แบบฝึกหัด ภาษาอังกฤษในงานอาชีพ

ใบงานภาษาอังกฤษ เรื่องอาชีพ (Jobs worksheet) เอาไปให้นักเรียนได้ฝึกฝนกันนะครับ ดาวน์โหลดใบงานให้เด็กๆได้ลองทำ หลังจากเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับอาชีพมาแล้ว

Show
แบบฝึกหัด ภาษาอังกฤษในงานอาชีพ

ใบงานภาษาอังกฤษ เรื่องอาชีพ

ใบงานชุดนี้มีอยู่ด้วยกัน 5 ใบนะครับ อยากใช้อันไหนก็เลือกดาวน์โหลดไปใช้กันได้เลย…

การดาวน์โหลดใบงานโดยการ คลิกขวา ที่ภาพที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิกเลือก save image as (บันทึกภาพเป็น) แล้วเลือกที่เก็บได้ตามต้องการ

ใบความรู้ Jobs Dictionary

แบบฝึกหัด ภาษาอังกฤษในงานอาชีพ

ใบงานเขียนคำกำกับภาพ

แบบฝึกหัด ภาษาอังกฤษในงานอาชีพ

ใบงานเขียนอักษรที่หายไป

แบบฝึกหัด ภาษาอังกฤษในงานอาชีพ

ใบงานจับคู่ภาพกับคำ

แบบฝึกหัด ภาษาอังกฤษในงานอาชีพ

ใบงานฝึกเขียนตามรอยประ

แบบฝึกหัด ภาษาอังกฤษในงานอาชีพ

ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ เว็บไซต์ "ภาษาอังกฤษออนไลน์" อันดับ 1 ของเมืองไทย แหล่งเรียนรู้บนโลกออนไลน์ ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ และเก่งได้ด้วยตนเอง กล้ารับรองว่านี่คือคลังแห่งการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดในเมืองไทย

               วิชาภาษาอังกฤษธุรกิจในงานอาชีพ

               รหัสวิชา3000-1208 

               หน่วยกิจ3-0-3

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้

1.       มีความรู้ความข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษธุรกิจในงานอาชีพ

2.       สามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในงานอาชีพ

3.       ตระหนักและเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาอังกฤษในงานอาชีพและการศึกษาต่อ

สมรรถนะรายวิชา

1.       ฟัง – ดู เรื่องการติดต่อทางธุรกิจในงานอาชีพจากสื่อโทรทัศน์

2.       พูดสื่อสารเกี่ยวกับธุรกิจในงานอาชีพ

3.       อ่านข้อมูล เอกสารการปฏิบัติงาน เอกสารธุรกิจในงานอาชีพจากสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือสื่อออนไลน์

4.       เขียนให้ข้อมูลในเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ ตามที่กำหนด

5.       การใช้คำศัพท์เทคนิคในงานธุรกิจ

6.       ใช้ภาษาตามารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาในสถานการณ์ต่างๆ

7.       ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสืบค้นและฝึกฝนการฟัง พูด อ่านและเขียน พร้อมแสดงหลักฐานการเรียนรู้ด้วยตนเอง

 (1.) การดำเนินชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องรู้จักที่จะแสวงหาความรู้จากแหล่งสารสนเทศ

ต่าง ๆ ซึ่งวิธีการแสวงหาความรู้นั้นต้องอาศัยทักษะทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

การฟังภาษาอังกฤษ การฟังเป็น จุดเริ่มต้น แห่ง ทักษะการเรียนรู้และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นจุดสำคัญ

ในการเริ่มต้นการเรียนภาษา (Morley, 2001, p. 69) และการฟังเป็นความสามารถของบุคคลที่จะ

eความเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูด (Saricoban, 1999) จากผลการศึกษาของราล์ฟและสตีเว่น (Ralph &

Stevens, 1957) พบว่าทักษะการฟังใช้มากที่สุด ร้อยละ 46% ทักษะการพูด ร้อยละ 30 ทักษะการอ่าน

ร้อยละ 16% และทักษะการเขียน ร้อยละ 9% สอดคล้องกับการศึกษาของเมนเดลโซน (Mendelsohn,

1995 as cited in Galikjani and Ahmadi, 2011, p. 978) ที่ชี้ให้เห็นว่าการสื่อสารในชีวิตประจำวัน คนเราใช้

เวลาเฉลี่ย ร้อยละ 40-50 ของเวลาทั้งหมดไปในการฟัง เช่นเดียวกับผลการศึกษาของฮอลลี่ (Holley, 1980

as cited in Gilakjani and Ahmadi, 2011, p. 978) ที่พบว่า การสื่อสารส่วนใหญ่ของนักศึกษาเป็นทักษะ

การฟัง ร้อยละ 52.5 ดังนั้นจะเห็นว่า ทักษะการฟังมีความสำคัญ อย่างยิ่งเพราะหากผู้ ฟังมีทักษะการฟังที่ดี

ย่อมส่งเสริมให้ทักษะการพูดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าได้รับการฝึกทักษะการฟังไม่เพียงพอจะมีผลทำให้

ไม่สามารถใช้ภาษาในการสนทนาได้ ดังนั้นควรจะใส่ใจในทักษะการฟัง เพื่อให้การฟังประสบผลสำเร็จโดย

เฉพาะอย่างยิ่งการฟังภาษาอังกฤษในทางวิชาการ

ทักษะการฟังเป็นทักษะที่สำคัญมากๆ ในการเรียนรู้ทุกภาษา เพราะถ้าฟังไม่ออกก็คือจะไม่เข้าใจเลยว่าอีกฝ่ายพูดกับเราว่ายังไง5 เทคนิคฝึกฟังภาษาอังกฤษ

ฝึกฟังไปพร้อมกับอ่านสคริปต์

หาบทความหรือบทสนทนาที่มีสคริปต์มาด้วยว่าเค้าพูดอะไรกัน ฟังไปพร้อมๆ กับอ่าน วิธีนี้ช่วยได้มากกกกกจริงๆ ค่ะ เราได้จะฝึกฟังการออกเสียงว่าคำๆ นั้นเค้าออกเสียงว่ายังไง  มีบทสนทนาให้ฟังเยอะมาก ที่ดีสุดๆ คือมีคลิปของคนหลายเชื้อชาติที่ไม่ใช่ Native Speaker เช่น ไนจีเรีย เกาหลี นอร์เวย์ คนไทยก็มี จะได้ฟังสำเนียงของคนแต่ละชาติให้คุ้นหูด้วยค่ะ

ฝึกลองฟังเสียงที่ต่ำ

แค่เข้าไปในยูทูบ กดดูคลิปซักคลิป แล้วเลื่อน volumn ให้ลดลงให้เบาลง ข้อนี้มีประโยชน์ตรงที่ว่าในชีวิตจริงเราไม่สามารถกำหนดได้ค่ะว่า เสียงที่เราได้ยินนั้นจะเบาหรือดัง อย่างตอนคุยโทรศัพท์ เสียงอีกฝ่ายอาจจะเบามากจนแทบไม่ได้ยิน ดังนั้นการลองฝึกเสียงที่เบานั้นจะช่วยทำให้ทักษะการฟังเราให้ดีขึ้นได้ และสามารถปรับตัว(และหู)ได้หากได้ยินเสียงที่เบา

 อัดเสียงตัวเองแล้วฟัง

เป็นอีกวิธีที่ดีมาก ได้ฝึกทั้งพูดและฟังไปในตัว อาจจะใช้โปรแกรมอัดเสียงของโทรศัพท์มือถือก็ได้ แต่จริงๆ พี่ชอบโปรแกรมอัดเสียงออนไลน์บนเว็บมากกว่า ( สามารถลองเซิร์ชว่า Voice Recorder แล้วลองใช้ดู) อาจจะลองหาบทความสักอย่างมาอ่าน อัดเสียงแล้วค่อยเปิดฟังดู ว่าเราฟังสิ่งที่เราอ่านรู้เรื่องมั้ย บางทีตอนพูดออกไปก็รู้สึกว่าไม่ได้พูดแย่นะ แต่พออัดเสียงแล้วเปิดฟัง โอ้โห พูดอะไรไปอะ ไม่รู้เรื่องเลย สรุปคือไม่รู้ว่าพูดแย่หรือฟังแย่กว่ากัน

เพื่อความสนุกในการพูดอัดเสียง ให้ลองเซิร์ชหาบทสัมภาษณ์ของเซเลบหรือคนที่เราชื่นชอบค่ะเช่น Emma Watson Interview เวลาที่เราออกเสียงอ่านบทสัมภาษณ์นั้นๆ ก็จะให้อารมณ์เหมือนสวมวิญญาณเอมม่าแล้วกำลังให้สัมภาษณ์อยู่อะไรทำนองนั้นเลย

ฝึกฟังบทสนทนาโดยไม่เริ่มฟังจากตอนต้น

ลองเปิดดูรายการในยูทูบสักรายการ ลองสุ่มกดไปฟังตรงกลางดูค่ะ แล้วลองคิดตามจากสิ่งที่เราฟังว่า เขากำลังพูดอะไรกัน เหมือนบางครั้งที่เรากำลังเดินเข้าไปในห้องๆ หนึ่งแล้วได้ยินเพื่อนพูดอะไรกันก็ไม่รู้

ฟังเพลงช้าและลองเขียนเนื้อเพลงออกมา

เปิดเพลงสากลช้าๆ สักเพลง ได้ยินอะไรก็เขียนตามเพลงนั้นเลย วิธีอาจจะยากสักหน่อย เพราะเพลงที่ฟังง่ายสำหรับคนอื่น อาจไม่ใช่เพลงที่ง่ายสำหรับเรา แต่มีเพลงหนึ่งที่หลายๆ เว็บไซต์แนะนำว่าเหมาะกับการฟังเพื่อฝึกภาษาอังกฤษ นั่นก็คือ Lazy Song ของ Bruno Mars เพราะใช้ศัพท์ไม่ยาก แถมฟังเพลินๆ ด้วย

 การอ่านภาษาอังกฤษ การอ่านเป็นการสร้างความหมายจากข้อความที่เขียนหรือพิมพ์ ซึ่งผู้อ่านจะ

ต้องใช้กระบวนการคิดเชื่อมโยงระหว่างข้อความหรือข้อมูลที่อ่านกับความรู้และประสบการณ์เดิม เพื่อให้

สามารถเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง (Conley, 1995, p. 6) การอ่าน

เพื่อทำความเข้าใจนั้นผู้อ่านจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบการเขียน มีความรู้ความสามารถด้านภาษา

มีความสามารถในการตีความ ความสัมพันธ์ของคำระดับประโยค ความรอบรู้ในด้านของวัฒนธรรม

ขนบธรรมเนียมประเพณีตามบริบทของสิ่งที่อ่าน (William, 1993, pp. 2-8)

ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ

ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็นกิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้

1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ

ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน

ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ

2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการ ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจกิจกรรมระหว่างการอ่านนี้ ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น การฟัง หรือ การเขียน อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน ควรเป็นประเภทต่อไปนี้

 Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ

                       - Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences)ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง

                       - Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน

                      - Correcting คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน

                       - Deciding คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice) หรือ เลือกประโยคถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact)หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion)

                       - Supplying / Identifying คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic Sentence) หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion) หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title) หรือ ย่อเรื่อง (Summary) หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific Information)

 3) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน ทั้งการฟัง การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ ความถูกต้องของคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน เป็นต้น

การพูดภาษาอังกฤษ การพูดเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยน

บทบาทระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจในสารหรือความคิดที่ผู้พูดได้ถ่ายทอด (Tsitsopoulou,

1992, p. 56) สิ่งสำคัญในการพูดคือต้องทำ􀂷 ให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนพูด นั่นคือผู้พูดต้องสามารถเลือกใช้คำ

สำนวนภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม (Valette, 1977, p.120)

ทักษะการพูด หรือ Speaking ถือเป็นทักษะปราบเซียนในการฝึกฝนภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยหลายๆ คน ยิ่งไม่ค่อยได้ใช้ไม่ค่อยได้พูดเรายิ่งพัฒนาได้ช้า ถึงเวลาใกล้สอบหรือมีสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษแต่ละที ก็ต้องมาเร่งฝึกกันเสียยกใหญ่ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังฝึกพูดภาษาอังกฤษอยู่ละก็ ลองอ่านเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะการพูดกันนะคะ

1. ไม่อายที่จะพูด

มีทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้ทักษะการพูดของคุณพัฒนาได้ นั่นก็คือการพูด พูด พูด ออกไปให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในช่วงแรกเราอาจจะพูดผิดบ่อย นึกคำศัพท์ไม่ออก หรือยังเรียบเรียงประโยคผิดๆ ถูกๆ บ้าง ก็อย่าเพิ่งยอมแพ้นะคะ โดยเฉพาะถ้าถูกตำหนิหรือแซวจากคนใกล้ตัว ให้บอกเขาไปเลยว่าเรากำลังฝึกหัดอย่างจริงจัง ถ้าเห็นว่าเรายังบกพร่องก็ขอคำแนะนำด้วย

2. ไม่กลัวความผิดพลาด

ไมเคิล จอร์แดน นักบาสเก็ตบอลระดับโลกเคยกล่าวไว้ว่า ตั้งแต่เล่นบาสเป็นอาชีพ ผมชู้ตพลาดมากกว่า 9,000 ครั้ง พ่ายแพ้มาเกือบ 300 เกม มี 26 ครั้งที่การชู้ตของผมเป็นตัวตัดสินแพ้ชนะของทีมแล้วผมก็ทำมันพลาด ผมผ่านการล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่ามานับครั้งไม่ถ้วนแต่ไม่เคยท้อถอย นั่นคือเหตุผลที่ผมประสบความสำเร็จ

ในการฝึกพูดภาษาอังกฤษก็เช่นกันค่ะ ถ้ามีคนท้วงติงมาว่าเราพูดยังไม่ถูกต้อง ครั้งต่อไปเราก็แค่ต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ อย่าไปกังวลกับ 

แกรมม่า มากนัก เบื้องต้นขอแค่ให้สื่อสารพอเข้าใจก่อนค่ะ แล้วค่อยพัฒนาทักษะให้เก่งขึ้นเรื่อยๆ ลองนึกถึงตอนเราเริ่มหัดพูดภาษาไทยสิคะ ไม่มีเด็กทารกคนไหนเรียนเรื่องการเรียบเรียงประโยคก่อนหัดพูดสักคน

3. ไม่โทษตัวเอง

กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด การฝึกพูดภาษาอังกฤษก็ไม่สามารถดีขึ้นได้ในชั่วข้ามคืนฉันนั้น หลายคนพอเริ่มฝึกหัดได้สักระยะหนึ่ง มักชอบรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งขึ้นสักทีฝึกไปก็เท่านั้น ทัศนคติแบบนี้แหละค่ะที่บั่นทอนกำลังใจและทำให้เราพัฒนาช้ากว่าที่ควรจะเป็น

4. ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

ไม่มีประโยชน์อะไรเลยค่ะที่จะมัวเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ของแบบนี้มันต้องค่อยเป็นค่อยเป็นไป บางทักษะเราอาจจะไม่ถนัดเท่าคนอื่น นั่นแปลว่าเราต้องพยายามหนักขึ้นค่ะ ในการฝึกภาษาอังกฤษเป้าหมายสำคัญที่ต้องเอาชนะให้ได้คือตัวเราเอง

5. อย่าตะบี้ตะบันพูดอย่างเดียว

ทำไมเราถึงพูดภาษาไทยได้คล่องแคล่ว? เพราะเราฟังภาษาไทยมาตั้งแต่เกิดและฟังแทบจะตลอดเวลาไงคะ ทีนี้ถ้าอยากพูดภาษาอังกฤษได้ดี เคล็ดลับอย่างหนึ่งก็คือการหัดฟังภาษาอังกฤษบ่อยๆ ควบคู่กันไปด้วยค่ะ ซึ่งการฟังนั้นควรฟังอย่างเข้าใจและฟังอย่างต่อเนื่อง หมั่นฝึกฝนเป็นประจำให้ทั้งสองทักษะนี้พัฒนาขึ้นไปด้วยกันจะเป็นการดีที่สุด

6. อ่านออกเสียงบ่อยๆ

เวลาอ่านอะไรที่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นข่าว หนังสือ หรือข้อความบนเว็บไซต์ ควรฝึกอ่านออกเสียงบ่อยๆ ให้ชินปากเข้าไว้ เพราะเราจะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และสำนวนที่น่าสนใจมากมายค่ะ นอกจากนี้ยังทำให้เราได้พบข้อบกพร่องของตัวเองด้วยว่าชอบออกเสียงคำไหนผิดพลาด

7. ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

เดี๋ยวนี้มีแอพลิเคชั่นมากมายที่ช่วยออกเสียงคำศัพท์หรือประโยคภาษาอังกฤษ อย่างเช่น พวกแอพดิกชั่นนารี หรือง่ายๆ เลยก็ Google เพื่อนยากนี่แหละค่ะ ใส่ประโยคภาษาอังกฤษยาวแค่ไหนก็ได้ แล้วกดปุ่ม ฟังที่เป็นรูปลำโพงเล็กๆ มุมล่างขวามือ เท่านี้เราก็จะได้ฟังวิธีการออกเสียงที่ถูกต้องแล้ว เดี๋ยวนี้การฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเองสะดวกสบายขึ้นและมีตัวช่วยเยอะมากค่ะ

หมั่นฝึกฝนบ่อยๆ นะคะ จะได้เก่งไวๆ แล้วมาหาคอร์สเรียนต่อเมืองนอกกับ Hotcourses Thailand กัน

การเขียนภาษาอังกฤษ การเขียนเป็นทักษะที่ต้องอาศัยความรู้ และข้อมูลจากทักษะอื่นๆ เช่นการ

ฟัง การคิด การพูดมาประกอบเพื่อจะถ่ายทอดความรู้สึก นึกคิด ดังนั้นจะเห็นว่าการเขียนจะเป็นทักษะที่

ยากมาก เนื่องจากจะต้องถ่ายทอดสิ่งที่คิด สิ่งที่รู้ให้บุคคลอื่นรับรู้ผ่านอักษร ผู้ที่จะเขียนได้ดีนั้นต้องเป็นผู้

ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ ตลอดจนมีเทคนิคการเขียนที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้ สู่ผู้อื่นได้ โดย

การเขียนที่ดีนั้นจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย และพยายามเรียงลำดับความสำคัญให้เป็นไปอย่างมีขั้นตอน

การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

เทคนิคการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ( Writing Skill)

1. เทคนิควิธีปฎิบัติ การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ

1.1 การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค โดยครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ สร้างสรรค์

1.2 การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่การเขียนอย่างอิสระได้ในโอกาสต่อไป

1.3 การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสระเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่ ข้อจำกัดของการเขียนลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนมีข้อมูลที่เป็นคลังคำ โครงสร้างประโยค กระสวน

ไวยากรณ์เป็นองค์ความรู้อยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การเขียนอย่างอิสระนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ

(2.) คำภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาษาอังกฤษมีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในการทำงาน แม้แต่ภูมิภาคอาเซียน ก็ยังกำหนดให้ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียนคือภาษาอังกฤษ แสดงให้เห็นว่าภาษาอังกฤษจะกลายเป็นภาษาหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการติดต่อสื่อสารทั้งกับภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนี้หลังเปิดเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิก AEC ยังสามารถเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี ทำให้ประชาชนของประเทศสมาชิกจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันได้โดยมีภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง ดังนั้น หากต้องการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหรือในทางธุรกิจ คุณจำเป็นต้องเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลักสูตรเน้นให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้และทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นประโยชน์ต่อการเจรจาทางธุรกิจ รวมถึงการดำเนินงานธุรกิจประเภทต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติงานหรือ สหกิจศึกษา เพื่อฝึกฝนประสบการณ์ตรงจากหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 บทสนทนาภาษาอังกฤษการกล่าวทักทาย Greeting

การทักทาย (Greetings)

การทักทาย คำทักทายที่ควรทราบมีดังนี้

Good morning สวัสดี (เช้าถึงเที่ยงวัน)

Good afternoon สวัสดี (หลังเที่ยงวันถึงช่วงเย็น)

Good evening สวัสดี (ช่วงเย็นถึงกลางคืน)

Good day สวัสดี (ตลอดวัน)

Hello/Hi สวัสดี (เพื่อนหรือคนรู้จักทั่วไป)

การสอบถามทุกข์-สุขสำนวนที่ใช้สอบถามว่าสบายดีหรือ ได้แก่

How are you? (เน้นเรื่องสุขภาพ)

How are you going? (อังกฤษ) How are you doing? (อเมริกัน)

How’s it going? (เน้นความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน)

How have you been? (ในกรณีนาน ๆ เจอกันที)

How’s your life?

How’s everything?

How are things (with you)?

การตอบ ตัวอย่างการตอบ ได้แก่

(I'm) fine, thanks. And you? สบายดี ขอบคุณ แล้วคุณล่ะ

Good. สบายดี

Very well สบายดีมาก

I'm O.K. ก็ดี

So so. ก็งั้น ๆ

Not (too) bad ก็ไม่เลว

Great! เยี่ยม, วิเศษ

การอำลา (Leave Taking)

การอำลา ตัวอย่างคำกล่าวลา ได้แก่

See you again….. พบกันใหม่ ….. (เป็นทางการ) เช่น

(เช่น See you again tomorrow/next time/next week/next month/next year/on Monday. เป็นต้น)

See you later/soon/then. เดี๋ยวเจอกันนะ

Have a nice day/time. โชคดีนะ/วันนี้ขอให้มีความสุขนะ

Have a nice holiday. ขอให้มีความสุขในวันหยุดนะ

Have a nice weekend. ขอให้มีความสุขในวันสุดสัปดาห์นะ

Have a good time. ขอให้มีความสุขนะ/ขอให้เที่ยวให้สนุกนะ

Have a good/nice trip ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะ

Take care (of yourself) ดูแลตัวเองด้วย/รักษาเนื้อรักษาตัวด้วย ั

Sweet dreams / Sleep well ฝันดีนะ/นอนหลับให้สบายนะ

Good luck./Be successful. โชคดี/ขอให้ประสบความสำเร็จ

Good night. ราตรีสวัสดิ์/ไปแล้วนะ (ใช้ลาตอนกลางคืน)

Goodbye/Bye ไปแล้วนะ/ไปล่ะ

 การแนะนำตนเองและผู้อื่น (Introducing Oneself and Others)

การแนะนำตนเอง

Let me introduce myself. ขอแนะนำตัวเอง

May I introduce myself? ขอแนะนำตัวเอง

I’m/My name’s Udom Chaiyo. ผมชื่ออุดม ไชโย

I'm Thai. ฉันเป็นคนไทย

I'm from Thailand. ผมมาจากประเทศไทย

I'm a student at …….. College. ฉันเป็นนักเรียนที่วิทยาลัย…..

I study at …………… College. ผมเรียนอยู่ที่วิทยาลัย …..

I’m teaching at …………… College. ผมสอนอยู่ที่วิทยาลัย …..

I’m a teacher of ….. at ….. College. ผมเป็นครูวิชา …..ที่วิทยาลัย …..

I work at ….. College. ฉันทำงานที่วิทยาลัย …..

I live in Chonburi. ผมอยู่ชลบุรี

I'm in the first year. ผมอยู่ปี 1

I'm a second year student. ฉันเป็นนักเรียนปี 2

I study ………………. ผมเรียนสาขา ……..

My field of study is …………. สาขาวิชาที่ผมเรียนคือ …………

My college is in Rayong. วิทยาลัยฉันอยู่ที่ระยอง

 อื่น 

Certificate of Vocational Education ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)

Diploma of Vocational Education ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)

การแนะนำผู้อื่น

This is Peter. นี้คือปีเตอร์

I'd like you to know Peter. ผมอยากให้คุณรู้จักปีเตอร์

I'd like to introduce you to Wanna.ผมอยากแนะนำคุณให้รู้จักวรรณา

I want to introduce my friend May. ผมอยากจะแนะนำเมย์เพื่อนผม

I want you to meet my friend John.ผมอยากให้คุณพบจอห์นเพื่อนผม

Here's Sawat and that's Suphon. นี่สวัสดิ์ และนั่นสุพล

คำแสดงความยินดีที่ได้รู้จัก ได้แก่

(It’s) nice/good to meet/see you.

(I’m) pleased to meet/see you.

(I'm) glad to meet/see you.

It's a pleasure to meet you.

การตอบ ให้เพิ่มคำว่า too ที่หมายถึง'เช่นเดียวกันเช่น

Nice to see you, too. ยินดีที่ได้รู้จักเช่นเดียวกัน

 การให้และขอข้อมูลส่วนบุคคล (Giving and Asking for Personal Information)

ข้อมูลส่วนตัว

How old are you? คุณอายุเท่าไร

(I'm) seventeen. ผมอายุ 17 ปี

How tall are you? คุณสูงเท่าไร

I'm 170 centimeters tall. ฉันสูง 170 ซ.ม.

How much do you weigh? คุณหนักเท่าไร

(I weigh) 65 kilograms. (ผมหนัก) 65 กิโลกรัม

ข้อมูลครอบครัว

How many people are there in your family?มีกี่คนในครอบครัวคุณ

How many brothers and sisters do you have? คุณมีพี่น้องกี่คน

I have 2 brothers/sisters. ผมมีพี่น้องผู้ชาย/หญิง 2 คน

I don't have any brothers or sisters. ผมไม่มีพี่น้องเลย

There are 7 people in my family. ครอบครัวผมมี 7 คนด้วยกัน

My grandparents live with us. ปู่ ย่า (ตา ยาย)อยู่กับเราด้วย

What does your father do? พ่อคุณทำงานอะไร

My father is a teacher. พ่อผมเป็นครู

Does your mother work? แม่คุณทำงานหรือเปล่า

She works with government. แม่เป็นข้าราชการ

She doesn't work. แม่ไม่ได้ทำงาน

What do you want to be (in the future)? คุณอยากเป็นอะไร(ในอนาคต)

I want to be a pilot. ผมอยากเป็นนักบิน

I haven't decided yet. ยังไม่ได้ตัดสินใจ

การขอบคุณ (Thanking)

การขอบคุณ สำนวนที่ใช้ในการขอบคุณ ได้แก่

Thanks you (very much). ขอบคุณ (มาก)

Thanks (a lot). ขอบใจ (มาก)

Thank you for …………….. ขอบคุณสำหรับ เช่น

Thank you for your present. ขอบคุณสำหรับของขวัญ

Thank you for everything. ขอบคุณสำหรับทุกอย่าง

Thank you for your help. ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือของคุณ

I really appreciate that. ผมรู้สึกประทับใจจริง ๆ

การตอบรับคำขอบคุณ

You’re welcome. ไม่เป็นไร

Don't mention it. ไม่เป็นไร

Not at all. ไม่เป็นไร

It's nothing. ไม่เป็นไร

That's all right. / That's O.K. ไม่เป็นไร

(It's) a pleasure. ด้วยความยินดี

My pleasure./With pleasure. ด้วยความยินดี

Don’t worry (about it). อย่ากังวลไปเลย

No problem. ไม่มีปัญหา

การขอโทษ (Apologizing)

การขอโทษ สำนวนที่ใช้ในการขอโทษ ได้แก่

I’m sorry. ผมขอโทษ

I’m sorry. I’m late. ขอโทษที่มาช้า

I’m sorry I troubled you. ขอโทษที่ทำให้ต้องลำบาก

Excuse me, please. ขอโทษครับ/ค่ะ

Excuse me for interrupting. ขอโทษที่รบกวน

Excuse me for a moment. ขอโทษขอเวลาสักครู่

การให้อภัย สำนวนที่ใช้ในการตอบรับคำขอโทษ

That’s all right. ไม่เป็นไร (ตอบรับคำขอโทษ)

Don’t worry (about it). อย่ากังวลไปเลย

No problem. ไม่มีปัญหา

That's O.K. หรือ I'm O.K. ไม่เป็นไร หรือ ผมไม่เป็นไร

 การถามเวลา (Asking for Time)

การถาม

Excuse me. What time is it? ขอโทษครับ กี่โมงแล้วครับ

Could you tell me the time, please? ขอโทษครับกี่โมงแล้ว

Do you have a time? กี่โมงแล้ว (คุณมีนาฬิกาไหม)

การตอบ

(It's) seven o'clock. 7 นาฬิกา

Six twenty/Twenty past six 6.20

Five to four/Three fifty-five 3.55

A quarter past eight/Eight fifteen 8.15

Half past ten/Ten thirty 10.30

A quarter to ten/Nine forty-five 9.45

Noon เที่ยงวัน

Midnight เที่ยงคืน

In the morning ตอนเช้า

In the afternoon ตอนบ่าย

In the evening ตอนเย็น

At night ตอนกลางคืน

การทักทาย (Greetings) ปกติที่เราใช้กันทั่วไป เราใช้ hi hello จริงๆแล้วเราสามารถแบ่งออกเป็น แบบทักทายอย่างเป็นทางการFormal Greeting และ ทักทายแบบไม่เป็นทางการกันเอง 
informal greeting ดังนี้

การพูดทักทายอย่างเป็นทางการ Formal greeting

ประโยคทักทายภาษาอังกฤษ

อ่านออกเสียงว่า

คำแปล

Good morning

กูด-มอ-นิ่ง

สวัสดีตอนเช้า

Good afternoon

กูด-มอ-อาฟเทอะนูน

สวัสดช่วงหลังเที่ยงวันถึงช่วงเย็น

Good evening

กูด-อิีฟว์-นิ่ง

สวัสดีช่วงเย็นถึงกลางคืน


การพูดทักทายอย่างไม่เป็นทางการอย่างสนิทสนม Informal greeting

ประโยคทักทายภาษาอังกฤษ

อ่านออกเสียงว่า

คำแปล

Hi,Hello

ไฮ , ฮัลโหล

สวัสดี

How are you?

ฮาว อาร์ ยู?

เป็นไงบ้าง

What's up? 

ว้อท ซับ?

เป็นไงบ้าง

How are you doing?

ฮาว อาร์ ยู ดูอิ้ง?

เป็นไงบ้าง

How are you?

ฮาว อาร์ ย

เป็นไงบ้าง

How are you going? (แบบอังกฤษ)

ฮาว อาร์ ยู โกอิง?

เป็นอย่างไรบ้าง

How are you doing? (แบบอเมริกัน)

ฮาว อาร์ ยู ดูอิง?

เป็นอย่างไรบ้าง

How’s it going?

ฮาว์ส อิท โกอิง?

เป็นยังไงบ้าง

How have you been?

ฮาว แฮบ ยู บีน?

เป็นอย่างไรบ้าง

How’s your life?

ฮาว ยัว ไลฟ์?

เป็นอย่างไรบ้าง,สบายดีไหม

How’s everything?

ฮาว เอเวลีติง?

เป็นอย่างไรบ้าง

How are things (with you)?

ฮาว อาร์ ติ้งส วิทช์ ยู?

เป็นอย่างไรบ้าง

บทสนทนาสำหรับนักธุรกิจในการไปรับลูกค้า

A :   Excuse me, but are you Mr. Johnson of City Bank?

(เอคซคิว-มี. บัท อา ยู มิสเตอร์ จอหน์สัน ออฟ ซิตี้ แบงค์?)

ขอโทษครับ คุณคือคุณจอห์นสัน จากธนาคารซิตี้แบงค์ใช่หรือไม่

B :   Yes, I am.

(เยส ไอ แอม)

ใช่ครับ

A :   How do you do? I’m Dacha Wanrave of Acer Industrial Corp..

(ฮาว ดู ยู ดู? ไอม เดชา วันระวี ออฟ เอเซอร์ อิน-ดัส-เตยล คอรป) สบายดีไหมครับ ผม เดชา วันระวี จากบริษัทเอเซอร์ครับ

B :   How do you do? Glad to meet you.

(ฮาว ดู ยู ดู? แกลดทู มีท ยู)

เป็นอยางไรบ้างครับ ยินดีที่ได้รู้จักครับ

A :   Did you have a good flight?

(ดิด ยู แฮฟว อะ กุด ไฟล์ท)

การเดินทางสะดวกสบายไหมครับ

B :   Yes, it was enjoyable, thanks.

(เยส อิท วอส เอ็น-จอย-เอ-เบิ้ล, แธ็งคส์)

ครับ การเดินทางราบรื่นดี ขอบคุณครับ

A :   That’s good to hear.

(แธทส กุด ทู เฮีย)

ดีครับที่ได้ยินเช่นนั้น

A :   Welcome to Thailand, Mr. Brown.

(เวลคัม ทู ไทยแลนด์ มิสเตอร์บราวน์)

ยินดีต้อนรับสู่ประเทศไทยครับคุณบราวน์

B :   Nice to meet you, Mr. Wanrave.

(ไนส ทู มิท ยู มิสเตอร์ วันระวี)

ยินดีที่ได้พบคุณครับ คุณวันระวี

A :   I’ve been looking forward to meeting you, too.

(ไอฟ บีน ลุคกิ้ง ฟอเวิร์ด ทู มิทดิ้ง ยู ทู)

ผมกำลังมองหาคุณอยู่เช่นเดียวกันครับ

B :   Thank you very much for coming to meet me.

(แธ็งค กิ้ว เวรี่ มัช ฟอร์ คัมมิ้ง ทู มิท มี)

ขอบคุณมากครับที่มาพบผม

A :   No trouble at all. Let me take your things.

(โน ทรอเบิ้ล แอท ออล เลท มี เทค ยัว ธิงส์)

ไม่มีปัญหาเลยครับ ให้ผมช่วยถือของคุณดีไหมครับ

B :   Oh, that’s all right. They’re not heavy.

(โอ แธทส ออล ไรท์ เธย์ น้อท เฮฟววี่)

โอ ไม่เป็นไรครับ ไม่หนักครับ

คำศัพท์

pick up                            การไปรับ

Corp. = corporation (n)   บริษัท

change                            เปลี่ยน

look forward to                 มองหา

A :   (Calling out in the crowd) Here I am, Mr. Harris.

(คอลลิ้ง เอาท์ อิน เธอะ เคราว์ด) เฮียร์ ไอ แอม มิสเตอร์ แฮริส (เสียงเรียกมาจากฝูงชน) ผมอยู่นี่ครับคุณแฮริส

B :   Hi, Mr. Lin. How are you?

(ไฮ มิสเตอร์ ลิน ฮาว อา ยู)

สวัสดีครับคุณลิน สบายดีไหมครับ

A :   Fine, thanks. It’s nice to see you again.

(ไฟน์ แธ็งคส อิทส ไนส ทู ซี ยู อะเกน)

สบายดีครับ ดีใจที่ได้พบคุณอีกครั้ง

B :   It’s been quite a while, hasn’t it?

(อิทส บีน ไควท อะ ไวล์ แฮสซึ่น อิท)

นานมากแล้วนะครับที่เราไม่ได้เจอกัน

A :   Right. It’s been almost 3 years since I saw you in Los Angeles.

(ไรท์ อิทส บีน ออลโมสต์ ทรี เยียร์ส ซิ้นส ไร ซอว ยู อิน ลอส แอน เจ ลิส)

ใช่ครับ เกือบ 3 ปี แล้วครั้งหลังสุดก็ที่ผมพบคุณที่ลอสแอนเจลิสครับ B : You haven’t changed a bit.

(ยู แอฟววึ่น เช้นจ อะ บิท)

คุณไม่เปลี่ยนเลยแม้แต่น้อย

A :   Thank you. Neither have you.

(แธ็งค์ กิ้ว นิเธอร์ แฮฟว ยู)

ขอบคุณ คุณก็เช่นเดียวกันครับ

A :   How was your flight?

(ฮาว วอส ยัว ไฟลท์)

เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับการเดินทาง

B :   Not bad. But I’m a little tired.

(น้อท แบด บัท ไอม อะ ลิตเติล ทาย-เออร์)

ไม่เลวครับ แต่ผมรู้สึกเหนื่อยนิดหน่อย

A :   Have you made hotel reservations?

(แฮฟว ยู เมด โฮเตล เรเซอร์เวชั่นส)

ไม่ทราบคุณจองห้องพักไว้หรือยังครับ

B :   No, the trip was so sudden.

(โน เธอะ ทริป วอส โซ ซัดเดน)

ยังเลยครับ เพราะการเดินทางครั้งนี้มาแบบรีบด่วน

A :   Well then, let me make some arrangements for you.

(เวล เธน เลท มี เมค ซัม อะ-เร้นจ-เม้นท์ส ฟอร์ ยู)

งั้นดีเลย ให้ผมจัดการเรื่องนี้ให้คุณเอง

B :   I’d appreciate that.

(ไอด แอป-พริ-ซิ-เอท แธท)

ผมขอขอบคุณมากครับ

A :   Shall I take you to a hotel now.

(แชล ไอ เทค ยู ทู อะ โฮเตล นาว)

ให้ผมพาคุณไปโรงแรมเลยไหมครับ

B :   Yes, please.

(เยส พลีส)

ครับ เชิญเลยครับ

บทสนทนาเสริม

A :   You must be tired after such a long night.

(ยู มัส บี ทาย-เออร์ อาฟเตอร์ ซัช อะ ลอง ไฟล์ท)

คุณคงเหนื่อยหลังจากการเดินทางที่ไช้เวลานานขนาดนี้

B :   Yes, I’m feeling a little jet lag.

(เยส ไอม ฟีลลิ่ง อะ ลิตเติ้ล เจท แลค)

ครับ ผมรู้สึกเหนี่อยนิดหน่อย

A :   I’m pleased to meet you, Mr. Smith.

(ไอม พลีส ทู มีท ยู มิสเตอร์สมิธ)

ผมยินดีที่ได้รู้จักกับคุณครับ คุณสมิธ

B :   The pleasure is mine.

(เธอะ เพลสเชอร์ อีส ไมน์)

เช่นเดียวกันครับ

A :   Is this your first trip to Thailand ?

(อีส ธีส ยัวร์ เฟริส ทริป ทู ไทยแลนด์)

นี่เป็นครั้งแรกที่คุณมาประเทศไทยใช่ไหมครับ

B :   Yes, it is.

(เยส อิท อีส)

ใช่ครับ

A :   I’ve booked a room for you at the Hilton Hotel. Single, for a week.

(ไอฟ บุคท์ อะ รูม ฟอ ยู แอท เธอะ ฮิสตัน โฮเตล ซิงเกิล ฟอ อะ วีค) ผมจองห้องให้คุณที่โรงแรมฮิลตัน ห้องเดียวสำหรับ 1 สัปดาห์ครับ

B :    Oh, good. Thanks.

(โอ กุด แธ็งค์ส)

โอ ดีครับ ขอบคุณครับ

 คำศัพท์

arrangement (n)      การจัดเตรียม

appreciate (v)          ด้วยความยินดี

reservations (n. pl.)  การจอง

jet lag                      อ่อนเพลีย

book (v)                   จอง

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ

(3.) ภาษาอังกฤษที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน มีทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน รวมถึงเอกสารต่างๆที่เราใช้ในงานธุรกิจของเรา บางครั้งเราต้องติดต่อธุรกิจกับชาวต่างชาติ เราจำเป็นต้องเรียนรู้การสนทนา การฟัง การอ่าน การเขียน เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร กับชาวต่างชาติเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของรานั้นเอง

คนวัยทำงานทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานตำแหน่งเลขานุการหรือผู้ติดต่อประสานงาน เคยกังวลไหมคะว่าเวลาจะรับโทรศัพท์หรือต่อสายกับชาวต่างชาติ เราควรต้องเริ่มต้นยังไง แล้วถ้ารับต้องพูดคำไหนก่อน ภาษาที่ใช้แบบไหนถึงจะเหมาะสม? สำหรับใครก็ตามที่มีความรู้สึกแบบนี้ อย่าเพิ่งคิดมากไปเลยนะ จริงๆแล้ว การติดต่อโทรศัพท์กับชาวต่างชาติไม่ได้ยากอย่างที่คิด

ในที่ทำงาน บางครั้งอาจจะมีสถานการณ์ สำหรับผู้ที่ไม่สันทัดใน Conversation ที่มักจะต้องพูดคุย กับ ชาวต่างชาติ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะสามารถดึงพลังแผงความรู้ภาษาอังกฤษในตัวเราเอาออกมาใช้ให้สามารถเอาตัวรอดกับสถานการณ์เหล่านั้นมาได้

การอ่านภาษาอังกฤษ การอ่านเป็นการสร้างความหมายจากข้อความที่เขียนหรือพิมพ์ ซึ่งผู้อ่านจะ

ต้องใช้กระบวนการคิดเชื่อมโยงระหว่างข้อความหรือข้อมูลที่อ่านกับความรู้และประสบการณ์เดิม เพื่อให้

สามารถเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง (Conley, 1995, p. 6) การอ่าน

เพื่อทำความเข้าใจนั้นผู้อ่านจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบการเขียน มีความรู้ความสามารถด้านภาษา

มีความสามารถในการตีความ ความสัมพันธ์ของคำระดับประโยค ความรอบรู้ในด้านของวัฒนธรรม

ขนบธรรมเนียมประเพณีตามบริบทของสิ่งที่อ่าน (William, 1993, pp. 2-8)

ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ

ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็นกิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้

1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ

ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน

ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ

2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการ ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจกิจกรรมระหว่างการอ่านนี้ ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น การฟัง หรือ การเขียน อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน ควรเป็นประเภทต่อไปนี้

 Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ

                       - Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences)ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง

                       - Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน

                      - Correcting คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน

                       - Deciding คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice) หรือ เลือกประโยคถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact)หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion)

                       - Supplying / Identifying คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic Sentence) หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion) หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title) หรือ ย่อเรื่อง (Summary) หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific Information)

 3) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน ทั้งการฟัง การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ ความถูกต้องของคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน เป็นต้น

 ในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของเราล้วนแต่เกี่ยวกับการอ่าน  การเขียน การอ่าน การฟัง ภาษาอังกฤษทั้งนั้น ไม่ว่า จะเป็นข่าวสารต่าง ทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆหรือสื่อออนไลน์ต่างๆ จึงถือได้ว่า ภาษาอังกฤษ เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง 

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ

(4. ) การเขียน คือชนิดหนึ่งของมนุษย์เราที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝน การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ  เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ เครื่องมือในการเขียนเช่น การเขียนจะต้องเขียนเป็นภาษาซึ่งอาจเขียนเป็นภาษาเดียวหรือหลายภาษาก็ได้

ความสำคัญของการเขียน

การเขียนมีความสำคัญสำหรับมนุษย์ ยิ่งโลกในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การเขียนกูยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วยซึ่งสามารถสรุปความสำคัญของการเขียนได้ดังนี้ 1. การเขียนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง 2. การเขียนเป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของมนุษย์ 3. การเขียนเป็นเครื่องมือถ่ายทอดมรดกทางสติปัญญา 4. การเขียนเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีและความเจริญรุ่งเรือง ในทางตรงกันข้ามก็ใช้เป็นเครื่องบ่อนทำลายได้เช่นกัน จุดมุ่งหมายของการเขียน

การเขียนจะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่นั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การเขียนต้องมีจุดมุ่งหมายซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

1) การเขียนเพื่อการเล่าเรื่อง > เป็นการนำเรื่องราวที่สำคัญมาถ่ายทอดเป็นข้อเขียน เช่น การเขียนเล่าประวัติ
2) การเขียนเพื่ออธิบาย > เป็นการเขียนเพื่อชี้แจงอธิบายวิธีใช้ วิธีทำ ขั้นตอนการทำ เช่น อธิบายการใช้เครื่องมือต่างๆ
3) การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น > เป็นการเขียนเพื่อวิเคราะห์ วิจารณ์ แนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
4) การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ > เป็นการเขียนที่ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะชักจูง โน้มน้าวใจให้ผู้อ่านยอมรับในสิ่งที่ผู้เขียนเสนอ
5) การเขียนเพื่อกิจธุระ > เป็นการเขียนที่ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง การเขียนชนิดนี้จะมีรูปแบบการเขียนและลักษณะการใช้ภาษาที่แตกต่างกันไปตามประเภทของการเขียน

มารยาทในการเขียน

1)      ใช้ถ้อยคำสุภาพไพเราะ หลีกเลี่ยงคำหยาบ ไม่ใช้อารมณ์ ความรู้สึกส่วนตนหรืออคติ วิจารณ์ผู้อื่นอย่างปราศจากเหตุผล จนทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายและสังคมแตกแยก
2) เขียนข้อความหรืองานเขียนที่เป็นจริง ได้ศึกษา ค้นคว้าและตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเสียก่อน
3) เขียนให้ถูกต้องตามอักขรวิธี ใช้สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับเนื้อหากาลเทศะและสถานะบุคคล
4) เขียนสิ่งที่มีคุณค่าอันจะก่อให้เกิดความสุขให้เกิดความสงบสุขแก่คนในสังคมและประเทศชาติ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่มีต่อผลการพัฒนาประเทศชาติ
5) การไม่คัดลอกงานเขียนของผู้อื่น โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเอง เมื่อยกข้อความหรืองานเขียนของผู้อื่นมาประกอบจะต้องให้เกียรติเจ้าของงานโดยการเขียนอ้างอิงที่มาของเรื่องและชื่อผู้เขียนทุกครั้ง

 การเขียนให้ข้อมูลในเอกสารทางธุรกิจประเภทต่างๆ

 การกรอกใบสมัครงานภาษาอังกฤษ

ใบสมัครงานที่ผู้สมัครต้องกรอกตอนที่ไปสมัครงานตามบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ นั้น จะมีลักษณะ ต่างๆกันในแต่ละแห่ง แต่โดยส่วนรวมแล้วมักจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันแทบทุกแห่ง โดยมีรายละเอียดการกรอกดังนี้ 

1. หลักการเบื้อต้น (How to complete an application form)

1.1 ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ของใบสมัคร (Read clear what the procedures are) เช่น ให้เขียนหรือพิมพ์ หรือข้อความตอนใดที่ต้องเขียนด้วยอักษรตัวพิมพ์

1.2 ตอบคำถามในใบสมัครให้ครบถ้วน (Complete all questions) ข้อความใดที่ไม่ต้องการก็ให้ทำเครื่องหมายหรือใส่ข้อความลงไป

1.3 กรอกใบสมัครให้ดูน่าสนใจที่สุด (Make it clean, clear,accurate interesting, and wellpresented) หมายถึงเขียนให้สะอาดเรียบร้อยและเลือกเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุด

1.4 เตรียมคำถามที่อาจถูกถามจากการกรอก (Prepare to be questioned about what you filled in) เป็นการเตรียมคำอธิบายว่าสิ่งที่เรากรอกลงไปนั้น ถ้าต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจะอธิบายเพิ่มเติมได้อย่างไร

1.5 กรอกใบสมัครให้เสร็จโดยเร็วและรีบส่งทันที (Complete and submit an application assoon as possible).

 2.การกรอกประวัติส่วนตัว (Personal Details)

2.1 การเขียนชื่อ เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งชื่อ (Name) และนามสกุล (Last Name / Surname) โดยใส่คำนำหน้าชื่อด้วย เช่น Mr. , Mrs. , Miss. , Ms. , บางแห่งจะให้เขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

ตัวอย่าง

Name : Mr. SOMBAT RAKDI (English)

NAME : นายสมบัติ รักดี (THAI)

2.2 การเขียนที่อยู่ (Address) ควรเขียนให้ละเอียด การเขียนชื่อทางภูมิศาสตร์(Geographical name) นั้นสามารถเขียนทับศัพท์ได้เลย เช่น

Soi (ซอย)13- Thanon (ถนน-แต่คำว่าถนนสามารถใช้คำว่า Road แทนได้เพราะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป) Amphoe / khet (อำเภอ / เขต) Changwat (จังหวัด จะเขียนนํหน้าชื่อหรือ ไม่ก็ได้ เพราะชื่อจงัหวัดต่าง ๆ เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว) และอย่าลืมใส่รหัสไปรษณีย์ตัวอย่าง
Present Address 622/151 Soi Suan Luang, Charansanitwong Rd., Khet Bangkoknoi, Bangkok 10700

การเขียนที่อยู่ในบางครั้งจะมีช่องสำหรับกรอก 2 ช่องคือ

1.       Home Address / Present Residence(ที่อยู่บ้าน) หรืออาจใช้ Permanent Address ที่อยู่ถาวร คือที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน

2.       Mailing Address หมายถึงที่อยู่ที่ต้องการให้ติดต่อทางไปรษณีย์

**กรณีที่สถานที่อยู่เป็นสถานที่เดียวกันทั้งสองช่อง ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องเขียนข้อความซ้ำกันควรเขียนว่า As above หรือ Same as above หมายถึงที่อยู่เหมือนกับสถานที่อยู่ข้างต้น

2.3 สถานภาพทางการสมรส (Marital Status) และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ(Personal Data)

ผู้สมัครต้องกาเครื่องหมาย / ลงหน้าช่องที่เว้นไว้

ตัวอย่าง

·         Single (โสด)

·         Married (แต่งงานแล้ว)

·         Widowed (เป็นหม้าย)

·         Married with no children (แต่งงานแล้วแต่ยังไม่มีบุตร)

·         Divorced (หย่า) Separated (แยกทางกัน)

ในกรณีที่แต่งงานแล้ว จะต้องกรอก

Marriage Cert. No .. (หมายเลขใบทะเบียนสมรส)

Issued at . (ออกให้ที่อำเภอ หรือเขต)

Dated Issued (วัน เดือน ปีที่ออกใบทะเบียนสมรส )

Spouse (ชื่อคู่สมรส)

·         Birthdate (วัน เดือน ปีเกิด) เช่น May 1, 1970

·         Birthplace / Nataive Place (สถานที่เกิด) ให้เขียนชื่อจังหวัดที่เกิด เช่น Pattani

·         ID Card No. (เลขประจำตัวบัตรประชาชน) เช่น 2 9099 00050 11 6

·         Issued at (สถานที่ออกบัตร) เช่น Amphoe Panare, Pattani

·         Date Issued / Dated (วันที่ออกบัตร) เช่น October 12, 1990

·         Expiry date / Valid Until (วันที่บัตรหมดอายุ) เช่น October 11, 1996

·         Religion (ศาสนา) เช่น Buddhism / Islam / Catholic / Protestant

·         Taxpayers No. (หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี)

·         Social Security No. (เลขประจำตัวบัตรประกันสังคม)

2.4 สถานภาพทางการทหาร (Military Status) มี 3 สถานภาพคือ

·         Serving หมายถึง การอยู่ในระหว่างรับราชการทหาร เช่น กำลังอยู่ในภาวะเป็นทหารเกณฑ์

·         Completed หมายถึง ผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้วโดยการเป็นทหารเกณฑ์

·         Exempted หมายถึง ได้รับการยกเว้นโดยการเรียน ร.ด.จบหลักสูตร หรือจับฉลากได้ใบดำ หรือร่างกายไม่ได้ขนาด หรือกำลังเป็นนักศึกษา

ในบางครั้งเราต้องบอกเหตุผลของการได้รับการยกเว้นว่าเป็นเพราะอะไร (With reason) สามารถบอกได้หลายวิธี เช่น

·         Finished Reserved Officers Training Corps Course (R.O.T.C.) (สำเร็จหลักสูตรรักษาดินแดน) หรือจะใช้ว่า

·         Finished Military Service Training of Territorial Defence Course (สำเร็จหลักสูตรรักษาดินแดน

·         Reserved Status หรือ Reservist (ทหารกองหนุน)

·         Registered Status หรือ Registrant (ทหารกองเกิน)

·         Exempted through Military Drawing Ballot (ผ่านการเกณฑ์ทหาร เพราะจับฉลากได้ใบดำ)

·         Exempted by Being Undersize (เพราะร่างกายไม่ได้ขนาด)

by physical disability (เพราะจุดบกพร่องของร่างกาย)
by being a student (เพราะเป็นนักศึกษา)

ตัวอย่าง

If you are eligible for Military Service, state whether serving, completed or exempted
(with reason) . Exempted with ROTC

หรือบางครั้งจะมีคำถามกว้าง ๆ เราก็เลือกตอบได้ เช่น

State your military service No Military Service Obligation
(พ้นพันธะทางทหาร)

**หมายเหตุ ศัพท์ภาษอังกฤษ การเกณฑ์ทหาร แบบอังกฤษจะใช้ว่า Drafting (Drafted) ส่วนแบบอเมริกันจะใช้ว่า Conscription (Conscripted)

ตัวอย่าง

If you are under the military age, indicate when your conscription is die, ..
(ถ้าคุณมีอายุไม่ถึงการเกณฑ์ทหาร ให้ระบุเวลาที่ถึงกำหนดต้องเกณฑ์ทหาร)

2.5 สุขภาพ (Health Conditions) ส่วนใหญ่จะถามถึงสุขภาพและโรคประจำตัวหรือการได้รับอุบัติเหตุว่าเป็นอย่างไร คำศัพท์ที่ถามเกี่ยวกับโรคภัย ได้แก่

·         Physical disabilities or defects – ข้อบกพร่องทางร่างกาย

·         Handicap – ความพิการ

·         Chronic disease – โรคติดต่อ

·         Serious mental illness – การเจ็บป่วยทางจิต

·         Serious physical illness – การเจ็บป่วยทางกาย

·         Colour blindness – โรคตาบอดสี

ช่องเกี่ยวกับสุขภาพเรามักจะตอบว่า ไม่เคยเป็นโรค หรืออาการเจ็บป่วยเพราะฉะนั้นเราจึงไม่ตอบโดยวิธีเขียนว่า N/A (Not Applicable) หมายถึง ไม่กรอกข้อความหรือไม่มีข้อมูล

ตัวอย่าง

Physical disabilities or handicap or chronic disease (e.g. sight, hearing, speech,colour blindness, lameness, heart)

N/A

2.6 รายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว (Family Details) ในใบสมัครจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อบิดา-มารดา พี่-น้อง และจุดที่สำคัญคือ อาชีพของแต่ละคน คำศัพท์ที่ใช้กรอกในช่องอาชีพ(Occupation) มีดังนี้

·         Civil Servant (Government Official) ข้าราชการพลเรือน

·         Retired Government Official ข้าราชการบำนาญ

·         Officer รับราชการ (ทหาร ยศร้อยตรีขึ้นไป)

·         Sub Lieutenant ร้อยตรี (Sub. Lt.)

·         Lieutenant ร้อยโท (Lt.)

·         Army Captain ร้อยเอก (Army Capt.)

·         Soldier รับราชการ (ทหาร ยศต่ำกว่าร้อยตรี)

·         Sergeant Major First Class จ่านายสิบเอก (จ.ส.อ.)

·         Sergeant Major Second Class จ่าสิบโท (จ.ส.ท. )

·         Sergeant Major Third Class จ่านายสิบตรี (จ.ส.ต.)

·         Sergeant สิบเอก (ส.อ.)

·         Self-Employed หรือ Own Business ทำงานส่วนตัว

·         State Enterprise Employee พนักงานรัฐวิสาหกิจ

·         Employee ลูกจ้าง

·         Trader ค้าขาย

ในกรณีที่ทำงานในอาชีพที่มีเกียรติ หรืออาชีพที่ใช้ความรู้ทางวิชาการ หรืออาชีพที่รู้จักกันกว้างขวางในสังคม หรือ ได้รับการยอมรบั จากสังคม(Profession) เราอาจจะใส่ชื่ออาชีพนั้น ๆ ไปก็ได เช่น นายแพทย์ (Doctor) ทนายความ (Lawyer) ครู-อาจารย์ (Instructor) วิศวกร (Engineer) เป็นต้น

3.การกรอกประวัติการศึกษา (Educational Background)

3.1 ระดับประถมศึกษา (Educational Level)

·         Primary (ระดับประถมศึกษา)

·         Secondary (ระดับมัธยมศึกษา)

·         Vocational / Technical (ระดับอาชีวะ หรือวิชาชีพ)

·         College (ระดับวิทยาลัย)

·         University (ระดับมหาวิทยาลัย)


3.2 วุฒิการศึกษา
 (Degree / Certificate)

·         Certificate, Diploma ประกาศนียบัตร

·         High School Certificate ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย

·         Certificate of Technical Vocation ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)

·         Certificate of Vocational Education (Cert. Of Voc.Ed.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือ

·         Vocational Certificate (Voc. Cert.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

·         Diploma / High vocational Certificate (Dip. / High Voc. Cert.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

·         Bachelor of Science (B. Sc.) ปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์

·         Bachelor of Engineering (B.Eng.) ปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์

·         Bachelor of Industrial Technology (B.Ind.Tech.)ปริญญาตรีด้านอุตสาหกรรมศาสตร์

·         Bachelor of Accountancy (B.Acct.) ปริญญาตรีด้านบัญชี

·         Bachelor of Business Administration (B.BA.) ปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจ

หลังคุณวุฒิการศึกษาควรที่จะใส่สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาโดยเติมคำว่า in หรืออยู่ในวงเล็บ และ ตามด้วยสาขาวิชา เช่น

·         Auto Mechanics ช่างยนต์

·         Machine Shop Mechanics ช่างกลโรงงาน

·         Mechanical Technology ช่างยนต์

·         Electrical Engineering วิศวกรรมไฟฟ้า

·         Building Construction ช่างก่อสร้าง

·         Mechanical Engineering วิศวกรรมเครื่องกล

·         Civil Construction ช่างก่อสร้าง / ช่างโยธา

·         Electronics Engineering วิศวกรรมอิเล็อนิกส์

·         Electrical Power Technology ช่างไฟฟ้ากำลัง

·         Civil Engineerin วิศวกรรมโยธา

·         Architectural Drawing ช่างเขียนแบบสถาปัตยกรรม

·         Surveying ช่างสำรวจ

·         Electronics Technology ช่างอิเล็กทรอนิกส์

·         Accounting การบัญชี

·         Marketing การตลาด

·         Finance and Banking การเงินและการธนาคาร

·         Human Resource Management การจัดการทรัพยากรมนุษย์

·         Business English ภาษาอังกฤษธุรกิจ

·         Computer Science วิทยาการคอมพิวเตอร์

·         Industrial Engineering วิศวกรรมอุตสาหการ

ตัวอย่าง

Voc.Cert. in Auto Mechanics

Diploma in Electronics Technology

B.Eng. in Electronics Engineering / Electrical Engineering

** หมายเหตุ ถ้าช่องสำหรับกรอกการศึกษาเว้นประเภทของโรงเรียนไว้ให้ผู้สมัครเติมข้อความเองผู้สมัคร
ควรที่จะเขียนการศึกษาสูงสุดที่ตนเองได้รับก่อน และเขียนการศึกษาย้อนหลังไปอีกระดับหรือสองระดับก็เป็น
การเพียงพอ ส่วนใบสมัครที่ได้กำหนดระดับการศึกษาไว้ในใบสมัครแล้ว ผู้สมัครก็ต้องเขียนรายการตามที่ใบ

สมัครกำหนดไว้เช่น ในบางครั้งมีการระบุว่าต้องเขียนสถานที่ตั้ง (Location) ของสถาบันการศึกษาด้วยซึ่งหมายถึงชื่อ

จังหวัดที่สถาบันนั้น ๆ ตั้งอยู่ เช่น Phuket Technical College, Phuket

 4. การกรอกความสามารถพิเศษ (Language Proficiency) ความสามารถพิเศษจะแบ่งกลุ่มใหญ่ ๆได้ 2 ลักษณะ คือ

4.1 ความสามารถทางภาษา (Language Proficiency) ภาษาต่างประเทศที่ใช้กรอก ได้แก่

·         English ภาษาอังกฤษ

·         Japanese ภาษาญี่ปุ่น

·         Chinese ภาษาจีน ควรจะระบุด้วยว่าเป็น Taechiew ภาษาจีนแต้จิ๋ว

·         Mandarin ภาษาจีนกลาง

·         Cantonese ภาษาจีนกวางตุ้ง

วิธีระบุความสามารถทางภาษาจะมีด้านต่าง ๆ เช่น Speaking, Reading, Writing, Understanding

ผู้กรอกมีวิธีการกรอกโดยเติมศัพท์ดังนี้

4.2 ความสามารถด้านอื่น ๆ (Career Qualifications) ความสามารถที่จะเป็นการเพิ่มคุณสมบัติของเราเพื่อประโยชน์ในการสมัครงาน เช่น ด้านกีฬา หรือด้านอาชีพ เช่น

·         Computer repair and knowledge of software : ซ่อมคอมพิวเตอร์และมีความรู้เรื่องซอฟต์แวร์

·         Knowledge of setting up computer networks : มีความรู้ในการติดตั้งข่ายงานคอมพิวเตอร์

·         Knowledge of CAD and computer systems : มีความรู้ในการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย

·         Able to write program with BASIC, C language : สามารถเขียนโปรแกรมภาษาเบลิคและภาษาซี

·         Machine design or equipment making : การออกแบบเครื่องจักรกลหรือการสร้างอุปกรณ์

·         Mechanical engineering design : การออกแบบทางวิศวกรรมเครื่องกล

·         Knowledge in switchboard design on manufacture and wiring works : มีความรู้ด้านการออกแบบแผงสวิตซ์เพื่อการผลิต และงานเดินสายไฟฟ้า

·         Practical ability to operate PC and other OA equipment : มีความสามารถเชิงปฏิบัติในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติ

·         Ability in troubleshooting, modification and maintenance for electronics measurement equipments : มีความสามารถในการตรวจซ่อม การดัดแปร และการบำรุงรักษาอุปกรณ์การวัดทางอิเล็กทรอนิกส์

·         Working knowledge of computers using spreadsheets and data bases. : มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ สามารถใช้แผ่นตารางทำการและฐานข้อมูล

·         Goodknowledge of PC hardware and software, especially spreadsheets wordprocessor, databases, LAN communication and graphics : มีความรู้อย่างดีด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องแผ่นตารางทำการ เครื่องประมวลคำ ฐานข้อมูล การสื่อสารข่ายงานบริเวณเฉพาะที่และกราฟิกส์

·         Production planning, material supply or executing production lines process : การวางแผนการผลิต การจัดหาวัสดุ หรือการดำเนินการขบวนการสายการผลิต

·         The capability to prepare and review full-scale tenders : มีความสามารถในการเตรียมการ และวิเคราะห์การประมูลราคาโครงการขนาดใหญ่

 5. ประสบการณ์การทำงาน (Experience) ในใบสมัครงานทุกบริษัทจะมีช่องประสบการณ์การทำงานไว้เพื่อจะได้รู้ว่าผู้สมัครนั้นเคยผ่านงานอะไรมาบ้าง การกรอกประสบการณ์ก็เหมือนกับการกรอกประวัติการศึกษาคือ ให้กรอกการทำงานล่าสุดก่อนแล้วค่อยย้อนหลังลงไปจนถึงการทำงานครั้งแรก สำหรับการกรอกประวัติการทำงานมักมีรายละเอียดดังนี้

5.1 ตำแหน่งที่ทำงาน (Position) เช่น

·         Technician นายช่างเทคนิค

·         Foreman หัวหน้าควบคุมงาน

·         Junior Foreman หัวหน้าควบคุมงาน (ผู้ช่วย)

·         Senior Foreman หัวหน้าควบคุมงาน (ระดับสูง)

·         Supervisor ผู้ควบคุมงาน

·         Assistant Supervisor ผู้ช่วยผู้ควบคุมงาน

·         Engineer วิศวกร

·         Assistant Engineer ผู้ช่วยวิศวกร

·         Inspector ผู้ตรวจสอบ

·         Manager ผู้จัดการ

5.2 เหตุผลที่ลาออก (Reason for Leaving) เช่น

·         No Progress

·         Limited career opportunity ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ

·         Company Discontinued บริษัทเลิกกิจการ

·         Unsuitable Position ตำแหน่งไม่เหมาะสม

·         Contract Terminated สิ้นสุดสัญญา

·         Further Study

·         To get higher education เพื่อศึกษาต่อ

·         Continue Education

·         Military Service เพื่อเข้าเป็นทหาร

·         Needed Better Job ต้องการงานที่ดีกว่า

·         Company Loss บริษัทขาดทุน

·         Company Reduced Manpower บริษัทลดพนักงาน

·         Temporary Employ เป็นงานชั่งคราว5.3 สถานที่ทำงาน (Work Place) เช่น

·         Electricity Generating Autority of Thailand (EGAT) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

·         Thailand Tobacco Monopoly โรงงานยาสูบ

·         Metropolitan Water Works Authouity การประปานครหลวง

 6. เรื่องเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous) ผู้กรอกต้องกรอกในหัวข้อดังนี้

6.1 ตำแหน่งที่สมัคร ให้กรอกตามประกาศที่รับสมัครโดยให้ตรงตามคุณวุฒิและข้อกำหนดของตำแหน่งนั้น ๆ

6.2 เงินเดือน การกรอกเงินเดือนควรกรอกเป็นช่วงเพื่อให้นายจ้างมีทางเลือกที่จะพิจารณา เช่น 9,000 – 10,000 บาท การกรอกเงินเดือนไม่ควรให้ต่ำหรือสูงเกินไป ในกรณีที่ผู้สมัครไม่ ต้องการจะกรอกจำนวนเงิน อาจจะกรอกข้อความอย่างอื่นได้ เช่น

Negotiable เงินเดือนแล้วแต่จะตกลง

Is up to your consideration เงินเดือนแล้วแต่จะพิจารณา

ตัวอย่าง

Salary required 3,000 3,500 / month

Salary Negotiable

6.3 คำถามเกี่ยวกับการกระทำความผิด มีดังนี้

·         Have you ever been arrested, คุณเคยถูกจับกุมหรือไม่

·         taken into custody, เคยถูกคุมขัง

·         held for investigation, เคยถูกสอบสวน

·         the offence charged? ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด

·         Do not give minor traffic ไม่ต้องกล่าวถึงการฝ่าฝืนกฎจราจร

·         violations เล็กน้อย

6.4 คำถามเกี่ยวกับการถือครองใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น

·         Driving Licence / Driver s License ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์

·         Auditing Licence ใบอนุญาตการตรวจสอบบัญชี

·         Registered Engineering Licence ใบประกอบอาชีพวิศวกร

·         Certified Professional Auditor ใบประกอบอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี

·         Teaching Licence ใบประกอบวิชาชีพครู

ตัวอย่าง

– Do you hold any licence? If yes, what?

– Yes, Registered Engineering Licence

6.5 คำถามเกี่ยวกับการเริ่มเข้าทำงาน

– When will you be available to start work?

– I will be available / on Sept. 1 / anytime you wish.

 7. การเขียนผู้รับรอง (Reference) ควรที่จะเขียนอย่างน้อย 2 คน หรือตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสมัคร ซึ่งในใบสมัครงานมักจะระบุว่าผู้รับรองต้องไม่ใช่ญาติ (Relatives) กับผู้สมัคร การเขียน ชื่อ สกุล ผู้รับรองนั้นต้องมีคำรำหน้านามเสมอ ในกรณีผู้รับรองมียศทางทหาร / ตำรวจ หรือตำแหน่งทางราชการ บริหาร/ การเมือง หรือตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. Asst. prof. รศ. Assoc. Prof. ศ. Prof) ควรที่จะเขียนด้วยเพื่อความน่าเชื่อถือ

ตัวอย่าง

References – Teacher, professional and business people, who have known you for

more than five years. Do not use names of relatives.

การเขียน E-mail

การเกริ่นนำจดหมาย หรืออีเมลล์ เพื่อแจ้งให้ทราบ

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– I’m writing to tell you that …
– I’m writing to inform you that …
– This is to make you aware that …
– I want to fill you in on …
– Please be advised that …

คำศัพท์ที่น่าสนใจ
inform (อินฟอร์ม’) = บอก,แจ้ง
aware (อะแว-) = ทราบ
advise (แอ็ดไฝส-) = แจ้งให้ทราบ, แนะนำ

โครงสร้างไวยากรณ์ (grammar) ที่น่าสนใจ

With + noun, subject + verb …

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
With the next product release, we will change our advertising strategy.
= (เนื่องด้วย)การปล่อยผลิตภัณฑ์ตัวถัดไป เราจะเปลี่ยนกลยุทธ์การโฆษณา

การแนะนำข้อมูลทั่วไป

– For your background information, …
– To give you a general summary, …
– To provide you with a broad picture of …
– Just so you have a comprehensive idea of …
หมายถึง เพื่อให้คุณได้เข้าใจอย่างคร่าวๆ เกี่ยวกับ

การเกริ่นนำ เรื่องที่รู้อยู่แล้ว

– As you know, …
– As you may have noticed, …
– As you might have guessed, …
– You might already be aware that, …

การเขียนแจ้งเรื่องความรับผิดชอบ

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– … (Name) … will be responsible for …
– … (Name) … will be in charge of …
– … (Name) … will be taking care of …
แปลว่า …(ชื่อ)จะรับผิดชอบด้าน

– … (Name) … will assume the role of (position)
แปลว่า …(ชื่อ)จะรับหน้าที่ในตำแหน่ง

– … (Name) … has assumed a number of responsibilities in …
แปลว่า …(ชื่อ)จะดูแลรับผิดชอบงานเกี่ยวกับด้าน

การตักเตือน เป็นภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างการเขียนขึ้นต้นประโยค
– Be mindful of …
– Try not to forget …
– Please try to heed …
– Remember that … is essential.
– Please keep in mind that …

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– Remember that being punctual is essential.
= จำไว้ว่าการตรงต่อเวลาเป็นสิ่งสำคัญ

– Please keep in mind that we start work at eight o’clock sharp.
= โปรดจำใส่ใจว่าเราเริ่มงาน 8 โมงตรง

การแสดงความเสียใจ ภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างการเขียนขึ้นต้นประโยค
– I am sorry that …
– I feel sorry that …
– I am regretful that …
– I feel regretful that …
แปลว่า ฉันเสียใจ/เศร้า กับเรื่อง

– It is unfortunate that …
– It is regrettable that …
แปลว่า ช่างโชคร้าย/น่าเสียดาย ที่

– There is nothing I can say about … except that …
แปลว่า ฉันไม่มีอะไรจะพูดเกี่ยวกับ นอกเสียจากว่า

การแสดงความเห็นใจ (Showing Sympathy)

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– All our hearts go out to you.
– We’re all pulling for you.
= พวกเราทุกคนภาวนาเอาใจช่วยคุณ

– We are deeply concerned about your …
แปลว่า พวกเรารู้สึกเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่อง ของคุณเป็นอย่างมาก

สำนวนให้กำลังใจ ภาษาอังกฤษ (Encouraging Someone)

– Don’t forget to keep your chin up.
– Remember to stay positive.
– Be sure to believe in yourself.

การแสดงความขอบคุณ

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– I would like to take this opportunity to express my most 
heartfelt appreciation to you for your assistance.
= ฉันขออาศัยโอกาสนี้แสดงความซาบซึ้งใจของฉันที่มีต่อความช่วยเหลือของคุณ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ
heartfelt (ฮาร์ทเฟ็ลท) adjective = จริงใจ, โดยตั้งใจ, ไม่เสแสร้ง, อย่างน้ำใสใจจริง
appreciation (อะพรีชีเอเชิน) noun = ความรู้คุณค่า, ชอบ, ชมเชย
assistance (อะซิสเทินซฺ) noun = ความช่วยเหลือ, การสนับสนุน

การแนบไฟล์ แนบข้อมูล

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– For your review, enclosed is …
– For your review, attached is …
– For your consideration, enclosed is …
– For your consideration, attached is …
– I have included …
– I have attached …
– I have added …
– Please find enclosed …
– Please find affixed …

คำศัพท์ที่น่าสนใจ
enclose (เอนโคลซ’) = แนบมา
affix (อะฟิคซฺ’) = สิ่งเพิ่มเติม, ภาคผนวก, คำต่อท้าย

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ


(5.)  

ปัจจุบันในการทำงานมีความจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น ทั้งในการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ หรือแม้แต่การสื่อสารกับลูกค้าหรือบริษัทอื่นๆ ในประเทศไทยในบางทีที่จำเป็นต้องสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษโดยเฉพาะในการเขียนอีเมล์ ดังนั้น ภาษาอังกฤษธุรกิจจึงนับว่ามีความสำคัญมากสำหรับพนักงานบริษัทที่ต้องการสื่อสารกับแผนกต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว บทเรียนนี้นำเสนอคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจและการทำงานโดยเฉพาะ

 ภาษาอังกฤษในเชิงธุรกิจ นับว่ามีความสำคัญกับการดำรงชีวิตคนเรา ไม่ว่าจะทำอะไร ทำงาน ค้าขาย จะมีต่างชาติต่างภาษาเข้ามาทำธุรกิจค้าขายด้วย ดังนั้นเรามาเรียนรู้กันนะคะว่าคำศัพท์ที่เราต้องใช้ในการทำงานมีอะไรบ้าง

Full time                      ฟุล ทาม                        การทำงานเต็มเวลา

Part time                     พาร์ท ทาม                    การทำงานเนอกเวลา

Resume                       เร ซู  เม่                         ประวัติส่วนตัว

Interview                    อินเทอร์วิว                     สัมภาษณ์

Interviewee                อินเทอร์วิววี่                   ผู้ได้รับการสัมภาษณ์

Interviewer                 อินเทอร์วิวเวอร์             ผู้สัมภาษณ์

Employ                         เอ็ม  พลอย                  ว่าจ้าง

Employer                     เอ็ม พลอย เยอร์           ผู้ว่าจ้าง

Employee                     เอ็ม  พลอย ยี่               ลูกจ้าง

Employment                เอ็ม  พลอย เม้นท์         การว่าจ้าง

Vocation time             วาเคชั่น  ทาม               ช่วงเวลาวันหยุด

Bonus                            โบนัส                          เงินพิเศษ

Welfare                         เวลแฟร์                      สวัสดิการ

Salary                           ซาลารี่                         เงินเดือน

Promotion                   โปรโมชั่น                    การเลื่อนขั้น

Lay off                          เลย์  ออฟ                   ไล่ออก

Resignation                  รีซิกเนชั่น                  การลาออก

Registration                 รีจิสเทรชั่น                 การลงทะเบียน

Staff                               สต๊าฟ                       พนักงาน

Officer                           ออฟฟิศเซอร์             เจ้าหน้าที่

Time off                        ทาม ออฟ                 ช่วงวันหยุด

Probation                     โพรเบชั่น                  การทดลองงาน

Training period            เทรนนิ่ง พีเรียด       ระยะ การฝึกงาน

Evaluation                    อีวาลูเอชั่น              การประเมิน

Performance               เพอร์ฟอร์มม๊านซ์      การปฏิบัติงาน

Military service          มิลลิทารี่  เซอร์วิส      การเกณฑ์ทหาร

Retirement                  รีไทร์เม้นท์               การเกษียณ

Business                       บิซิเนส                   ธุรกิจ

Self-employed            เซลฟ์ เอมพลอยด์   ทำธุรกิจส่วนตัว

Unemployed               อันเอ็มพลอยด์        ตกงาน

1. Absorption

การรวมธุรกิจเล็กเข้าด้วยกันกับธุรกิจใหญ่

2. Accountability

1) สภาพที่บุคคลหนึ่งสามารถที่จะกระทำงานที่เขามีสิทธิ

อำนาจที่จำเป็น โดยเขาเป็นผู้รับผิดชอบผลการกระทำนั้น ๆ

2) กระบวนการรายงานตามสายบังคับบัญชาถึงผลงานของกลุ่ม

ทำงาน หรือหน่วยงานที่ย่อยกว่า

3. Achievement

การทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

4. Acquisition

การขยายกิจการแบบเข้าไปซื้อ

5. Added valve

การเพิ่มมูลค่าในสินค้าและบริการจากกระบวนการผลิตหรือ

การกระจาย ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังแรงงาน

เปลี่ยนแปลงวัตถุให้มีมูลค่าสูงขึ้น บางครั้งวัดด้วยส่วนต่าง

ระหว่างรายได้ จากการขายและรายจ่ายของการลงทุนค่า

วัตถุดิบและค่าแรง

6. Agent

ตัวแทน หมายถึง บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทน

ในการซื้อหรือขายหรือในการทำสัญญา

7. Allocation

1) การแบ่งทรัพยากรหรือค่าใช้จ่ายกิจกรรมแต่ละอย่างของ

แผนกต่าง ๆในองค์กร

2) จำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรร

8. Annotation

บันทึกซึ่งใช้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือวิจารณ์ เสนอแนะหรืออธิบาย

เอกสารที่ส่งมาก่อนหน้านี้แล้ว

9. Annual report

รายงานผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินขององค์กรธุรกิจ

ประจำปีจากผู้อำนวยการบริษัทถึงผู้ถือหุ้น

10. Aptitude test

การทดสอบความถนัด การทดสอบเพื่อค้นหาความเหมาะสม

ในการทำงานเฉพาะอย่างของคน หน่วยงานบางงานใช้การ

ทดสอบนี้ในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน

11. Arbitrage

การหากำไรจากส่วนต่างของราคาของหลักทรัพย์ เงินตราหรือ

สินค้าในตลาดต่างกัน โดยสั่งซื้อในตลาดที่ราคาต่ำกว่าและส่ง

ขายในราคาที่สูงกว่า

12. Attrition

1) การลดจำนวนพนักงาน อันเนื่องมาจากการลาออก

ปลดออก ปลดเกษียณ โยกย้าย

2) การบีบให้พนักงานที่ไม่เป็นที่ต้องการลาออก โดยการ

วิจารณ์ ใช้การกดดันอย่างสม่ำเสมอ

13. Authority

1) อำนาจตามกฎหมายซึ่งผูกติดอยู่กับฐานะตำแหน่งลำดับชั้น

2) การให้สิทธิอำนาจโดยองค์กรและการยอมรับโดยพนักงาน

ให้ผู้หนึ่งผู้ใดหรือกลุ่มใดสามารถที่จะออกคำสั่งตัดสินใจ

และบังคับบัญชาลูกน้อง

3) (authorities) ศูนย์เอกสารทางการซึ่งธนาคารรับรองและ

เชื่อถือ

14. Behavioral approach

ทฤษฎีการบริหารจัดการที่เน้นการพัฒนาประสิทธิภาพ

15. Benefit (in kind)

1) ผลประโยชน์หรือสวัสดิการที่ให้แก่ลูกจ้าง นอกเหนือจาก

เงินเดือนหรือค่าจ้าง (fringe benefit)

2) ผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการตกลงใจซื้อขาย

สินค้าใด สินค้าหนึ่ง เช่น การแจกแถม ให้สิทธิต่าง ๆ

ในการซื้อสินค้า

16. Black Market

ตลาดมืด การซื้อขายสินค้านอกตลาดที่ควบคุมโดยรัฐบาล

ไม่ว่าเป็นการควบคุมราคาหรือควบคุมปริมาณ (การปันส่วน)

17. Blacklist

บัญชีดำ รายชื่อบุคคลหรือองค์การซึ่งถูกถือว่ามีเครดิตไม่ดี

เสี่ยงต่อการติดต่อทำธุรกิจด้วย

18. Blue-collar workers

คนงานที่ทำงานในกระบวนการผลิตโดยตรง เช่น คนงาน

โรงงาน ซึ่งต่างกับ white-collar workers ซึ่งทำงานใน

สำนักงาน

19. Bond

พันธบัตรหรือเอกสารที่ผู้ลงนามรับรองว่าจะจ่ายเงินให้ผู้ถือ

ตามระยะเวลาที่กำหนด ตามเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ที่ออก

เอกสารนี้คือ รัฐบาล ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ และบริษัท

20. Bonus

การให้ผลตอบแทนพิเศษแก่พนักงานประจำงวดหกเดือน

หรือ 1 ปี โดยพิจารณาจากผลงานของพนักงานและกำไร

ขององค์กร บางแห่งก็มีการประกันล่วงหน้าว่า จะให้โบนัส

ไม่ต่ำกว่าเท่าไหร่ การให้โบนัส เป็นการให้แรงจูงใจผู้ทำงาน

ที่สำคัญวิธีหนึ่ง แต่ก็มีข้อควรคำนึงอยู่บ้างว่า ไม่ควรให้สูง

จนบิดเบือนโครงสร้าง เงินเดือนหรือทำให้ผู้บริหารที่ต้อง

การโบนัสมาก ๆ มุ่งแต่การหากำไรระยะสั้น โดยคำนึงถึงผล

ประโยชน์ระยะยาวขององค์กร น้อยกว่าที่ควรเป็น

  การสนทนาภาษาอังกฤษผ่านทางโทรศัพท์ การเริ่มต้นประโยคสนทนาทางโทรศัพท์ สามารถเริ่มต้นด้วยประโยคทักทายที่ใช้กันบ่อยและคุ้นเคยกันดี เช่น Hello, Hi, Good morning ฯลฯ ตามด้วยการบอกชื่อของผู้พูดเองหรือสถานที่ที่อยู่ ตัวอย่างเช่น

is speaking.  ..(ชื่อ)...รับสาย/ พูดอยู่ครับ
This is ...   นี่คือ...
Is that ...?   ที่นั่น ..(เบอร์/ สถานที่)... ใช่ไหม
Yes, it is.   ครับ ถูกแล้ว
No, this is ... ไม่ใช่ครับ ที่นี่คือ ....
                             ตัวอย่างประโยคทักทายภาษาอังกฤษผ่านทางโทรศัพท์
      Hello. Saengchan Resort. May I help you ?
สวัสดีครับ ที่นี่รีสอร์ทแสงจันทร์ มีอะไรให้ช่วยไหมครับ
หากมีการรับสาย การพูดขอสายในโทรศัพท์ สามารถใช้ประโยคเหล่านี้ได้ เช่น
 May I speak to... please ?  ขอสายคุณ...ได้ไหมค่ะ
Can I talk to... please ?  ขอสายคุณ...ได้ไหมค่ะ
I want to talk to ... please.  ผมต้องการพูดกับคุณ... ครับ
I'd like to speak to... please.  ฉันขอพูดกับคุณ.... หน่อยครับ
Is.... there ?  คุณ... อยู่ที่นั่นไหม
Would you please call Peeda to the phone ?  ช่วยเรียกคุณปรีดา มารับโทรศัพท์หน่อยได้ไหม
Hey!
Hey! Narong, it's for you.  เฮ้! ณรงค์ นี่สายของคุณ
Peeda, you are wanted on the phone/line.  คุณปรีดา มีคนขอสายกับคุณครับ
Mr.B, Miss Wanwisa is on the phone/line.  คุณบีครับ คุณวันวิสากำลังอยู่ในสายครับ
Mr. Tawee get the phone, please.  คุณทวี กรุณารับโทรศัพท์ด้วยครับ
Please get the phone for me.  ช่วยรับโทรศัพท์ให้ฉันด้วย
ถ้าหากต้องการให้อีกฝ่าย ช่วยต่อสายหรือโอนสายไปหาผู้รับปลายทาง สามารถนำประโยคเหล่านี้ไปปรับใช้ตามต้องการ
          Would you please connect me to…in the…Section?
วูด ยู พลีซ คอนเนคท มี ทูอิน เธอะเซคชัน
รบกวนช่วยต่อสายคุณที่อยู่ฝ่ายให้ฉันด้วย

            Could you connect me to extension 109?

คูด ยู คอนเนคท มี ทู เอคสเทนชัน วัน โอ ไนน
รบกวนคุณช่วยต่อเบอร์ 109 ให้ฉันได้ไหม
           Hello. Extension 10,please.
เฮลโล เอคสเทนชัน เทน พลีซ
สวัสดีครับ กรุณาต่อหมายเลข 10
           Room 229, please.
รูม ทู ทู ไนน พลีซ
ช่วยต่อห้อง 229 ให้ด้วยครับ
           I want number 201.
ไอ วอนท นัมเบอะ ทู โอ วัน
ฉันต้องการต่อหมายเลข 201
          Please connect me with…
พลีซ คอนเนคท มี วิธ
ช่วยต่อสายคุณให้ฉันหน่อย
         I will connect you now.
ไอ วิล คอนเนคท ยู นาว
ฉันจะโอนสายให้คุณเดี๋ยวนี้เลย
หากต้องการทราบว่าผู้พูดนั่นเป็นใคร สามารถใช้ประโยคเหล่านี้ได้

        Who is this speaking, please?
ฮู อีส ธิส สพิคคิง พลีซ
นี่ใครกำลังพูดอยู่ครับ
       May I ask who’s calling, please?
เมย์ ไอ อาสค ฮูส คอลลิง พลีซ
ไม่ทราบว่าใครโทรมาครับ
       What’s your name please?
วอทส ยัวร์ เนม พลีซ
ขอทราบชื่อคุณด้วย

         Who shall I say called?

ฮู แชล ไอ เซย์ คอลด
จะให้บอกว่าใครโทรมาครับ
       Who shall I say is calling?
ฮู แชล ไอ เซย์ อีส คอลลิง
จะให้ผมบอกว่าใครโทรมา

หากเราต้องการบอกคู่สนทนาว่า กรุณาถือสายรอสักครู่ สามารถใช้ประโยคเหล่านี้ได้

Please hold on (the line).
พลีซ โฮลด ออน (เธอะ ไลน)

Just a moment, please.
จัสท อะ โมเมนท พลีซ

Just a few minutes, please.
จัสท อะ ฟิว มินนิทส พลีซ

Just a second, please.
จัสท อะ เซคเคินด พลีซ

Hold on the moment, please.
โฮลด ออน เธอะ โมเมนท พลีซ

Hold on the line, please.
โฮลด ออน เธอะ ไลน พลีซ

Wait a minute, please.
เวท อะ มินนิทส พลีซ

Wait a moment, please.
เวท อะ โมเมนท พลีซ


Will you hold a line for a few minutes, please?
วิล ยู โฮลด อะ ไลน ฟอร์ อะ ฟิว มินนิทส พลีซ
กรุณาถือสายรอสัก 2-3 นาทีได้ไหมครับ
 หากผู้ที่ถูกขอสายไม่อยู่ หรือไม่ว่าง ให้กล่าว Sorry หรือ I’m sorry เพื่อความสุขภาพ แล้วตามด้วยประโยคต่อไปนี้

Sorry to keep you waiting.
ซอรี ทู คีพ ยู เวททิง

ขอโทษด้วยที่ให้รอ

She is not in at the moment.
ชี อีส นอท อิน แอท เธอะ โมเมนท

ตอนนี้เธอไม่อยู่

He’s not available now.
ฮีส นอท อะเวลละเบิล นาว

ตอนนี้เขาไม่ว่าง

He isn’t here.
ฮี อีสซึนท เฮียร์

เขาไม่ได้อยู่ที่นี่

She’s taking her leave now.
ชีส เทคคิง เฮอร์ ลีฟ นาว

เธออยู่ในช่วงลาพักค่ะ

He is out for lunch.
ฮี อีส เอาท ฟอร์ ลันช

เขาออกไปทานอาหารกลางวัน

She is on another line.
ชี อีส ออน อะนาเธอะ ไลน

เธอติดสายอยู่ครับ

The line is busy.
เธอะ ไลน อีส บิซซี

สายไม่ว่างเลยครับ

Someone is on the phone.
ซัมวัน อีส ออน เธอะ โฟน

มีคนกำลังใช้สายอยู่ครับ

Will he be back soon?
วิล ฮี บี แบค ซูน

เขาจะกลับมาเร็วๆนี้ไหม

I’m not sure.
ไอม นอท ชัวร์

ฉันไม่แน่ใจค่ะ

What time will he be back?
วอท ไทม วิล ฮี บี แบค

เขาจะกลับมากี่โมงครับ

He’ll be back at…o’clock.
ฮี วิล บี แบค แอทโอคลอด

เขาจะกลับมาเวลา


           When is the coming back, please?
เวน อีส ชี คัมมิง แบค พลีซ
เธอจะกลับมาเมื่อไหร่ครับ
          I think he’s coming back in half an hour.
ไอ ธิงค ฮีส คัมมิง แบค อิน ฮาล๊ฟ แอน เอาเออะ
ฉันคิดว่าเขาจะกลับมาภายในครึ่งชั่วโมง
         I don’t thik she’ll be back again today.
ไอ โดนท ธิงค ชีล บี แบค อะเกน ทูเดย์
ฉันไม่คิดว่าเธอจะกลับเข้ามาอีกในวันนี้นะ
          Is there anyone else you would like to talk to?
อีส แธร์ เอนนีวัน เอลซ ยู วูด ไลค ทู ทอล์ค ทู
คุณต้องการพูดกับท่านอื่นไหมคะ

หากไม่เจอหรือได้พูดคุยกับคนที่เราจะสนทนาด้วย อาจมีการฝากข้อความไว้เพื่อให้ติดต่อกลับหรือได้รับเรื่องให้ทราบ ซึ่งการการฝากหรือรับฝากข้อความ ให้ใช้ประโยคต่อไปนี้

May I leave a message?
เมย์ ไอ ลีฟว อะ เมสเซจ

ฉันขอฝากข้อความหน่อยได้ไหม

Would you please take a message?
วูด ยู พลีซ เทค อะ เมสเซจ

ฝากคุณจดข้อความไว้หน่อยได้ไหม

Can I take a message for him?
แคน ไอ เทค อะ เมสเซจ ฟอร์ ฮิม

ให้ฉันจดข้อความไว้ให้เขาไหม

Will you wish  to leave a message for him?
วิล ยู วิช ทู ลีฟว อะ เมสเซจ ฟอร์ ฮิม

คุณต้องการฝากข้อความถึงเขาไหม

Would you like to leave a message?
วูด ยู ไลค ทู ลีฟว อะ เมสเซจ

คุณจะฝากข้อความไว้ไหม

Have you any messages for him?
แฮฟว ยู เอนนี เมสเซจจิส ฟอร์ ฮิม

มีอะไรจะฝากบอกเขาไหม

Is there any messages?
อีส แธร์ เอนนี เมสเซจจิส

มีข้อความจะฝากไว้ไหม

Please tell her that I called.
พลีซ เทล เฮอร์ แธท ไอ คอลด

ช่วยบอกเธอด้วยว่าผมโทรหา

OK. I will tell him when he gets back.
โอเค ไอ วิล เทล ฮิม เวน ฮี เกทส แบค

ได้ ฉันจะบอกเขาให้ เมื่อเขากลับมา

All right. I’ll tell her that you called.
ออล ไรท ไอล เทล เฮอร์ แธท ยู คอลด

ได้ค่ะ ฉันจะบอกเธอว่าคุณโทรมา

Please ask him to call me back when he comes in.
พลีซ อาสค ฮิม ทู คอล มี แบค เวน ฮี คัมส อิน

ถ้าเขากลับมา ช่วยบอกให้เขาโทรหาผมด้วยนะ

Please tell him that I will call back later about 9 a.m. tomorrow.
พลีซ เทล ฮิม แธท ไอ วิล คอล แบค เลเทอะ อะเบาท ไนน เอ เอ็ม ทูมอโร

ช่วยบอกเขาด้วยว่า ฉันจะโทรมาใหม่ในวันพรุ่งนี้ ประมาณ 9 โมงเช้า

Would you please ask her to call.. when she gets back.
วูด ยู พลีซ อาสค เฮอร์ ทู คอลเวน ชี เกทส แบค

ถ้าเธอกลับมาแล้ว คุญช่วยบอกให้เธอโทรหาด้วยนะ

What is your telephone number?
วอท อีส ยัวร์ เทลละโฟน นัมเบอะ

เบอร์โทรศัพท์ของคุณคืออะไร

My telephone number is…
มาย เทลละโฟน นัมเบอะ อีส

เบอร์โทรศัพท์ของฉันคือ


          Will you call back later?
วิล ยู คอล แบค เลเทอะ
คุณจะโทรกลับมาใหม่ไหม
           I’ll call back latter. thanks.
ไอล คอล แบค เลเทอะ แธงคส
แล้วฉันจะโทรกลับมาใหม่ ขอบคุณค่ะ

          Thank you. I’ll try again later.
แธงคิว ไอล ไทร อะเกน เลเทอะ
ขอบคุณครับ ผมจะลองโทรมาอีกครั้ง

ในกรณีที่คนโทรมาผิดเบอร์ สามารถใช้ประโยคต่อไปนี้ได้เช่น

                Sorry. I think you have the wrong number.
ซอรี ไอ ธิงค ยู แฮฟว เธอะ รอง นัมเบอะ
ขอโทษครับ ผมคิดว่าคุณคงโทรผิด
             Sorry. I think you called the wrong number.
ซอรี ไอ ธิงค ยู คอลด เธอะ รอง นัมเบอะ
ขอโทษครับ ผมคิดว่าคุณโทรผิดแล้วละ
             I’m afraid. You have got the wrong number.
ไอม อะเฟรด ยู แฮฟว กอท เธอะ รอง นัมเบอะ
ฉันเกรงว่า คุณคงจะโทรผิดเบอร์นะ
           I’m sorry. There is no one here by that name.
ไอม ซอรี แธร์ อีส โน วัน เฮียร์ บาย แธท เนม
ขอโทษค่ะ ที่นี่ไม่มีคนชื่อนั้น
            Please dial 9 to get an outside line.
พลีซ ไดเอิล ไนน ทู เกท แอน เอาทไซด ไลน
โปรดหมุนหมายเลข 9 เพื่อต่อสายนอกค่ะ

ก่อนวางสายก็ต้องมีการกล่าวคำอำลาหรือบอกลาอย่างสุภาพ ถ้าใช้คำทั่วๆไป เช่น Good bye, Bye หรืออาจจะใช้ประโยคต่อไปนี้

 

Thank you for calling.
แธงคิว ฟอร์ คอลลิง

ขอบคุณที่โทรเข้ามา

Talk (to you) later.
ทอล์ค (ทู ยู) เลเทอะ

แล้วคุยกันใหม่นะ

Talk (to you) soon.
ทอล์ค (ทู ยู) ซูน

แล้วคุยกันใหม่เร็วๆ นี้

I will call you later/soon.
ไอ วิล คอล ยู เลเทอะ/ซูน

แล้วฉันจะโทรมาใหม่นะ


ตัวอย่างบทสนทนาภาษาอังกฤษ (Conversation)

A :

Hello! May I speak to C, please?
เฮลโล เมย์ ไอ สพีค ทู ซี พลีซ
สวัสดีครับ ขอสายคุณซีหน่อยครับ

B :

Hold on the moment, please.
โฮลด ออน เธอะ โมเมนท พลีซ
กรุณาถือสายรอสักครู่นะคะ

A :

All right, thanks.
ออล ไรท แธงคส
ได้เลยครับ ขอบคุณ

C :

Hello, C speaking. Who’s on the line, please?
เฮลโล ซี สพิคคิง ฮูส ออน เธอะ ไลน พลีซ
สวัสดีค่ะ ซีพูดอยู่ค่ะ นั่นใครค่ะ

A :

Hi, C. It’s me, Peter. Do you remember me?
ไฮ ซี อิทส มี พีเทอะ ดู ยู รีเมมเบอะ มี
ซี นี่ผมเอง เอ คุณจำผมได้ไหม

B :

Of course, A. How are you?
ออฟ คอร์ส เอ ฮาว อาร์ ยู
จำได้อยู่แล้ว เอ คุณสบายดีไหม

A :

Hello! May I speak with C, please?
เฮลโล เมย์ ไอ สพีค วิธ ซี พลีซ
สวัสดีครับ ผมขอสายซีหน่อยครับ

B :

I’m sorry. He’s not in now. Do you want to leave a message?
ไอม ซอรี ฮีส นอท อิน นาว ดู ยู วอนท ทู ลีฟว อะ เมสเซจ
เสียใจค่ะ ตอนนี้เขาไม่อยู่ คุณต้องการฝากข้อความไว้ไหมคะ

A :

Of course. Please tell him “A” called. And ask him to call me back very soon.
ออฟ คอร์ส พลีซ เทล ฮิม แจค คอลด แอนด อาสค ฮิม ทู คอล มี แบค เวรี ซูน
ครับ ช่วยบอกเขาด้วยว่าเอโทรมาหา และให้เขาโทรกลับหาผมด่วนเลยนะครับ

B :

OK. I will tell him when he gets back.
โอเค ไอ วิล เทล ฮิม เวน ฮี เกทส แบค
ได้ค่ะ ฉันจะบอกเขาให้ เมื่อเขากลับมา

A :

Thank you.
แธงคิว
ขอบคุณครับ

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ

(6.) โอกาสไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ สิ่งแรกที่คุณต้องพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การเข้าสังคม ไม่จำเป็นต้องเป็นงานสังคมขนาดใหญ่อย่างที่เราเห็นกันในโทรทัศน์หรือในภาพยนตร์ แต่การเข้าสังคมนี้ หมายถึงการเข้าสังคมโดยทั่วไป เริ่มตั้งแต่วันแรกที่คุณเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย

 การพบปะและทักทาย

      มารยาททางสังคมเริ่มจากเมื่อแรกพบ คนอังกฤษเมื่อพบกันจะใช้วิธียื่นมือขวาจับกันและเขย่ามือเล็กน้อย พร้อมพูด How do you do? หรือ Nice (Please) to meet you, my name is... ซึ่งอีกฝ่ายควรพูดตอบเช่นกัน จากนั้นเริ่มบทสนทนาด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนผู้นั้น เช่น หน้าที่การงาน สิ่งที่เขาเรียน สิ่งสวยงามในประเทศของเขา

      สำหรับคนที่สนิทกัน ผู้ชายจะจับมือแล้วโน้มตัวใกล้กันคล้ายกอดแบบหลวมๆ ส่วนผู้หญิงกับผู้หญิง หรือผู้หญิงกับผู้ชาย กอดเบาๆ เอาแก้มซ้ายชนกันก่อนแก้มขวา ทำปากเหมือนจูบอากาศ หากต้องการหลีกเลี่ยงการกอด ให้รีบยื่นมือเป็นการแสดงความจำนงว่าขอจับมือทักทาย

      ถ้าคนสองคนมีโอกาสได้พบกันได้บ่อยๆ ก็พูดคุยทักทายกันได้เลย คนที่อังกฤษชอบเริ่มด้วยเรื่องเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยและมีผลกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนโดยตรง ส่วนการสนทนาต่อไป ก็ให้เข้าใจว่า คนส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายๆ ที่จะพูดเรื่องใกล้ตัว เรื่องที่อยู่ในความสนใจ ความถนัด ความชอบ แต่พึงระวังว่า การถามต้องเป็นไปในลักษณะสุภาพ มีความพอดี ไม่เซ้าซี้ ซอกแซก ไม่ทำให้คู่สนทนารู้สึกอึดอัด ลำบากใจที่จะตอบ หรือคิดว่าเราเป็นพวกชอบสอดรู้สอดเห็น

      ยามต้องจากลา ในการจบบทสนทนาและปลีกตัวไป ทุกครั้งควรใช้คำว่า Sorry หรือ Excuse me แล้วตามด้วยเหตุผลของการลาจาก เช่น I have to go... I have to จะทำให้บทลาจากนุ่มนวล ราบรื่น และจบบทสนทนาด้วย Nice talking to you., See you again., Take care, Bye bye โดยอาจพูดคำลาพร้อมกับจับมืออีกครั้ง (ผู้ชายกับผู้ชาย) ถ้าสนิทกันมากอาจโอบและตบไหล่ 2-3 ครั้ง หรือโอบกันแล้วแก้มชนแก้ม จูบอากาศซ้ายขวา ถ้าจะไม่ได้พบกันอีกเป็นเวลานาน แต่หากพบกันบ่อยแล้วอาจจะพบกันอีก พูดบอกลาเฉยๆ ก็เพียงพอ

      คำสำคัญที่ควรพูดติดปากคือ Please, Thank you, Sorry, Excuse me ฯลฯ  โดย Please เมื่อต้องการขอความช่วยเหลือ เช่น Can (May) I..., please? หรือ Thank you เมื่อได้รับความช่วยเหลือ หรือพูดประกอบคำขอความช่วยเหลือ เช่น Please, can you...? Thank you

      หรือ I’m sorry สำหรับพูดขอโทษเมื่อชน หรือเหยียบเท้า ผู้พูดรู้สึกเสียใจที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น หรือทำไปโดยที่ไม่ได้คาดว่าผลจะเป็นเช่นนั้น หรือ Excuse me เมื่อต้องเรียกร้องขอความสนใจ จะเริ่มต้นถาม ขอร้องคนอื่น เช่น เวลาไปพบคุณครูแล้วคุณครูนั่งอ่านหนังสือ หรือทำงานอยู่ ควรพูดว่า Excuse me, May I ask you a question? ส่วน Pardon? Say again? Come again? Please หรือ Sorry? ใช้เมื่อต้องการให้คู่สนทนา พูดหรือถามซ้ำ

 มารยาทบนโต๊ะอาหาร

      คนอังกฤษใช้ส้อมและมีดในการรับประทานอาหาร ใช้ช้อนสำหรับตักซุป ในลักษณะตักออกจากตัว ถือส้อมในมือซ้าย ถือมีดในมือขวา (ถ้าถนัดซ้ายก็กลับข้างได้) ใช้ส้อมจิ้มชิ้นอาหารที่ต้องการตัดและใช้มีดหั่นอาหารแบบสไลด์เป็นชิ้นเล็กออก ใช้ส้อมจิ้มอาหารใส่ปากโดยคว่ำส้อม (การหงายส้อมจิ้มอาหารเข้าปากเป็นกิริยาไม่สุภาพ) ห้ามใช้มีดจิ้มอาหารใส่ปากเป็นอันขาด จำเป็นหลักไว้เบื้องต้นว่า บนโต๊ะอาหาร จานวางขนมปังสำหรับเราจะอยู่ด้านซ้ายบน หากมีมีดส้อมเรียงกันอยู่มาก ให้หยิบใช้จากนอกเข้าหาใน (จากจานแรกไปจนจานสุดท้ายที่เสิร์ฟ) ช้อนส้อมมีดเล็กๆ ที่วางเหนือจานด้านบนใช้สำหรับกินของหวาน

 การรักษาเวลา

      คนอังกฤษถือว่าการรักษาเวลาเป็นการให้เกียรติต่อกันที่สำคัญมากพอๆ กับการรักษาคำพูด ดังนั้น ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัวชาวอังกฤษจำเป็นที่จะต้องแจ้งให้เขาทราบล่วงหน้าหากจะกลับช้า กลับไม่ทันเวลาอาหาร หรือจะไม่กินอาหาร ถ้ามีการนัดหมายต้องตรงเวลา ถ้าไม่สามารถไปได้ต้องแจ้งให้ผู้ถูกนัดหมายทราบทันที

 มารยาททั่วไปในการสนทนา

ถ้าไม่รู้ สงสัย ไม่แน่ใจ ขอให้ถาม เป็นเรื่องปกติ ไม่น่าอาย ไม่พูดภาษาไทยเสียงดังกันต่อหน้าคนอังกฤษ หากจำเป็นต้องพูด ให้ขออนุญาตก่อน และจะเป็นการดีถ้าได้อธิบายให้คนอังกฤษที่อยู่ในวงสนทนารู้ว่าได้พูดคุยกันในเรื่องอะไร และนักเรียนควรพยายามฝึกการโต้ตอบด้วยการฝึกตั้งคำถามกลับไว้ ไม่ต้องกังวลว่าจะพูดไม่ถูกต้อง ถ้าเราพูดผิด เขาจะช่วยแก้ไขให้เราเอง การพยายามพูดให้มากเข้าไว้จะช่วยให้ภาษาอังกฤษพัฒนาเร็วขึ้น อย่าเกรงใจที่จะใช้ Pardon? Sorry? หรือ Excuse me?

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ

(7.)         ในบรรดาเทคโนโลยีการสื่อสารต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ และอื่น ๆ กล่าวได้ว่าในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตจัดว่าเป็นช่องทางที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกที่สุด ทำให้อินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในทุกประเทศ และอินเทอร์เน็ตยังเป็นช่องทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ประชาชนของประเทศต่าง ๆ ใช้เป็นแหล่งค้นหาข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทางอายุ เพศ ระดับการศึกษา เวลา และระยะทาง 

 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนามนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไว้หลายมาตรการ เช่น การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในเชิงบวก โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกระดับการศึกษา การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ต และอื่น ๆ ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ตจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ประชาชนอาเซียนต้องได้รับการฝึกอบรมหรือพัฒนาตนเองให้มีขีดความสามารถ นำสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การพัฒนาฝีมือแรงงาน ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ได้มากที่สุด ซึ่งทักษะต่าง ๆ ได้แก่

   ทักษะทางภาษา

ภาษาที่สำคัญที่สุด คือ ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางของโลก ประชาชนอาเซียนจึงควรมีทักษะทางภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานในระดับเพียงพอที่จะสื่อสารกันในโลกอินเทอร์เน็ตได้ เช่น ทักษะการอ่าน ทักษะการฟัง เป็นต้น นอกจากนี้ อาจจะพัฒนาทักษะทางภาษาอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภาษาจีน ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันมากและมีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก

 ทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ

เนื่องจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน สามารถเชื่อมต่อได้ด้วยคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โทรทัศน์ รวมถึงอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท๊บเล็ต ไอเพด และอื่น ๆ ประชาชนปัจจุบันจึงต้องมีความสามารถในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวไม่อย่างก็อย่างหนึ่ง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้ด้วยตนเอง

 ทักษะในการสืบค้น

ในโลกอินเทอร์เน็ต มีสารสนเทศต่าง ๆ จำนวนมากที่ไม่สามารถอ่าน ฟังได้โดยใช้เวลาเพียงชั่วอายุคน ทักษะในการสืบค้นข้อมูลหรือสารสนเทศที่ต้องการผ่านเครื่องมือค้นหา (search engine) อาทิ การสืบค้นผ่าน google จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเรียนรู้ เช่น การสืบค้นโดยการใส่เครื่องหมายคำพูด แตกต่างจากการไม่ใส่เครื่องหมายคำพูดอย่างไร การใส่เครื่องหมาย + ระหว่างคำค้นมีประโยชน์อย่างไร หรือการสืบค้นคำที่ต้องการเฉพาะจากเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง จะต้องพิมพ์คำค้นในลักษณะใด เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การสืบค้นมีประสิทธิภาพคือได้สารสนเทศที่ต้องการโดยใช้เวลาน้อยที่สุด

  ทักษะในการวิเคราะห์

หลายครั้งที่การสืบค้นเรื่องเดียวกัน นอกจากจะได้ข้อมูลชุดเดียวกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากการคัดลอกต่อ ๆ กันมาแล้ว บางครั้งอาจจะได้ข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการใช้สารสนเทศจึงจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานหรือจำเป็นต้องหาความรู้พื้นฐานประกอบ เพื่อตรวจสอบได้ระดับหนึ่งว่าสิ่งที่สืบค้นมีความถูกต้องน่าเชื่อถือเพียงใด โดยหนทางหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายคือการสืบค้นไปถึงแหล่งอ้างอิง การสืบค้นเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือสืบค้นจากเว็บไซต์ต่างประเทศ และนำมาเปรียบเทียบกันหลาย ๆ แหล่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน สมบูรณ์ และน่าเชื่อถือมากที่สุด

  ทักษะในการจัดเก็บ

ในบางครั้งสารสนเทศที่ได้จากอินเทอร์เน็ต ผู้สืบค้นยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ในขณะนั้นเลย แต่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลหรือสารสนเทศจากแหล่งอื่นมาประกอบด้วย ทักษะในการจัดเก็บข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็นอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องเรียนรู้ เช่น ทักษะการจัดเก็บข้อความ การจัดเก็บภาพ การจัดเก็บภาพและเสียง การจัดเก็บหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้า และอื่น ๆ เพื่อให้สามารถในไปใช้งานตามเวลา สถานที่ที่ต้องการหรือใช้ง่านในขณะที่ออกจากอินเทอร์เน็ตได้

 ทักษะในการเชื่อมต่อระหว่างชนิดอุปกรณ์

มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่มีโอกาสใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถสร้างข้อมูลดิจิทัลหรือสร้างเอกสารต่าง ๆ แต่ไม่มีทักษะในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ เช่น ถ่ายภาพมาแล้วไม่รู้ว่าจะนำเข้าคอมพิวเตอร์อย่างไร สร้างไฟล์นำเสนอมาแล้วไม่ทราบว่าจะแปลงไปใช้งานกับอุปกรณ์อีกประเภทหนึ่งได้อย่างไร รวมถึงการใช้งานข้ามค่ายผู้ผลิต เช่น การใช้งานระหว่างค่ายไมโครซอฟท์กับค่ายแอปเปิล ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถส่วนบุคคล และลดอุปสรรคในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้น้อยลง

 ทักษะในการสังเคราะห์

ทักษะในการสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างสารสนเทศใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การใช้อินเทอร์เน็ตมีคุณภาพยิ่งขึ้น เช่น ในกรณีที่ต้องการเผยแพร่อาหารของประเทศตนเองโดยใส่ข้อความและเสียงประกอบ ผู้จัดทำจะต้องทราบว่าจะหาภาพที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์จากแหล่งใด จะใส่ตัวอักษรด้วยเครื่องมืออะไร จะใส่เพลงประกอบภาพด้วยโปรแกรมอะไร ซึ่งทั้งหมดเป็นการสังเคราะห์สิ่งที่กระจัดกระจายกันอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ นำมาประกอบขึ้นมาให้เป็นงานชิ้นใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

  ทักษะในการเผยแพร่

การนำเสนอผลงานผ่านเครือข่ายในลักษณะของการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ผู้เผยแพร่ยังจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะในการนำข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศต่าง ๆ ออกสู่ประชาคมหรือชุมชนด้วย เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ การนำภาพถ่ายไปเผยแพร่กับบริการฟรีต่าง ๆ การเผยแพร่ข้อความและภาพผ่านเว็บบอร์ด การเผยแพร่สารสนเทศผ่านเว็บบล็อก/เว็บไซต์ การเผยแพร่คลิปวิดีโอผ่านยูทูป เป็นต้น

  ทักษะในการใช้สื่อสังคมออนไลน์

ปัจจุบันมีเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมหลายประเภท เช่น facebook, line, instagram, twitter และอื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องมีทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ดังกล่าว เช่น ทักษะในการนำเข้าข้อมูลที่ไม่มีข้อห้าม ไม่ผิดกฎหมาย ทักษะในการรักษามารยาทในการสนทนา ทักษะในการแสดงความคิดเห็นไม่ให้เกิดเป็นประเด็นขัดแย้ง การยอมรับความแตกต่างและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวนี้จะช่วยให้การใช้สื่อสังคมออนไลน์มีประโยชน์และเกิดผลในเชิงบวกตามที่ต้องการ

        ทักษะในการดูแลความปลอดภัยในการติดต่อสื่อสาร

วัยรุ่นมักจะเป็นวัยที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ค่อนข้างหละหลวมมากกว่าวัยอื่น ๆ เช่น ให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้าในโลกอินเทอร์เน็ต เช่น ที่อยู่ ข้อมูลส่วนตัว นอกจากนี้ ยังขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการจัดเก็บรหัสการใช้งานหรือบอกรหัสการใช้งานให้เพื่อน ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากตามมาในภายหลัง เช่น ถูกล่อลวง มีการนำเข้าข้อมูลที่ไม่พึงประสงค์โดยบุคคลอื่น สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องมีความตระหนักและระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย ในการเข้าใจงานและการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการมีทักษะในการรักษาความปลอดภัยของข้อ

เอกสารไม่มีชื่อ

   อธิบายรายวิชา

          ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสาร  การต้อนรับ  การนัดหมายการสนทนาทางโทรศัพท์  การใช้บริการ  การซื้อ-ขาย  รายละเอียดสินค้าหรือบริการ  การสาธิตและนำเสนอการอ่านเอกสารการอ่านเอกสารทางธุรกิจ โฆษณา ประกาศ ตาราง กราฟ กำหนดการ สืบค้นข้อมูลทางธุรกิจจากสื่อต่างๆการเขียนรายงานการปฏิบัติงาน  บันทึกข้อความ  การบันทึกโทรศัพท์  การติดต่อธุรกิจผ่านทางอินเตอร์เน็ต e-commerce การใช้กระบวนการเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ