คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาขา

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์[1] [2] และปริญญาโทถึงปริญญาเอก นับเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ เป็นแห่งที่ 2 ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตบัณฑิต นักปฏิบัติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และมีสมรรถนะในการพัฒนาหลักสูตร และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีศักยภาพในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาขา
ชื่ออังกฤษFaculty Of Human Resource Development ,Ramkhamhaeng University
ที่อยู่อาคารสุโขทัย ชั้น 9 มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก บางกะปิ 10240
วันก่อตั้ง18 กันยายน พ.ศ.2552
คณบดีรองศาสตราจารย์ วิทยา จิตนุพงศ์
สีประจําคณะ██ สีเทา(gray)
เว็บไซต์
เฟซบุ๊กhttps://www.facebook.com/hrd.ru.th

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 2 ภาควิชา คือ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและ ทรัพยากรมนุษย์ และภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ซึ่งดำเนินการจัดการเรียนการสอน ทางด้านบริหารธุรกิจ ในรูปแบบหลักสูตรเสริมทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ตรงจากสถานประกอบการ ปัจจุบัน คณะมีความร่วมมือ กับกลุ่มสถานประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ในรูปแบบสหกิจศึกษา เพื่อมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาการบริหารจัดการชั้นสูง เทคโนโลยี การบริหารจัดการแนวใหม่ รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัยเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ

ภาควิชา

  • การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ 
  • การบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ

หลักสูตรปริญญาตรี

ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (BBR) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 1 สาขาวิชา ได้แก่

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรเสริมทักษะภาษาอังกฤษและสหกิจศึกษา) (BBR)

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรเทียบโอน สำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ทำงาน (BBRs)

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรเทียบโอน สำหรับผู้มีประสบการณ์ทำงาน (BBRx)
 

ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ (BMS) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 1 สาขาวิชา ได้แก่

สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ (หลักสูตรเสริมทักษะภาษาอังกฤษและสหกิจศึกษา) (BMS)
สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ (หลักสูตรเทียบโอน สำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ทำงาน) (BMSs)
สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ (หลักสูตรเทียบโอน สำหรับผู้มีประสบการณ์ทำงาน) (BMSx)
สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ (หลักสูตรเทียบโอน สำหรับผู้ที่ผ่านโครงการพัฒนาครูฝึกช่างเทคนิคขั้นสูงตามมาตรฐานเยอรมันหรือหลักสูตรฝึกอบรมนักเทคโนโลยีหรือนักปฏิบัติการขั้นสูงตามมาตรฐานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) (BMSm)
 

หลักสูตรปริญญาโท

ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (MBR) หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต 1 สาขาวิชา ได้แก่

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (แผน ก) (S-MBR)

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (แผน ข) (โครงการพัฒนาผู้บริหาร) (X-MBR)
 

หลักสูตรปริญญาเอก

ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (DBR) หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต 1 สาขาวิชา ได้แก่

สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ (โครงการพัฒนาผู้บริหาร) (X-DBR)
 

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร (ไทย) : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ชื่อหลักสูตร (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration Program in Human Resource Management

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรมนุษย์)
ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.บ. (การจัดการทรัพยากรมนุษย์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration
(Human Resource Management)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A. (Human Resource Management)

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต

ปรัชญาของหลักสูตร

บัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ ต้องเป็นผู้นำที่มีสมรรถนะในการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

สาระสำคัญของหลักสูตร

     หลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์แนวใหม่ และมุ่งเสริมสร้างให้นักศึกษาได้เรียนรู้บทบาทของสมรรถนะนักจัดการ และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญ สามารถยกระดับเพื่อเข้าสู่มาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์ได้

จุดเด่นของหลักสูตร

1. วิสัยทัศน์ “ พัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ
อุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Register : TQR) ”
2. เรียน 121 หน่วยกิต อย่างมีคุณภาพ
3. เรียนจบ มีโอกาสทำงานในฐานะผู้บริหารนิติบุคคล ตามนโยบายจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นเขตที่พักอาศัย ตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC

วัตถุประสงค์หลักสูตร

1. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (Worldwide Perspective) มีสมรรถนะ มีความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้ในระดับสากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำไปแก้ปัญหาในระดับองค์การและระดับสังคม
2. เป็นผู้เปิดใจรับ (Receptive Mind) มีความสามารถออกแบบแนวทางการปฏิบัติบนพื้นฐานความรู้ในมิติที่ซับซ้อนและบริบทที่มีความหลากหลาย
3. เป็นผู้นำอย่างยั่งยืน (Sustainable Leadership) มีความสามารถนำความรู้และทักษะระดับมืออาชีพ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรหรือสังคมด้วยการยึดหลักความถูกต้องทางวิชาชีพ
4. เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม (Ethics and Morality) มีความสามารถแสดงให้เห็นถึงการใช้ประเด็นหลักและหลักการทางจริยธรรมที่สำคัญในการดำเนินงานในวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์
5. เป็นผู้มีความเข้าใจในมนุษย์ (Human Intelligence) มีความสามารถใช้ทักษะสังคมและการสื่อสารในการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพด้านทรัพยากรมนุษย์
6. เป็นผู้มีทักษะการคิดแบบบูรณาการ (Ability to Think Integratively) มีความสามารถบูรณาการแนวปฏิบัติ แนวความคิด และทฤษฎีต่างๆ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การอย่างเป็นระบบ ให้สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การเพื่อสร้างประสิทธิภาพขององค์กร
7. เป็นผู้นำแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การประยุกต์ใช้ให้เป็นจริง (Enable HROD Concept) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างโอกาสในการเข้าสู่มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพทรัพยากรมนุษย์

แนวทางประกอบอาชีพ

1. นักวิชาการด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์
2. นักพัฒนาและฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์
3. พนักงานฝ่ายบุคคล
4. พนักงานบริหารทรัพยากรมนุษย์
5. พนักงานแรงงานสัมพันธ์
6. พนักงานสรรหาว่าจ้างและบริหารอัตรากำลัง
7. ผู้จัดการนิติบุคคล
8. ผู้ประกอบการ

อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์  (ฉบับปรับปรุง 2564)