คณะ วิจิตร ศิลป์ สาขาการ ถ่าย ภาพ

คณะ วิจิตร ศิลป์ สาขาการ ถ่าย ภาพ

คณะวิจิตรศิลป์

9 สาขาวิชา

1.ไทย : สาขาวิชาศิลปะไทย

อังกฤษ : Thai Art

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

ศึกษาแก่นแท้แห่งภูมิหลังความเป็นมาของตนเอง ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม อันเป็นพื้นฐานของการประกอบอาชีพด้านการจัดการศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ศิลปะ และการสร้างสรรค์ศิลปกรรมไทย รู้จักมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างรู้ที่มาที่ไปของศิลปวัฒนธรรมล้านนาประเทศไทยและใกล้เคียง เพื่อการประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง ส่งเสริมให้รู้จักนำความรู้ทั้งมวลมาสร้างสรรค์ใหม่ นำเสนอในรูปแบบใหม่ ตามรสนิยมแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญแสดงให้เห็นถึง ความคิด ไหวพริบ ปฎิภาณของนักศึกษา ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่างสถานการณ์ ตอบสนองความต้องการของสังคมปัจจุบันได้อย่างมีคุณค่าและถูกครรลอง และดำเนินชีวิตในสังคมระดับสากลได้อย่างสมภาคภูมิ

แนวทางในการประกอบอาชีพ

1.ครู-อาจารย์ ที่สอนด้านศิลปะและวัฒนธรรม

2.นักวิจัย-นักวิชาการ ที่ผลิตผลงานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและด้านศิลปวัฒนธรรมไทยและล้านนา

  1. ภัณฑารักษ์ และนักบริหารจัดการงานด้านศิลปวัฒธรรม

4.ศิลปินและนักออกแบบ ที่สร้างผลงานเน้นอัตลักษณ์ไทย

5.พนักงานฝ่ายศิลป์ในบริษัทเอกชน ที่มีการใช้องค์ความรู้ หรือข้อมูลงานศิลปะไทย ในการผลิตผลงานแขนงต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ การออกแบบตกแต่ง สถาปัตยกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ แฟชั่น สิ่งพิมพ์ งานโฆษณาและการสื่อสาร เป็นต้น

6.ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีการนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ด้านศิลปะวัฒนธรรมมาใช้ในการผลิตผลงานหรืองานบริการ

2.ไทย : สาขาวิชาการออกแบบ

อังกฤษ : Design

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4

รายละเอียดสาขาวิชา

ศึกษาเพื่อเป็นนักออกแบบที่สังคมและตลาดต้องการในด้านต่างๆ เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบแฟชั่น ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ออกแบบสิ่งทอ ออกแบบเครื่องประดับ ออกแบบเครื่องปั้นดินเผา ออกแบบกราฟฟิค ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น เรียนรู้งานด้านหัตถกรรมท้องถิ่นทางภาคเหนือในทุกแขนง และมีความคิดสร้างสรรค์ในการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์งานทั้งในรูปแบบของผลงาน 2 มิติและผลงาน 3 มิติ สามารถประยุกต์ใช้วัสดุในท้องถิ่นสำหรับการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยมีแนวความคิดของการออกแบบที่เน้นจากพื้นฐานขององค์ความรู้ทางด้านล้านนา และวัฒนธรรมในท้องถิ่น นวัตกรรมและงานออกแบบสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาผลงานสู่ตลาดสากล

แนวทางในการประกอบอาชีพ

1.นักออกแบบ(Designer)

2.นักออกแบบผลิตภัณฑ์(Product Designer): หัตถกรรม(Craft) หัตถอุตสาหกรรม (Industrial craft)อุตสาหกรรม(Industry)

3.นักออกแบบเครื่องแต่งกาย(Fashion Designer)

4.นักออกแบบเครื่องประดับ (Jewelry Designer)

5.นักออกแบบสิ่งทอ (Textile Designer)

6.นักออกแบบเครื่องเรือน (Furniture Designer)

7.นักออกแบบเครื่องปั้นดินเผา (Ceramic Designer)

8.นักออกแบบเลขศิลป์ (Graphic Designer)

9.นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Research and Product Developer)

10.เจ้าของกิจการ (Business Owner)

11.ผู้กำหนดแนวโน้มผลิตภัณฑ์(Trend Setter)

12.ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์(Product Producer)

3.ไทย : ศิลปะการดนตรีและการแสดง

อังกฤษ : Music and Performing Arts

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2557 ระยะเวลาในการศึกษา : 4

รายละเอียดสาขาวิชา

ศึกษาความรู้และการสร้างสรรค์ศิลปะการดนตรีและการแสดงเพื่อให้เกิดแนวคิดสำนึกเข้าใจในคุณค่าศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ รวมไปถึงงานศิลปะการดนตรี การแสดงของนานาประเทศเพื่อนบ้านแถมลุ่มแม่น้ำโขง และอาเซียนสามารถนำไปศึกษาต่อยอดด้านวิชาการต่อไปในอนาคต

แนวทางในการประกอบอาชีพ

  1. ศิลปินนักดนตรีและศิลปะการแสดงที่เข้าใจและมีความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อตอบสนองต่อธุรกิจดนตรีและการแสดงร่วมสมัยและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  2. นักวิชาการด้านวัฒนธรรมดนตรีและศิลปะการแสดง
  3. นักบริหารจัดการด้านศิลปะการดนตรีและการแสดง

4.ไทย : ศิลปะภาพพิมพ์

อังกฤษ : Printmaking

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4

รายละเอียดสาขาวิชา

ศึกษาและสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์ ซึ่งประกอบด้วยระเบียบวิธี ขั้นตอน การรวบรวมข้อมูลและกระบวนการทางเทคนิคที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างสอดคล้องต่อแรงบันดาลใจ จินตนาการที่มีอัตลักษณ์ ฝึกฝนให้บัณฑิตสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ มีกระบวนการจัดการความรู้ ความเข้าใจ สามารถผลิตผลงานศิลปกรรมได้อย่างมีคุณภาพระดับสากล ประสบการณ์การเรียนรู้และสร้างสรรค์ศิลปกรรมอย่างเข้มข้นทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มีโอกาสได้เข้าร่วมนิทรรศการผลงานศิลปะระดับสากล ร่วมกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันตามสาขาวิชาชีพ เน้นให้นักศึกษาเกิดทักษะความชำนาญอย่างแท้จริงควบคู่สติปัญญาความคิดสร้างสรรค์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางศิลปะภาพพิมพ์และทัศนศิลป์

แนวทางในการประกอบอาชีพ

– ครู-อาจารย์ ที่สอนด้านศิลปะและการออกแบบ

– นักวิจัย-นักวิชาการ ที่ผลิตผลงานด้านศิลปะ

– ศิลปินและนักออกแบบ ที่สร้างผลงานด้านศิลปะ

– อาชีพที่เนื่องด้วยศิลปะอื่นๆ อาทิ พนักงานฝ่ายศิลป์ในบริษัทเอกชนที่ผลิตผลงานด้านศิลปะ การออกแบบสินค้า-ผลิตภัณฑ์ สื่อสิ่งพิมพ์ งานโฆษณา-ภาพยนตร์ เป็นต้น

5.ไทย : สาขาวิชาจิตรกรรม

อังกฤษ : Painting

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 5

รายละเอียดสาขาวิชา

ศึกษางานด้านจิตรกรรม พัฒนาทักษะและความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะตามปัจเจกภาพ สามารถสร้างสรรค์ศิลปะอย่างมีอิสระ มีการบูรณาการ ผลงานสร้างสรรค์ที่สะท้อนความรู้เท่าทันต่อกระแสโลกในยุคปัจจุบัน โดยมีบริบทของวัฒนธรรมเป็นกรอบ มีทักษะและความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะมีความรู้ทางศิลปะที่ได้มาตรฐานสากล มีความสามารถนำความรู้ทางศิลปะมาใช้ประโยชน์ทางศิลปวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถนำความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม นำมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อรับใช้สังคม

แนวทางในการประกอบอาชีพ

– ศิลปิน

– ผู้สอนศิลปะ

– ผู้ประกอบการอิสระที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปะ

– พนักงานของรัฐหรือบริษัทเอกชนที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปะ

6.ไทย : สาขาวิชาประติมากรรม

อังกฤษ : Sculpture

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4

รายละเอียดสาขาวิชา

ศึกษาศิลปะเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นศิลปิน ที่มีความรู้คู่คุณธรรมสามารถสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมอย่างมีคุณค่าแห่งสุนทรียภาพ สะท้อนความรู้เท่าทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์และวัฒนธรรมร่วมสมัย สามารถนำความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมแถบอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง นำมาสร้างองค์ความรู้ใหม่และได้มาตรฐานความเป็นสากล ภายใต้บริบทแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีจิตสำสำนึกที่ดีต่อสังคมโดยรวม จึงเห็นสมควรให้มีหลักสูตรเพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านศิลปะให้มีคุณธรรม และจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมในการสร้างผลงานและเผยแพร่ความรู้ทางศิลปะ มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ที่ดีเพื่อนำคุณประโยชน์ทางศิลปะมาสู่สังคม ทั้งช่วยในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมให้ดำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคนี้สืบไป

แนวทางในการประกอบอาชีพ

– ศิลปิน

– ผู้สอนศิลปะ

– นักวิชาการทางด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

– ผู้ประกอบการอิสระที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปะ

– พนักงานของรัฐหรือบริษัทเอกชนที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปะ

7.ไทย : สหศาสตร์ศิลป์

อังกฤษ : Multidisciplinary Art

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2554 ระยะเวลาในการศึกษา : 4

รายละเอียดสาขาวิชา

ศึกษาการสร้างงานศิลปะจากความเป็นไปได้หลายแนวทาง มีพื้นฐานจากประเภทงานศิลปะที่มีอยู่เดิมทั้งในรูปผลงานศิลปะ 2 มิติ เช่น จิตรกรรมและภาพพิมพ์ กับผลงานศิลปะ 3 มิติ อย่างประติมากรรม สื่อผสม เป็นการทำงานศิลปะที่สามารถผสมผสานศิลปะแนวจารีตกับวิธีการและสื่อใหม่ (อุปกรณ์เสียง วัสดุสำเร็จรูป คอมพิวเตอร์ วีดีโอ) เปิดโอกาสให้การสร้างงานศิลปะเกิดจากวิธีการต่างๆเช่นสร้างงานศิลปะจาก ภาษา เสียง การแสดงจนถึงการทำงานศิลปะที่เกี่ยวกับพื้นที่ (installation art) งานศิลปะเกี่ยวกับเวลาและสื่อเทคโนโลยี (video art, lk-sound art) งานศิลปะที่ใช้ร่าง รูปกาย (performance art) และขยายพื้นที่ของศิลปะสู่วัฒนธรรมชุมชน (communal cultural art)

แนวทางในการประกอบอาชีพ

– ศิลปิน

– ผู้สอนศิลปะ

– นักวิจัยศิลปะร่วมสมัย

– อาชีพที่เนื่องด้วยศิลปะอื่นๆ

8.ไทย : ศิลปะการถ่ายภาพ

อังกฤษ : Photographic Art

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4

รายละเอียดสาขาวิชา

เน้นความสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว รวมถึงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทางสายตา หลักสูตรศิลปะการถ่ายภาพนี้เหมาะสำหรับนักศึกษาที่มีความสนใจทางด้านการถ่ายภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว จุดเด่นของหลักสูตรคือการเรียนการสอนที่มีความทันสมัย ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร และผู้เชี่ยวชาญที่ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับภาพถ่าย ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สอดรับกับธรรมชาติขององค์ความรู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เป้าหมายของหลักสูตร คือการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและสื่อสิ่งพิมพ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางในการประกอบอาชีพ

– ช่างภาพ

– นักตกแต่งภาพ

– กองบรรณาธิการ

– ภัณฑารักษ์

– สไตล์ลิสต์

– นักประวัติศาสตร์ศิลป์

– เจ้าของกิจการร้านถ่ายภาพ

9.ไทย : สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ

อังกฤษ : Media Arts and Design

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2553 ระยะเวลาในการศึกษา : 4

รายละเอียดสาขาวิชา

เน้นการศึกษาอย่างมีดุลยภาคระหว่างทฤษฎี การวิจัย และภาคปฏิบัติทางศิลปะ และ/หรือ การออกแบบในบริบทดิจิตอลเทคโนโลยี เนื้อหาของหลักสูตรเกี่ยวข้องกับ 5 กลุ่มวิชาใหม่ของโลก ประกอบด้วย สื่อศิลปะ การออกแบบสื่อใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศ วัฒนธรรมทางสายตา สื่อและวัฒนธรรมศึกษา ในปีสุดท้ายนักศึกษาสามารถเลือกพัฒนาตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อตอบสนองตลาดแรงงานใน 5 กลุ่มวิจัย คือ

(1) Media and Cultural Study ศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ของสื่อใหม่ ที่มีอิทธิพลปรับเปลี่ยนสังคมโลกาภิวัตรร่วมสมัยอย่างไร

(2) Media Arts ศึกษาวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานสื่อศิลปะที่สัมพันธ์กับโลกศิลปร่วมสมัย

(3) Media Design ศึกษาวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบสื่อในบริบทดิจิตอลเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับภาคเศรษฐกิจการเมือง เช่น Advertising, Marketing, Brand and Branding, Media Plan and Management

(4) 3D Animation ศึกษาวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานสื่อแอนนิเมชั่นในบริบทดิจิตอลเทคโนโลยี และสื่อเสมือนจริง (Virtual Reality)

(5) Cyber Space, Web site and Interactive Media ศึกษาวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานในบริบทสังคมสารสนเทศ

แนวทางในการประกอบอาชีพ

– นักออกแบบสมัยใหม่ที่สามารถบูรณาการการประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลร่วมสมัยตอบสนองตลาดแรงงานด้านภาพถ่าย การออกแบบสิ่งพิมพ์ วงการโทรทัศน์ วงการภาพยนตร์ อุตสาหกรรมการออกแบบ การออกแบบหัตถกรรม การออกแบบเกมส์เพื่ออุตสาหกรรมบันเทิง การออกแบบสื่อเชิงโต้ตอบทางการศึกษา การออกแบบ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

– ศิลปินสื่อศิลปะ สามารถสร้างสรรค์ศิลปะจากการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะการใช้สื่อดิจิทัล ร่วมสมัย

– นักวิจัยทางด้านวัฒนธรรมสื่อร่วมสมัย

– นักบริหารจัดการสื่อประสมขององค์กรสมัยใหม่ที่ต้องสัมพันธ์กับสังคมโลกาภิวัตน์

คณะ วิจิตร ศิลป์ สาขาการ ถ่าย ภาพ
คณะ วิจิตร ศิลป์ สาขาการ ถ่าย ภาพ
คณะ วิจิตร ศิลป์ สาขาการ ถ่าย ภาพ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : www.finearts.cmu.ac.th