บริษัท ดีพลัส อินเตอร์ เทรด จำกัด ผู้บริหาร

บทความโดยห้องเรียนผู้ประกอบการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

การจะทำธุรกิจให้อยู่รอดและไปต่อได้นั้น ผู้ประกอบการมักจะมีเรื่องที่จะต้องคิดและตัดสินใจตลอดเวลา แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายที่ SMEs ได้พบกับโจทย์ใหญ่และยากมากในหลายเรื่อง แต่ละเรื่องนั้นมาด้วยความเร็วที่ไม่เคยพบมาก่อน และยังคงดำเนินต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในบทความนี้จะพาผู้อ่านไปพบกับ 9 SMEs ไทย ที่จะมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และเผยทางรอดที่ทำให้ก้าวผ่านอุปสรรค และพร้อมลุยกันต่อไปในปีวัวนี้

  1. กฤษณพล พงศ์ธนาวรานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
  2. ไชยศลย์ รัตนาวากุล CEO บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด
  3. ไตรเทพ ศรีกาลรา CEO บริษัท โปรปลั๊กอิน จำกัด
  4. ดร. ธีรญา กฤษฎาพงษ์ กรรมการ บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด
  5. ปนิดา ศรีชัย Founder และ Managing Director บริษัท ปนิ โคลเซ็ท จำกัด
  6. รัฐพงษ์ วัฒนาพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมพันท้ายนรสิงห์สินค้าพื้นเมือง จํากัด
  7. วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล CEO บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด
  8. สันติ ศรีวิชาญกุล CEO บริษัท ซี.ไอ.ที. จำกัด 
  9. อัญชนา วัลลิภากร Co-Founder & CEO บริษัท บาเนีย (ประเทศไทย) จำกัด

คุณสันติ ศรีวิชาญกุล CEO บริษัท ซี.ไอ.ที. จำกัด 

หนึ่งในบริษัทชั้นนำอุปกรณ์ในห้องน้ำ ห้องครัว ดิจิตอลล็อคและสินค้านวัตกรรม

คุณสันติเลือกที่จะใช้เหตุผลคิดวิเคราะห์ ผสานกับความคิดเชิงบวก ใช้โอกาสนี้กลับมาทบทวนจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท เรียนรู้ที่จะมองสถานการณ์ให้เป็น ทำความรู้จักกับสัญญาณเตือนภัยต่างๆ ที่มักจะบอกเราล่วงหน้า มองหาโอกาสที่เหมาะสม เลือกกลยุทธ์ให้ถูก และปรับตัวให้เร็วเท่าทันกับแต่ละสถานการณ์

การคิดบวกทำให้เรามี Energy ที่ดี พอตั้งหลักได้แล้ว ให้พิจาณาว่ามีอะไรที่ทำได้ให้รีบทำ บางเรื่องสำเร็จก็ทำต่อไป ถ้าไม่สำเร็จก็ปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ ไม่มีอะไรเสียหาย อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เรียนรู้เพื่อ Move on ต่อไปข้างหน้า 

สถานการณ์โควิดในครั้งนี้ ได้สอนอะไรหลายอย่างให้กับคนทำธุรกิจ ทำให้ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้ค้นพบศักยภาพของบริษัทมากขึ้น และในเมื่อทุคนร่วมแรงร่วมใจสามัคคี ผนึกกำลังกันเป็นทีม เดินไปบนเส้นทางและจุดมุ่งหมายเดียวกัน ด้วยความเชื่อมั่น ก็จะทำให้องค์กรเดินหน้าต่อไปได้ ทุกคนในองค์กรก็ไปต่อได้เช่นกัน

https://www.set.or.th/set/enterprise/article/detail.do?contentId=7671

ทั้งหมดนี้คือแนวคิดของ 9 SMEs ไทยที่มองว่า ไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่คือทางรอด 

เพราะว่าในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจไม่อาจหนีแรงกระแทกจากสถานการณ์ได้ แต่ผู้ประกอบการสามารถเลือกวิธีการที่จะรับมือได้ ข้อคิดและคำแนะนำดีๆ ที่ทั้ง 9 ท่านได้มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์นั้น น่าจะเป็นแนวทางให้กับ SMEs ได้นำไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้ตามเงื่อนไขของแต่ละช่วงเวลาและสถานการณ์ เพื่อนำพากิจการให้ผ่านพ้นอุปสรรค อยู่รอด และเติบโตอย่างเข้มแข็งต่อไป 

HIGHLIGHTS : 

  • การจะทำธุรกิจให้อยู่รอดและไปต่อได้นั้น ผู้ประกอบการมักจะมีเรื่องที่จะต้องคิดและตัดสินใจตลอดเวลา แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายที่ SMEs ได้พบกับโจทย์ใหญ่และยากมากในหลายเรื่อง แต่ละเรื่องนั้นมาด้วยความเร็วที่ไม่เคยพบมาก่อน และยังคงดำเนินต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในบทความนี้จะพาผู้อ่านไปพบกับ 9 SMEs ไทย ที่จะมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และเผยทางรอดที่ทำให้ก้าวผ่านอุปสรรค และพร้อมลุยกันต่อไปในปีวัวนี้

เวลาในการอ่าน 8 นาที


บริษัท ดีพลัส อินเตอร์ เทรด จำกัด ผู้บริหาร

  1. กฤษณพล  พงศ์ธนาวรานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
  2. ไชยศลย์ รัตนาวากุล CEO บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด
  3. ไตรเทพ ศรีกาลรา CEO บริษัท โปรปลั๊กอิน จำกัด
  4. ดร. ธีรญา กฤษฎาพงษ์  กรรมการ บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด
  5. ปนิดา ศรีชัย Founder และ Managing Director บริษัท ปนิ โคลเซ็ท จำกัด
  6. รัฐพงษ์ วัฒนาพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมพันท้ายนรสิงห์สินค้าพื้นเมือง จํากัด
  7. วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล CEO บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด
  8. สันติ ศรีวิชาญกุล CEO บริษัท ซี.ไอ.ที. จำกัด 
  9. อัญชนา วัลลิภากร Co-Founder & CEO บริษัท บาเนีย (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท ดีพลัส อินเตอร์ เทรด จำกัด ผู้บริหาร

คุณกฤษณพล  พงศ์ธนาวรานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด

ผลิตสื่อ ผลิตรายการ ที่เรารู้จักกันดีคือ คนค้นฅน กบนอกกะลา

การเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาอยู่แล้ว ธุรกิจที่ทำสื่อนั้นถือว่าเจอวิกฤติและต้องปรับตัวก่อนเกิดวิกฤติโควิดเสียอีก  สิ่งที่ทำให้ไปต่อได้คือ การหาจุดแข็งของตัวเองให้เจอ ตอนแรกเราแยกไม่ออกว่าเราเป็น Media หรือ Content  แล้วเราก็พบว่าเราเป็น Storyteller เราทำ Documentary ได้ดี เราก็ปรับตัวให้ชัดขึ้นว่าเราคือ Content Provider  

ถึง Media จะเปลี่ยนไป แต่ Content คือการเล่าเรื่องเป็นแกนหลัก เมื่อก่อนบริษัทนำเสนอ Content ผ่าน TV ตรงนี้เรามีฐานคนดูอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ตอนนี้ได้เปลี่ยนมาอยู่บนสื่อ Online ที่ต้องเข้าใจเกมแล้วปรับ ซึ่งเราก็ปรับรูปแบบให้กระชับขึ้นให้เหมาะสมกับ Online จึงทำให้ได้ฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น และสิ่งที่เราทำนั้น ส่วนหนึ่ง คือ Content Marketing ซึ่งทำให้สามารถขยายไปสู่ลูกค้าที่เป็นองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เราไปเป็น Storyteller ให้ลูกค้า เล่าเรื่องยากๆ ให้มันง่ายขึ้น

บริษัท ดีพลัส อินเตอร์ เทรด จำกัด ผู้บริหาร

คุณไชยศลย์ รัตนาวากุล CEO บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด

ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฟิล์มและกระจกกันรอยแบรนด์ “Focus” กลุ่มสินค้าอุปกรณ์เสริม IT และไลฟ์สไตล์

การเลือกธุรกิจที่จะทำนั้น ให้มองอนาคตให้ออกว่า ธุรกิจนัั้นมีแนวโน้มที่ดีหรือถดถอย ควรใช้เวลาในการเลือกให้ดี อย่ารีบร้อนตัดสินใจลงมือ นอกจากนี้ธุรกิจบางอย่างที่ถือว่าเป็นธุรกิจที่ดี แต่ถ้ามีผู้เล่นอยู่มากมายแล้วในตลาด ก็ไม่ควรเลือกถ้าเราไม่ได้มีข้อได้เปรียบในธุรกิจนัั้นอย่างแท้จริง การเลือกธุรกิจที่ไม่ใช่นัั้น ถึงแม้ผู้ประกอบการจะมีความรู้ความสามารถมากเพียงใด เหนื่อยยากแค่ไหน แต่ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่คุ้มค่า

เมื่อเลือกได้ถูกแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมากคือ ต้อง Execute ให้สุด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด การลงมือในระดับปกติอาจสร้างยอดขายเดือนละ 10-20 ล้านบาท แต่การทุ่มเทอย่างถึงที่สุดนั้น อาจจะสร้างยอดขายได้ 50-100 ล้านบาทเลยทีเดียว เปรียบเสมือนเราเจอเหมืองทอง จะให้คุ้มค่าเราต้องใช้ทรัพยากรและเครื่องมือที่ดีที่สุด ไม่ใช่ไปใช้จอบขุดเพราะผลลัพธ์ที่ได้ก็ย่อมต่างกันมาก

บริษัท ดีพลัส อินเตอร์ เทรด จำกัด ผู้บริหาร

คุณไตรเทพ ศรีกาลรา CEO บริษัท โปรปลั๊กอิน จำกัด

นำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องดนตรี ระบบเสียง Gadget และอุปกรณ์สำหรับการทำ LIVE Streaming รวมถึงรับออกแบบติดตั้ง วางระบบภาพและเสียงแบบครบวงจร  

ทุกวิกฤติมีโอกาสเสมอ อยู่ที่เราทำตัวให้พร้อมรับโอกาสแค่ไหน เรียนรู้ ขวนขวาย พัฒนาตัวเองให้พร้อม ทักษะแบบเดิม ความรู้ชุดเดิม วิธีคิดแบบเดิม มันอาจใช้ไม่ได้แล้ว ต้องหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอด การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นั้น ควรทำให้เป็นนิสัย จนเป็น Learning Culture ในองค์กร

พื้นฐานความรู้และทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ บวกกับการเรียนรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เราจะสามารถนำมาพิจารณาต่อยอด  ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ จนได้ Business Model ใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ และยังสามารถขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆ ได้ในที่สุด

บริษัท ดีพลัส อินเตอร์ เทรด จำกัด ผู้บริหาร

ดร. ธีรญา กฤษฎาพงษ์  กรรมการ บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด

ธุรกิจผลิตสารสกัดสมุนไพร ที่ผ่านมาตรฐานระดับโลกและนำเทคโนโลยีมาต่อยอดวัตถุดิบ ทำเครื่องสำอาง อาหารเสริม ที่สร้างมูลค่าให้กับสารสกัดจากธรรมชาติ

การประเมินโอกาส การประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง เป็นเรื่องที่ธุรกิจก็ทำกันอยู่แล้ว เราอาจมีการประเมินว่ายอดขายจะลดลง แต่ปีที่ผ่านมานั้น ความเสี่ยงในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น มีความท้าทายเกินความคาดหมาย คงไม่มีใครคาดว่าจะเกิดการ Lock Down ที่ส่งผลให้ยอดขายลดลงมากขนาดนี้ และส่วนมากพอเกิดเหตุการณ์แล้วเราจะลังเล เพราะกลัวพลาด การปรับตัวและความเร็วในการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อนั้น เป็นเรื่องต้องทำ ต้องกล้าตัดสินใจ

เมื่อตัดสินใจแล้ว จะสื่อสารอย่างไร ให้ทุกคนเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง ทิศทาง หน้าที่ความรับผิดชอบ และยอมรับ มองเห็นภาพเดียวกัน พร้อมที่จะเดินไปด้วยกัน Skill ที่ได้ทำร่วมกันในปีที่ผ่านมา ปีนี้เรารู้มากขึ้นแล้ว ให้ใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการต่อยอดจากปีก่อน รวมทั้งให้มองหา Network เพื่อทำธุรกิจร่วมกัน จะทำงานคนเดียวแบบเมื่อก่อนไม่ได้แล้ว ต้องร่วมมือกันเสริมความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย

บริษัท ดีพลัส อินเตอร์ เทรด จำกัด ผู้บริหาร

คุณปนิดา ศรีชัย Founder และ Managing Director บริษัท ปนิ โคลเซ็ท จำกัด

จำหน่ายสินค้าปลีกเสื้อผ้าผู้หญิง ออกแบบและตัดเย็บเอง ขายทางช่องทางออนไลน์เป็นหลัก

สถานการณ์โควิด เป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว อย่ายึดติดกับความสำเร็จเดิมๆ เพราะโลกเปลี่ยนไปแล้ว

เมื่อก่อนลูกค้าต้องค้นหาสินค้าหรือบริการ  แบรนด์อยู่เฉยๆ ก็ขายได้ แต่เดี๋ยวนี้ สินค้าต้องเรียนรู้ที่จะเข้าหาลูกค้า หมดยุคการที่แบรนด์เป็น Center และมีลูกค้าวิ่งเข้าหา เพราะนี่คือยุคของผู้บริโภคที่แท้จริง แบรนด์ต้องเอาสินค้าไปอยู่ในจุดที่ผู้บริโภคจะเห็นได้ และเข้าถึงได้ผ่านปลายนิ้ว 

แบรนด์ต้องรู้จักลูกค้าของตัวเองจริงๆ ยิ่งกว่าแฟน ยิ่งกว่าคนในครอบครัว และยิ่งไปกว่านั้น ยุคนี้คือยุคที่แบรนด์ต้องรู้ความต้องการของลูกค้า ก่อนที่ลูกค้าจะรู้ใจตัวเองซะอีก โดยการติดตามไปอยู่ใน Lifestyle ของลูกค้า เพื่อไปหา Pain Point และส่ง Product หรือ Service ที่มีไปตอบโจทย์ หรือแก้ Pain point นั้นๆ 

บริษัท ดีพลัส อินเตอร์ เทรด จำกัด ผู้บริหาร

คุณรัฐพงษ์ วัฒนาพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมพันท้ายนรสิงห์สินค้าพื้นเมือง จํากัด

ธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายอาหาร ประเภทน้ำพริก เครื่องปรุงรส ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

“สำหรับผมสติ คือเครื่องมือสำคัญที่สุดที่ช่วยพาให้ธุรกิจของผมก้าวผ่านวิกฤติต่าง ๆ ไปได้”

สติ ช่วยทำให้ผมเข้าใจวิกฤติ เมื่อเข้าใจวิกฤติ เราจะเรียนรู้ได้เองว่า ต้องปรับตัวอย่างไรให้อยู่ร่วมกับวิกฤตินั้นได้ หลายคนเมื่อเกิดวิกฤติ มักจะมองว่าวิกฤติคือปัญหา ส่วนตัวผมกลับมองว่าไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจเกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้แหละคือปัญหาที่แท้จริงของธุรกิจ ผมมักใช้สติเพื่อค้นหาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แล้วเริ่มปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ถือเป็นความโชคดีของผมที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับของกิน คนทุกคนต้องกิน ต่อให้เกิดวิกฤติอะไรก็ตาม ทุกคนยังต้องดำรงชีวิตให้อยู่รอดด้วยการกิน วิกฤติทำให้อุปสงค์ย้ายที่เท่านั้น วิกฤติไม่สามารถทำให้อุปสงค์หายไป เพื่อให้เห็นภาพขอยกตัวอย่าง เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ในสถานการณ์ ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างทำให้ลูกค้าของเราไม่สามารถมารับประทานอาหารที่ร้านของเราได้ แต่อุปสงค์ของลูกค้าซึ่งในที่นี้ก็คือความหิว ก็ยังคงอยู่ ในเมื่อความต้องการอาหารยังมี ทางร้านก็แค่เพียงปรับ/เพิ่มวิธีการการตอบสนองความต้องการของลูกค้าจากเดิมที่เคยเสิร์ฟอาหารในร้าน มาเป็น  เดลิเวอรี่ หรือ จัดบริเวณเพื่อรับออเดอร์แบบ Drive-Thru  เป็นต้น

ดังนั้นจงใช้สติ คิด วิเคราะห์ หาให้เจอว่าอุปสงค์ของลูกค้าคุณเปลี่ยนหรือย้ายไปในทิศทางไหน แล้วปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจไปในทิศทางเดียวกับอุปสงค์นั้น เท่านี้ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ก็สามารถดำเนินต่อไปได้ในช่วงวิกฤติ

บริษัท ดีพลัส อินเตอร์ เทรด จำกัด ผู้บริหาร

คุณวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล CEO บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด

เจ้าของลิขสิทธิ์ชุดแข่งขันฟุตบอลทีมชาติไทย และทีมชาติเมียนมา รวมทั้งเป็นผู้นำด้าน Sport License, Online Marketing และ New Channel

การระบาดของโควิดรอบแรกนั้น มีการปิดห้าง ซึ่งกระทบยอดขายเป็นอย่างมาก รวมทั้งเรื่องกำลังซื้อที่ลดลงด้วย จุดแข็งของเราคือการขาย Online ที่ได้ลงทุนระบบมาก่อนหน้านั้น เราปรับขึ้นมาขายบน Online ทั้งหมด  และสามารถขยายผลมาสู่ Business Model ใหม่ จากเดิมที่ขายเสื้ออย่างเดียว ปัจจุบันเราเป็น Organizer งานเองด้วย ระบบที่ทำไว้แล้ว เราปรับไม่มาก ทำเรื่อง Membership เพิ่ม ก็สามารถทำ Virtual Run ได้แล้ว 

อีกเรื่องคือการเงิน วินัยในการใช้เงินเป็นเรื่องสำคัญของทุกธุรกิจ บริษัทเราทำบัญชีเองและทำบัญชีเล่มเดียวมาตลอด ทำให้ดูข้อมูลทางการเงินและ Monitor ได้แบบ Realtime สามารถควบคุมค่าใช้จ่าย ดูการเข้ามาของรายได้ ทำ Forecast ทำ Worst Scenario หลายๆ รูปแบบ แล้วเตรียมการรับมือได้เลย

ต้องยอมรับว่าสูตรสำเร็จมันเปลี่ยนไปแล้ว วิธีการตอบสนอง ต้องดูข้อมูลและความเร็วในการปรับตัว ลดขั้นตอนและปรับรูปแบบการทำงาน

บริษัท ดีพลัส อินเตอร์ เทรด จำกัด ผู้บริหาร

คุณสันติ ศรีวิชาญกุล CEO บริษัท ซี.ไอ.ที. จำกัด 

หนึ่งในบริษัทชั้นนำอุปกรณ์ในห้องน้ำ ห้องครัว ดิจิตอลล็อคและสินค้านวัตกรรม

คุณสันติเลือกที่จะใช้เหตุผลคิดวิเคราะห์ ผสานกับความคิดเชิงบวก ใช้โอกาสนี้กลับมาทบทวนจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท เรียนรู้ที่จะมองสถานการณ์ให้เป็น ทำความรู้จักกับสัญญาณเตือนภัยต่างๆ ที่มักจะบอกเราล่วงหน้า มองหาโอกาสที่เหมาะสม เลือกกลยุทธ์ให้ถูก และปรับตัวให้เร็วเท่าทันกับแต่ละสถานการณ์

การคิดบวกทำให้เรามี Energy ที่ดี พอตั้งหลักได้แล้ว ให้พิจาณาว่ามีอะไรที่ทำได้ให้รีบทำ บางเรื่องสำเร็จก็ทำต่อไป ถ้าไม่สำเร็จก็ปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ ไม่มีอะไรเสียหาย อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เรียนรู้เพื่อ Move on ต่อไปข้างหน้า 

สถานการณ์โควิดในครั้งนี้ ได้สอนอะไรหลายอย่างให้กับคนทำธุรกิจ ทำให้ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้ค้นพบศักยภาพของบริษัทมากขึ้น และในเมื่อทุคนร่วมแรงร่วมใจสามัคคี ผนึกกำลังกันเป็นทีม เดินไปบนเส้นทางและจุดมุ่งหมายเดียวกัน ด้วยความเชื่อมั่น ก็จะทำให้องค์กรเดินหน้าต่อไปได้ ทุกคนในองค์กรก็ไปต่อได้เช่นกัน

บริษัท ดีพลัส อินเตอร์ เทรด จำกัด ผู้บริหาร

คุณอัญชนา  วัลลิภากร Co-Founder & CEO บริษัท บาเนีย (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทที่พัฒนาเกี่ยวกับ Big Data ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ สถาบันการเงิน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ มีข้อมูลและเทคโนโลยี ที่ดีในการตัดสินใจ

จากประสบการณ์ทำงานที่เคยเป็นเบื้องหลังของสื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ และเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จนมาเป็นบาเนีย ทุกวันนี้นั้น หลักการที่ใช้ในการทำงาน เราจะทำแบบ SMEs ที่ละเอียดรอบคอบ คิดแบบ Startup กล้าเปลี่ยนแปลง และใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในขณะที่การบริหารงาน เราจะทำแบบ Corporate มีระบบ มีการจัดวางโครงสร้างชัดเจนและเป็นสากล

เมื่อมีปัจจัยภายนอกเข้ามากระทบแรงๆ วิธีการคือ เราจะต้องกลับมาทบทวนและวิเคราะห์ว่าทิศทางที่ต้องการจะนำพาองค์กรไปต่อนั้น ยังชัดเจนและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอยู่หรือไม่  มีการบริหารจัดการ มีการเปลี่ยนแปลงทีมงาน จัด Structure ให้สอดคล้องหรือไม่ และ Product ที่มีอยู่หลากหลายนั้น ต้อง Focus ว่าเป็น Most Value Product หรือไม่ Fit กับตลาดหรือเปล่า ถ้าไม่ Fit ต้องปรับและ Quick Win กับ Product ที่ทำเงิน Product ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดจริงๆ

ทั้งหมดนี้คือแนวคิดของ 9 SMEs ไทยที่มองว่า ไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่คือทางรอด 

เพราะว่าในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจไม่อาจหนีแรงกระแทกจากสถานการณ์ได้ แต่ผู้ประกอบการสามารถเลือกวิธีการที่จะรับมือได้ ข้อคิดและคำแนะนำดีๆ ที่ทั้ง 9 ท่านได้มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์นั้น น่าจะเป็นแนวทางให้กับ SMEs ได้นำไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้ตามเงื่อนไขของแต่ละช่วงเวลาและสถานการณ์  เพื่อนำพากิจการให้ผ่านพ้นอุปสรรค อยู่รอด และเติบโตอย่างเข้มแข็งต่อไป