พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2565

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565

ในปี 2565 นี้ กระทรวงการคลังจะทำการจัดเก็บ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยไม่มีการปรับลดลงร้อยละ 90 เหมือนในปี 2563 - 2564 ที่ผ่านมา เรามาทำความเข้าใจกันก่อนที่จะถึงกำหนดชำระว่า บ้าน คอนโด หรือที่ดินของเรา เข้าข่ายต้องเสียภาษีที่ดิน 2565 ด้วยหรือไม่ มีวิธีการคำนวณอย่างไร ต้องไปจ่ายภาษีที่ไหน และจ่ายเท่าไร

“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เป็นภาษีใหม่ที่มีผลบังคับตั้งแต่ปี 2562 และเริ่มจัดเก็บเมื่อปี 2563 จัดเก็บเป็นรายปีตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ครอบครอง โดยมาแทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่รวมถึงภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งถูกยกเลิกไป เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินมากขึ้น 


ผู้เสียภาษี

ผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้


วิธีคำนวณภาษี

ในช่วงเดือนเมษายนนี้ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างน่าจะได้รับจดหมายแจ้งมูลค่าภาษีดังกล่าวแล้ว ซึ่งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นมีสูตรการคำนวณดังนี้

ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง – มูลค่ายกเว้น) x อัตราภาษี

มูลค่าที่ดินและมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง สามารถดูได้จากราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์


อัตราภาษี

อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1) ที่ดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรม อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ตั้งแต่ร้อยละ 0.01 - 0.10 ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

2) บ้านพักอาศัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

• บ้านหลังหลัก หมายถึง บ้านที่เจ้าของบ้านและที่ดิน หรือเจ้าของเฉพาะตัวบ้าน (สร้างในที่ดินคนอื่น) มีชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์และมีชื่อในทะเบียนบ้าน อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ตั้งแต่ร้อยละ 0.03 - 0.10 ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

• บ้านหลังอื่น หมายถึง บ้านที่เจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด/กรรมสิทธิ์ห้องชุด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านหลังนั้น อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ตั้งแต่ร้อยละ 0.02 - 0.10 ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

3) ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆ นอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 หรือที่ดินกลุ่มพาณิชยกรรมอุตสาหกรรม อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ตั้งแต่ร้อยละ 0.30 - 0.70 ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

4) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ ยกเว้น มีกฎหมายห้ามหรือทิ้งไว้เพื่อการเกษตรหรือปล่อยไว้เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน ตั้งแต่ร้อยละ 0.30 - 0.70 ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2565

การบรรเทาภาระภาษี

เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในปี 2565 นี้ ผู้เสียภาษียังคงได้รับการบรรเทาภาระภาษี ดังนี้

• ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประกอบเกษตรกรรมได้รับยกเว้นภาษี

• ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคม จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท

• กรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีสำหรับสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท

สถานที่ชำระภาษี และกำหนดชำระภาษี

สำหรับผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษีอยู่ในเขต กทม. ทางหน่วยงานได้ประกาศขยายเวลาชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จากภายในเดือนเมษายน 2565 เป็น ภายในเดือนมิถุนายน 2565 ส่วนกรรมสิทธิ์ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นๆ มีการขยายเวลาชำระที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละอำเภอ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่ตั้งอยู่


ค่าปรับ

เมื่อเลยกำหนดการชำระภาษีไปแล้ว ผู้เสียภาษีจะต้องเสียเบี้ยปรับร้อยละ 10 - 40 ของภาษีที่ต้องจ่าย นอกจากนี้ เมื่อเวลาผ่านไป ยังต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 1% ของภาษีที่ค้างจ่ายด้วย

บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน คงพอคำนวณคร่าวๆ ได้แล้วว่าจะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2565 เท่าไร ดังนั้นอย่าลืมวางแผนเรื่องภาษีให้เรียบร้อย และดำเนินการชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด

ผู้เขียน :  คุณอุไรวรรณ มากสิน บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2565

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการตามร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. …. (ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ) สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ปี 2565 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยยังคงอัตราจัดเก็บไว้เท่าเดิม

โดยเหตุที่ต้องเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาฯ เนื่องจากพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ) ได้กำหนดอัตราเพดานของภาษีไว้ตามมาตรา 37 และกำหนดอัตราภาษีที่จะจัดเก็บไว้ในบทเฉพาะกาล มาตรา 94 แต่ให้ใช้อัตราตามบทเฉพาะกาลได้เพียง 2 ปี (ปี 2563 – 2564) ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และเมื่อพ้นระยะเวลาจะต้องประกาศอัตราภาษีที่จะจัดเก็บโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแทน

การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2565เป็นต้นไป ให้ใช้อัตราภาษีตามประเภทการใช้ประโยชน์และจัดเก็บภาษีตามมูลค่าที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างในลักษณะขั้นบันได (อัตราก้าวหน้า) ได้แก่

ที่ดินเกษตรกรรม

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.01% หรือล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 – 500 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 500 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.07% หรือล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

ที่อยู่อาศัย

1. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
• ที่ดินมูลค่าไม่ถึง 25 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
• ที่ดินมูลค่า 25 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
• ที่ดินมูลค่า 50 ล้านขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท
2. สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
• ที่ดินมูลค่า ไม่ถึง 40 ล้านบาท อัตรา 0.02% หรือล้านละ 200 บาท
• ที่ดินมูลค่า 40 – 65 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
• ที่ดินมูลค่า 65 – 90 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
• ที่ดินมูลค่า 90 ล้านขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท
3. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยกรณีอื่นนอกจากการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2
• ที่ดินมูลค่า ไม่ถึง 50 ล้านบาท อัตรา 0.02% หรือล้านละ 200 บาท
• ที่ดินมูลค่า 50 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
• ที่ดินมูลค่า 75 – 100 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
• ที่ดินมูลค่า 100 ล้านขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

ที่ดินกลุ่มพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม

• ที่ดินมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 50 – 200 ล้านบาท อัตรา 0.4% หรือล้านละ 4,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 200 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.5% หรือล้านละ 5,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตรา 0.6% หรือล้านละ 6,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.7% หรือล้านละ 7,000 บาท

ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

• ที่ดินมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 50 – 200 ล้านบาท อัตรา 0.4% หรือล้านละ 4,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 200 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.5% หรือล้านละ 5,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตรา 0.6% หรือล้านละ 6,000 บาท
• ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.7% หรือล้านละ 7,000 บาท

ที่ดินที่ปล่อยร้างไม่ได้ทำประโยชน์ มีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 1.2% แต่จะปรับเพิ่มอัตรา 0.3% ทุก 3 ปี แต่อัตรารวมไม่เกิน 3%

จบการศึกษาปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาวรรณคดีอังกฤษ

เพิ่มเติม

วิดีโอ แนะนำ

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2565




บริษัท คิดเรื่องอยู่ จำกัด (ผู้ประกอบการของ thinkofliving.com) จะไม่รับผิดชอบ หรือรับผิดต่อเนื้อหา หรือความไม่ถูกต้องใดๆในข้อมูลที่ให้ไว้ ณ ที่นี้ ดังนั้นผู้ใช้ข้อมูลจะถูกร้องขอให้ตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นอิสระกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Developer) ก่อนที่จะทำการตัดสินใจใดๆที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ที่ปรากฎอยู่ ณ ที่นี้ บริษัท คิดเรื่องอยู่ จำกัด กรรมการ พนักงาน ตัวแทนและผู้แทนอื่นๆ จะไม่รับผิดชอบต่อการดำเนินการใดๆ ต้นทุน / ค่าใช้จ่าย / ความสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่คุณ