กิจกรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การดำเนินงาน (GRI 103-2) (GRI 403-1) (GRI 403-2) (GRI 403-3) (GRI 403-4) (GRI 403-5) (GRI 403-6) (GRI 403-7) (GRI 403-8)

บริษัทกำหนดนโยบายสุขภาวะอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงานและผู้รับเหมา ขอบเขตของนโยบายครอบคลุมทั่วทั้งบริษัทและบริษัทในเครือ

จรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจด้านสภาพแวดล้อม ความปลอดภัย และสุขอนามัยในการทำงาน

กิจกรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

บริษัทกำหนดให้หน่วยงานความปลอดภัยในแต่ละพื้นที่ตั้งเป้าหมายเชิงปริมาณในการพัฒนาความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยการตั้งเป้าหมายดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย อาทิ การรับรองมาตรฐานการดูแลสุขภาวะและความปลอดภัยของพนักงาน การประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้รับเหมา และการบันทึกสถิติข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในที่ทำงาน โดยในปัจจุบัน จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยที่สอดคล้องตามมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001:2018) ในสถานที่ปฏิบัติงาน

พร้อมกันนี้ บริษัทและบริษัทในเครือยังมุ่งเสริมสร้างความตระหนักถึงวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กร แก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรซึ่งครอบคลุมถึงทุกกิจกรรมของพนักงาน ผู้รับเหมา และคู่ค้าที่สำคัญ ผ่านกิจกรรม โครงการ และการอบรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “องค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุและปราศจากการบาดเจ็บ” โดยบริษัทกำหนดมาตรการสำหรับพนักงานใหม่ต้องได้รับการตรวจสุขภาพก่อนการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์ และพร้อมปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยให้แก่พนักงานและผู้รับเหมา โดยในปี 2564 บริษัทได้ดำเนินการครอบคลุมพนักงาน 500 คน คิดเป็นร้อยละ 33 และผู้รับเหมาถึง 1,000 คน คิดเป็นร้อยละ 67 โดยบริษัท กำหนดมาตรการสำหรับพนักงานใหม่ต้องได้รับการตรวจสุขภาพก่อนการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์ และพร้อมปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการการบ่งชี้อันตรายและประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

บริษัทกำหนดการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทุกครั้งก่อนเริ่มงาน ภายใต้เทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis : JSA) โดยมีหน่วยงานความปลอดภัยเป็นผู้รับผิดชอบหลัก พนักงานของหน่วยงานความปลอดภัย จะได้รับการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยอย่างสม่ำเสมอเพื่อการตรวจสอบการบ่งขี้อันตรายและการประเมินความเสี่ยงที่ได้มาตรฐาน

กิจกรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

หากพนักงานพบเจอกับสภาพการทำงาน่ที่ไม่ปลอดภัยและไม่ได้มาตรฐาน พนักงานทุกคนมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธหรือสามารถหยุดงานได้ทันที หากพิจารณาแล้วว่ากิจกรรมในงานนั้นมีความเสี่ยง ที่อาจจะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุหรือสภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของพนักงาน ทั้งนี้เพื่อปกป้องผู้ปฏิบัติงานและเพื่อนร่วมงานจากการบาดเจ็บหรือได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากกการทำงาน จนกว่าสภาพการทำงานนั้นจะได้รับการแก้ไขให้อยู่ในระดับที่มีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานเพียงพอ จึงอนุญาตให้พนักงานปฏิบัติงานได้

การส่งเสริมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

บริษัทจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเป็นช่องทางการมีส่วนร่วมของพนักงานกับบริษัท ในการเสนอโครงการการฝึกอบรม (Worker training on occupational health and safety) และการบริการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational health and services) ที่จะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดระหว่างการทำงานของพนักงาน หน่วยงานความปลอดภัย เป็นผู้รับผิดชอบการรับและพลักดันข้อเสนอต่าง ๆ ในการประชุมคณะกรรมการประจำปี

โครงการรายละเอียดความเสี่ยงต่อพนักงาน
โครงการการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
โครงการ SAFETY DAY บริษัทดำเนินงานวันความปลอดภัย (Safety Day) ขึ้น เพื่อให้พนักงานมีความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน โดยในช่วงเช้าได้รจัดการอบรมให้พนักงานในหัวข้อ “พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้ : BBS (Behavior-Based Safety)” ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานได้
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ของพนักงานในองค์กร ในกิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด ประกอบไปด้วย กิจกรรมได้แก่ กิจกรรมเกมส์ด้านความปลอดภัย และ ฟุตบอลประเพณี เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ผลการดำเนินงานในเบื้องต้น พบว่า โครงการวันความปลอดภัยช่วยส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้พนักงาน และเชื่อมสัมพันธ์พนักงานในองค์กร เพื่อให้พนักงานมีความร่วมมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อเป้าหมายอุบัติเหตุในการทำงานเป็นศูนย์ (TARGET ZERO ACCIDENT)
ความเสี่ยงทั่วไป
กิจกรรม SAFETY TOOLBOX MEETING บริษัทให้ความสำคัญต่อการระบุภัยคุกคามหรือประเด็นความเสี่ยงที่อันตรายในทุกขั้นตอนของการทำงาน ครอบคลุมทุกกิจกรรมในการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้รับเหมา ตลอดจนพัฒนาและต่อยอดโครงการด้านความปลอดภัย โดยบริษัท ดำเนินการผ่านกิจกรรมการส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือทั่วทั้งองค์กรภายใต้กิจกรรม Safety Toolbox Meeting เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านความปลอดภัยให้กับพนักงาน โดยรูปแบบจะการนำเสนอเนื้อหาความรู้ด้านความปลอดภัย เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และ แนะนำวิธีปฏิบัติงานให้ปลอดภัยทุกกิจกรรมและขั้นตอนในการทำงานในโรงไฟฟ้า ความเสี่ยงทั่วไป
การอบรมการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น บริษัทให้ความสำคัญถึงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับปั่นจั่น จึงจัดอบรมให้แก่พนักงานซึ่งเป็นผู้บังคับปั่นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น เพื่อให้พนักงานที่ปฏิบัติงานดังกล่าวมีความรู้ความเข้าใจถึงความปลอดภัยในการใช้งานปั้นจั่นเพิ่มศักยภาพในการทำงาน และลดการเกิดอุบัติเหตุรวมถึงความความสูญเสียรวมทั้งวางแผนป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานเกี่ยวกับปั่นจั่นที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ความเสี่ยงเฉพาะทาง
การฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการจริงภาคสนามกรณีท่อก๊าซรั่วไหลติดไปในพื้นที่ที่กำหนด บริษัทกำหนดให้พนักงานฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการจริงภาคสนาม ในกรณีท่อก๊าซรั่วไหลติดไปในพื้นที่ที่กำหนด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้พนักงานที่เป็นทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้เตรียมความพร้อมเพื่อตอบสนองกรณีท่อก๊าซรั่วไหลติดไปในพื้นที่ที่กำหนด โดยมีการบันทึกผลการฝึกซ้อมลงในรายงานผลการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินและการประเมินผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในครั้งถัดไป ความเสี่ยงเฉพาะทาง
การอบรมเทคนิคการผจญเพลิง บริษัทได้กำหนดให้พนักงานที่อยู่ในทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ ได้เข้าอบรมเทคนิคการผจญเพลิง เพื่อให้พนักงานที่เข้ารับการอบรมมีความชำนาญด้านทักษะ เทคนิคการควบคุมระงับเหตุ และการใช้อุปกรณ์ควบคุมเพลิงไหม้ เพื่อให้พนักงานได้ทบทวนทักษะการผจญเพลิงและสามารถเข้าระงับเหตุ และควบคุมสถานการณ์ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ ในโรงไฟฟ้าได้ทันที ความเสี่ยงเฉพาะทาง
ระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001:2018 บริษัทกำหนดให้พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานกับระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001: 2018 ทราบถึงข้อกำหนด ที่มีการปรับเปลี่ยน และสิ่งที่มีผลกระทบต่อระบบการบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในปัจจุบัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำระบบ ISO 45001: 2018 ความเสี่ยงทั่วไป
การอบรมการควบคุมประจำหม้อน้ำ บริษัทได้กำหนดให้พนักงาน ผู้ที่ต้องปฏิบัติงานควบคุมหม้อน้ำประจำโรงไฟฟ้า เข้าอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ เพื่อมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง อุปกรณ์ และส่วนควบคุมต่าง ๆ ของหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ และมีความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมหม้อน้ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ความเสี่ยงเฉพาะทาง
การอบรมการประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านความปลอดภัย บริษัทได้ให้พนักงานอบรมการการประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านความปลอดภัย เพื่อจัดทำการประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านความปลอดภัยและจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานในส่วนงานของตนเองทุกงานที่มีความเสี่ยงอันตรายพร้อมนำส่งที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดตามระบบมาตรฐานการจัดการอาขีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001: 2018 ความเสี่ยงทั่วไป
การอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (First Aid & CPR) พนักงานทุกคนจะได้รับการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคือชีพจากแพทย์ประจำโรงไฟฟ้า เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์และมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพ สามารถช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยให้พ้นจากอันตรายได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพก่อนนำส่งโรงพยาบาล เพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น ความเสี่ยงทั่วไป
การอบรมการตรวจประเมินภายในสำหรับ 3 ระบบ (9001:2015, 14001:2015, 45001:2018) บริษัทได้แต่งตั้งคณะทำงานการตรวจประเมินภายในสำหรับระบบมาตรฐานทั้ง 3 ระบบ ISO 9001: 2015, 14001:2015 และ 45001:2018 โดยคณะทำงานตรวจประเมินภายในจะได้รับการอบรมหลักสูตรสำหรับการตรวจประเมินภายใน 3 ระบบเพื่อให้มีความรู้และทราบถึงหลักการตรวจประเมินภายใน และจัดทำโปรแกรมตรวจประเมิน การติดตามและแก้ไข ตามข้อกำหนดระบบมาตรฐานทั้ง 3 ระบบ ความเสี่ยงทั่วไป
การบริการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
E-Work Permit บริษัทได้มีความตระหนักถึงสุขภาพของพนักงานที่ปฏิบัติงานในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จึงได้ออกมาตรการในการรักษาระยะห่างในการทำงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อของไวรัสโคโรนา (COVID-19) บริษัทจึงได้มีการปรับปรุงวิธีการขออนุญาตเข้าทำงานรูปแบบใหม่โดยเรียกว่า “ระบบ E-Work Permit” โดยจัดให้มีการขออนุญาตเข้าทำงานบนแอพพลิเคชั่นบนมือถือ โดยผู้ขออนุญาตสามารถล๊อคอินผ่านลิงค์เพื่อเข้าสู่ระบบ E-Work Permit โดยทำการกรอกชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน และ ลักษณะงานที่ต้องการขออนุญาตจากนั้น ระบบจะทำงานส่งข้อมูลไปยังผู้อนุญาตให้ทำงาน เมื่อได้รับอนุมัติ จึงสามารถเริ่มงานได้ เป็นการปรับปรุงวิธีการทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยผู้ขออนุญาต และ ผู้อนุญาต ไม่จำเป็นต้องพบหน้าซึ่งสอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคโคโรนา19 ที่บริษัทกำหนดไว้ ความเสี่ยงทั่วไป

การป้องกันและเยียวยาพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน

บริษัทดำเนินการป้องกันและลดความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยเลือกผลการประเมินของกิจกรรมและงานทั้งหมด ตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปจากทะเบียนความเสี่ยง มาประชุมเพื่อหาแนวทางการควบคุมความเสี่ยง โดยจะพิจารณาตามหลักการจัดการความเสี่ยงหรือมาตรการควบคุม และนำเสนอแผนควบคุมหรือลดความเสี่ยงต่อผู้บริหารเพื่อขออนุมัติในการจัดทำตามแผนควบคุมความเสี่ยงต่อไป นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินการจัดโครงการด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัยต่างๆ

การเยียวยาพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน บริษัทได้ จัดให้มีสถานรักษาพยาบาลในโรงไฟฟ้า เพื่อให้แพทย์ประจำโรงไฟฟ้าสามารถทำการรักษาพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานได้รับการรักษาได้ทันท่วงที และในกรณีอุบัติเหตุจากการทำงานขั้นรุนแรง บริษัทยังจัดให้มีรถพยาบาลประจำ สำหรับในกรณีพนักงานได้รับบาดเจ็บสามารถส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลได้ทันท่วงที นอกจากนั้นพนักงานสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลในกรณีเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน เพื่อเป็นการบรรเทาและเยียวยาพนักงานที่ประสบอุบัติเหตุอีกด้วย

แนวทางการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

บริษัทตระหนักและห่วงใยความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานอยู่เสมอ โดยมีการกำหนดมาตรการและนโยบายป้องกันการแพร่ระบาดอย่างรอบด้าน ประกอบด้วยมาตรการการคัดกรองผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่

กิจกรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สถิติพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน

บริษัทไม่เพียงแค่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของพนักงาน แต่ยังรวมไปถึงผู้รับเหมา และคู่ค้าของบริษัท โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการเป็น “องค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุและปราศจากการบาดเจ็บ” ดำเนินการการเก็บข้อมูลและตั้งเป้าหมายสถิติอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (Loss Time Injury Frequency Rate: LTIFR) ให้เป็นศูนย์ ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานในองค์กร รวมทั้งเป็นดัชนีชี้วัดผลการปฏิบัติงานบริษัท บริษัทกำหนดเป้าหมายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดังต่อไปนี้

รายการผลการดำเนินงาน
พนักงานผู้รับเหมา
จำนวนผู้เสียชีวิตจากการทำงาน 0 กรณี 0 กรณี
จำนวนเหตุการณ์การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน 0 กรณี 0 กรณี
จำนวนเหตุการณ์การบาดเจ็บของพนักงานทั้งหมด 0 กรณี 0 กรณี
อัตราผู้ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน 0 กรณี/1,000,000 ชั่วโมง 0 กรณี/1,000,000 ชั่วโมง

หมายเหตุ อัตราผู้เสียชีวิตจากการทำงาน อัตราผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการทำงาน และอัตราผู้ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน คำนวนจากฐานชั่วโมงทำงาน 1,000,000 ชั่วโมง

สำหรับในปีที่ผ่านมา บริษัทไม่มีรายงานกรณีพนักงานได้รับบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นเสียชีวิต และบาดเจ็บจนถึงขั้นหยุดงาน