ซื้อของ Shopee ต้องเสียภาษีไหม

Show

ค่าขนส่งกรณีขายของใน Shopee

ค่าขนส่งกรณีขายของใน Shopee

ปัจจุบันนี้ช่องทางการขายสินค้ายอดฮิตที่สุดคงหนีไม่พ้นการขายสินค้าผ่าน Platform ไม่ว่าจะเป็น Shopee Lazada และคำถามยอดฮิตสำหรับประเด็นภาษีที่เกี่ยวกับการขายสินค้าผ่าน Platform ที่ผมได้รับ Inbox ก็คือเรื่องของ "ค่าขนส่ง"

1. ค่าขนส่งที่ลูกค้าจ่าย ถือเป็นรายได้ของใครระหว่างร้านค้ากับ Platform

คำตอบคือเป็นรายได้ของร้านค้า เพราะทาง Platform ไม่ได้ออกใบเสร็จค่าขนส่งให้กับลูกค้าที่มาซื้อของ โยนหน้าที่ในการออกใบเสร็จค่าขนส่งให้เป็นหน้าที่ของร้านค้าดังนั้นค่าขนจึงเป็นรายได้ของร้านค้า เนื่องจากร้านค้าไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุรกิจ ดังนั้นค่าขนส่งที่ร้านค้าเรียกเก็บจากลูกค้าจึงต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย (ไม่ได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม)

2. ค่าขนส่งที่ร้านค้าจ่ายให้กับบริษัทขนส่ง

สามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนภาษีเงินได้ของร้านค้าได้

3. ค่าขนส่งที่ทาง Platform ช่วยออก

ร้านค้าเมื่อได้รับเงินสนับสนุนค่าขนส่งจะต้องบันทึกเป็นรายได้เพื่อนำมารวมในการคำนวนภาษีเงินได้ เงินสนับสนุนที่ได้รับ ไม่ถือเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการดังนั้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

สมาคมนักบัญชีไทย >> https://www.facebook.com/nukbuncheethai

กลุ่มบัญชีและภาษี >> https://www.facebook.com/groups/bunchee

ขายของออนไลน์ SHOPEE / LAZADA ยื่นภาษีไหม

ขายของออนไลน์กับเรื่อง “ยื่นภาษี” VS “เสียภาษี”

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า ยื่นภาษี กับ เสียภาษี นั้นมีความหมายต่างกัน โดยยื่นภาษี หมายถึง การแสดงรายการต่อกรมสรรพากร ว่าเราเป็นผู้มีรายได้ ผู้ยื่นภาษีอาจจะเสียภาษีหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ก็ไม่ต้องเสียภาษี

เสียภาษี หมายถึง การเสียเงินค่าภาษีให้รัฐบาล เมื่อเรามีรายได้และ “ยื่นภาษี” ไปแล้ว ปรากฏว่ารายได้ของเราหลังจากหักยอดลดหย่อนต่างๆ ถึงเกณฑ์ที่ต้องชำระภาษี เราก็ต้องเสียภาษีให้รัฐบาลตามกฎหมาย

“ยื่นภาษี” ตอนไหน?

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าต้องยื่นภาษีหรือเปล่า? สำหรับคนที่ยังโสด หากมีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายต่างๆ เดือนละ 5,000 บาทขึ้นไป หรือปีละ 60,000 บาทขึ้นไป เราก็ต้องยื่นภาษี ส่วนพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะช่องทาง Shopee Lazada facebook Line หรืออื่นๆ รายได้ของพ่อค้าแม่ค้าก็คือ เงินที่ขายของได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายต่างๆ นั่นเอง

ส่วนคนที่แต่งงานมีครอบครัว เกณฑ์การยื่นภาษีข้างต้นจะใช้ไม่ได้แล้ว เพราะการคำนวณรายได้ต้องมาจากทั้งสามีและภรรยา หากคู่สามีภรรยาของเรามีรายได้รวมกันปีละ 120,000 บาทขึ้นไป ก็ต้องยื่นภาษี

อย่างไรก็ตาม บางปีเราอาจจะขายของมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นภาษี แต่บางปีเราก็อาจจะขายของดีมาก เราก็ต้องยื่นภาษีตามรายได้ของเรา

ซื้อของ Shopee ต้องเสียภาษีไหม

ไม่ “ยื่นภาษี” มีโทษหรือไม่

หากเราไม่ยื่นภาษีตามกฎหมาย และเมื่อโดนตรวจพบ เราอาจจะโดนโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เมื่อโดนปรับไปแล้ว มาตรวจพบอีกว่ายอดที่ต้องยื่นวันนั้นต้องเสียภาษีด้วย เราก็จะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นอีก โดยเสียเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน แต่ถ้ายื่นรายได้แล้วไม่ต้องเสียภาษี ก็จะไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกนั่นเอง

ขายของออนไลน์ ไม่ยื่นภาษี กรมสรรพากรจะรู้หรือไม่?

โดยปกติแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ทั้ง Shopee และ Lazada ได้มีการยื่นแสดงรายได้แก่กรมสรรพากรอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น รายรับค่าธรรมเนียมการขาย ค่าธรรมเนียมธุรกรรมทางการเงิน ค่าธรรมเนียมค่าบริการ ค่าขนส่ง และค่าธรรมเนียมอื่นๆ รวมถึงการแจกแจงว่ารายรับเหล่านี้มาจากร้านค้าใดบ้าง และแน่นอนว่าข้อมูลของร้านค้าที่ Shopee และ Lazada แจกแจงไปนั้น อาจมีชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน ของพ่อค้าแม่ค้าติดไปด้วย ทีนี้หากกรมสรรพากรมาตรวจสอบร้านเราย้อนหลัง ก็สามารถรู้รายได้โดยประมาณของเราได้เช่นกัน

  • ขายของออนไลน์ผ่าน Facebook / Line และอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Shopee และ Lazada

หากเราขายของออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มอื่นที่ไม่ใช่ Shopee / Lazada กรมสรรพากรก็ยังมีวิธีรู้รายได้ของเราอีกอยู่ดี เนื่องจากกฎหมายใหม่ที่กำหนดให้ธนาคารต่างๆ รวมถึงธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับ e-wallet ต้องส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร เป็นข้อมูลเกี่ยวกับยอดรวมของการฝาก และยอดรับโอนเงิน แล้วบัญชีไหนบ้างที่เข้าเกณฑ์การตรวจสอบ?

  • ฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี โดยนับรวมการรับดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารเข้าด้วย มียอดรวมกัน 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป นับเป็นจำนวนครั้งเท่านั้น โดยไม่สนใจจำนวนเงินที่รับเข้าบัญชี
  • ฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้น และ มียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป
  • นอกจากการตรวจสอบบัญชีจากธนาคารแล้ว กรมสรรพากรเขายังมีวิธีการตรวจสอบอื่นอีกด้วย นั่นคือ เมื่อเราขายของออนไลน์ และยิงแอดโฆษณาขายของบน Facebook แล้วเผอิญว่าเจ้าหน้าที่ผ่านมาเห็นเข้า หากเข้าไปดูที่เพจแล้วเห็นว่าขายดี คนรีวิวเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ก็อาจจะมีการลองสั่งซื้อสินค้า เมื่อเราส่งข้อมูลเลขที่บัญชีให้โอนเงินค่าสินค้า เจ้าหน้าที่ก็จะได้ข้อมูลของเรามาตรวจสอบนั่นเอง หากเราได้ยื่นภาษี และเสียภาษีแล้วก็แล้วไป แต่หากไม่มีการยื่น ก็เสี่ยงที่อาจจะถูกตรวจสอบย้อนหลังได้ด้วย

ซื้อของ Shopee ต้องเสียภาษีไหม

หลักจากศึกษาข้อมูลเบื้องต้นไว้แล้ว หลายๆ คนอาจจะเริ่มต้นวางแผนทำรายรับ-รายจ่าย เพื่อที่จะได้รู้ว่าร้านของเราต้องยื่นภาษีหรือไม่ หากต้องยื่นภาษี มีค่าลดหย่อนอะไรบ้างที่สามารถนำมาหักออกจากรายได้ เพียงเท่านี้ ก็จะสามารถรู้ได้ว่าในหนึ่งปี เราต้องเสียภาษีเท่าไหร่ หรือว่าไม่ต้องเสียเลย แนะนำให้ทำรายรับ-รายจ่ายทุกปี เพราะเราอาจมีรายได้ที่ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีในปีนี้ แต่ปีหน้าอาจจะขายของดีโดยไม่รู้ตัว ทำให้พลาดที่จะยื่นภาษี เพราะคิดว่ารายได้คงไม่เยอะเหมือนปีที่ผ่านมา

การตลาดปัง ยอดขายแน่น! พร้อมเปิดโลกกว้างไปกับ Lazada และ Shopee แม่ค้าออนไลน์ที่สงสัยว่าจะเริ่มต้นอย่างไรในยุคที่การช็อปปิ้งออนไลน์เต็มไปด้วยผู้คนนับล้าน ที่นี่ Wynnsoft Solution มีคำตอบ! กับแพ็กเกจรับลงสินค้า Shopee และ Lazada ราคาเหมาจ่ายสุดคุ้ม

อ้างอิง: maekha.in.th

ขายของ Shopee เสียภาษียังไง

เมื่อผู้ขายมีรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์ รายได้ในส่วนนี้จะถูกนำมาคำนวณภาษีโดยการ นำยอดเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากการขายสินค้าบน Shopee ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนคูณด้วยอัตราภาษี 0.5%

Shopee จะส่งข้อมูลให้สรรพากรไหม

ผู้ขาย/ร้านค้า ที่จดทะเบียนเป็น“นิติบุคคล” ได้จ่ายค่าบริการต่างๆและ/หรือค่าขนส่งให้กับช้อปปี้ และช้อปปี้ เอ็กซ์เพรส ซึ่งถือเป็นรายได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฏากร ดังนั้น ร้านค้าจึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งสรรพากรภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

ร้านขายของต้องเสียภาษีไหม

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่มาทางนี้ ไม่ว่าเราจะขายอะไรก็ตามแต่ถ้ามีรายได้ยังไงก็ต้องยื่นภาษีนะ เพราะยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยจะเสียภาษีหรือไม่เสียภาษีนี้จะต้องขึ้นอยู่กับว่าเรามี "เงินได้สุทธิ" หรือ "กำไรสุทธิ" เมื่อหักค่าใช้จ่าย

ซื้อของต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

โดยสรุปคือ หากเป็นสินค้าที่รวมค่าสินค้าและบริการในรายการเดียวแล้ว สินค้านั้น ๆ จะไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ แต่หากมีการแยกค่าบริการออกมาเป็นรายการต่างหาก สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ เฉพาะรายการที่เป็นค่าบริการเท่านั้นค่ะ