วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

มาโมรุ ชิเงมิตซึ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ในขณะนั้น) ในนามของพระจักรพรรดิลงนามในเอกสารยอมจำนน เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ถือเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ

ในวันที่ 2 กันยายน 1945 (พ.ศ. 2488) มาโมรุ ชิเงมิตซึ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ในขณะนั้น) ในนามของพระจักรพรรดิลงนามในเอกสารยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อกลุ่มสัมพันธมิตรเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดลงของ สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ

การลงนามมีขึ้นบนเรือรบมิสซูรีของกองทัพสหรัฐฯ ที่ลอยลำอยู่เหนืออ่าวโตเกียว โดยพิธีลงนามใช้เวลาเพียง 20 นาที เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องลงนามทั้งสิ้น 12 รายชื่อ

แม้ฝ่ายทหารจะต่อต้านการยอมจำนนจนถึงวินาทีสุดท้าย แต่ด้วยความเสียหายของญี่ปุ่นหลังโดนโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูติดๆ กันสองลูกในฮิโรชิมา และนางาซากิ ประกอบกับโซเวียต ยังประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในช่วงเวลาเดียวกัน จึงทำให้กลุ่มการเมืองภายในญี่ปุ่นต้องการยุติสงครามในครั้งนั้น 

ก่อนหน้านั้น รัฐบาลญี่ปุ่นออกแถลงการณ์เห็นด้วยที่จะยอมรับเงื่อนไขการยอมจำนนตามคำประกาศแห่งปอตสดัม (Potsdam Declaration) ในวันที่ 10 สิงหาคม ตามมาด้วยการประกาศยอมแพ้สงครามของพระจักรพรรดิผ่านวิทยุกระจายเสียงในวันที่ 15 สิงหาคม ก่อนที่ญี่ปุ่นจะลงนามในเอกสารยอมจำนนอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายนปีเดียวกัน


อ้างอิง : https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_2047

วันนี้ (11 พ.ย. 2563) เมื่อ 102 ปีที่แล้ว สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งได้ยืดเยื้อยาวนานกว่า 4 ปี ได้ยุติลง เมื่อเยอรมนี (ฝ่ายมหาอำนาจกลาง) ได้ติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรขอเจรจาสงบศึก ในวันที่ 6 พ.ย. 2461 (ค.ศ. 1918) และทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสัญญาสงบศึกบนรถไฟ ณ เมืองคองเปียน ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2461 (ค.ศ. 1918) จึงถือให้ทุกวันที่ 11 เดือน 11 ของทุกปี เป็นวันยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ และในประเทศไทยได้กำหนดให้วันที่ 11 พ.ย. ของทุกปีเป็น “วันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1”

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2460 (ค.ศ. 1917) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ได้ทรงประกาศร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยได้ส่งกองทหารอาสาจำนวน 1,284 นาย จากกองทัพบกรถยนต์และกองบินทหารบกไปยังฝรั่งเศส นับเป็น 1 ใน 3 ประเทศในเอเชียที่ประกาศร่วมสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร

การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทยในครั้งนั้น ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติหลายประการ โดยนอกจากจะได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสถานการณ์โลกและความเป็นเอกราช ความสามารถ และศักยภาพของไทยแล้วนั้น ยังทำให้ประเทศต่าง ๆ ในโลก โดยเฉพาะชาติสัมพันธมิตร ยุโรปและอเมริกา ได้รู้จักประเทศไทย ซึ่งเปิดทางสู่การแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ที่ไทยเสียเปรียบประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะอังกฤษและชาติต่าง ๆ ในยุโรป 13 ประเทศ ที่เคยทำสัญญาผูกมัดประเทศไทย ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาสำคัญในการฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยและเสรีภาพทางการค้ากับตะวันตก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้มีโอกาสเข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพที่กรุงปารีส และได้ก้าวสู่การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก โดยเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations) เมื่อปี 2462 (ค.ศ. 1919) อีกด้วย

อนึ่ง ภายหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 เหล่าทหารอาสาสมัครได้เดินทางกลับถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2462 (ค.ศ. 1919) โดยได้เชิญอัฐิของทหารไทยที่เสียชีวิตในราชการสงคราม จำนวน 19 นาย กลับสู่ภูมิลำเนาด้วย โดยในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์เป็นที่บรรจุอัฐิ และเป็นอนุสรณ์สถานถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น และได้พระราชทานนามว่า “อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลก ครั้งที่ 1” เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมแห่งการเสียสละของเหล่าทหารอาสา และได้มีการจัดพิธีวางพวงมาลาในวันที่ 11 พ.ย. ของทุกปี

ในส่วนของประเทศฝรั่งเศสนั้น จะมีการจัดพิธีรำลึกถึงผู้เสียชีวิตระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ณ ประตูชัย (Arc de Triomphe) กรุงปารีส ประกอบด้วยพิธีสำคัญต่าง ๆ อาทิ การตรวจแถวธงและการตรวจแถวทหาร การวางพวงมาลาและการเติมน้ำมันไฟบริเวณหลุมศพทหารนิรนามตรงกลางประตูชัย โดยประธานาธิบดี การขานนามผู้สละชีวิตเพื่อฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และการยืนสงบนิ่งเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิต

ภาพจาก : google และ @Elysee

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

ที่มาของภาพ : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:B-24D%27s_fly_over_Polesti_during_World_War_II.jpg


          กรณีของสงครามโลกครั้งที่ 2 อาจนับได้ว่าเป็นสงครามครั้งรุนแรงและยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยอุบัติขึ้น  เพราะสงครามครั้งนี้ได้ขยายสมรภูมิรบออกไปทั่วโลกในระยะเวลาอันรวดเร็ว  โดยครอบคลุมอาณาบริเวณทั้งในยุโรป  แอฟริกาเหนือ  เอเชียตะวันออก   และมหาสมุทรแปซิฟิก  เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง  ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก  เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)   และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945)   ได้ชื่อว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่  และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
ช่วงเวลา

         การรบเกิดขึ้นเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945)

                  - วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่เยอรมันรุกรานโปแลนด์

                  - วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน (วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2)

                  - ปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ที่ญี่ปุ่นรุกแมนจูเรีย

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
วันสิ้นสุดสงคราม

         - สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนน  ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945)

         - ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
สถานที่ทำการรบ

         - ยุโรป (ยุโรปตะวันตกและตะวันออก)

         - เอเชียอาคเนย์(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

         - ตะวันออกกลาง

         - ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกา ตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก

         - มหาสมุทรแปซิฟิก ภูมิภาคตะวันออกกลาง

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
ผลการรบ

         

ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะสงคราม

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศที่มีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้

         

สองฝ่าย  คือ  ฝ่ายอักษะและฝ่ายพันธมิตร  โดยประเทศเล็กๆ ส่วนใหญ่แล้ว   ประเทศจะเข้าร่วมฝ่ายตามประเทศเพื่อนบ้านที่แข็งแกร่งเป็นส่วนใหญ่

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
ฝ่ายอักษะ (Axis Powers)

         ฝ่ายที่ก่อสงคราม  ฝ่ายอักษะประกอบไปด้วยแกนนำหลัก  คือ  เยอรมนี  อิตาลี  และญี่ปุ่น   ในนามของกลุ่มอักษะโรม-เบอร์ลิน-โตเกียว  ที่มีการแถลงวัตถุประสงค์หลักในตอนต้นว่า  เพื่อต่อต้านขบวนการคอมมิวนิสต์สากล

         ประเทศแกนนำ  อิตาลี  นำโดย  "เบนิโต มุสโซลินี"   นาซีเยอรมนี  นำโดย  "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์"   ญี่ปุ่น  นำโดย  "สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ"   ประเทศอื่นที่สนับสนุน คือ  โรมาเนีย   ฮังการี   บัลแกเรีย   และลิเบีย   ประเทศอื่นที่ให้ความร่วมมือ   คือ  โครเอเชีย   ฟินแลนด์   ไทย  นำโดย  จอมพล ป. พิบูลสงคราม   และอินเดีย

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

เบนิโต มุสโสลินี
วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

พลเอกฮิเดกิ โตโจ
ที่มาของภาพ : http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/social03/18/p2-2.html

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
ฝ่ายพันธมิตร

         ฝ่ายพันธมิตร  ประกอบไปด้วย  อังกฤษ   ฝรั่งเศส   สหภาพโซเวียต   จีน   และสหรัฐอเมริกา   ซึ่งประเทศทั้ง 5 นี้  ต่อมาได้เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ  (UN)

         แกนนำหลัก คือ  สหราชอาณาจักร(อังกฤษ) นำโดย "วินสตัน เชอร์ชิลล์"   สหภาพโซเวียต (รัสเซียในปัจจุบัน)   ฝรั่งเศส   สหรัฐอเมริกา   สาธารณรัฐประชาชนจีน  ประเทศอื่นที่สนับสนุน คือ  ออสเตรเลีย   แคนาดา   สเปน   โปรตุเกส  และฟิลิปปินส์

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

"สามผู้นำฝ่ายพันธมิตร"  :  โจเซฟ สตาลิน,  แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์  และวินสตัน เชอร์ชิลล์
ที่มาของภาพ : http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Tehran_Conference,_1943.jpg

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
ความสูญเสีย

         สงครามโลกครั้งที่ 2  เป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่  และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

                  - ฝ่ายสัมพันธมิตร  ทหารเสียชีวิต 17,000,000 นาย  พลเรือนเสียชีวิต 33,000,000 คน  เสียชีวิตทั้งหมด 50,000,000 คน

                  - ฝ่ายอักษะ (Axis Powers)  ทหารเสียชีวิต 8,000,000 นาย  พลเรือนเสียชีวิต 4,000,000 คน  เสียชีวิตทั้งหมด 12,000,000 คน

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

http://www.baanjomyut.com/library_2/world_war_2/

วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2