การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

ข้อมูลและการเก็บรวบรวมข้อมูล

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล เป็นข้อความจริงหรือสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง โดยที่ข้อมูลอาจเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้ เช่น ในปี พ.ศ. 2547 คณะรัฐมนตรีกำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดนก หรือในเดือนกันยายน 2547 น้ำมันเบนซิน 91 จำหน่ายในเขตกรุงเทพและปริมณฑลราคาลิตรละ 20.99 บาท โดยทั่ว ๆ ไป ข้อมูลมักจะอยู่ในรูปตัวเลขซึ่งมีหลาย ๆ จำนวนที่สามารถนำมาเปรียบเทียบขนาดกันได้ เช่น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน 2547 ไทยส่งออกข้าวไปยังประเทศหนึ่งรวม 2.88 ล้านตัน ลดลงจาก 5.00 ล้านตัน ของการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42.4
ข้อมูลเชิงสถิติเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาประมวลผลหรือวิเคราะห์ด้วยกระบวนการหรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อตอบคำถามในประเด็นต่าง ๆ ได้

ประเภทของข้อมูล
ประเภทของข้อมูลสามารถจำแนกได้จากวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และจากลักษณะของข้อมูล

การจำแนกข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
เมื่อจำแนกประเภทของข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) และ ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)
1) ข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลที่ผู้ใช้จะต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจทำได้โดยการสัมภาษณ์ วัด นับ หรือสังเกตจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ไม่เคยมีผู้ใดเก็บรวบรวมไว้ก่อน
การเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทนี้ทำได้ 2 วิธีคือ การสำมะโน (census) และการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง (sample survey)
2) ข้อมูลทุติยภูมิ คือข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง แต่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้ว ข้อมูลประเภทนี้ ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอง สามารถนำข้อมูลที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้วมาใช้ได้เลย แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้จะต้องระมัดระวังในการนำข้อมูลประเภทนี้มาใช้ให้มาก เนื่องจากมีโอกาสผิดพลากได้มากหากผู้เก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่างใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญ คือ
(1) รายงานต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการและองค์การของรัฐบาล โดยทั่ว ๆ ไป หน่วยงานราชการหรือองค์การของรัฐบาล มักจะมีรายงานแสดงข้อมูลพิมพ์ออกมาเผยแพร่เป็นประจำซึ่งอาจเป็นรายงานรายเดือน รายสามเดือน หรือรายปี ข้อมูลที่ได้จากรายงานต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการและองค์การของรัฐบาลนี้อาจถือได้ว่าเป็นที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญที่สุด
(2) รายงานและบทความจากหนังสือหรือรายงานจากหน่วยงานเอกชน หน่วยงานของเอกชนบางแห่งโดยเฉพาะหน่วยงานใหญ่ ๆ จะพิมพ์รายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของตนออกเผยแพร่เช่นเดียวกับหน่วยงานของราชการ เช่น รายงานประจำเดือนของธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์รายวัน หรือสื่ออื่น ๆ มักจะมีข้อมูลทุติยภูมิประกอบบทความหรือรายงานด้วย

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่ในหนังสือ รายงาน บทความหรือเอกสารต่าง ๆ ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาตัวบุคคลผู้เขียนรายงาน บทความ หรือเอกสารเหล่านั้นเสียก่อนว่าเป็นผู้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียนถึงขั้นพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่ การเขียนอาศัยเหตุผลและหลักวิชาการมากน้อยเพียงใด ข้อมูลที่จะนำมาใช้ซึ่งรวบรวมจากรายงาน บทความ หรือเอกสารดังกล่าวควรใช้ข้อมูลที่ผู้เขียนเก็บรวบรวมมาเองโดยตรง
(2) ถ้าข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมสามารถหาได้จากหลาย ๆ แหล่ง ควรเก็บรวบรวมมาจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบว่าข้อมูลที่ต้องการมีความผิดพลาดเนื่องจากการลอกผิด พิมพ์ผิด หรือเข้าใจผิดบ้างหรือไม่
(3) พิจารณาจากลักษณะของข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมว่าเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความจริง ข้อมูลที่ได้จากทะเบียน ข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นหรือเจตคติ ข้อมูลประเภทความลับ หรือข้อมูลซึ่งผู้ตอบอาจต้องเสียประโยชน์จากการตอบ ถ้าเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความจริง ข้อมูลที่ได้จากทะเบียนหรือข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นหรือเจตคติส่วนใหญ่มักจะมีความถูกต้องเชื่อถือได้สูง แต่ถ้าเป็นข้อมูลประเภทความลับหรือข้อมูลซึ่งผู้ตอบอาจต้องเสียประโยชน์จากการตอบ ส่วนใหญ่มักจะมีความถูกต้องเชื่อถือได้น้อย

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิซึ่งอาจทำได้โดยการสำมะโนหรือสำรวจสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปมี 5 วิธีคือ
(1) การสัมภาษณ์
(2) การสอบถามทางไปรษณีย์
(3) การสอบถามทางโทรศัพท์
(4) การสังเกต
(5) การทดลอง

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

http://www.vcharkarn.com/lesson/1506

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

อินเทอร์เน็ตนำเราสู่โลกแห่งการสื่อสารได้สะดวกและรวดเร็ว  สามารถเข้าถึงข้อมูลและแหล่งข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ทุกเวลา ทั้งคลับบุคคลใกล้ชิด หรือว่าคนอื่น ทั้งที่อยู่ใกล้หรืออยู่ห่างไกลกัน  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นเสมือนเครือข่ายที่เชื่อมโยงคนที่อยู่ในส่วนต่างๆของโลกเข้าด้วยกัน ข้อมูลและข่าวสารซึ่งมาจากทุกแห่งในโลกใบนี้ และมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง ทันสมัย แล้วต้องกับความต้องการในการนำไปใช้งานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ข้อมูลใหม่ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อาจได้จากการดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ และ/ จัดให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการนำเสนอหรือเผยแพร่ เพื่อให้สามารถนำสิ่งที่ได้รับไปใช้ในการตัดสินใจ

ทบทวนความรู้ก่อนเรียน

เขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่ถูกต้อง

_____ ข้อมูลคือข้อเท็จจริงที่แสดงสถานะ หรือเหตุการณ์ต่างๆ
_____ การคำนวณระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนเป็นการประมวลผลอย่างหนึ่ง
_____ การบันทึกรายการรับจ่ายในครอบครัวเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลลองทำดู

ข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน ประกอบด้วยข้อมูลใดบ้าง

ข้อมูลเป็นสินทรัพย์ที่มีค่า มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างแพร่หลาย เราทุกคนต่างเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ข้อมูลในเวลาเดียวกัน เมื่อมองสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเช่นกิจกรรมที่ทำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันและเวลา จะพบว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เรา หรือบุคคลอื่นมีความสนใจนอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวิธีการรวบรวมข้อมูลให้เป็นแบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก และรวดเร็วทำให้ได้รับข้อมูลหลายรูปแบบและมีปริมาณมาก เพื่อให้นักเรียนสามารถจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม ในบทนี้นักเรียนจะได้สำรวจข้อมูลรอบตัวที่น่าสนใจ โดยการระบุข้อมูลที่จะสอดคล้องและเป็นประโยชน์ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล วางแผนในการวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดวิธีการและเครื่องมือที่จะดำเนินการกับข้อมูล และนำเสนอผลที่ได้รับในรูปแบบที่น่าสนใจ และเข้าใจง่าย

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

ข้อมูล (data) หมายถึง ความจริงที่อยู่ในรูปของตัวเลข ข้อความ ภาพ เสียง ข้อสังเกตที่รวบรวมมาจากเหตุการณ์หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้นิยามคำว่า ข้อมูล คือ “ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือ หรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ”

ข้อมูล ประกอบด้วย
1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) อยู่ในรูปของตัวเลข เช่น จำนวนเสือโคร่งอินโดจีนในประเทศไทย ปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ลดได้ในกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน” จำนวนคนร่วมชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook ปริมาณน้ำฝนรายเดือน
2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data) อยู่ในรูปข้อความ อธิบายความหมาย บรรยายความคิดเห็น ความรู้สึก บทสัมภาษณ์ เช่น สถานที่ทัศนศึกษาที่นักเรียนและแต่ละคนในห้อง ม.1/1 สนใจ ความรู้สึกที่มีต่อการชมภาพยนตร์ การบรรยายลักษณะนิสัยของบุคคล

แหล่งข้อมูล เป็นแหล่งกำเนิดของข้อมูล หรือเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เหตุการณ์

ข้อมูลแบ่งตามลักษณะของการได้มา ดังนี้
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลหรือจุดเริ่มต้นของข้อมูล เช่น ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลความสำเร็จ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ข้อมูลสถานการณ์ทางการเมือง ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่เกิดจากการกระทำ หรือการจดบันทึกของผู้มีส่วนร่วมเรื่องราวหรือเหตุการณ์เหล่านั้น ข้อมูลปฐมภูมินำเสนอรายละเอียดที่เป็นมุมมองของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สาระสำคัญ บุคคล และสถานที่
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลที่ไม่ได้มาจากแหล่งกำเนิดโดยตรง แต่ได้มาจากการอ้างอิงถึงข้อมูลปฐมภูมิ หรือนำข้อมูลปฐมภูมิมาวิเคราะห์ ประมวลผล ซึ่งอาจอยู่ในรูปสถิติ บทวิจารณ์ บทความ เอกสารต่างๆ เป็นต้น

การนำข้อมูลทุติยภูมิที่มีการจัดเก็บรวบรวมไว้แล้วนั้นมาใช้ อาจมีค่าใช้จ่ายและใช้เวลาน้อยกว่าการใช้ข้อมูลปฐมภูมิ อย่างไรก็ตามข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากแหล่งกำเนิด ขณะที่ข้อมูลทุติยภูมิเป็นข้อมูลที่ได้จากการอ้างอิงหรือส่งต่อกันมา ซึ่งเมื่อมีการอ้างอิงต่อเนื่องกันมาหลายทอดอาจทำให้ความจริงบางส่วนถูกบิดเบือนไปทั้งโดยเจตนา หรือไม่เจตนา ดังนั้นในการอ้างอิงข้อมูลทุติยภูมิจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องและแหล่งที่มาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

การเรียนรู้เกี่ยวกับฮอร์โมนจะเริ่มต้นด้วยการกำหนดความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งนำไปสู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งนั้น คำถามจะช่วยให้สามารถกำหนดข้อมูลที่ต้องการใช้ในการตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่สนใจแล้ว ซึ่งพิจารณาแหล่งข้อมูลเพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูล (data collection) ต่อไป

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

ข้อมูลและแหล่งข้อมูลจะเป็นสิ่งที่กำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล ข้อมูลแต่ละอย่างอาจต้องใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลที่แตกต่างกันไป วิธีการรวบรวมข้อมูล เช่น
1. การสัมภาษณ์ (interview) อาจเป็นการสัมภาษณ์โดยตรงหรือผ่านช่องทางการสื่อสารอื่น เช่น โทรศัพท์ สื่อสังคมออนไลน์ คำถามที่ใช้ต้องชัดเจนตรงประเด็น และมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด สามารถรวบรวมข้อมูลที่ไม่จำกัดคำตอบและได้ผลการสัมภาษณ์ทันที การสัมภาษณ์มักนิยมใช้รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น การสัมภาษณ์เพื่อรับฟังความเห็นของนักเรียนต่อระเบียบปฏิบัติในห้องเรียน การสัมภาษณ์เพื่อทราบความรู้สึกของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่
2. การสำรวจ (survey) ทำโดยสร้างแบบสำรวจที่กำหนดคำถามเพื่อค้นหาข้อมูล หรือความเห็นที่ต้องการ เช่น การสำรวจความพึงพอใจของการบริหารงานของสภานักเรียน การสำรวจแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสนใจ
3. การสังเกต (observe) เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์ หรือสถานการณ์หรือพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างรับประทานอาหาร การสังเกตพฤติกรรมการทิ้งขยะของนักเรียน
4. การทดลอง (experiment) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง หรือทดสอบที่มีการควบคุมปัจจัยบางประการ เช่น การบันทึกผลการเจริญเติบโตของถั่วงอกเมื่อมีแสงแดดและไม่มีแสงแดด
5. การทบทวนเอกสาร (document/literature review) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงาน บทความ หรือแบบฟอร์มสำหรับรวบรวมข้อมูล เช่น แบบบันทึกการเข้าเรียนของนักเรียน รายงานประจำปี รายงานการประชุม จดหมายข่าว แบบฟอร์มลงเวลาปฏิบัติงาน
6. การสํามะโน (census) เป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจจากประชากรเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด เช่น สํานักงานสถิติแห่งชาติได้มีการสำมะโนประชากรและเคหะ ช่วยดำเนินการเป็นประจำทุก 10 ปี

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเป็นต้องออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีประเด็นคำถามที่ครบถ้วน เพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงตามความต้องการของผู้สำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกต ในปัจจุบันการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้แอพพลิเคชั่น สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อลดภาระในการจัดเก็บข้อมูล ลดข้อผิดพลาด และช่วยทำให้สะดวกรวดเร็ว

นอกจากนี้ในการสำรวจอาจมีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกเพิ่มเติม เช่น โทรศัพท์ อุปกรณ์บันทึกเสียงและภาพ เครื่องนับจำนวน (clickers) เครื่องอ่านบาร์โค้ด (barcode reader)

การรวบรวมข้อมูลจะต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อยืนยันว่ามาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และช่วยให้ผู้สนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติมและที่สำคัญอย่างยิ่ง คือเป็นมารยาทที่เหมาะสมในการแสดงคำขอบคุณแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

     หากนักเรียนต้องการเก็บข้อมูลการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันนักเรียนจะรวบรวมข้อมูลใดได้บ้าง และจะใช้วิธีการและเครื่องมือใด

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการรวบรวมข้อมูล
นอกจากการกำหนดข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามความต้องการแล้ว ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง และครบถ้วนพร้อมต่อการนำไปประมวลผลในขั้นตอนถัดไป โดยการตรวจสอบจะต้องครอบคลุมคุณสมบัติต่อไปนี้
1. ความถูกต้อง (accuracy) ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพต้องมีความถูกต้อง เช่น ข้อมูลคะแนนสอบเพื่อประเมินผลการเรียนต้องมีความถูกต้อง
2. ความทันสมัย (timeliness) ข้อมูลจะใช้งานได้ต้องอยู่บนพื้นฐานของช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้ประโยชน์จากข้อมูล เช่น ข้อมูลน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนเมื่อ 2 ปีที่แล้วไม่สามารถนำมาประมวลผลพิจารณาการเติบโตของนักเรียนในปัจจุบันได้ ข้อมูลวันสิ้นสุดการส่งผลงานเข้าประกวดควรเป็นวันที่ในอนาคต ไม่ใช่วันที่ผ่านมาแล้ว
3. ความเกี่ยวข้อง (relevance) ข้อมูลต้องมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่นข้อมูลที่จะใช้ในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวอาจประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยว เวลาเปิดปิด ระยะทาง วิธีการเดินทาง สภาพภูมิอากาศ ขณะที่ข้อมูลการแข่งขันกีฬาไม่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยว

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

การรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
สถานการณ์ ในงานกีฬาสีของโรงเรียน นักเรียนแต่ละห้องต้องส่งนักกีฬาเพื่อแข่งขันกีฬา 3 ประเภท
1. วิเคราะห์ความต้องการและจัดทำเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
พิจารณาความต้องการในการรวบรวมข้อมูล เลือก และจัดทำเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากสถานการณ์นักเรียนต้องเลือกกีฬาที่ตรงกับความต้องการของเพื่อนในห้องจำนวน 3 ประเภท

นักเรียนจึงวางแผนสำรวจความต้องการของเพื่อน โดยจัดทำเครื่องมือในการสำรวจหรือการสัมภาษณ์ เช่น นักเรียนอาจออกแบบแบบสัมภาษณ์ได้ตามลักษณะแบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 หรือแบบสำรวจตามแบบที่ 3

แบบที่ 1 นักเรียนวางแผนสัมภาษณ์เพื่อเป็นรายบุคคล และต้องการคำตอบที่หลากหลาย จึงออกแบบตารางในการเก็บข้อมูล ดังนี้

แบบเก็บข้อมูล

เพื่อนคนที่กีฬาที่ต้องการส่งเข้าแข่งขัน123123

แบบที่ 2 นักเรียนวางแผนว่าจะสัมภาษณ์เพื่อนเป็นรายบุคคล และต้องการกำหนดคำตอบเบื้องต้นโดยพิจารณาจากกีฬาที่เพื่อนในห้องสามารถเล่นได้ 5 ประเภท จึงออกแบบตารางในการเก็บข้อมูลดังนี้

แบบเก็บข้อมูล

เพื่อนคนที่กีฬาที่ต้องการส่งเข้าแข่งขันบาสเก็ตบอลปิงปองวอลเลย์บอลว่ายน้ำฟุตบอล12...

**ในแบบเก็บข้อมูลนี้ ผู้เก็บข้อมูลอาจใช้วิธีเขียนเครื่องหมาย  x  ในช่องที่เพื่อนเลือก

แบบที่ 3 นักเรียนวางแผนให้เพื่อนแต่ละคนส่งคำตอบมาให้ และต้องการกำหนดคำตอบเป็นกีฬา 5 ประเภทเท่านั้น นักเรียนจึงออกแบบฟอร์มการสำรวจ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

แบบสำรวจกีฬาที่ต้องการส่งเข้าแข่งขัน

โปรดเขียนเครื่องหมาย  x  หน้าช่องว่างประเภทกีฬาที่คุณต้องการส่งเข้าเข่งขันมากที่สุด เลือกเพียง 3 คำตอบ
_____ บาสเก็ตบอล
_____ ปิงปอง
_____ วอลเลย์บอล
_____ ว่ายน้ำ
_____ ฟุตบอล

2. การเตรียมข้อมูลก่อนการประมวลผล
1) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
เมื่อนักเรียนรวบรวมข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บต้องมีความน่าเชื่อถือ หาข้อมูลมีความผิดพลาดจะทำให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลผิดพลาดตามไปด้วย นักเรียนตรวจสอบได้อย่างไรบ้าง เบื้องต้นอาจพิจารณารายละเอียดข้อมูลที่รวบรวมมาได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกันกับประเด็นที่รวบรวมหรือไม่ เช่น ต้องการข้อมูลกีฬาที่ต้องการให้มีการจัดแข่งขัน หาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้เป็นชื่อนักกีฬา หากตรวจสอบพบต้องแก้ไขให้ถูกต้อง เช่น สมมุติว่านักเรียนใช้เครื่องมือสัมภาษณ์แบบที่ 1 แล้วเก็บข้อมูลได้ดังตารางต่อไปนี้

แบบเก็บข้อมูลที่นักเรียนได้มาจากการสัมภาษณ์

เพื่อนคนที่กีฬาที่ต้องการส่งเข้าแข่งขัน1231ฟุตบอลว่ายน้ำปิงปอง2วิ่งผลัดฟุตปองเทนนิส...

สังเกตข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ จะเห็นว่าข้อมูลเพื่อนคนที่ 2 กีฬาที่ต้องการให้มีการจัดแข่งขัน ช่องที่ 2 ถูกบันทึกเป็นฟุตปอง ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดในการจดบันทึก โดยข้อมูลส่วนนี้จะนำไปใช้ในการประมวลผลไม่ได้ ดังนั้นต้องตัดรายการนี้ออกจากการประมวลผลได้ ดังตารางต่อไปนี้

เพื่อนคนที่กีฬาที่ต้องการส่งเข้าแข่งขัน1231ฟุตบอลว่ายน้ำปิงปอง2วิ่งผลัด-เทนนิส...

จากเครื่องมือสัมภาษณ์ในแบบที่ 2 และเครื่องมือสำรวจแบบที่ 3 ถ้านักเรียนพิจารณาจะเห็นว่าครอบผิดพลาดที่เกิดขึ้นคือ คำตอบของเพื่อนที่ได้อาจมีมากกว่า 3 คำตอบ แต่ถ้านักเรียนทำแบบสำรวจออนไลน์ โปรแกรมจะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ตอบเลือกเกิน 3 คำตอบได้

2) ปรับรูปแบบข้อมูล
ข้อมูลที่มีการรวบรวมมานั้นอาจมีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันไป ทำให้เกิดความผิดพลาดในการประมวลผล ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

สมมติข้อมูลที่นักเรียนได้มาจากการสัมภาษณ์แบบที่ 1 มีดังนี้

เพื่อนคนที่กีฬาที่ต้องการส่งเข้าแข่งขัน1บอล, ว่ายน้ำ, ปิงปอง2วิ่งผลัด, เทนนิส3วอลเลย์บอล, เทนนิส, ฟุตบอล4วอลเลย์บอล, ว่ายน้ำ, ฟุตบอล5ว่ายน้ำ, ฟุตบอล, ปิงปอง6ปิงปอง, บาสเก็ตบอล, วอลเลย์บอล

จากตารางจะเห็นว่า เพื่อนลำดับที่ 1 ประเภทกีฬาที่ต้องการคือ บอล ซึ่งผู้จดบันทึกอาจจะบันทึกแบบย่อที่หมายถึงฟุตบอล ถ้านำข้อมูลนี้ไปประมวลผล อาจจะได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาด ดังนั้นต้องเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลให้เป็นคำเดียวกันกับข้อมูลที่มีอยู่ก่อนนำไปประมวลผล ในที่นี้จะเปลี่ยนคำว่าบอล เป็น ฟุตบอล ดังตารางต่อไปนี้

เพื่อนคนที่กีฬาที่ต้องการส่งเข้าแข่งขัน1ฟุตบอล, ว่ายน้ำ, ปิงปอง2...

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

1. นักเรียนต้องการเก็บข้อมูลเพื่อนในห้องไว้เพื่อติดต่อ นักเรียนจะเก็บข้อมูลใดบ้าง
2. สมมตินักเรียนบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายประจำวันของตนเอง ในที่นี้มีข้อมูลอยู่เพียง 2 วัน ดังตารางต่อไปนี้

วันเดือนปีรายการรายรับรายจ่ายคงเหลือวันที่ 1ผู้ปกครองให้เงิน5050ค่ารถโดยสารเดินทาง
ไปโรงเรียน(ไป-กลับ)1832ซื้อก๋วย2012หยอดกระปุก157วันที่ 2ผู้ปกครองให้เงิน5057ซื้อดินสอกด1542ค่ารถโดยสารเดินทาง
ไปโรงเรียน(ไป-กลับ)933ซื้อก๋วยเตี๋ยว2013หยอดกระปุก3010วันที่ 3ผู้ปกครองให้เงิน50......

ให้นักเรียนพิจารณาข้อมูลในบัญชี รายรัยรายจ่ายประจำวันในตาราง ว่ามีข้อมูลส่วนใดบ้างที่ผิดพลาด และสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้หรือไม่ อย่างไร

3. ให้นักเรียนสำรวจข้อมูลพื้นฐานของเพื่อนในห้อง ดังนี้

เพื่อนคนที่วันเดือนปีเกิดน้ำหนักส่วนสูง

ให้นักเรียนพิจารณาข้อมูลที่รวบรวมมาได้ว่ามีข้อมูลใดที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุใด

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

การประมวลผลข้อมูล (data processing) หมายถึง กระบวนการที่กระทำกับข้อมูลที่รวบรวมไว้เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบที่ต้องการนำไปใช้
การประมวลผลข้อมูลมี 2 รูปแบบ ดังนี้
1. การประมวลผลด้วยมือ ใช้กระดาษ ปากกา และแรงคนในการดำเนินการ
2. การประมวลผลด้วยเครื่องมือ ใช้เครื่องมือช่วยทุ่นแรง เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลข เครื่องนับจำนวน เครื่องนับธนบัตร

รูปแบบการประมวลผลข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เป็นการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน

ในกระบวนการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เราเรียกข้อมูลที่นำเข้าสู่การประมวลผลว่าว่าข้อมูลเข้า (input) และเรียกสิ่งที่ได้จากการประมวลผล (process) ว่าข้อมูลออกหรือผลลัพธ์ (output) ซึ่งผลลัพธ์นี้อาจถูกนำไปเป็นข้อมูลเข้าของกระบวนการอื่นได้

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

รูป 5.1 กระบวนการประมวลผลข้อมูล

การประมวลผลมีด้วยกันหลายวิธี โดยอาจเลือกใช้วิธีใดเพียงวิธีเดียว หรือหลายวิธีต่อเนื่องกัน วิธีประมวลผล เช่น
1. การประมวลผล (computation) เป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาคำนวณตามข้อกำหนดของการประมวลผลเพื่อให้ได้ค่าผลลัพธ์ใหม่ เช่น คำนวณอายุปัจจุบันจากปีเกิด หาค่ามากที่สุด ค่าเฉลี่ย
2. การเรียงลำดับ (sort) เป็นการจัดข้อมูลให้อยู่ในลำดับที่เหมาะสม โดยการจัดเรียงข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษรตามลำดับที่ต้องการเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่าย การเรียงอาจเรียงจากมากไปหาน้อยหรือจากน้อยไปหามาก เช่น จัดเรียงเลขประจำตัวตามลำดับรายชื่อนักเรียน การจัดเรียงข้อมูลช่วยให้สามารถค้นหา หรือใช้ข้อมูลได้ง่ายสะดวกและประหยัดเวลา
3. การวิเคราะห์ (analyse) เช่น การจัดกลุ่ม การแยกประเภท การตีความ
4. การสรุป (summation) เป็นการสรุปใจความสำคัญ ให้เลือกเฉพาะประเด็นหลัก
5. การรายงาน (reporting) เป็นการนำเสนอผลลัพธ์ที่ได้ในรูปแบบต่างๆเช่น เล่มรายงานหรือไฟล์ ป้ายนิเทศก์ อินโฟกราฟิก

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

การสำรวจกีฬาที่ต้องการส่งเข้าร่วมแข่งขันจากตัวอย่างที่ 5.1 นักเรียนใช้วิธีในการประมวลผล โดยการนับจำนวนการตอบของนักเรียนในห้อง เกี่ยวกับประเภทกีฬาที่ต้องการส่งเข้าแข่งขัน มีผู้ให้สัมภาษณ์ ทั้งหมด 50 คน โดยประมวลผลข้อมูลแล้วได้ดังนี้
- ฟุตบอล 50 คน
- วอลเลย์บอล 40 คน
- บาสเก็ตบอล 20 คน
- ว่ายน้ำ 20 คน
- ปิงปอง 16 คน
- ข้อมูลที่ใช้ไม่ได้ 4 คน

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

1. ถ้าครอบครัวของนักเรียนต้องการเดินทางไปพักผ่อนชายทะเลในช่วงวันหยุด 3 วันโดยมีงบประมาณจำกัดจำนวนหนึ่ง ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล และอธิบายวิธีการเลือกที่พัก และวิธีเดินทาง
2. ให้ทดลองใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตในการทำงานต่อไปนี้
2.1 บันทึกข้อมูลต่อไปนี้ โดยบันทึกแต่ละวันในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- รายการอาหารและราคาที่รับประทานในแต่ละวัน
- วิชาที่มีการบ้านในแต่ละวัน
- จำนวนชั่วโมงที่ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์
- กีฬาที่เล่น และเวลาที่ใช้ในการเล่นแต่ละครั้ง
- เวลาอ่านหนังสือ
- ช่วยเหลืองานบ้านอะไรบ้าง และใช้เวลาแต่ละครั้งเท่าใด
2.2 นำข้อมูลที่บันทึกไว้ในข้อ 2.1 มาประมวลผลโดยใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผล (ให้ใช้สูตรคำนวณ) ดังรายการต่อไปนี้
- รายการอาหารที่รับประทานบ่อยที่สุด
- รายการอาหารที่มีราคาแพงที่สุด
- รายการอาหารที่รับประทานบ่อยที่สุดและมีราคาสูงที่สุด
- จำนวนเงินที่จ่ายค่าอาหารไปในหนึ่งสัปดาห์
- วิชาที่มีการบ้านมากที่สุดในหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา และจำนวนครั้งที่แต่ละวิชาให้การบ้าน
- ในหนึ่งสัปดาห์นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลากี่ชั่วโมงและเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง
- ในหนึ่งสัปดาห์นักเรียนเล่นกีฬาใดบ่อยที่สุด และเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง
- งานบ้านใดที่ใช้เวลามากที่สุด
- จำนวนครั้งที่ทำงานบ้านแต่ละชนิด
- เวลารวมทั้งหมดในการอ่านหนังสือ

ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล อาจเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพก็ได้ จากตัวอย่างที่ 5.2 ผลลัพธ์เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ สามารถนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ แผนผัง อินโฟกราฟิก เพื่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างน่าสนใจ สำหรับผลลัพธ์ในเชิงคุณภาพ อาจนำเสนอในรูปแบบเอกสารรายงานสรุป หรือคลิปวีดิทัศน์

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

จากข้อมูลในตัวอย่างที่ 5.2 สามารถนำเสนอข้อมูลได้เป็นแผนภูมิแท่ง ดังนี้

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

ข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลารอบตัว เราถูกคนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ข้อมูลในเวลาเดียวกัน
ในการดำเนินชีวิตของทุกคนมีกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติอยู่ตลอดเวลา เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ จะมีการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ตรงตามเป้าหมายมากที่สุด ตัวอย่างเช่น ขณะที่เราขี่จักรยานอยู่บนถนนการสังเกตสิ่งต่างๆข้างทางและบนถนน เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาอย่างอัตโนมัติ ข้อมูลดังกล่าวถูกนำมาใช้เพื่อช่วยตัดสินใจในทันทีที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เมื่อพบหลุมบนถนนขณะขี่จักรยานจะตัดสินใจหักหลบ หยุดรถหรือขี่ลงไปในหลุมหากเห็นว่าหลุมไม่ลึกมา

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

1. ถ้าถูกสุนัขวิ่งไล่ นักเรียนจะทำอย่างไรให้บอกมา 3 วิธี
2. จากข้อ 1 นักเรียนจะตัดสินใจเลือกวิธีใดเพราะเหตุใด

การตัดสินใจจะเกิดขึ้นเมื่อมีหลายทางเลือก และแต่ละทางเลือกจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ การตัดสินใจจัดเป็นการประมวลผลอย่างหนึ่งที่ใช้การวิเคราะห์เชิงตรรกะในการประมวลผลลัพธ์ ว่าทางเลือกใดสามารถนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างเหมาะสมที่สุด
ขั้นตอนการตัดสินใจ มีดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายของการตัดสินใจ
2. รวบรวมข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้องที่เพียงพอต่อการตัดสินใจ
3. กำหนดทางได้ทั้งหมดที่เป็นไปได้
4. ประเมินถูกทางเลือกโดยใช้การวิเคราะห์เชิงตรรกะเชื่อมโยงระหว่างทางเลือกและผลลัพธ์ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ และใช้ขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพหรือได้ผลลัพธ์ที่มีความสำคัญมากที่สุด
5. การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

จากตัวอย่างที่ 5.2 จะเห็นว่านักเรียนมีเป้าหมายที่จะเล่นกีฬาที่จะส่งแข่งขัน โดยจะเลือกจากลำดับที่สูงสุด 3 ลำดับแรก พบว่าลำดับที่ 3 และ 4 มีคะแนนเท่ากัน จึงกำหนดทางเลือกได้เป็น 2 แบบดังนี้
ทางเลือกที่ 1 ฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเก็ตบอล
ทางเลือกที่ 2 ฟุตบอล วอลเลย์บอล ว่ายน้ำ

จากทางเลือกทั้ง 2 แบบ นักเรียนจะเลือกแบบใด ประเด็นใดบ้างที่ช่วยตัดสินใจในการเลือกคำตอบที่ดี และเหมาะสมที่สุด สมมตินักเรียนได้รับข้อมูลเพิ่มเติมว่า
1. การแข่งขันกีฬาครั้งนี้มีผู้สนับสนุนชุดกีฬาห้องละ 1700 บาท เสื้อนักเรียนหาข้อมูลพบว่าเสื้อกีฬาราคาตัวละ 75 บาท ชุดว่ายน้ำราคาชุดละ 375 บาท ทำให้นักเรียนคิดว่าประเด็นที่จะนำมาพิจารณาเพิ่มเติมคือ สามารถซื้อชุดกีฬาเพียงพอกับจำนวนผู้เล่นแต่ละครั้ง
2. เพื่อนในห้องสนามถ้าต้องการได้ถ้วยรางวัลกีฬารวม ควรเลือกกีฬาประเภททีมเพราะหากได้รับเหรียญทองจะได้แต้มสะสม 10 แต้ม เหรียญเงิน 8 แต้ม และเหรียญทองแดง 6 แต้ม ซึ่งสูงกว่ากีฬาที่แข่งประเภทเดี่ยวโดยเหรียญทอง จะได้แต้มสะสม 8 แต้ม เหรียญเงิน 6 แต้ม และเหรียญทองแดง 4 แต้ม ซึ่งกีฬาว่ายน้ำจะมีการแข่งขันประเภทเดี่ยวเท่านั้น

จากประเด็นข้างต้น นักเรียนจึงต้องประเมินผลทางเลือกทั้ง 2 ทางเลือก เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดในการส่งกีฬาแข่งขัน เริ่มจากการกำหนดประเด็นในการพิจารณาในที่นี้กำหนดไว้ 2 ประเด็น คือ อยู่ในงบประมาณชุดกีฬาที่มีผู้สนับสนุน และแต้มสะสมถ้วยกีฬารวมมากที่สุดที่เป็นได้ แล้วกำหนดคะแนนเต็ม ในที่นี้คือ 10 คะแนน และให้คะแนนความสำคัญของแต่ละประเด็นเท่ากันจึงกำหนดคะแนนเต็มแต่ละประเด็นเป็น 5 คะแนน ตัวอย่างการให้คะแนนมีดังนี้

ประเด็นการพิจารณา
(ประเด็นละ 5  คะแนน)ประเภทกีฬาที่จะส่งเข้าแข่งขันทางเลือกที่ 1
ฟุตบอล วอลเลย์บอล
บาสเก็ตบอลทางเลือกที่ 2
ฟุตบอล วอลเลย์บอล
ว่ายน้ำอยู่ในงบประมาณ55แต้มสะสมถ้วยกีฬารวมสูงที่สุดที่เป็นไปได้54คะแนนรวม109

เกณฑ์ให้คะแนน ประเด็น “อยู่ในงบประมาณ”
5   หมายถึง   อยู่ในงบประมาณ
1   หมายถึง   เกินงบประมาณ

เกณฑ์ให้คะแนน ประเด็น “แต้มสะสมถ้วยกีฬารวมสูงที่สุดที่เป็นได้”
5   หมายถึง   ได้แต้มสูงสุดที่เป็นไปได้        29-30  แต้ม
4   หมายถึง   ได้แต้มสูงสุดที่เป็นไปได้        27-28  แต้ม
3   หมายถึง   ได้แต้มสูงสุดที่เป็นไปได้        25-26  แต้ม
1   หมายถึง   ได้แต้มสูงสุดที่เป็นไปได้ต่ำกว่า  25  แต้ม

สังเกตว่า ทั้งสองประเด็นที่นำมาพิจารณานั้น ประเด็นแรก ทั้ง 2 ทางเลือกได้คะแนนเต็ม 5 เท่ากัน เนื่องจากค่าชุดกีฬาที่ใช้อยู่ในงบประมาณ เป็นดังนี้

กีฬาฟุตบอลวอลเลย์บอลบาสเก็ตบอลว่ายน้ำค่าชุดกีฬา (บาท)75 x 11 = 82575 x 6 = 45575 x 5 = 375375

สำหรับประเด็นที่ 2 แต้มสะสมสูงสุดที่เป็นไปได้ของทางเลือกที่ 1 คือ 30 แต้ม (มาจากการได้เหรียญทองกีฬาทั้ง 3 ประเภทซึ่งเป็นประเภททีมทั้งหมดจะได้แต้มสะสม 3 x 10 = 30) และแต้มสะสมสูงสุดที่เป็นไปได้ของทางเลือกที่ 2 คือ 28 แต้ม (มาจากการได้เหรียญทองกีฬาทั้ง 3 ประเภทซึ่งเป็นประเภททีม 2 รายการและประเภทเดี่ยว 1 รายการจะได้แต้มสะสม 2 x 10 + 8 = 28) ดังนั้นคะแนนที่ให้แต่ละทางเลือกซึ่งเป็น 5 และ 4 ตามลำดับ
สรุปแล้วนักเรียนเลือกส่งกีฬา 3 ประเภทตามทางเลือกที่ 1 เนื่องจากมีคะแนนรวมมากกว่าทางเลือกที่ 2

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

1. นักเรียนมีเงิน 50 บาท และต้องการรับประมานอาหารกลางวัน ซึ่งประกอบด้วยอาหารหลัก และขนมหวาน
            ให้นักเรียนออกแบบรายการอาหาร 3 เมนู ยกตัวอย่างเช่น
1) ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก (25 บาท) + ลอดช่อง (10 บาท)
2) ข้าวคลุกกะปิ (35 บาท) + ไอศกรีม (10 บาท)
3) ข้าวไข่เจียว (20 บาท) + เต้าฮวยฟรุ้ตสลัด (25 บาท)
2. จากรายการอาหารที่นักเรียนออกแบบไว้ในข้อ 1 ให้นักเรียนพิจารณาว่าจะเลือกรับประทานอาหารรายการใด เพราะเหตุใด
โดยเริ่มจากการกำหนดประเด็นในการพิจารณาและเกณฑ์การให้คะแนน

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการซอฟต์แวร์บนคลาวน์ (cloud-based service) จำนวนมาก ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวก เราสามารถใช้ซอฟต์แวร์เหล่านี้เป็นเครื่องมือในการจัดการกับข้อมูลตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลการประมวลผลข้อมูลจนถึงการนำเสนอข้อมูล นอกจากนี้ซอฟต์แวร์บนคลาวน์ยังมีความสามารถในการแบ่งปันและใช้งานร่วมกัน โดยผู้ใช้สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงเอกสารเดียวกัน ณ ขณะเดียวกัน ทำให้สมาชิกในกลุ่มเห็นข้อมูลที่ปรับปรุงล่าสุด แรกเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เป็นการสนับสนุนรูปแบบการทำงานร่วมกัน สะดวกต่อการทำงานประสานกัน แม้จะอยู่ห่างไกลกัน ตัวอย่างบริการซอฟต์แวร์บนคลาวน์ เช่น
1. ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processor) ใช้สำหรับสร้าง แก้ไข และจัดรูปแบบเอกสาร โดยทำงานร่วมกันผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น Google Docs และ Microsoft Words ในชุด Office 365
2. ซอฟต์แวร์สร้างฟอร์ม (form) ใช้สำหรับสร้างแบบสำรวจ/แบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลโดยคำถามที่กำหนดในแบบสำรวจอาจเป็นได้ทั้งคำถามปลายเปิดและปลายปิด เช่น คำถามที่กำหนดรายการคำตอบให้เป็นทางเลือก คำถามแบบจัดลำดับความสำคัญ หรือคำถามแบบเติมคำตอบสั้นๆ

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

เมื่อสร้างแบบสอบถามเสร็จแล้ว ผู้ใช้สามารถส่งแบบสอบถามให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยการส่ง URL หรือ ลิงก์ของแบบสอบถามผ่านอีเมล์หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เมื่อกลุ่มเป้าหมายเริ่มมีการตอบแบบสอบถามซอฟต์แวร์จะรวบรวมข้อมูลโดยอัตโนมัติ และผู้สร้างสามารถติดตามผลการตอบแบบสอบถามได้ตลอดเวลา ผลจากการตอบแบบสอบถามจะถูกบันทึกในรูปของเอกสารหรือตารางทำงาน ทำให้สามารถนำไปวิเคราะห์และประมวลผลต่อไป ตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Google forms

3. ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spreadsheet) ใช้สำหรับสร้างและแก้ไขตารางทำงาน รวมถึงการประมวลผลข้อมูลในตาราง คำสั่งในการประมวลผล เช่น การหาค่ามากที่สุด/น้อยที่สุด การหาค่าเฉลี่ย การนับความถี่ และแสดงผลการเปรียบเทียบข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิวงกลม (Pie Chart) แผนภูมิเส้น (Line Chart) แผนภูมิแท่ง (Bar Chart)

การแสดงผลลัพธ์อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย หนังสือถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ซอฟต์แวร์ตารางทำงานนี้สามารถใช้วิเคราะห์ผลการสำรวจ แนะนำไปสู่ผลสรุปตามเป้าหมายของการสำรวจนั้นๆได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เช่น Google Sheets และ Microsoft Excel ในชุด Office  365

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

4. ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation) ใช้สำหรับสร้าง แก้ไข ตกแต่งแฟ้มนำเสนองาน โดยสามารถใส่ตารางข้อมูล แผนภูมิ รูปภาพ รูปวาด ภาพวีดีทัศน์ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เกิดความน่าสนใจและสวยงาม เช่น Google Slides และ Microsoft PowerPoint ในชุด Office 365
5. ซอฟต์แวร์สร้างผังความคิด (Concept Map) ใช้สำหรับสร้าง แก้ไข ตกแต่ง ผังความคิด เช่น mindmup.com โดยมีการใช้งานผ่านบริการคลาวด์ของ Google Drive

ปัจจุบันมีบริการเก็บไฟล์ข้อมูลบนคลาวด์โดยให้บริการแบบไม่มีค่าใช้จ่ายเมื่อใช้งานพื้นที่เก็บข้อมูลในปริมาณไม่เกินที่กำหนดให้ เช่น Dropbox, Google Drive, OneDrive และ ICloud ซึ่งผู้ใช้สามารถเก็บไฟล์ที่ตนทำงานไว้กับบริการเหล่านี้ ทำให้การเข้าถึงไฟล์สามารถทำได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ

ให้นักเรียนค้นหาเครื่องมือหรือบริการออนไลน์อื่นๆ ที่มีการใช้งานร่วมกัน ว่ามีบริการใดบ้างที่ไม่ซ้ำกับที่กล่าวมาแล้ว

ข้อใด เป็นการพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล

ความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล ความสอดคล้องกับการใช้งาน (relevance) ควรตรวจสอบว่าข้อมูลเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องการหรือไม่ ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล (authority) พิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ผู้เผยแพร่มีความชํา นาญพอที่จะให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวหรือไม่สามารถติดต่อผู้เผยแพร่ได้หรือไม่

แหล่งข้อมูลใดที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด

แน่นอนว่าแหล่งข้อมูลที่ให้ข้อมูลได้น่าเชื่อถือมากที่สุด ก็ต้องเป็นแหล่งข่าวที่พบเจอกับเรื่องนั้นด้วยตัวเอง ใครจะรู้เรื่องดีไปกว่าเจ้าของเรื่อง แต่อย่างไรก็ตาม แม้การสัมภาษณ์เจ้าของเรื่องถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นต้นที่มีความน่าเชื่อถือ แต่ก็ควรเก็บข้อมูลด้านอื่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดข้อมูลที่เอนเอียง ให้ได้ข้อเท็จจริงรอบ ...

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

3.การเก็บรวบรวมข้อมูล จะมีวิธีเก็บ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ และ 2. เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ

วิธีการปฏิบัติในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิมีกี่วิธี อะไรบ้าง

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิซึ่งอาจทำได้โดยการสำมะโนหรือสำรวจสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปมี 5 วิธีคือ (1) การสัมภาษณ์ (2) การสอบถามทางไปรษณีย์ (3) การสอบถามทางโทรศัพท์