมือนสายโซ่ (Chain) ซึ่งจะไม่สามารถย้อนกลับได้ ทำให้ยากต่อการปลอมแปลง แก้ไข หรือทำลายข้อมูล

1คริปโตเท่ากับกี่บาท

1 USDT เท่ากับ ฿38.04.

บุคคลที่สร้างคริปโทเคอร์เรนซีบิสคอยน์คือข้อใด

เหตุผลที่ Satoshi Nakamoto สร้างบิตคอยน์ขึ้นมา เหตุการณ์นี้ทำให้หลายคนเห็นถึงความเปราะบางทางการเงิน จึงเรียกร้องให้เกิดการกระจายอำนาจทางการเงิน อันนำมาสู่การเกิดสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับคนที่อยากทำธุรกรรมทางการเงินแบบกระจายศูนย์

สกุลเงินดิจิทัลสำคัญอย่างไร

สกุลเงินดิจิทัลทำให้สามารถโอนมูลค่าทางออนไลน์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคนกลางเช่น ธนาคาร หรือตัวดำเนินการชำระเงิน ช่วยให้โอนมูลค่าไปทั่วโลกได้ในแทบจะทันที ตลอด 24 ชั่วโมง และมีค่าธรรมเนียมต่ำ