อัตราค่าเสื่อมราคา 2565 สรรพากร

การหักค่าเสื่อมราคา


อัตราค่าเสื่อมราคา 2565 สรรพากร
credit : https://www.youtube.com/watch?v=D_x4B3xekV0

ประมวลรัษฎากรได้กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการหักค่าเสื่อมราคาไว้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1.การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินให้คำนวณหักตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่รอบระยะเวลาใดไม่เต็มสิบสองเดือนให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้

1.1 อาคาร
- อาคารถาวร ร้อยละ 5
- อาคารชั่วคราว ร้อยละ 100

1.2 ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้ ร้อยละ 5

1.3 ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า

- กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่า หรือมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้ โดยมีเงื่อนไขในการต่ออายุนั้นเปิดโอกาสให้ต่ออายุการเช่ากันได้ต่อๆ ไป ร้อยละ 10
- กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่ไม่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่ากันได้หรือ มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอันจำกัดแน่นอน ร้อยละ 100หารด้วย จำนวนปีอายุการเช่าและอายุที่ต่อได้รวมกัน

1.4 ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธีสูตร กู๊ดวิล เครื่องหมายการค้า สิทธิประกอบกิจการตามใบอนุญาตสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น

1.5 ทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งโดยสภาพของทรัพย์สินนั้นสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้นอกจากที่ดินและสินค้าร้อยละ 20

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งมีอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาไม่เท่ากันในแต่ละปีระหว่างอายุการใช้ทรัพย์สิน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีนั้นในบางปีเกินอัตราที่กำหนดข้างต้นก็ได้ แต่จำนวนปีอายุการใช้ของทรัพย์สินเพื่อหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต้องไม่น้อยกว่า 100หารด้วยจำนวนร้อยละที่กำหนดข้างต้น (ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.3/2527)

การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินอย่างอื่นตามข้อ (5) (ไม่รวมรถยนต์โดยการที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนหรือรถยนต์นั่ง)บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งมีอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในปีแรกเป็น 2 เท่าของอัตราที่กำหนดข้างต้น และสำหรับปีถัดไปให้หักตามอัตรา 2เท่าดังกล่าวโดนคำนวณจากมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้แต่จำนวนปีอายุการใช้ของทรัพย์สินเพื่อการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต้องไม่น้อยกว่า 100หารด้วยจำนวนร้อยละที่กำหนดข้างต้น ทั้งนี้ ในรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายของอายุการใช้ของทรัพย์สินดังกล่าวบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาโดยรวมจำนวนมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลืออยู่ทั้งหมดด้วยก็ได้ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 359 พ.ศ.2542 ใช้บังคับ 23 ตุลาคม 2542 เป็นต้นไป โดยมีให้ใช้บังคับสำหรับทรัพย์สินที่ได้มาก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลบังคับใช้)

2. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 1 จะต้องมีลักษณะและเป็นไปตามมาตรา 4 ทวิ ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527

3. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทเครื่องบันทึกการเก็บเงินให้หักดังนี้

3.1 ร้อยละ 100 ของมูลค่าต้นทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 1.

3.2 หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 4ตรี ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 45) พ.ศ.2527

ที่มา : วารสารสรรพากร เดือนตุลาคม 2558 www.rd.go.th

รายจ่ายด้านบัญชีและการคิดค่าเสื่อมราคา

วันที่ 22 ธันวาคม 2564

รู้จักประเภทของรายจ่าย
1. รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
2. รายจ่ายในการดำเนินงาน
_____________________
รายการ innovative wisdom
อ.นวพร บุศยสุนทร ภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์ อดีตสรรพากรภาค 4 กรมสรรพากร