ไม่จ่ายค่าโทรศัพท์รายเดือน ติดแบล็คลิส ไหม

ปัญหาของผู้คนในแต่ละวันนั้นมีมากมายเพียงพออยู่แล้ว ไหนจะเรื่องค่าบัตรเครดิต ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่านํ้าค่าไฟ ค่าเทอมลูก ค่าใช้จ่ายภายในบ้าน เป็นเรื่องที่น่าปวดหัว หากบริหารจัดการด้านการเงินไม่ดี ก็ทำให้การเงินสะดุดได้

แต่อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นมีวินัยและเริ่มออมเงิน หรือลงทุนในหน่วยกองทุน ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้เรามีความมั่นคงในด้านการเงินที่มากขึ้น เกริ่นมาซะยืดยาว ผู้เขียนมีเจตนาอยากจะนำไปสู่ปัญหาของผู้ที่ต้องการสมัครบัตรเครดิต แต่มีความกังวลใจ หรือวิตกว่าจะสมัครผ่านไหม ลามไปถึง คำถามที่ผู้เขียนก็ตกใจว่าจะเป็นคำถามจากคนที่อยากจะสมัครบัตรเครดิต คือ “ ค้างค่าโทรศัพท์ สมัครบัตรเครดิตได้ไหม

ไม่จ่ายค่าโทรศัพท์รายเดือน ติดแบล็คลิส ไหม
ค้างค่าโทรศัพท์ สมัครบัตรเครดิตได้ไหม

ก่อนอื่น ขอชี้แจงถึงเหตุผลที่ไม่ผ่านการสมัครบัตรเครดิตแบบคร่าวๆก่อน สาเหตุหลักของการไม่ผ่านอนุมัติบัตรเครดิต คือ ฐานเงินเดือนไม่ถึงเกณฑ์ การพิจารณา มีประวัติค้างชำระสินเชื่ออื่นๆ หรือ สถาบันการเงินมองว่ามีบัตรอื่น แล้วจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับลูกค้า และสาเหตุอื่นๆ แต่สาเหตุของการค้างชำระค่าโทรศัพท์ ค่านํ้า ค่าไฟ ไม่มีผลต่อการสมัครบัตรเครดิตอย่างแน่นอน เพราะค่าโทรศัพท์ ค่านํ้า ค่าไฟ จะไม่ถูกส่งเรื่องไปที่เครดิตบูโร เนื่องจากไม่ได้เป็นการเสียประวัติ หรือเป็นมลทินใดด้านการเงิน

สิ่งที่จะถูกนำไปใส่ในเครดิตบูโร คือ ประวัติการค้างชำระค่าบัตรเครดิต หรือค้างชำระสินเชื่ออื่นๆ

ดังนั้น สบายใจได้เลยว่า หากเดือนนี้คุณลืมจ่ายค่าโทรศัพท์ แล้วกำลังจะจรดปากกาเพื่อสมัครทำบัตรเครดิต แต่กังวลว่ายังไม่ได้จ่ายค่าโทรศัพท์ จะสมัครบัตรผ่านไหม สิ่งนี้อย่าได้วิตกกังวลกับเรื่องเล็กน้อยเพียงนี้ สิ่งที่ต้องกังวลมากกว่าในขณะสมัครบัตรเครดิต คือ คุณพร้อมที่จะแบกภาระที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือ คุณมีความแน่วแน่แค่ไหนที่จะไม่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเกินกำลังความสามารถในการชำระของคุณ หากคุณมั่นใจว่าคุณพร้อมก็สมัครเลย แต่ต้องใช้บัตรเครดิตให้มีวินัยด้วย

โดยในกรณีนี้ทาง ทนายรัชพล ศิริสาคร จากเพจเฟซบุ๊ก สายตรงกฎหมาย โดย ทนายรัชพล ศิริสาคร ให้ความเห็นว่าเกี่ยวกับการค้างชำระหนี้ไว้เป็นอุทาหรณ์


“เป็นเรื่องสัญญา คนที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็ต้องถูกบังคับชำระหนี้ เป็นกระบวนการทางกฎหมาย มันเป็นเรื่องปกติในวงการกฎหมาย แต่ว่าชาวบ้านอาจจะมองว่าไม่เป็นธรรม แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องปกติครับ การที่จะบังคับชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่เขาเบี้ยวมันก็เป็นไปตามกฎหมายแล้วครับ ก็คือว่า ถ้าลูกหนี้เบี้ยวไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็จะต้องไปฟ้องศาล พอฟ้องศาลปุ๊บ สมมติว่าชนะคดี ศาลสั่งให้ลูกหนี้จ่ายแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่จ่าย เจ้าหนี้ก็ต้องไปผ่านขั้นตอน ไปสืบทรัพย์ว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรบ้าง

จำข่าวนี้ได้ไหม ที่มีชาวบ้านจังหวัดพิษณุโลกค้างชำระค่าโทรศัพท์ 16 งวด สุดท้ายรู้ตัวอีกทีโดนกรมบังคับคดียึดที่ดินไป 4 ไร่ นั่นหมายความว่าการค้างชำระค่าโทรศัพท์ หรือการขาดผ่อนส่งมือถืออาจไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ

เพราะด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ก็มีความผันผวนแปรปรวนอยู่ตลอดทำให้เราต้องเลือกที่ใช้จ่ายเพื่อให้รอดไปตามสภาพคล่องที่เรามี ซึ่งผมเองไม่อยากเห็นใครต้องมาสูญเสียอะไรที่ไม่ควรจะสูญไปนะครับ ดังนั้นผมอยากจะให้คิดให้ดีกันอีกสักทีก่อนที่จะทำสัญญาต่าง ๆ โดยเฉพาะค่าโทรศัพท์รายเดือน และการซื้อเครื่องติดโปรครับ

อย่างที่กล่าวไปเมื่อตอนต้นว่ามีคนถูกกรมบังคับคดียึดที่ดินไป 4 ไร่ เอาไปขายทอดตลาด เพื่อเอาเงินมาชำระค่าโทรศัพท์ที่ค้างอยู่ 16 งวด ซึ่งต้องบอกเลยนะครับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เพราะเราไปสัญญาไว้ว่าจะจ่ายตามที่กำหนด แต่ถึงเวลาเราไม่รักษาสัญญา ไม่ได้จ่ายตามนั้น เราก้มีสิทธิที่จะถูกฟ้องได้ตามกฎหมายนะครับ

มีหลายคนเข้าใจนะครับว่าหนี้มีอายุความ 2 ปี ถ้าขาดอายุความแล้ว เราไม่ต้องจ่ายก็ได้ ทุกอย่างจะจบเอง มันไม่จบนะครับ เพราะสิทธิ์ในการทวงหนี้เป็นของเจ้าหนี้ แม้จะขาดอายุความแล้วเขาก็ยังตามทวงได้
บางคนอาจจะบอกนะครับหนี้ไม่กี่พันบาทเขาไม่ฟ้องหรอก ซึ่งก็เป็นความจริงในยุคก่อนนะครับ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปโดยจำนวนคนมีหนี้ประเภทนี้มากขึ้น ทำให้ผู้บริการจำต้องดิ้นรนเพื่อหาทางลดจำนวนหนี้เหล่านี้ โดยการ “สุ่มหรือเลือก” ฟ้องร้องผู้บริโภคบางรายที่มีหนี้น้อยกว่า 3,000 บาท เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างและลบความเชื่อว่าหนี้จำนวนน้อยไม่ถูกฟ้อง แต่แน่นอนครับไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลคนถูกฟ้องได้นะครับ เพราะเป็นเรื่องทางกฎหมาย

แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องติดคุกติดตารางนะครับ เพราะหนี้เป็นคดีทางแพ่งครับ ไม่มีเรื่องโทษจำคุก
ซึ่งนอกจากเรื่องการของถูกฟ้องร้องแล้ว เราจะใช้บริการกับค่ายนั้นไม่ได้อีก หรือที่เรียกกันว่าติด blacklist ซึ่งในอนาคตการติด blacklist จะไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะมีข่าวนะครับอนาคตค่ายมือถือจะจับมือกันปฏิเสธการให้บริการลูกค้าที่ติด blacklist เพื่อป้องกันการหนีหนี้จากที่หนึ่ง ไปอีกที่หนึ่งนะครับ ซึ่งมันก็จะทำให้เราเสียสิทธิ์ในการใช้บริการไป

ยังมีอีกกรณีที่ต้องพูดถึงเหมือนกันก็คือการ ซื้อเครื่องในราคาพิเศษที่ถูกลง แต่ก็ต้องแลกมากับการที่จะต้องใช้บริการของค่าย ๆ นั้นให้ครบตามเงื่อนไข พูดง่าย ๆ ก็คือซื้อเครื่องติดโปร นั่นแหละครับ

ซึ่งก็มีบางคนนะครับที่พอซื้อเครื่องติดโปรจากค่ายนั้น แต่ก็พยายามไปหาที่ปลดล็อกให้ใช้บริการจากค่ายนู้น ซึ่งผมก็ไม่แนะนำให้ทำเลยนะครับ มันเสี่ยงมากที่เราจะถูกฟ้องร้องรุนแรงกว่าปกติ เพราะเหมือนเป็นการผิดสัญญา ต้องทำความเข้าใจนิดหนึ่งนะครับว่าเราจ่ายค่าเครื่องล่วงหน้าไปแล้วก็จริง แต่อย่าลืมว่านั่นเป็นราคาพิเศษที่แลกมาด้วยสัญญาตามที่ผู้ให้บริการระบุไว้ ดังนั้นถ้าเราทำอะไรที่เกินเลยไปก็เท่ากับผิดสัญญาครับ

ตรงนี้ก็ต้องพูดตามตรงนะครับว่ามันเป็นเรื่องของธุรกิจ เช่น มือถือราคา 35,000 บาท แต่ถ้าซื้อพร้อมโปรจะเหลือ 25,000 บาท ลดไปเป็นหมื่นเลย ส่วนต่างตรงนี้แหละครับที่ค่ายมือถือเขาออกให้ก่อนในตอนแรก ภายใต้เงื่อนไข 12 เดือน หรือ 24 เดือนก็ว่ากันไป ซึ่งถ้าหากอยู่ดี ๆ เราไปเลิกใช้ก่อนกำหนด เงินที่ทางค่ายควรจะได้รับตามสัญญาก็หดหายไป ทำให้เขาจำเป็นต้องฟ้องร้องตามกฎหมาย

ในกรณีนี้เองก็มีบางคนเข้าใจนะครับว่าการเอาซิมออก การถอดปลั๊กอุปกรณ์ หรือเลิกใช้งานแล้ว เขาจะยกเลิกสัญญาเครื่องติดโปรให้เอง ไม่ใช่นะครับ ส่วนนี้ต้องเข้าใจใหม่เลย เราเป็นผู้ใช้บริการ เราไปทำสัญญาแล้ว เราก็มีหน้าที่ที่จะต้องไปยกเลิกการใช้บริการและชำระค่าบริการให้ถูกต้องนะครับ เพราะมันเป็นสิทธิ์ของเราเองที่จะใช้งานหรือยกเลิก ผู้ให้บริการเขาไม่รู้เจตนาเรานะครับว่ายังใช้บริการอยู่หรือไม่ เพราะถ้าอยู่ดี ๆ เขาไประงับสัญญาณโดยไม่มีสาเหตุ ค่ายมือถือก็อาจจะมีความผิดได้ ดังนั้นจะใช้หรือไม่ใช้ ไปรักษาสิทธิ์แจ้งเจตนาของเราให้ชัดเจน ไม่งั้นค่าบริการก็จะเดินไปเรื่อย ๆ ครับ

อันนี้ก็รวมไปถึงการย้ายค่ายเปลี่ยนเบอร์ด้วยนะครับ ไปแจ้งให้เรียบร้อยนะครับ อย่าปล่อยเฉย ๆ เพราะค่าบริการมันเดินอยู่ตลอด เหมือนที่บางคนบอกนะครับว่าใช้จริงแค่ 2,000 เอง เพราะหลังจากนั้นเราย้ายค่ายแล้ว ทำไมจดหมายทวงมา 8,000 ละ มันก็มาตามสัญญาที่เราตกลงไว้ตอนแรกนั่นแหละครับ

และเพื่อไม่ให้คุณผู้ชมของผมต้องสูญเสียในสิ่งไม่ควรจะสูญเสีย ผมจะมาแนะนำถึงทางออกของเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ครับ

ในกรณีที่ผิดสัญญาค่าบริการ: ผมก็อยากแนะนำให้ติดต่อผู้ให้บริการเพื่อแสดงเจตนาที่ดีในการชำระค่าบริการ ซึ่งถ้าหากเรื่องเลยเถิดไปถึงการฟ้องร้องแล้ว มีโอกาสสูงมากที่โทษหนักจะกลายเป็นเบา

ในกรณีที่ผิดสัญญาค่าเครื่อง: ก็แน่นอนว่าต้องติดผู้ให้บริการเพื่อแสดงเจตนาที่ดีในการชำระค่าบริการเช่นกัน แต่นั่นคือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแล้ว ถ้าย้อนกลับไปที่ต้นเหตุ เราอาจจะลองมองสมาร์ตโฟนที่ราคาถูกแต่คุณภาพเกินตัว ซึ่งเดี๋ยวนี้ร้านสะดวกซื้อบางแห่งก็มีขายแล้ว แถมมีซิมเติมเงินรายเดือนให้มาด้วย

ข้อดีนอกจากเรื่องของราคาและค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงแล้ว ยังไม่มีสัญญาผูกมัด เพราะอยากใช้เท่าไหร่ ก็จ่ายเท่านั้น หมดกังวลเรื่องถูกฟ้องร้องจากการผิดสัญญาค่าบริการ

และทั้งหมดนี้ก็สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้นะครับ ถ้าเราไม่จ่ายค่าโทรศัพท์ หรือค้างชำระค่าเครื่องติดโปร ด้วยสภาพเศรษฐกิจแบบนี้การเลือกใช้จ่ายเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสิทธิในการเลือกนั้นเป็นของเรานะครับ ถ้าเราอ่านสัญญาแล้ว คิดว่ามันแพงไป ไม่เป็นธรรมก็อย่าไปทำสัญญา ถอยออกมาดีกว่า

ไม่จ่ายค่าโทรศัพท์ AIS เป็นไรไหม

หากเกิน45วันแรกระบบจะยกเลิกหมายเลข และหากลูกค้าต้องการกลับมาใช้งานใหม่สามารถติดต่อ AIS Shop/TWZ/AIS Shop by Partner ชำระค่าบริการภายใน 45 วันต่อมาเพื่อขอกลับมาใช้งานหมายเลขเดิมได้เลยครับ 0.

ติดหนี้โทรศัพท์ ติดบูโรไหม

คำตอบคือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่อยู่ในระบบการปล่อยสินเชื่อนั้น จะไม่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลเครดิตบูโร แปลว่า หากไม่ใช่สถาบันที่ปล่อยสินเชื่อ เพื่อให้เราผ่อนจ่ายเป็นงวด ๆ การค้างชำระค่าใช้จ่ายประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์มือถือ ก็จะไม่ส่งผลต่อเครดิตบูโรของเรา

ไม่จ่ายค่าเน็ตรายเดือน เป็นไรไหม

การค้างค่าอินเทอร์เน็ตหรือการไม่ชำระค่าบริการอินเทอร์เน็ตไม่ใช่สิ่งที่ดีเลยและไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผลของการค้างค่าอินเทอร์เน็ตบ้านนั้น จะมีผลตั้งแต่การระงับสัญญาณชั่วคราว การระงับสัญญาณถาวร ไปจนถึงขั้นหนักที่สุดเลยจนถึงขั้นฟ้องศาล และยังทำให้คุณโดนตัดสิทธิพิเศษต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การสมัครเน็ตบ้านเอไอเอส ...

เป็นหนี้ค่าโทรศัพท์อายุความกี่ปี

29 अप्रैल 2021 को 8:14 AM पर · #หนี้ค่าโทรศัพท์ต้องฟ้องภายใน2ปี เมื่อปรากฎตามใบแจ้งหนี้ระยะเวลาที่จำเลยใช้โทรศัพย์จนถึงวันฟ้องเกิน 2 ปีจึงขาดอายุความ ⚖️ 🔹หนี้ค่าโทรศัพท์ที่ขาดอายุความแล้ว หากทำหนังสือรับสภาพหนี้ทำให้หนี้สะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ⚖️