นักเรียนควรมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด

สยามรัฐออนไลน์ 22 พฤศจิกายน 2562 00:10 น. วาไรตี้-โซเชียล

นักเรียนควรมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด

ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย ทุกวันนี้เราต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะรุนแรงขึ้นทุกที อากาศที่มีมลภาวะดูเหมือนจะเป็นชีวิตประจำวันสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ทั้งหลาย กรุงเทพฯเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน คนส่วนใหญ่เป็นภูมิแพ้เพราะอากาศเสีย P.M 2.5 ซึ่งจะมีผลเสียต่อสุขภาพในอนาคตอันใกล้ น้ำเสียมีปริมาณเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่ และอีกไม่นานเราจะเกิดการขาดแคลนน้ำสำหรับบริโภค ภูมิอากาศแปรปรวนวิปริต จนนานเข้าเราจะรู้สึกเหมือนเป็นปกติ เช่น น้ำท่วม 3 ปี น้ำแล้ง 3 ปี จากปรากฎการณ์เอลนินโญ และลานินญา ในขณะที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด จากระดับต่ำไม่กี่เซนติเมตรขยับสูงขึ้นไปเรื่อยๆเป็นเมตรด้วยอัตราที่เพิ่มขึ้น เพราะน้ำแข็งในขั้วโลกทั้ง 2 และกรีนแลนด์กำลังละลายอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีมนุษย์จำนวนหนึ่งดีใจที่พบว่าบนพื้นของแผ่นดินกรีนแลนด์ ที่น้ำแข็งปกคลุมมาชั่วนาตาปี เมื่อน้ำแข็งละลายมันก็เผยให้เห็นสินแร่มีค่าจำนวนมาก แต่คนเหล่านั้นไม่ได้ตระหนักเลยว่า ถ้าเราไม่มีผืนแผ่นดินเพียงพอที่จะอาศัยอยู่ แร่เหล่านั้นจะมีประโยชน์อันใด สัตว์ต่างๆเริ่มสูญพันธุ์ ซึ่งทำให้สมดุลทางระบบนิเวศน์สูญเสียไป และมีผลทำให้เกิดโรคระบาดร้ายแรงเกิดขึ้นในแบบที่เราไม่เคยพบและไม่อาจป้องกันตนเอง เพราะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังพัฒนาไม่ทันโรค เมื่อขาดความหลากหลายทางชีวภาพ สมดุลก็เริ่มพังทลาย และทำให้เกิดหายนะต่อมวลมนุษยชาติ โดยที่มนุษย์ไม่ได้สังเกตความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไปนี้ แม้ว่าเราหลายคนจะตระหนักในมหันตภัยแต่ส่วนใหญ่ก็ฝากความหวังกับการดำเนินการของรัฐบาลในแต่ละประเทศ และความร่วมมือกันของรัฐบาลทั้งมวลในโลก แต่เมื่อเห็นการดำเนินการหรือการขับเคลื่อนของรัฐบาลทั้งหลาย โดยเฉพาะรัฐบาลประเทศที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจแล้วก็ดูจะสิ้นหวัง กระนั้นในประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการขยายความเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลก็มุ่งแต่การสร้างความเติบโต ด้วยการขยายการผลิต แต่การกระทำดังกล่าวก็เป็นไปอย่างสุกเอาเผากิน โดยไม่คะนึงถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ การเผาป่าที่ลุ่มน้ำอเมซอน ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตออกซิเจนให้กับโลก โดยนายทุนและบางครั้งด้วยการสมยอมจากรัฐบาล เพื่อมุ่งหวังทำการเกษตรผลิตอาหารมาค้าขายเพื่อความมั่งคั่งของตนเองและพรรคพวก แต่สิ่งที่เขาเหล่านั้นทำลายลงไปกลับส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อสภาพแวดล้อมของประเทศและของโลก ประเทศไทยของเราเองก็มีการดำเนินการที่จะขยายพื้นที่ในการผลิต โดยเฉพาะการขยายพื้นที่ทำอุตสาหกรรม ในขณะที่ผลิตของเสียออกสู่สภาพแวดล้อมทั้งน้ำเสีย อากาศเสีย และขยะ ในขณะนี้ที่กำลังวิตกกังวลกันคือโครงการยักษ์ EEC ซึ่งแน่นอนจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างรุนแรง เพราะมันกินพื้นที่กว้างใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมา รัฐบาลในแต่ละประเทศร่วมกับนายทุนทั้งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยผลประโยชน์มหาศาลที่เป็นแรงผลักดัน ส่วนเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อม ถูกมองว่าสิ้นเปลืองและเป็นต้นทุนที่แต่ละองค์การธุรกิจต้องการผลักออกให้เป็นภาระของสังคมและของโลก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กระบวนการของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักเป็นไปอย่างเชื่องช้า และไม่อาจตอบสนองต่อปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามในท่ามกลางความสิ้นหวัง ประชาชนคนธรรมดาก็อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางบวกต่อความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม นั่นคือช่วยทำให้มันชะลอตัวลงได้ ซึ่งแต่ละคนสามารถดำเนินการได้เลยด้วยการปฏิบัติตนตามความสมัครใจดังต่อไปนี้ 1.พยายามลดการใช้รถยนต์หรือเครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ด้วยเชื้อเพลิงจากฟอสซิล นั่นคือ น้ำมันทั้งหลาย หากไม่จำเป็นอาจใช้การเดินหรือจักรยาน หรือในอนาคตหากสามารถเปลี่ยนรถยนต์เป็นรถไฟฟ้า ก็สามารถช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้มาก นอกจากนี้ให้พยายามใช้การขนส่งสาธารณะเพื่อลดแหล่งผลิตคาร์บอนจากรถยนต์ส่วนตัวลง 2.ลดการสร้างขยะด้วยการประเมินการใช้ชีวิตทั้งเรื่องอาหารการกิน หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ ขวดพลาสติกก็เป็นแหล่งสำคัญที่ทำให้เกิดขยะที่ไม่อาจขจัดได้ในระยะเวลาอันสั้น จึงควรใช้พาชนะหรือวัสดุอุปกรณ์ที่อาจเสื่อมสลายได้ง่าย ถุงพลาสติก หลอดพลาสติก ก็เป็นขยะที่ยากขจัด ข้อสำคัญมันจะพากันไปอุดตันทางระบายน้ำ หรือไปกองกันในมหาสมุทร และสิ่งเหล่านี้ก็เป็นภัยต่อชีวิตสัตว์น้ำทั้งหลาย 3.พยายามบริโภคเนื้อหมู เนื้อวัวให้น้อยลง เพราะการเลี้ยวสัตว์เหล่านี้ต้องใช้พลังงานมากกว่าการปลูกพืช และมีส่วนก่อให้เกิดก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้น หากมีอาหารเหลือให้พยายามใช้ประโยชน์โดยทำเป็นปุ๋ยหมัก เพราะการทิ้งขยะพวกอาหารเป็นจำนวนมากก็เป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทนในบ่อขยะได้อย่างมหาศาล 4.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือล้วนแล้วแต่กลายเป็นเศษขยะที่มีมลพิษสูง หากเรานำไปทิ้งเป็นขยะจึงควรหาแหล่งจัดทิ้งเพื่อนำกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตของใหม่ และหากไม่จำเป็นก็อย่าไปลุ่มหลงในการต้องเปลี่ยนรุ่นใหม่ๆและทิ้งรุ่นเก่าในเมื่อมันยังสามารถใช้งานได้ตามความสามารถของเรา 5.พยายามปิดไฟเมื่อหมดความจำเป็น และควรเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอด LED เมื่อต้องเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ การเปิดไฟทิ้งไว้นอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายส่วนตัวแล้ว ยังเป็นการเผาผลาญพลังงานไปโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ในบางพื้นที่ยังเป็นการรบกวนการดำเนินชีวิตของสัตว์และพืชเพราะไปเปลี่ยนสภาพแวดล้อมมัน 6.ร่วมมือกับประชาคมในการทำความสะอาด กำจัดขยะตามแม่น้ำ ลำคลอง และสถานที่ต่างๆ ลดการเผาขยะโดยไม่จำเป็น ลดการใช้สารพิษในการกำจัดแมลงและวัชพืช ตลอดจนการเผาหญ้า เผาป่า เพื่อทำการเกษตร 7.ช่วยกันสร้างจิตสำนึกต่อคนใกล้ชิด หรือประชาชนทั่วไปให้มีความตื่นตัวในการช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 8.หากถึงเวลาที่ต้องออกเสียงเลือกตั้ง ให้ช่วยกันสนับสนุนพรรคการเมืองที่มีนโยบายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ/หรือ ช่วยกันสนับสนุนองค์กรภาคประชาชนที่รณรงค์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นี่ก็อาจจะเป็นสิ่งที่พวกเราประชาชนคนธรรมดาจะสามารถช่วยกันทำแนวโน้มของภัยพิบัติจากสิ่งแวดล้อมชะลอตัวหรือลดลง และแม้แต่เราอาจจะช่วยกันเปลี่ยนโลกให้น่าอยู่กว่าเดิม ซึ่งย่อมดีกว่ามานั่งทอดอาลัยตายอยาก ฝากความหวังกับรัฐบาล

นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างไร

9 วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน.
1. ประหยัดการใช้สิ่งต่างๆ ในบ้าน ... .
2. ใช้ซ้ำ สำหรับสิ่งของที่สามารถใช้ได้ ... .
3. รีไซเคิลวัสดุต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ... .
4. ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุด ถ้าไม่เสียอย่าเพิ่งทิ้ง ... .
5. ทดแทนวัสดุที่เป็นมลพิษด้วยของจากธรรมชาติ ... .
6. ป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย.

นักเรียนจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนได้อย่างไร

ปลูกฝังแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม.
ตระหนัก.
ส่งเสริม.
สนับสนุน.
1. ประหยัดการใช้สิ่งต่างๆ ในบ้าน.
2. ใช้ซ้ำ สำหรับสิ่งของที่สามารถใช้ได้.
3. รีไซเคิลวัสดุต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด.
4. ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุด ถ้าไม่เสียอย่าเพิ่งทิ้ง.
5. ทดแทนวัสดุที่เป็นมลพิษด้วยของจากธรรมชาติ.

นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตัวเองได้อย่างไร

วิธีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน ลดการทำลายสภาพอากาศภายในชุมชน – สภาพอากาศภายในชุมชนคืออีกประเภทสิ่งแวดล้อมที่ควรดูแลรักษาให้ดี สิ่งไหนที่จะไปทำลายก็ลด ละ เลิกทำเสีย เช่น การจุดเตาไฟทำอาหารอาจเปลี่ยนเป็นการใช้แก๊สแทนก็ได้เพื่อลดควันไฟที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง ไม่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก

วิธีปฏิบัติดูแลเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

ร้อยวิธีดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม.
ใช้ผ้าแทนกระดาษทิชชู.
ใช้ถุงพลาสติกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง.
แยกทิ้งเศษกระดาษจากขยะอื่น.
กระดาษที่นำไปรีไซเคิลไม่ได้.
หนังสือพิมพ์สามารถแก้ไขปัญหาขยะกระดาษ.
เศษหญ้ามีประโยชน์.
วิธีตัดกิ่งไม้.
ใช้เศษหญ้าคลุมไม้ใหญ่.