วิศวกรรม โยธา สิ่งแวดล้อม และการจัดการ งาน ก่อสร้าง

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง

(หลักสูตรปรับปรุง พ..​​ 2563)

หลักสูตรสหวิทยาการ

1. ​​​​  ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย ​​ ​​ ​​ ​​​​ :หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการ บริหารงานก่อสร้าง

ภาษาอังกฤษ​​ :Master of Engineering Program in Civil Engineering and​​ Construction Management

2. ​​​​  ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม​​ (ไทย) ​​ ​​ ​​​​ :​​ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต​​ (วิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง)

ชื่อย่อ​​ (ไทย) ​​ ​​ ​​ ​​​​ :​​ วศ.​​ . (วิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง)

ชื่อเต็ม​​ (อังกฤษ) : Master of Engineering (Civil Engineering and Construction Management)

ชื่อย่อ​​ (อังกฤษ) :​​ M. Eng. (Civil Engineering and Construction Management)

3. ​​​​  หน่วยงานที่รับผิดชอบสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

4. ​​​​ ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

4.1) ​​​​ ปรัชญาหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นการศึกษาต่อยอดพื้นฐานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมจากระดับปริญญาบัณฑิต โดยจัดให้มีการเรียนแบบสหวิทยาการที่รวมเอาศาสตร์ของวิศวกรรมโยธาเพื่อการบริหารจัดการงานก่อสร้างและสาธารณูปโภคประเภทต่าง ๆ ได้แก่ งานโครงสร้าง งานดิน งานชลประทาน งานจราจรขนส่ง งานสุขาภิบาล งานสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีการก่อสร้าง นักศึกษาได้ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจกระบวนการของงานโครงการก่อสร้างทุกขั้นตอน ตั้งแต่การริเริ่มโครงการ การศึกษาความเป็นไปได้ ความคุ้มค่า การวิเคราะห์ทางวิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานก่อสร้าง การวางแผนและควบคุม จัดโครงสร้างทีมงาน บริหารทรัพยากร การส่งมอบ จนถึงการใช้งานและ บำรุงรักษาสิ่งก่อสร้าง และเข้าใจเป้าหมายและหน้าที่ของทีมงานในมุมมองที่หลากหลาย รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้บริหารพัฒนาโครงการก่อสร้าง หรือบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในด้านคุณภาพ เวลาและต้นทุน ดังมีปรัชญาของหลักสูตรในระดับต่างๆ ดังนี้

มุ่งเน้นให้นักศึกษามีองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง มีจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ รวมทั้งมีความสามารถในทำงานวิจัยและพัฒนาเพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถควบคุมงาน บริหารโครงการ และแก้ไขปัญหาในโครงการด้านวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ​​ (ต้นทุน คน วัสดุ และเครื่องจักร)​​ และมีคุณธรรม นอกจากนี้ มีความรู้พื้นฐานทางวิชาการเข้มแข็งและความสามารถด้านงานวิจัยที่สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

การจัดการศึกษาของหลักสูตรดำเนินการให้สอดคล้องกับที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกรอบแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ การปฏิรูปการศึกษาไปสู่ผลลัพธ์​​ Thailand​​ 4.0​​ โดยจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนให้เป็นพลเมืองไทย​​ 4.0​​ ผลิตบุคลากรที่มีความพร้อมด้านทักษะและองค์ความรู้ อันได้แก่ ทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะอ่านเข้าใจสามารถนำไปวิเคราะห์ได้ การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ประยุกต์ใช้ได้ ทักษะ การคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญต้องมีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม จริยธรรม

4.2)​​ วัตถุประสงค์หลักสูตร

 ​​ ​​​​ หลักสูตรนี้ออกแบบเพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษา มีคุณสมบัติดังนี้

  • เป็นวิศวกรมืออาชีพ

  • มีความก้าวหน้าและความเติบโตทางวิชาชีพ

  • ใช้ความรู้ความสามารถในการบริการสังคมได้อย่างดีเยี่ยม

4.3)​​ ผลลัพธ์การเรียนรู้​​ (Expected Learning Outcomes)

ผลการเรียนรู้ของหลักสูตร

  • มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในด้านคุณภาพ ต้นทุน และเวลา

  • เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีพที่สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในงานวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ​​ 

  • มีทักษะในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานในยุค ประเทศไทย​​ 4.0

  • มีบุคลิกผู้บริหารที่น่าเชื่อถือและมีทักษะในการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และการนำเสนอ

  • มีจรรยาบรรณแห่งผู้บริหารและมีผู้รับผิดชอบต่อสังคม

ผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน

1.​​ คุณธรรม จริยธรรม​​ (Ethics and Morals)

(1) ​​ ​​​​ สามารถจัดการเกี่ยวกับปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมที่ซับซ้อนในบริบททางวิชาการหรือวิชาชีพ

(2) ​​ ​​​​ สามารถใช้ดุลยพินิจอย่างผู้รู้ ด้วยความยุติธรรม ด้วยหลักฐาน ด้วยหลักการที่มีเหตุผลและค่านิยมอันดีงาม จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้

(3) ​​ ​​​​ มีภาวะความเป็นผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมในที่ทำงานและชุมชน

(4) ​​ ​​​​ สนับสนุนอย่างจริงจังต่อการใช้ดุลยพินิจทางด้านคุณธรรม จริยธรรมในการจัดการกับความขัดแย้งและปัญหาที่มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

(5) ​​ ​​​​ แสดงออกหรือสื่อสารข้อสรุปของปัญหาโดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นที่ได้รับผลกระทบ

2.​​ ด้านความรู้​​ (Knowledge)

  • มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ในระดับที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้กับงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

  • มีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาเฉพาะของสาขาวิชา

  • มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการวิจัยและการพัฒนาข้อสรุปจากผลการวิจัยซึ่งเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง

  • สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือวิจัยที่เหมาะสม

  • มีความรู้ที่เป็นปัจจุบันของสาขาวิชาและสามารถนำความรู้นั้นมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นองค์รวม

3.ด้านทักษะทางปัญญา​​ (Cognitive Skills)

(1) ​​ ​​​​ สามารถใช้ความเข้าใจอันถ่องแท้ในทฤษฎีและเทคนิคการแสวงหาความรู้ในการวิเคราะห์ประเด็นและปัญหาสำคัญได้อย่างสร้างสรรค์

(2) ​​ ​​​​ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ

(3) ​​ ​​​​ สามารถคิด วิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภคได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ​​ ​​​​ สามารถสังเคราะห์ผลการวิจัยและทฤษฎีเพื่อใช้ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์

(5) ​​ ​​​​ สามารถออกแบบและดำเนินการโครงการวิจัยที่สำคัญในเรื่องที่ซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ

4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ​​ (Interpersonal Skills and Responsibility)

(1) ​​ ​​​​ สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายด้วยภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม

(2) ​​ ​​​​ สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ

(3) ​​ ​​​​ สามารถแสดงความเห็นทางวิชาการและวิชาชีพได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและชัดเจน

(4) ​​​​ รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานทั้งงานของตนเองและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม วางตัวได้เหมาะสมกับความรับผิดชอบ

(5) ​​ ​​​​ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงานและการรักษาสภาพแวดล้อม

5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ​​ (Numerical, Communication and Information Technology Skills)

(1)​​ สามารถคัดกรองข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าในประเด็นปัญหาที่สำคัญและซับซ้อน

(2)​​  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

(3) ​​​​ สามารถนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญได้

(4) ​​ ​​​​ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์

(5) ​​ ​​​​ สามารถใช้เครื่องมือในการคำนวณและเครื่องมือทางการวิจัย

ความคาดหวังของผลการเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา

ปีที่

รายละเอียด

ชั้นปีที่​​ 1

1.​​ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุดในด้านคุณภาพ ต้นทุนและเวลา

2.​​ เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีพที่สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในงานวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.​​ มีจรรยาบรรณแห่งผู้บริหารและมีผู้รับผิดชอบต่อสังคม

ชั้นปีที่​​ 2

1.​​ มีทักษะในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานในยุค ประเทศไทย​​ 4.0​​ 

2.​​ มีบุคลิกผู้บริหารที่น่าเชื่อถือ และมีทักษะในการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และการนำเสนอ

5. ​​​​ กำหนดการเปิดสอน ​​​​ ภาคการศึกษาที่​​ 1​​ ปีการศึกษา​​ 2563

6. ​​​​ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง​​ (หลักสูตรปรับปรุง พ..​​ 2563)

ลำดับ

ชื่อ​​ -​​ นามสกุล

คุณวุฒิ สาขาวิชา

1

.​​ ดร.สุขสันติ์ ​​​​ หอพิบูลสุข

- Ph.D. (Geotechnical Engineering), Saga University, Japan,​​ ..2544

- M.Eng. (Soil Engineering), Asian Institute of Technology,​​ ..2541

-​​ วศ.. (วิศวกรรมโยธา),​​ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,​​ ..2539

2

ผศ.​​ ดร.มงคล ​​​​ จิรวัชรเดช

- Ph.D. (Civil Engineering), The University of Tokyo, Japan,​​ 2539

- M.Eng. (Civil Engineering), The University of Tokyo, Japan,​​ 2536

-​​ วศ.. (วิศวกรรมโยธา),​​ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,​​ ..​​ 2533

3

ผศ.​​ ดร.สัจจากาจ ​​​​ จอมโนนเขวา

-​​ วศ.​​ . (วิศวกรรมขนส่ง),​​ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี,​​ ..​​ 2558

-​​ วศ.​​ . (วิศวกรรมขนส่ง),​​ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี,​​ ..​​ 2552

-​​ วศ.​​ . (วิศวกรรมโยธา),​​ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี,​​ ..​​ 2555

-​​ วศ.​​ . (วิศวกรรมขนส่ง),​​ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี,​​ ..​​ 2549

7.​​ จำนวนนักศึกษา ​​​​ 

7.1)​​ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต​​ 

ปีการศึกษา

แผนการรับนักศึกษาในระยะเวลา​​ 5​​ ปี

หลักสูตรปริญญาโท

จำนวนที่รับ

จำนวนที่จบ

แผน ก1

แผน ก2

แผน ข

แผน ก1

แผน ก2

แผน ข

2563

2

5

40

-

-

-

2564

2

5

40

2

5

40

2565

2

5

40

2

5

40

2566

2

5

40

2

5

40

2567

2

5

40

2

5

40

รวม

10

25

5

200

8

20

160

8.​​ หลักสูตร

8.1)​​ จำนวนหน่วยกิต หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

แผน กแบบ1การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์​​ ไม่น้อยกว่า48 หน่วยกิต

แผน กแบบ2การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า48หน่วยกิต​​ 

แผน ขการศึกษารายวิชาโดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์​​  ไม่น้อยกว่า48หน่วยกิต

8.2)​​ โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก​​ 1​​ การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์

ผู้เข้าศึกษาจะทำงานวิจัยและนำเสนอในรูปของวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา โดยมีจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์รวมไม่น้อยกว่า​​ 48​​ หน่วยกิต อย่างไรก็ตาม อาจารย์ที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการของสาขาวิชาฯ อาจกำหนดให้ผู้เข้าศึกษาต้องศึกษารายวิชาบางวิชาที่อาจจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ของผู้เข้าศึกษาและสามารถเชื่อมโยงเพื่อเป็นประโยชน์ต่องานวิจัย

แผน ก แบบ ก​​ 2​​ การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์

ผู้เข้าศึกษาจะศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า​​ 28​​ หน่วยกิต และทำงานวิจัยและนำเสนอในรูปของวิทยานิพนธ์ โดยมีจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์รวมไม่น้อยกว่า​​ 20​​ หน่วยกิต รวมเป็นหน่วยกิตรวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า​​ 48​​ หน่วยกิต ดังนี้

วิชาแกน16หน่วยกิต

วิชาเลือก12หน่วยกิต

วิทยานิพนธ์20หน่วยกิต

แผน ข การศึกษารายวิชาโดยไม่มีการทำวิทยานิพนธ์

ผู้เข้าศึกษาจะศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า​​ 43​​ หน่วยกิต และทำงานค้นคว้าอิสระและนำเสนอในรูปของรายงาน โดยมีจำนวนหน่วยกิตโครงงานมหาบัณฑิตไม่น้อยกว่า​​ 5​​ หน่วยกิต รวมเป็นหน่วยกิตรวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า​​ 48​​ หน่วยกิต ดังนี้​​  ​​ ​​ ​​​​ 

วิชาแกน19หน่วยกิต

วิชาเลือก24หน่วยกิต

โครงงาน ​​​​ 5หน่วยกิต

8.3) ​​​​  แผนการศึกษา

แผน ก แบบ ก​​ 1​​ การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์

ชั้นปี

ภาคการศึกษาที่​​ 1

หน่วย กิต

ภาคการศึกษาที่​​ 2

หน่วย กิต

ภาคการศึกษาที่​​ 3 ​​ ​​ ​​ ​​​​ 

หน่วย

กิต

1

554701​​ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต

แบบ ก1

3

554701​​ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต แบบ ก1

9

554701​​ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตแบบ ก1

9

รวม

3

รวม

9

รวม

9

2

554701​​ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต

แบบ ก1

9

554701​​ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต แบบ ก1

9

554701​​ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต แบบ ก1

9

รวม

9

รวม

9

รวม

9

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร​​ 48​​ หน่วยกิต

แผน ก แบบ ก​​ 2​​ การศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์

ชั้นปี

ภาคการศึกษาที่​​ 1

หน่วย กิต

ภาคการศึกษาที่​​ 2

หน่วย กิต

ภาคการศึกษาที่​​ 3

หน่วย กิต

1

554603​​ การบริหารงานโครงการก่อสร้างขั้นสูง

วิชาเลือก​​ (1)

4

4

554604​​ การบริหารการเงินของงานก่อสร้าง

วิชาเลือก​​ (2)

4

4

วิชาเลือก​​ (3)

554702​​ วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต แบบ ก2

4

3

รวม

8

รวม

8

รวม

7

2

554601​​ ระเบียบวิธีวิจัยทางวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง

554702​​ วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต แบบ ก2

4

3

554602​​ สัมมนาและการนำ
เสนอรายงานทางวิศวกรรม

554702​​ วิทยานิพนธ์ ​​​​ มหาบัณฑิต แบบ ก2

4

4

554702​​ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต แบบ ก2

10

รวม

7

รวม

8

รวม

10

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร​​ 48​​ หน่วยกิต

แผน ข การศึกษารายวิชาโดยไม่มีการทำวิทยานิพนธ์

ชั้นปี

ภาคการศึกษาที่​​ 1

หน่วย กิต

ภาคการศึกษาที่​​ 2

หน่วย กิต

ภาคการศึกษาที่​​ 3

หน่วย กิต

1

554603​​ การบริหารงานโครงการก่อสร้างขั้นสูง

วิชาเลือก​​ (1)

4

4

554604​​ การบริหารการเงินของงานก่อสร้าง

วิชาเลือก​​ (2)

4

4

วิชาเลือก​​ (3)

วิชาเลือก​​ (4)

4

4

รวม

8

รวม

8

รวม

8

2

554601​​ ระเบียบวิธีวิจัยทางวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง

วิชาเลือก​​ (5)

4

4

554602​​ สัมมนาและการนำเสนอรายงานทางวิศวกรรม

วิชาเลือก​​ (6)

4

4

554605​​ การนำเสนอโครงงานมหาบัณฑิต

554670​​ โครงงานมหาบัณฑิต

3

5

รวม

8

รวม

8

รวม

8

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร​​ 48​​ หน่วยกิต

9. ​​​​ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ​​​​ 

 ​​ ​​ ​​ ​​​​ 9.1) ​​ ​​​​ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

 ​​ ​​ ​​ ​​ ​​​​ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ..​​ 2560​​ หมวด​​ 1​​ ข้อ​​ 8.3​​ 

(1)​​ ปริญญาโท จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ​​​​ 

10.​​ การพัฒนาหลักสูตร

  • พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

  • ส่งเสริมให้มีความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพกับองค์กรภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ

  • สำรวจความพึงพอใจของหลักสูตรจากผู้สำเร็จการศึกษา

  • สำรวจความพึงพอใจจากผู้ใช้บัณฑิต

  • สนับสนุนบุคลากรด้านการเรียนการสอนให้ทำงานวิจัยในเชิงลึกและ/หรือ โดยใช้โจทย์ปัญหาจากอุตสาหกรรม

  • สนับสนุนบุคลากรด้านการเรียนการสอนให้ทำงานบริการวิชาการแก่องค์กรภายนอก

  • สนับสนุนบุคลากรด้านการเรียนการสอนให้เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ

11.​​ ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

การพัฒนาหลักสูตรสอดคลองกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่เน้นการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย เพื่อการสร้างความเป็นเลิศในการประยุกต์เทคโนโลยี รวมไปถึงพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้สามารถปรับเปลี่ยนและถ่ายทอดไปยังภาคอื่นของประเทศได้ ซึ่งเป็นภาระหนึ่งของพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัย

​​ 

12. ​​​​ คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร

รายนามคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต​​ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง​​ (หลักสูตรปรับปรุง พ..​​ 2563)​​ ดังนี้

1.รองศาสตราจารย์ เรืออากาศเอก ดร.กนต์ธร ​​​​ ชำนิประศาสน์เป็นที่ปรึกษา

2.ศาสตราจารย์ ดร.สุขสันติ์ ​​​​ หอพิบูลสุข ​​​​ เป็นประธาน

3. รองศาสตราจารย์ ดร.วชรภูมิ ​​​​ เบญจโอฬาร ​​​​ เป็นกรรมการ

4.นายสุวิชา ​​​​ เศวตศิลา​​ *เป็นกรรมการ

5.ดร.อิทธิกร ​​​​ ภูมิพันธ์​​ * เป็นกรรมการ

6.ดร.อภิชาติ ​​​​ สุดดีพงษ์​​ *เป็นกรรมการ

7.รองศาสตราจารย์ ดร.พรศิริ ​​​​ จงกล ​​​​ เป็น กรรมการ

8.รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญกมล ​​​​ ดอนขวา​​ เป็นกรรมการ

9.รองศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภิส ​​​​ ตันเต็มทรัพย์​​ เป็นกรรมการ

10.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล ​​​​ จิรวัชรเดช​​ เป็นกรรมการ

11.อาจารย์ ดร.รัตนาภรณ์ เกษมศรี​​ เป็นกรรมการ

12.อาจารย์ ดร.Menglim Hoy​​ เป็น กรรมการ

13.อาจารย์ แพทย์หญิงจิตรวดี หอพิบูลสุข​​ เป็นกรรมการ

14.องศาสตราจารย์ ดร.อวิรุทธิ์ ​​​​ ชินกุลกิจนิวัฒน์เป็นกรรมการและเลขานุการ

หมายเหตุ ​​​​  * ​​​​ หมายถึง ​​​​ กรรมการภายนอก