คำ ศัพท์ทาง ทัศน ศิลป์ มีความ สำคัญ ใน การนำ เสนอ ผลงานศิลปะ อย่างไร

คำ ศัพท์ทาง ทัศน ศิลป์ มีความ สำคัญ ใน การนำ เสนอ ผลงานศิลปะ อย่างไร

วิชาศิลปะพื้นฐาน มัธยมศึกษาปีที่ 5 ประจักษ์ โรจนสุวรรณ

เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 2 ปี ที่แล้ว

วิชาศิลปะพื้นฐาน ศ.32102 มัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้สอนนายประจักษ์ โรจน์สุวรรณ

สาระที่ 1 ทัศนศิลป์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

  1. ตัวชี้วัดช่วงชั้น บรรยายจุดประสงค์และเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ โดยใช้ศัพท์ทางทัศนศิลป์

  2. สาระสำคัญ ศัพท์ทางทัศนศิลป์ แบ่งออกเป็นศัพท์ทางทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์ และศัพท์ทางทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของงานทัศนศิลป์

  3. จุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียน (ผลลัพธ์ปลายทาง) – บรรยายศัพท์ทางทัศนศิลป์ได้ จุดประสงค์การเรียนรู้ย่อย (นำทาง) 1. มีความรู้ความเข้าใจศัพท์ทางทัศนศิลป์ 2. บอกและเห็นความสำคัญของศัพท์ทางทัศนศิลป์ 3. บรรยายและจำแนกศัพท์ทางทัศนศิลป์ได้

  4. สาระการเรียนรู้ – ศัพท์ทางทัศนศิลป์

  5. แนวทางบูรณาการ โดยพิจารณาเกี่ยวกับความสอดคล้องและความเหมาะสม เช่น การเชื่อมโยงกับวิชาต่าง ๆ ดังนี้ ภาษาไทย เกี่ยวกับการอ่าน การเขียน การอธิบาย การสรุป การบันทึกข้อมูล และการบรรยาย คณิตศาสตร์ เกี่ยวกับการจำแนกศัพท์ทางทัศนศิลป์ วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการสังเกตผลงานทัศนศิลป์ สังคมศึกษาฯ เกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม การงานอาชีพฯ เกี่ยวกับการจัดเตรียมและดูแลรักษาวัสดุ อุปกรณ์ ภาษาต่างประเทศ เกี่ยวกับการอ่าน การเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษทางทัศนศิลป์

  6. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

  7. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้

  8. ครูสุ่มสอบถามนักเรียนถึงศัพท์ทางทัศนศิลป์ที่นักเรียนรู้จักว่ามีอะไรบ้าง

  9. ครูสนทนากับนักเรียนเพื่อเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับศัพท์ทางทัศนศิลป์ที่อยู่รอบตัวเรา เช่น คำว่า ธรรมชาติ (natural) ทิวทัศน์ (View) อารมณ์ (Emotion) เป็นต้น ขั้นที่ 2 ขั้นสอน

  10. ครูยกตัวอย่างศัพท์ทางทัศนศิลป์ให้นักเรียนฟัง พร้อมทั้งอธิบายความหมายและบอกถึงความสำคัญของศัพท์แต่ละคำ และชี้แนะแนวทางในการนำไปใช้ในการบรรยายผลงานทัศนศิลป์ของตนเอง

  11. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5–6 คน ร่วมกันศึกษาค้นคว้าศัพท์ทางทัศนศิลป์ บรรยายความหมายของคำศัพท์นั้น ๆ พร้อมกับยกตัวอย่างผลงานทัศนศิลป์ จดบันทึกคำศัพท์ลงในแบบจดบันทึกและวาดภาพประกอบ ตามหัวข้อดังนี้

  1. จุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์
  2. เนื้อหาของงานทัศนศิลป์ 3. แต่ละกลุ่มออกมาบรรยายผลการศึกษาค้นคว้าศัพท์ทางทัศนศิลป์ ตามหัวข้อจุดประสงค์และเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ โดยครูคอยอธิบายเสริมถึงความหมายของคำศัพท์นั้น ๆ ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
  1. ครูและนักเรียนร่วมกันบรรยายสรุปเรื่อง ศัพท์ทางทัศนศิลป์ โดยครูคอยให้ความรู้เสริมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือสรุปไม่ตรงกับเนื้อหา

  2. ครูและนักเรียนร่วมกันจำแนกคำศัพท์ที่ใช้ในการบรรยายให้นักเรียนจดบันทึก เพื่อนำไปใช้ในการบรรยายเกี่ยวกับศัพท์ทางทัศนศิลป์ต่อไป ขั้นที่ 4 ฝึกฝนนักเรียน

  3. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ศึกษาศัพท์ทางทัศนศิลป์ จัดทำเป็นรายงาน แล้วนำมาเล่าให้ครูและเพื่อน ๆ ฟัง โดยครูสนทนาซักถามเสริมเกี่ยวกับความสำคัญและคุณค่าของศัพท์ทางทัศนศิลป์ว่ามีความสำคัญอย่างไรบ้าง

  4. นักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคำศัพท์ทางทัศนศิลป์และแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน ๆ ขั้นที่ 5 การนำไปใช้

  5. นักเรียนนำความรู้เรื่อง ศัพท์ทางทัศนศิลป์ มาใช้กับวิชาทัศนศิลป์ในการอธิบายเนื้อหาต่าง ๆ

  6. ฝึกเรียนรู้คำศัพท์ประเภทต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ แล้วนำไปใช้สนทนาในชีวิตประจำวัน

  7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

    1. ห้องสมุด
    2. อินเทอร์เน็ต
    3. ตัวอย่างภาพผลงานทัศนศิลป์
    4. วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์
    5. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ทัศนศิลป์ ชั้น ม. 5 บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
    6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน ทัศนศิลป์ ชั้น ม. 5 บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
  8. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ จุดประสงค์/พฤติกรรมการเรียนรู้ น้ำหนักผลการเรียนรู้ วิธีการวัดที่หลากหลาย เครื่องมือการวัด

  9. มีความรู้ความเข้าใจศัพท์ทางทัศนศิลป์

1.1 สังเกตจากการถามและการแสดงความคิดเห็น 1.2 จากการตรวจการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ประจำหน่วย 1.3 จากการตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน – แบบทดสอบก่อนเรียน – แบบทดสอบด้านความรู้ – แบบบันทึกและการจดบันทึกและวาดภาพประกอบ – แบบประเมินผลเรื่องการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ – แบบประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม – แบบประเมินผลด้านทักษะ/กระบวนการ

  1. บอกและเห็นความสำคัญของศัพท์ทางทัศนศิลป์ 2.1. สังเกตจากความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติกิจกรรม 2.2. สังเกตจากความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 2.3. ประเมินพฤติกรรมตามแบบการประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม

  2. บรรยายและจำแนกศัพท์ทางทัศนศิลป์ได้ 3.1. สังเกตจากการใช้วัสดุ อุปกรณ์อย่างถูกต้องและประหยัด 3.2. จากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติกิจกรรม 3.3. สังเกตจากความตั้งใจและผลการปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน 3.4. สังเกตจากการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 3.5. ประเมินการปฏิบัติงานจากแบบบันทึกการจดบันทึกและวาดภาพประกอบ

  3. ประเมินพฤติกรรมตามแบบการประเมินผลด้านทักษะ/กระบวนการ

  4. ประเมินพฤติกรรมจากแบบประเมินผลเรื่อง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

  5. กิจกรรมเสนอแนะ

    1. กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่องศัพท์ทางทัศนศิลป์ จัดทำเป็นรายงาน แล้วนำเสนอให้ครูและเพื่อน ๆ ฟัง โดยครูสนทนาซักถามเสริมเกี่ยวกับศัพท์ทางทัศนศิลป์ที่นำมาใช้ในการบรรยาย ครูอาจจะยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย
    2. กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
    1. ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ตามความสนใจ แล้วบรรยายจุดประสงค์และเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ของตนเองให้ครูและเพื่อน ๆ ฟังโดยใช้ศัพท์ทางทัศนศิลป์
    2. ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่องศัพท์ทางทัศนศิลป์ ทั้งศัพท์ที่เกี่ยวกับจุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์และเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ บันทึกเก็บไว้จัดทำเป็นเล่มและตกแต่งให้สวยงาม เพื่อใช้สมุดศัพท์ทางทัศนศิลป์ของตนเอง
  6. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้

    1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้…………………………………………………………….. แนวทางการพัฒนา……………………………………………………………………………..
    2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้……………………………………………………….. แนวทางการแก้ไข……………………………………………………………………………….
  7. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน…………………………………………………………………….. เหตุผล……………………………………………………………………………………………. 4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้………………………………………………………….

ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)

สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2565)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)