ให้กําลังใจคนเป็นโรคซึมเศร้า ภาษาอังกฤษ

ให้กําลังใจคนเป็นโรคซึมเศร้า ภาษาอังกฤษ

    • 1 min read

วิธีพูดคุยกับคนใกล้ตัวที่เป็นโรคซึมเศร้า และคำพูดที่ต้องห้าม

ให้กําลังใจคนเป็นโรคซึมเศร้า ภาษาอังกฤษ

โลกของคนที่เป็นโรคซึมเศร้ากับโลกคนทั่วไปนั้นแตกต่างกันอย่างมาก หลายครั้งที่การใช้คำพูดกับคนทั่วไปกลับไม่ได้ผล หรืออาจยิ่งเป็นการผลักให้เขาคนนั้นยิ่งดิ่งเศร้ามากขึ้นอีกก็ได้ ดังนั้นหากคุณไม่เคยเรียนรู้มาก่อนอาจจะยากที่จะสรรหาคำพูดที่เหมาะที่ควร ประการแรกที่ต้องตระหนักไว้อย่างมากคือ การรับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจเงียบ ๆ สำคัญกว่าการพยายามให้คำแนะนำใด ๆ จำไว้ว่า อย่าพยายามรักษาหรือแก้ไขคนใกล้ตัวที่กำลังป่วย คุณเพียงทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดีจะช่วยได้มากกว่า รวมถึงสนับสนุนให้เขาคนนั้นได้พูดความรู้สึกออกมา โดยคุณไม่ต้องตัดสินใด ๆ ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะปลีกตัวเองให้ออกห่างจากผู้คนอยู่แล้ว คุณเพียงแค่พยายามแสดงความห่วงใยและปรารถนาที่จะนั่งรับฟังอย่างเงียบ ๆ โดยไม่ยอมแพ้ไปซะก่อน

☑︎ คำแนะนำในการเริ่มต้นบทสนทนา: “ฉันรู้สึกเป็นห่วงเธอ” “ช่วงนี้ฉันสังเกตว่าเธอเปลี่ยนไป เลยอยากถามว่าเป็นยังไงบ้าง” “ฉันอยากจะมาพูดคุยกับเธอ เพราะเห็นช่วงนี้เธอดูซึม ๆ ไป” ☑︎ คำถามที่สามารถใช้ถามได้: “เธอเริ่มรู้สึกแบบนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่” “มีอะไรเกิดขึ้นรึเปล่าที่ทำให้เธอเริ่มรู้สึกแบบนี้” “ฉันจะช่วยเธอได้ยังไงบ้าง” “เธออยากรับความช่วยเหลือในเรื่องนี้มั้ย” ☑︎ คำพูดที่สามารถใช้ได้: “เธอไม่ได้ตัวคนเดียวลำพังนะ เพราะฉันอยู่ที่นี่เพื่อช่วยเธอ” “ตอนนี้เธออาจจะยังนึกภาพไม่ออก แต่ความรู้สึกพวกนี้ไม่ได้อยู่ตลอด มันสามารถหายไปได้” “ฉันอาจไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่เธอกำลังรู้สึกหรือเผชิญได้หมด แต่ฉันเป็นห่วงและอยากจะช่วยนะ” “เวลาที่เธออยากยอมแพ้ อยากให้เธอลองพยายามฝืนสู้กับมันไปอีกวัน อีกชั่วโมง หรือนานเท่าไหร่ก็ได้ที่เธอสามารถทำได้” “เธอสำคัญกับฉันมากนะ” “บอกฉันได้มั้ยว่าอยากให้ฉันทำอะไรเพื่อช่วยเธอ” ☒ คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง: “ความรู้สึกพวกนี้มันอยู่แค่ในความคิดเธอ” “พวกเราทุกคนต่างก็เคยผ่านช่วงเวลาแบบนี้” “มองด้านดี (คิดบวก) ไว้สิ” “ชีวิตเธอยังมีคุณค่าอีกมากมาย ทำไมถึงอยากคิดสั้นล่ะ” “ฉันช่วยอะไรเธอไม่ได้จริงๆ” “อย่าไปสนใจความรู้สึกพวกนั้น” “ออกมาจากตรงนั้นสิ” “เธอมีปัญหาอะไร” “ยังไม่ดีขึ้นอีกเหรอ” สิ่งเหล่านี้คือไกด์ไลน์ สำหรับใครที่ไม่เคยมีความรู้และประสบการณ์ในการพูดคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน แต่จำไว้ว่า สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่การพูด แต่คือการนั่งอยู่ข้างๆ และรับฟังเขาอย่างใส่ใจและไม่ตัดสินใด ๆ จากมุมมองของตัวเองต่างหาก

iStrong.co ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัว

บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง

สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)

และคอร์สออนไลน์ | Classroom Workshop

รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย

  • โรคซึมเศร้า
  • สุขภาพจิต

บทความล่าสุด

ค้นหาตามประเภทบทความ

  • ความสัมพันธ์ 139 posts
  • แรงบันดาลใจ 100 posts
  • โรคสมาธิสั้น 13 posts
  • โรคซึมเศร้า 81 posts
  • การประสบความสำเร็จ 132 posts
  • ความสุข 204 posts
  • บุคลิกภาพ 151 posts
  • สุขภาพจิต 249 posts
  • การทำงาน 80 posts
  • ไลฟ์สไตล์ 34 posts
  • จิตวิทยาสังคม 103 posts
  • Self esteem 76 posts
  • การฟื้นฟูจิตใจ 140 posts
  • ความวิตกกังวล 14 posts
  • ครอบครัว 8 posts
  • ความเครียด 4 posts

ให้กําลังใจคนเป็นโรคซึมเศร้า ภาษาอังกฤษ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ