วิเคราะห์ อาชีพ หรือ ธุรกิจ ว่า มี กิจกรรม ทางด้านการจัดการ โล จิ สติ ก ส์ อย่างไร

     เห็นได้จากตำแหน่งงานด้าน Logistics  ยังคงครองอันอับ 2 ของอาชีพที่มีความต้องการมากที่สุด รองจากอาชีพด้านการแพทย์ที่เป็นอันดับ 1 จากการจัดอันดับสาขาอาชีพในเว็บไซต์ JobBkk ประจำปี 2018-2019 และประเทศไทยยังติดอันดับประเทศที่มีคุณภาพด้าน Logistics สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนและอันดับ 32 ของโลก  งานด้าน Logistic เป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าเป็นงานเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ธุรกิจชิปปิ้ง หรือการดำเนินการพิธีทางศุลกากร เป็นต้น ซึ่งได้กลายเป็นส่วนสำคัญในธุรกิจไปแล้ว โดยหัวใจสำคัญคือการเคลื่อนย้ายสินค้าจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการด้านบริการ รวมไปถึงการบริหารทรัพยากรให้คุ้มค่า ซึ่งผู้ที่ทำงานด้านนี้จึงจำเป็นต้องมีความรู้ด้าน Logistics ความรู้ทางคอมพิวเตอร์และภาษาต่างประเทศ ซึ่งในหลายสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดสอนหลักสูตรเหล่านี้โดยตรง อ่านเพิ่มเติมที่ 7 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ปริญญาโทโลจิสติกส์

     สำหรับตำแหน่งที่เป็นที่รู้จักในสายงานนี้แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ อาชีพฝ่ายขนส่ง อาชีพฝ่ายซัพพลายเชน (Supply Chain) และโลจิสติกส์ (Logistics)  ตลอดจนอาชีพเกี่ยวกับฝ่ายจัดซื้อ  ซึ่งมีหลากหลายตำแหน่ง และเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่างมาก ประกอบด้วย

อาชีพฝ่ายขนส่ง

   –  เจ้าหน้าที่ประสานงานขนส่ง (Logistics Coordinator) ทำหน้าที่ดูแลในด้านการควบคุม การวางแผนและประสานงานระหว่างฝ่ายขายกับผู้ส่งของให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าตรงตามเวลาและได้รับความพึงพอใจสูงสุด รวมทั้งทำหน้าที่วางแผนต้นทุนการขนส่งด้วย

   –   ผู้จัดการแผนกคลังสินค้าและการจัดส่ง วางแผนการใช้พื้นที่จัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปและบริหารสินค้าคงคลังให้เป็นไปตามระเบียบ ควบคุมการดำเนินงานรับเข้าและเบิกจ่ายสินค้าภายในคลังให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ประสานงาน กำกับดูแลงานจัดส่งสินค้าตั้งแต่การวางแผน คัดเลือกตัวแทนขนส่งและควบคุมต้นทุนการขนส่ง

อาชีพฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ (Supply Chain and Logistics)

   –  ผู้จัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Manager) ทำหน้าที่จัดการห่วงโซ่อุปทาน ประสานงานด้านโลจิสติกส์ในทุกด้านของห่วงโซ่อุปทานไม่ว่าจะเป็นแผนหรือยุทธศาสตร์ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ การให้บริการและการขนส่ง การผลิต การขนส่งและโลจิสติกส์และระบบคืนสินค้า นอกจากนี้ยังให้คำปรึกษาและคำแนะนำเพื่อปรับปรุงคุณภาพของการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า

   –  นักวิเคราะห์โลจิสติกส์ (Logistics Analyst) ทำหน้าที่วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อลดต้นทุนด้านบริหารคลังสินค้า วัตถุดิบ สินค้าหลังการผลิต และการขนส่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้าที่ได้รับสินค้าตรงตามเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ โดยจะวิเคราะห์ดัชนีชี้วัด วิเคราะห์กระบวนการดำเนินงาน สนับสนุนงานบริการและการผลิต รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการ

อาชีพเกี่ยวกับฝ่ายจัดซื้อ 

   –   ฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing) ทำหน้าที่จัดซื้อสินค้าและบริการจากผู้ขาย (Supplier) ด้วยการจ่ายเงินตามที่ราคากำหนดไว้จากผู้ให้บริการ ให้ได้ราคาที่สอดกับปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งการจัดส่งที่ตรงเวลาตามสถานที่ที่กำหนดไว้

   –  ฝ่ายจัดหา (Procurement) ตำแหน่งระดับบริหาร ทำหน้าที่ตั้งแต่กระบวนการซื้อโดยศึกษาความต้องการ หาแหล่งจัดซื้อและการคัดเลือกผู้ส่งมอบสินค้า การเจรจาต่อรองราคาและกำหนดเงื่อนไขให้ตรงตามความต้องการ รวมไปถึงการติดตามการจัดส่งเพื่อให้ได้รับสินค้าตรงเวลา

       สายงานด้าน Logistics และตำแหน่งงานเหล่านี้ล้วนเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีรายได้ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังสามารถต่อยอดอาชีพได้อีกหลายแขนง เช่น งานด้านวิศวกรรม งานด้านสารสนเทศหรือธุรกิจขนส่งชิปปิ้ง ที่กำลังมาแรง และได้รับความสนใจในยุคดิจิทัลนี้ แต่หากคุณมีไฟอยากเป็นนักธุรกิจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ 9 เรื่องที่ ต้องรู้ก่อนเริ่มธุรกิจ

วิเคราะห์ อาชีพ หรือ ธุรกิจ ว่า มี กิจกรรม ทางด้านการจัดการ โล จิ สติ ก ส์ อย่างไร

การจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) คือ การจัดการในการขนส่งสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมีการวางแผน ควบคุม จัดเก็บข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวของเพื่อให้ไปถึงยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบโลจิสติกส์นี้ช่วยให้การบริหารงานด้านธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย

กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์

          กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย การบริหารจัดการการผลิต การตลาดและการบริการลูกค้า การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ การจัดการสินค้าคงคลังและการกระจายสินค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

วิเคราะห์ อาชีพ หรือ ธุรกิจ ว่า มี กิจกรรม ทางด้านการจัดการ โล จิ สติ ก ส์ อย่างไร

การเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์

          ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์ คือความต้องการของมนุษย์และการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ทำให้มนุษย์ต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

วิเคราะห์ อาชีพ หรือ ธุรกิจ ว่า มี กิจกรรม ทางด้านการจัดการ โล จิ สติ ก ส์ อย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น

ความรู้การยศาสตร์ : ออกแบบกระบวนการทำงาน และเครื่องใช้สำนักงานที่เหมาะสมกับสรีระของแรงงาน เพื่อทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการหาความคุ้มค่าและจุดคุ้มทุน : ของการสั่งซื้อวัตถุดิบการควบคุมปริมาณวัตถุดิบที่เก็บไว้ไม่ให้มีอยู่มากหรือน้อยจนเกินไป

ความรู้เกษตรศาสตร์ เรื่องการเลือกวัตถุดิบและแหล่งผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ

ความรู้วิศวกรรมศาสตร์ เรื่องกระบวนการผลิต : นำมาใช้ในการดูแลรักษาและควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตสินค้า ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการบริหารจัดการ : วางแผนการขนส่งสินค้าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ความรู้สังคมศาสตร์และจิตวิทยา เรื่องความต้องการของแต่ละวัยแต่ละสังคม : เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตภาวะทางการเงินรสนิยมเพื่อที่จะผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

ผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์

ด้านเศรษฐกิจ
ด้านบวก : เริ่มรายได้ให้กับประชาชนเนื่องจากสามารถขายสินค้า และขนส่งสินค้าในพื้นที่ห่างไกลได้ สามารถลดต้นทุนในการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการขนส่ง การวางแผนจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มูลค่าความเสียหายของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผลิตและการขนส่งมีจำนวนลดลง

ด้านลบ : มีการสื่อสารติดต่อในหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์ต้องใช้งบประมาณลงทุนจำนวนมากในการวางโครงสร้างพื้นฐาน

ด้านสังคม
ด้านบวก : ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าได้สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย ช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี เพราะมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน

ด้านลบ : ลดการใช้แรงงานในการผลิตและการขนส่งทำให้เกิดการว่างงาน มีการประสานงานในหลายหน่วยงานซึ่งหลายครั้งก่อให้เกิดความขัดแย้ง

ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านบวก : เกิดของเสียจากกระบวนการน้อย

ด้านลบ : มีความต้องการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น

อ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี), พิมพ์ครั้งที่ 1, สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, ปีที่พิมพ์ 2563

prosoftgps, “Logistics Management เพื่อประโยชน์สูงสุดของการขนส่ง”, https://www.prosoftgps.com/Article/Detail/70852 สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

SURIYA ANJUMOHAN, “Global Logistics Industry: Grappling with Supply Shocks Across Markets Amid COVID-19”, https://ww2.frost.com/frost-perspectives/global-logistics-industry-grappling-with-supply-shocks-across-markets-amid-covid-19/ สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

อาชีพโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง

มัดรวม!.
นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ ... .
ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ... .
ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ... .
ฝ่ายจัดซื้อ ... .
ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ.

กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง

กิจกรรมหลักทางโลจิสติกส์ทั้ง 13 กิจกรรม อาจน ามา จัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่ม คือ 1. กิจกรรมทางด้านการบริหารจัดการการผลิต 2. กิจกรรมทางด้านการตลาดและการบริการลูกค้า 3. การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ 4. การกระจายสินค้า 5. การจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งทั้งหมดเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและเป็นองค์ความ รู้ที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น ...

สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มีที่ไหนบ้าง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะ : วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเซน ... .
มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ คณะ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ... .
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะ : บริหารธุรกิจ ... .
มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ คณะ : บริหารธุรกิจ ... .
มหาวิทยาลัยเกริก คณะ : บริหารธุรกิจ ... .
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ... .
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ... .
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กิจกรรมโลจิสติกส์มีความสำคัญต่องานธุรกิจอย่างไร

สำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โลจิสติกส์ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการช่วยลดต้นทุน เพื่อสร้างกำไรทางธุรกิจได้มากขึ้น รวมถึงนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโตของธุรกิจ ...