ตัวอย่าง โครงการเกษตรอินทรีย์

  • directions_run
  • beenhere
  • attach_money
  • assessment
  • lock

stars

1. รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการเกษตรอินทรีย์ ชีวีปลอดภัย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมเศรษฐกิจพอเพียง เทศบาลตำบลควนเนียง
วันที่อนุมัติ 6 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสามิต ละอองดิลก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place

stars

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

stars

3. งวดสำหรับการทำรายงาน

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ

stars

5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรแบบองค์รวมซึ่งให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่การทำการเกษตรและปศุสัตว์ ทั้งนี้แนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำการผลิต เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจากสารเคมีการเกษตรดังกล่าวมีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใช้สารเคมีแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของธาตุอาหาร การประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นการบริหารจัดการเชิงบวก (positive management) และการจัดการเชิงบวกนี้เองที่ทำให้เกษตรอินทรีย์แตกต่างเกษตรที่ใช้สารเคมี จากแนวคิดหลักดังกล่าว น้ำหมักชีวภาพจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการทำเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากน้ำหมักชีวภาพมีประโยชน์หลากหลายไม่ว่าจะทางด้านการเกษตร ด้านปศุสัตว์ ด้านการประมง และด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี การใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อช่วยในการบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ และการประมง เป็นต้น เทศบาลตำบลควนเนียงมีพื้นที่ 1.97 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 5 ชุมชน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบและมีลำคลองทางด้านทิศตะวันตก ลักษณะที่ตั้งของชุมชนเป็นท้องกระทะ สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินลูกรังและดินเหนียว มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ จำนวน 2 แห่ง ประชาชนบางส่วนประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์และเกษตรกรรมเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพาะปลูกไม้ผล ผักสวนครัว ยางพารา อีทั้งเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในการทำเกษตรอินทรีย์ และการนำน้ำหมักชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร ชมรมเศรษฐกิจพอเพียง เทศบาลตำบลควนเนียงซึ่งเกิดจากการรวมตัวของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลควนเนียงที่มีความสนใจและรักสุขภาพ ได้จัดทำโครงการเกษตรอินทรีย์ ชีวีปลอดภัย โดยทำการเกษตรแบบยึดหลักเกษตรอินทรีย์ และชมรมมีแนวทางในการบูรณการ การทำงานร่วมกับเทศบาลตำบลควนเนียงโดยขอรับการสนับสนุนน้ำหมักชีวภาพจากโครงการรวมพลคนรักขยะ ของเทศบาลตำบลควนเนียงที่ให้การบริการกับประชาชนที่สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งชมรมจะเน้นการพัฒนาทั้งด้านความรู้ตามหลักวิชาการ การปฏิบัติที่ถูกต้อง สนับสนุนให้ประชาชนเพาะปลูกพืชผลที่ปลอดสารพิษ บริโภคผลผลิตที่ปลอดภัยและการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้อันจะนำไปสู่การพัฒนาด้านการปศุสัตว์และการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ

stars

6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

stars

7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

  • บันทึกตามกลุ่มกิจกรรม
  • บันทึกไม่มีกลุ่มกิจกรรม
  • จำแนกตามวัตถุประสงค์

1เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2 ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 3 ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านเครือข่ายและเสียงตามสายของเทศบาลตำบลควนเนียง 4 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเกษตรอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ และการนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ประโยชน์ 5 ปลูกผักปลอดสารพิษตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ 6 ประเมินผลโครงการ

stars

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงมีความรู้ความเข้าใจในการนำหลักเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นหนึ่งใน
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในด้านการพัฒนาปศุสัตว์และการเกษตร 2 สมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงนำน้ำหมักชีวภาพมาใช้ในการเกษตร 3 สมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงเพาะปลูกพืชผลที่ปลอดสารพิษ และบริโภคผลผลิตที่ปลอดภัย

stars

9. เอกสารประกอบโครงการ

ตัวอย่าง โครงการเกษตรอินทรีย์

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 16:17 น.