ใบ งาน คํา คล้องจอง 3 พยางค์

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

คำคล้องจอง คือ คำสัมผัสที่มีสระเดียวกัน ถ้ามีตัวสะกดจะต้องสะกดด้วยมาตราตัวสะกดเดียวกัน
แต่พยัญชนะต้นต่างกันอาจมีเสียงวรรณยุกต์ต่างกันได้ คำคล้องจองแบ่งเป็นคำคล้องจอง 2 พยางค์ และคำคล้องจอง 3 พยางค์ การเรียนรู้เรื่องคำคล้องจองช่วยให้มีพื้นฐานที่ดีในการแต่งคำประพันธ์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 4.1 ป.4/6 แต่งคำคล้องจองและคำขวัญ

จุดประสงค์

1 บอกลักษณะของคำคล้องจองได้

2 เขียนคำคล้องจอง 2 พยางค์ได้

3 เห็นคุณค่าของการเรียนรู้คำคล้องจอง

การวัดผลและประเมินผล

ใบงานที่ 2 เรื่อง คำคล้องจอง 2 พยางค์

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 คำคล้องจอง คือ คำที่ใช้สระหรือพยัญชนะเสียงเดียวกัน และถ้ามีตัวสะกดจะต้องมีตัวสะกดในมาตราเดียวกัน คำคล้องจองเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำสัมผัส

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ท 4.1 ตัวชี้วัด ป.3/5

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- อธิบายความหมายของคำคล้องจองได้

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- เขียนคำคล้องจองได้

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- มีมารยาทในการอ่าน และการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

- ประเมินผลการทำใบงานที่ 8 เรื่องแต่งคำคล้องจอง 2 และ 3 พยางค์

แบบฝึ กหัดป.2 คำคล้องจอง ชื่อ....................................นามสกุล................................ ชั้น....................................เลขที่......................................

แบบฝึ กหัดป.2 คำคล้องจอง ผู้จัดทำ นางสาวกมลลักษณ์ มีแสงศิลป์ รหัสนิ สิต 62410050 นางสาวพัชริดา ดอกพุฒ รหัสนิ สิต 62412764 นางสาวพัชวรรณ แสงเหมือนขวัญ รหัสนิ สิต 62412771 นางสาวแพรวรุ้ง เผ่าตุ้ย รหัสนิ สิต 62412979 นางสาวแพรวาไล เดชเทศ รหัสนิ สิต 62412986 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ราชการ สังขวดี

ก คำนำ แบบฝึกหัดเรื่อง คำคล้องจอง ฉบับนี้ จัดทำขึ้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อใช้ในการฝึกทักษะ รวมถึงทบทวนความรู้เกี่ยวกับคำคล้องจอง เสริมสร้างให้ผู้เรียนมี ความสามารถในการบอกความหมายของคำคล้องจองและจับคู่คำคล้องจอง 2 พยางค์ 3 พยางค์และ 4 พยางค์ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การแต่งคำประพันธ์ให้แก่ ผู้เรียนได้ ซึ่งแบบฝึกหัดฉบับนี้ประกอบไปด้วย ใบความรู้ เรื่อง คำคล้องจอง แบบฝึกหัด คำคล้องจอง 2 พยางค์ แบบฝึกหัด คำคล้องจอง 3 พยางค์ แบบฝึกหัด คำคล้องจอง 4 พยางค์ แบบฝึกหัดเรื่อง คำคล้องจอง ฉบับนี้ ถือเป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ ต่อการจัดการเรียนรู้ จะช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการทางภาษา เข้าใจในบทเรียน ซึ่งจะช่วย ให้ผู้เรียนเข้าใจในความหมายของคำคล้องจอง มีความสามารถในการเขียนคำ ประโยค หรือบทความได้ไพเราะมากยิ่งขึ้น สามารถเลือกจับคู่คำคล้องจอง 2 พยางค์ 3 พยางค์ และ 4 พยางค์ได้ถูกต้อง สร้างเสริมให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ เรื่อง คำคล้องจอง พัฒนา ไปสู่การแต่งคำประพันธ์และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแบบฝึกหัดเล่มนี้จะช่วยพัฒนาทักษะการใช้คำคล้องจอง ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เรียนมีความสุขในการปฏิบัติกิจกรรม คณะผู้จัดทำ

สารบัญ ข คำนำ ก สารบัญ ข คำชี้แจงในการใช้แบบฝึกหัด ค สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย ง ใบความรู้เรื่อง คำคล้องจอง 1 แบบฝึกหัด 2 2 1. คำคล้องจอง 2 พยางค์ 5 2. คำคล้องจอง 3 พยางค์ 8 3. คำคล้องจอง 4 พยางค์ 10 บรรณานุกรม

ค คำชี้แจงสำหรับนักเรียน แบบฝึกหัดเรื่องคำคล้องจองเล่มนี้เป็นแบบฝึกหัดที่เสริมทักษะคำคล้องจองที่ใช้ ประกอบการเรียน นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ตามคำแนะนำในการใช้ เอกสารและปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมี ประสิทธิภาพ เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องคำคล้องจอง โดยมีเนื้อหาประกอบ ด้วย แบบฝึกหัดคำคล้องจอง 2 พยางค์, แบบฝึกหัดคำคล้องจอง 3 พยางค์ และ แบบฝึกหัด 4 พยางค์ โดยปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้ 1.ศึกษาเนื้อหาสาระว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง และเกิดผลกับนักเรียนอย่างไร 2. ศึกษาแบบฝึกหัดและฝึกทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ 3. เมื่ อนักเรียนมีปัญหาตอนใดเกี่ยวกับเรื่ องที่ศึกษานี้ควรขอคำแนะนำจาก ผู้ปกครองหรือครูผู้สอน 4. ขอให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละหน้าด้วยความตั้งใจและสนุกสนากับ บทเรียน 5. ตรวจคำตอบที่เฉลยท้ายเอกสาร

ง สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษและพลังของ ภาษา ภูมิปัญญาทาง ภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ผู้เรียนสามารถบอกลักษณะคำคล้องจองได้ 2. ผู้เรียนเขียนคำคล้องจองตั้งแต่ 2 – 4 พยางค์ได้ 3. ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญของคำคล้องจอง

1 ใบความรู้ เรื่อง คำคล้องจอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คำคล้องจอง คือ คำที่มีสระเสียงเดียวกัน และมีตัวสะกดอยู่ในมาตราเดียวกัน คำคล้องจองช่วยให้การเขียนข้อความเกิดความไพเราะ คำคล้องจองที่มีเสียงสระเดียวกัน คำคล้องจองที่มีเสียงตัวสะกดเดียวกัน ใบ ใส่ ใจ ไป ให้ กบ จบ คบ รบ พบ ประเภทของคำคล้องจอง คำคล้องจอง 1 พยางค์ ได้แก่ คำที่มีตัวสะกด เช่น สวย รวย ด้วย กล้วย บ๊วย หวย ช่วย คำที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ไป ใจ ไหน ใบ ใส่ คำคล้องจอง 2 พยางค์ ได้แก่ คำที่มีลักษณะคำสุดท้ายของกลุ่มคำหน้า สัมผัสคล้องกับคำ แรกของกลุ่มคำหลัง เช่น ชั่วดี ถี่ห่าง อกหัก รักจริง เสื้อผ้า หน้าผม ถนน หนทาง นักร้อง จ้องตา ข้าวยาก หมากแพง คำคล้องจอง 3 พยางค์ ได้แก่ คำที่มีลักษณะคำที่สามของกลุ่มหน้า สัมผัสคล้องจองกับคำ ที่หนึ่งหรือสองของกลุ่มคำหลัง เช่น น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ขิงก็รา ข่าก็แรง ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง คำคล้องจอง 4 พยางค์ ได้แก่ คำที่มีลักษณะคำที่สี่ของกลุ่มหน้า สัมผัสคล้องจองคำที่หนึ่ง หรือสองของกลุ่มหลัง เช่น รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่

2 แบบฝึกหัดคำคล้องจอง 2 พยางค์ คำสั่ง ให้นักเรียนโยงเส้นจับคู่คำคล้องจอง 2 พยางค์ ให้ถูกต้อง ขันแข็ง สีฟ้า พอใจ ล้นหลาม กุญแจ แบ่งปัน เสี่ยงทาย หายตัว ท่วมท้น ตักบาตร ยินดี ไขลาน ผัดผัก ขอบคุณ บิดเบือน แลดู กล้าหาญ เลือนลาง ส่งมอบ พรานป่า

3 แบบฝึกหัดคำคล้องจอง 2 พยางค์ คำสั่ง ให้นักเรียนเขียนคำคล้องจอง 2 พยางค์ต่อจากคำที่กำหนดให้ ตัวอย่าง มดกัด คล้องจองกับ มัดผม 1. ง่วงนอน คล้องจองกับ 2. ทะเล คล้องจองกับ 3. เรือใบ คล้องจองกับ 4. ใจดี คล้องจองกับ 5. สีสัน คล้องจองกับ 6. ร่าเริง คล้องจองกับ 7. นิทาน คล้องจองกับ 8. ก้อนหิน คล้องจองกับ 9. ฝึกฝน คล้องจองกับ 10. ทำบุญ คล้องจองกับ

4 แบบฝึกหัดคำคล้องจอง 2 พยางค์ คำสั่ง ให้นักเรียนนำคำที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่าง ให้คล้องจองกับคำที่ขีดเส้นใต้ หอม นอน ไข้ รอ รวด แจ่ม หา วาว เรียน ผ่อน 1. ปูนา รู 2. ยิ้มแย้ม ใส 3. ผม ดอมดม 4. สีขาว วับ 5. อ่านเขียน อ่าน 6. ว่า สอนง่าย 7. เจ็บปวด ร้าว 8. พัก นอนหลับ 9. แม่หมอ ดู 10. เจ็บ ได้ป่วย

5 แบบฝึกหัดคำคล้องจอง 3 พยางค์ คำสั่ง ให้นักเรียนโยงเส้นจับคู่คำคล้องจอง 3 พยางค์ ให้ถูกต้อง ตั้งใจเรียน เหลืองอร่าม ดอกดาวเรือง เอาเงินใส่ ยาย้อมผม ไกลปืนเที่ยง ทุกนาที เพียรศึกษา ครูรักศิษย์ จัดดอกไม้ ถักกระเป๋า น่าเพลิดเพลิน ภาษาไทย ราวกับเมฆ เดินไปมา ชมกล้วยไม้ สำลีขาว มีคุณค่า ศาลาวัด มิตรไมตรี

6 แบบฝึกหัดคำคล้องจอง 3 พยางค์ คำสั่ง ให้นักเรียนเขียนคำคล้องจอง 3 พยางค์ ต่อจากคำที่กำหนดให้ ตัวอย่าง แม่ไกวเปล คล้องจองกับ เร่เข้ามา 1. วันอาทิตย์ คล้องจองกับ 2. สวัสดี คล้องจองกับ 3. ดอกกุหลาบ คล้องจองกับ 4. คั้นน้ำส้ม คล้องจองกับ 5. ไปโรงเรียน คล้องจองกับ 6. ต้นมะพร้าว คล้องจองกับ 7. นาฬิกา คล้องจองกับ 8. ปีมะเส็ง คล้องจองกับ 9. หยุดพักผ่อน คล้องจองกับ 10. จักรยาน คล้องจองกับ

7 แบบฝึกหัดคำคล้องจอง 3 พยางค์ คำสั่ง จงนำคำที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่าง ให้คล้องจองกับคำที่ขีดเส้นใต้ ลม ปลา ข่า ตำ เจ้า ถาก มี เตือน ชัด ยาว 1. ขิงก็รา ก็แรง 2. หวานเป็น ขมเป็นยา 3. ต่อความ สาวความยืด 4. ฝนสั่งฟ้า 5. ยุให้รำ สั่งหนอง 6. ยิ้มด้วยปาก ให้รั่ว 7. ข้าสอง ด้วยตา 8. คำว่าเพื่อน บ่าวสองนาย 9. ผสมสี ความคิด 10. กระจ่าง สมบัติ ขัดห้องน้ำ

8 แบบฝึกหัดคำคล้องจอง 4 พยางค์ คำสั่ง ให้นักเรียนขีดเส้นใต้คำร้อยกรองที่สัมผัสกัน ตัวอย่าง จ้ำจี้ดอกไม้ ที่ในสวนศรี จำปาจำปี ราตรีเฟื่ องฟ้า 1. แสงแดดแผดจ้า ท้องฟ้าแจ่มใส หน้าหนาวยาวไกล กายใจยาวนาน 2. มดง่ามเตรียมพร้อม ถนอมอาหาร ผึ่งแดดมดงาน มดงานเก็บกิน 3. เจ้าปลาตัวน้อย ล่องลอยน้ำใส แสนสำราญใจ อยู่ในสายธาร 4. เป็นไข้เลือดออก หมอบอกยุงลาย เราต้องทำร้าย ให้มันสูญพันธุ์ 5. เลี้ยงนกเป็ดไก่ อาจมีโรคภัย เด็กเด็กรู้ไว้ จะได้ป้องกัน

9 แบบฝึกหัดคำคล้องจอง 4 พยางค์ คำสั่ง ให้นักเรียนเขียนคำคล้องจอง 4 พยางค์ ต่อจากคำที่กำหนดให้ ตัวอย่าง คุณแม่รักน้อง คล้องจองกับ ร้องเพลงกล่อมนอน 1. โรงเรียนของฉัน คล้องจองกับ 2. ดอกไม้สีขาว คล้องจองกับ 3. รวงข้าวสีทอง คล้องจองกับ 4. คนที่ทำผิด คล้องจองกับ 5. พ่อลูกต้นไม้ คล้องจองกับ 6. พระคุณพ่อแม่ คล้องจองกับ 7. ดอกไม้ในสวน คล้องจองกับ 8. ผักปลอดสารพิษ คล้องจองกับ 9. ออกกำลังกาย คล้องจองกับ 10. สัตว์เลี้ยงแสนรัก คล้องจองกับ

10 บรรณนานุกรม ชนันรัตน์ บุญคง และพรนภา ผามบน. (2564). แผนการสอนภาษาไทย. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2564, จาก DLTV มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (2564). ภาษาไทย ป.2 เรื่อง คำคล้องจอง. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2564, จาก ภาษาไทย ป. 2 เรื่อง คำคล้องจอง | TruePlookpanya ศิริชัย คชวงษ์. (2563). แบบฝึกเสริมทักษะ ชุดที่ 1 ฝึกคิดเขียนคำคล้องจอง. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2564, จาก แบบฝึกเสริมทักษะ ชุดที่ 1 ฝึกคิดเขียนคำคล้องจอง ดาวน์โหลดหนังสือ | 1-22 หน้า | PubHTML5 สื่อสอนครูปุณยนุช. (2561). ใบงานคำคล้องจอง (มีตัวสะกด). สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2564, จาก https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2083919491879 933&type=3 Piyarerk Bunkoson. (2557). บอกลักษณะคำคล้องจอง. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2564, จาก http://www.sp2.go.th/sp2/images/nitedtidtamandpramenpon /9/12.pdf