อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2565

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2565

ตลาดส่งออกอัญมณีไทย 4 เดือนแรกปี 65 โต 54.57% มูลค่า 8.3 หมื่นล้านบาท

GIT เผยตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย 4 เดือนแรก ปี 2565 (ม.ค.-เม.ย.) มูลค่า 83,016.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.57%

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ จีไอที (GIT) ได้รายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่า 2,531.62 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 41.22% คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 83,016.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.57%

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย 4 เดือนแรกปี 2565 (ม.ค.-เม.ย.) *ไม่นับรวมส่งออกทองคำที่ไม่ได้ขึ้นรูป
มูลค่า 83,016.88 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 54.57%

ทั้งหากนับรวมการส่งออกทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปด้วย จะมีมูลค่า 6,574.87 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 167.72% หรือคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 213,709.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 190.29%

นับเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ในหลาย ๆ ประเทศเริ่มคลี่คลาย ตลอดจนการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวส่งผลให้กำลังซื้อสินค้าไลฟ์สไตล์ ของฝาก อัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่มสูงขึ้น

ตลาดส่งออกสำคัญของอัญมณีและเครื่องประดับไทย
ประเทศ เพิ่มขึ้น
1. สวิตเซอร์แลนด์ 221.20%
2. อินเดีย 131.10%
3. อิตาลี 120.21%
4. สหราชอาณาจักร 84.15%
5. สหรัฐอเมริกา 38.21%
6. เบลเยียม 37.07%
7. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 27.22%
8. ญี่ปุ่น 13.33%
9. เยอรมนี 12.65%
10. ฮ่องกง 4.36%

ที่มา: จีไอที

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2565

อัญมณีและเครื่องประดับไทยที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญ
ประเภท เพิ่มขึ้น
1. พลอยเนื้อแข็งเจียระไน 72.49%
2. เพชรเจียระไน 68.11%
3. พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน 53.48%
4. เครื่องประดับทอง 43.12%
5. เครื่องประดับเทียม 32.01%
6. เครื่องประดับเงิน 14.24%

ที่มา: จีไอที

นอกจากนั้น หากนับเฉพาะทองคำ เพิ่ม 509.71% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากการส่งออกทองคำไปเก็งกำไร ในช่วงที่ราคาทองปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น หลังคนหันมาลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง

นายสินิตย์ เลิศไกร กล่าวว่า แม้สถานการณ์การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในรอบ 4 เดือน ปี 2565 ยังคงสดใสในหลายตลาด จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า และมีปัจจัยหนุนจากการเปิดประเทศ จนคาดว่าจะทำให้ภาคการท่องเที่ยวเริ่มมีเม็ดเงินกลับคืนมา แต่สถานการณ์ต่าง ๆ ยังคงมีความเสี่ยงหลายประการที่อาจส่งผลต่อ ตลาดส่งออกอัญมณีไทย

ผู้ประกอบการจึงต้องวางแผนทางธุรกิจในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละตลาด และใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี โดยเฉพาะ RCEP ซึ่งเป็นข้อตกลงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สามารถใช้สร้างแต้มต่อทางการค้าและขยายฐานลูกค้าในภูมิภาค เพื่อกระจายความเสี่ยงของตลาดได้

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2565
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2565