ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5

หน่วยที่4การแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวและเพื่อน
ตอบคำถามให้ถูกต้อง
 ID: 2432222
Idioma: tailandés
Asignatura: สุขศึกษา
Curso/nivel: ป5
Edad: 10-12
Tema principal: หน่วยที่4
Otros contenidos: การแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวและเพื่อน

ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5
 Añadir a mis cuadernos (0)
ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5
 Descargar archivo pdf
ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5
 Insertar en mi web o blog
ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5
 Añadir a Google Classroom
ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5
 Añadir a Microsoft Teams
ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5
 Compartir por Whatsapp

Enlaza a esta ficha:  Copiar
ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5

sasipha


ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5

¿Qué quieres hacer ahora?

ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5
ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5
Comprobar mis respuestasEnviar mis respuestas a mi profesor/a

Introduce tu nombre completo:

Curso/grupo:

Asignatura:

Introduce el email o código clave de tu profesor/a:

Cancelar

Por favor, permite el acceso al micrófono
Mira en la parte alta de tu navegador. Si ves un mensaje pidiendo tu permiso para acceder al micrófono, por favor permítelo.

Cerrar

คาบเรียนที่ 1   ระบบย่อยอาหาร 1                                     

ระบบขับถ่าย

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในความครัว

พฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ในครอบครัวและเพื่อน 

การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

การปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ

ข้อมูลข่าวสารเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพ

ชั่วโมงที่ 2         สมรรถภาพทางกาย                วิดิโอ

ชั่วโมงที่ 3      ทักษะการอันเดอร์บอล 1           วิดิโอ  

ชั่วโมงที่ 7      การยืนตำแหน่ง                     วิดิโอ

ปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป เพราะทุกครอบครัวล้วนมีเหตุที่อาจก่อความขัดแย้งระหว่างสมาชิกภายในบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นที่แตกต่าง การเลี้ยงลูก ปัญหาสุขภาพ หรือสถานภาพทางการเงิน ซึ่งความขัดแย้งเหล่านี้อาจบานปลายจนกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว อาจทำให้ชีวิตคู่จบลงและส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเด็กได้ด้วย

ดังนั้น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นภายในครอบครัว คนในบ้านควรร่วมมือกันจัดการปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ชีวิตคู่ราบรื่น และสมาชิกคนอื่น ๆ ก็สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้

ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว สุขศึกษา ป. 5

สาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาครอบครัว

ปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้ มักเป็นสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในครอบครัว

ภาวะเจ็บป่วย

หากสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กหรือหัวหน้าครอบครัวมีปัญหาสุขภาพหรือป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนในครอบครัวและสร้างความกังวลใจไม่น้อย เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น สถานะทางการเงินของครอบครัว เป็นต้น

ปัญหาด้านการเงิน

ภาวะเศรษฐกิจและการว่างงานอาจทำให้สมาชิกภายในครอบครัวเกิดความเครียด วิตกกังวล และอาจเผชิญภาวะซึมเศร้าได้ ปัญหาทางการเงินอาจเป็นสาเหตุทำให้พ่อหรือแม่ต้องออกไปหางานทำ จนส่งผลให้เด็กต้องอยู่กันตามลำพังและขาดการดูแลหรืออบรมสั่งสอนอย่างที่ควรจะได้รับ

นิสัยและความเคยชินส่วนตัว

แม้จะตกลงใช้ชีวิตคู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาแล้ว แต่นิสัยส่วนตัวที่มีมานานนั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก ซึ่งอาจทำให้คู่สมรสไม่พอใจนิสัยหรือการกระทำของอีกฝ่ายเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน และอาจนำมาสู่ความขัดแย้งได้

ความบกพร่องในการรับผิดชอบหน้าที่

ในยุคปัจจุบัน ผู้หญิงมีบทบาทในการทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัวเช่นเดียวกับผู้ชาย หากผู้หญิงต้องรับผิดชอบงานบ้านต่าง ๆ หลังเลิกงานก็อาจทำให้รู้สึกเหนื่อย หงุดหงิด และอาจเกิดความขัดแย้งในครอบครัวขึ้นได้ เนื่องจากสามีและภรรยาควรมีความรับผิดชอบในงานบ้านและการดูแลบุตรร่วมกัน

การนอกใจ

การนอกใจเป็นปัญหาที่อาจร้ายแรงจนถึงขั้นทำให้ความสัมพันธ์ของคู่สมรสจบลงและเกิดการหย่าร้างได้ ซึ่งเด็กที่พ่อแม่หย่าร้างกันนั้นอาจรู้สึกขาดความอบอุ่น ขาดการดูแลอบรมที่ดี ขาดที่พึ่งและการชี้แนะให้คำปรึกษา จนอาจทำให้เด็กขาดการควบคุมตนเองและส่งผลให้มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น ติดยาเสพติด ติดการพนัน และมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เป็นต้น

การใช้ความรุนแรง

เมื่อขาดการสื่อสารที่ดีและได้รับแรงกดดันจากภายนอกครอบครัว เช่น ภาวะเศรษฐกิจ และความเครียด เป็นต้น ก็อาจทำให้เกิดความขัดแย้งและใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวได้ โดยผู้ที่ถูกกระทำมักเป็นเด็กและสตรี ซึ่งเด็กที่เติบโตจากครอบครัวที่มีการใช้ความรุนแรงนั้นมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อโตขึ้น มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ติดยาเสพติด ติดการพนัน และมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้

การขาดความเอาใจใส่และไม่มีเวลาให้กัน

ด้วยภาระหน้าที่ของสมาชิกในบ้านแต่ละคน อาจทำให้ไม่มีเวลาพูดคุย สอบถามสารทุกข์สุกดิบ หรือทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  

ปัญหาครอบครัวนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ

ปัญหาครอบครัวอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจได้ โดยผู้ที่เผชิญปัญหาครอบครัวอาจมีอาการเครียด ปวดหัว หงุดหงิดง่าย แยกตัว ทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ มีปัญหาการนอนหลับ อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า สิ้นหวัง พึ่งพาสารเสพติด และอาจทะเลาะเบาะแว้งกับสมาชิกในครอบครัวอยู่บ่อย ๆ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจลุกลามใหญ่โตหรือเรื้อรังได้ และอาจทำให้สมาชิกครอบครัวเกิดอาการทางจิตเวช เช่น โรคจิตประสาท โรคซึมเศร้า โรคบุคลิกภาพแปรปรวน เป็นต้น ดังนั้น การแก้ไขปัญหาครอบครัวตั้งแต่ต้นจะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพกายใจของสมาชิกในครอบครัวได้

การรับมือเมื่อเกิดปัญหาครอบครัว  

แนวทางต่าง ๆ ต่อไปนี้ อาจช่วยแก้ไขสถานการณ์และความขัดแย้งภายในครอบครัวได้

  • เปิดใจและรับฟัง หากสังเกตว่าสมาชิกในครอบครัวมีท่าทีที่แปลกไป ควรสอบถามถึงความผิดปกติและพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการเปิดใจพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวจะช่วยให้เข้าใจความรู้สึกของกันและกันได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ควรเป็นผู้ฟังที่ดีและบอกความต้องการของตนเองด้วยความนุ่มนวล ใช้วาจาสุภาพ และไม่ควรว่ากล่าวหรือตำหนิอีกฝ่ายหนึ่งด้วยคำพูดที่รุนแรง
  • ร่วมมือกันดูแลครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ควรร่วมมือและช่วยเหลือกันในการดูแลครอบครัว แก้ไขปัญหาต่าง ๆ และสอดส่องดูแลพฤติกรรมของลูก ๆ โดยไม่ปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น   
  • ทิ้งความเครียดไว้นอกบ้าน คนในครอบครัวอาจรับรู้ถึงความเครียดสะสมจากที่ทำงานผ่านการแสดงสีหน้าของสมาชิกในครอบครัวได้ ซึ่งส่งผลให้คนอื่น ๆ รู้สึกไม่ดีไปด้วย ดังนั้น อาจฟังเพลงหรือสูดหายใจเข้าลึก ๆ เพื่อปรับอารมณ์ตนเองให้ดีขึ้นก่อนเข้าบ้าน
  • แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ การแบ่งงานบ้านต่าง ๆ เช่น การกวาดบ้าน การถูบ้าน การทิ้งขยะ และการดูดฝุ่น เป็นต้น จะทำให้สมาชิกทุกคนในบ้านมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน ซึ่งอาจช่วยป้องกันความขัดแย้งและยังเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเองเมื่อโตขึ้นอีกด้วย
  • รับประทานอาหารร่วมกัน การรับประทานอาหารเย็นร่วมกันทำให้สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพูดคุยกัน ช่วยสานสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้ดีขึ้น เป็นโอกาสที่ดีสำหรับพ่อแม่ที่จะสังเกตอารมณ์และเรียนรู้นิสัยใจคอของลูก ๆ และยังเป็นช่วงเวลาที่เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากพ่อแม่อีกด้วย
  • ทำกิจกรรมร่วมกัน การใช้เวลาที่มีคุณภาพร่วมกันแม้เพียงเล็กน้อยก็ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาครอบครัวที่มีคุณภาพ โดยอาจทำกิจกรรม เช่น เล่นบอร์ดเกม ทำงานศิลปะ ออกไปเดินเล่นด้วยกันตอนเย็นหรือช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เป็นต้น
  • ใส่ใจตัวเองมากขึ้น ภาวะเครียดจากปัญหาครอบครัวอาจทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมและทำลายสุขภาพได้ ดังนั้น ควรดูแลและใส่ใจสุขภาพตัวเองเสมอ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี สภาพแวดล้อมอาจส่งผลต่อพฤติกรรมได้ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านหรือรอบ ๆ บ้านให้ดีขึ้นอาจช่วยลดอาการเครียดที่เกิดขึ้นได้

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ ?

ปัญหาครอบครัวอาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์และสภาพจิตใจได้ ดังนั้น ผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ภายในครอบครัว ทั้งปัญหาการใช้ความรุนแรงหรือปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส อาจโทรศัพท์เพื่อขอรับคำปรึกษาจากกรมสุขภาพจิตที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ซึ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ อาจไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาและรับคำแนะนำได้ตามโรงพยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ