การสร้างมนุษยสัมพันธ์+กับ+เพื่อนร่วมชั้นเรียน

Skip to content

การสร้างมนุษยสัมพันธ์+กับ+เพื่อนร่วมชั้นเรียน

การสร้างมนุษยสัมพันธ์+กับ+เพื่อนร่วมชั้นเรียน

มนุษยสัมพันธ์และการสื่อสารในชั้นเรียน

            มนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เนื่องจากมีหลักการ และทฤษฎีที่เป็นข้อความรู้ และการนำหลักการ หรือทฤษฎีไปปฏิบัติให้ประสบ ความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยเทคนิควิธีการซึ่งถือเป็น ศิลปะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล จะสังเกตเห็นได้อย่างหนึ่งว่า คนแต่ละคน มีความสามารถในการติดต่อกับผู้ อื่นไม่เท่ากัน บางคนเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก มีเพื่อนมากหน้าหลายตา และมีคนที่อยากพูดคุยติดต่อ หรือทำงานร่วมกับเขามากมาย ในขณะที่บางคนไม่ค่อยมีใครอยาก จะเข้าใกล้ หรือทำงานร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะเขาขาดศิลปะในการติดต่อกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่รู้หลักการว่าควรทำอย่างไร หรือเป็นเพราะนำหลักการไปใช้ไม่ ถูกวิธี ดังนั้น การที่คนเราจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ จนสามารถนำหลักการ ความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

เทคนิคการมีมนุษย์สัมพันธ์  

การที่เราต้องติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ ทั้งในครอบครัว ในการทำงาน และในสังคมทั่วไป  ย่อมมีโอกาสจะเกิดการกระทบกระทั่งมีโอกาสที่จะขัดแย้งกัน  มีโอกาสที่ที่จะไม่เข้าใจกัน  แต่ก็มีวิธีที่ดีจะทำให้บุคคลที่เราติดต่อกัน  มีความรู้สึกที่พอใจ รักใคร่ เห็นอกเห็นใจ  เข้าใจและให้ความร่วมมือและเชื่อถือเรานั้น  ดังนี้

  1. อย่าตำหนิ ประณาม  พร่ำบ่น หรือนินทา
  2. จงยกย่องสรรเสริญผู้อื่นด้วยความสุขจริตใจ
  3. จงกระตุ้นให้อีกฝ่ายหนึ่งประสพความสำเร็จตามที่เขาต้องการ
  4. จงเอาใจใส่ผู้อื่นอย่างแท้จริง
  5. ยิ้ม  ยิ้ม และยิ้ม
  6. จงจำไว้ว่าชื่อบุคคลใดก็ตามที่เราต้องการสร้างความสัมพันธ์ การเรียกบุคคลนั้นเป็นสำเนียงที่หวานที่สุดจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในภาษาการพูดเพื่อสัมพันธภาพ จงจำชื่อเขาให้ได้และเขียนให้ถูกต้อง
  7. จงเป็นนักฟังที่ดี และเป็นผู้เสริมให้อีกฝ่ายหนึ่งคุยแต่เรื่องของเขา
  8. จงสนทนาเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งสนใจ
  9. จงทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกเป็นคนสำคัญ และจงทำด้วยความสุจริตใจ

ทำไม นักศึกษาครู /ครู ต้องเรียนรู้เรื่อง มนุษยสัมพันธ์และการสื่อสารในชั้นเรียน

ครู คือ บุคคลที่จะต้องดำเนินการเรียนการสอนในห้องเรียน ต้องเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียน แน่นอนว่าการทำกิจกรรมเหล่านี้ต้องอาศัยการการสื่อสาร การพูดคุย การสื่อสารกับนักเรียนและกับบุคคลธรรมทั่วไปนั้นก็ย่อมมีหลักการสื่อสารที่ต่างกันไป ดังนั้น ครูจำเป็นที่ต้องเรียนรู้การสื่อสารและการสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อการสื่อสาร บรรยากาศความอบอุ่นแห่งการเรียนรู้ในชั้นเรียน

รูปแบบหรือวิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์และการสื่อสารในชั้นเรียน ที่ดีควรเป็นอย่างไร

การสร้างมนุษยสัมพันธ์และการสื่อสารในชั้นเรียนนั้นอาจมีการสร้างที่ต่างกันไปตามบุคลิกและลักษณะนิสัยของแต่ล่ะคนแต่ในขั้นตอนแรกของการสร้างนั้นแน่นอนว่าต้องมีการยิ้มและการทักทายและสร้างบุคลิกภาพและลักษณะท่าทางดี เพื่อสร้างความไว้ใจการสื่อสาร ต้องรู้จักตนเองและผู้อื่น ว่าต้องการสื่อสารอะไร เพื่อความเข้าใจตรงกันในการสื่อสาร คำพูดที่ใช้ในการสื่อสารก็ควรเป็นคำพุดที่ไพเราะอ่อนหวาน เพื่อการสื่อสารและการมิมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

การมีมนุษยสัมพันธ์และการสื่อสารในชั้นเรียนที่ดีมีอะไรบ้าง

การมีมนุษยสัมพันธ์และการสื่อสารในชั้นเรียนที่ดีนั้นมีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการใช้ถ่อยคำการพูดจาที่ไพเราะอ่อนหวาน การมีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสพูดจาทักทายกันด้วยความสุภาพอ่อนน้อม การมีข้อตกลงเพื่อความสงบเรียบร้อยในชั้นเรียน การสร้างสรรค์การทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียน

Post navigation

การเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์

ความหมายของมนุษย์สัมพันธ์(Relntion)เดวิส ให้ความหมาย เป้าหมายแนวทางก่อให้เกิดจุดมุ่งหมายและพลังของกลุ่มที่จะทำงานร่วมกันให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ฟลูเมอร์ Flumerเป็นความสัมพันธ์อันดีของบุคคลที่เกี่ยวข้องกันอันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของทุกฝ่าย ดูบริน Dubrin เน้นว่า เป็นศิลปะและปฏิบัติการประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกันอันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของทุกฝ่าย

มนุษย์สัมพันธ์ของครู คือ การมีปฏิบัติสัมพันธ์ระหว่างครูกับลูกศิษย์

ปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์สัมพันธ์มนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มีความเป็นคนเทียมกัน มนุษย์เกี่ยวข้องกับความต้องการ ไม่มีที่สิ้นสุด มนุษย์เป็นเพื่อนร่วมทุกข์

จุดเริ่มต้นพื้นฐานของมนุษย์สัมพันธ์

-การรู้จักตนเอง บุคคลที่ยอมรับตนเองได้ แม้จะไม่สมบูรณ์ก็สามารถนำมาสู่ชีวิตประจำวัน

กระบวนการของมนุษย์สัมพันธ์

กระบวนการมีมนุษย์สัมพันธ์ คือ การสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีกับบุคคล การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจะต้องเริ่มต้นจากตัวเราก่อน เช่น การเปิดฉากทักทายผู้อื่นก่อน ยกมือไหว้ผู้อื่นก่อน พูดกับผู้อื่นก่อน

หลักการสร้างมนุษย์สัมพันธ์Dale Carnegie ได้กล่าวไว้ว่า ให้สิ่งที่เขาต้องการก่อน แล้วเราจะได้รับสิ่งที่เราต้องการ หรือกล่าวคำสั้นๆ คือ“เอาใจเขามาใส่ใจเรา”

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ของครู

การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน

การสร้างความสัมพันธ์อันดีงามกับศิษย์

การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง

การสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน-จริงใจ -พบประสังสรรค์ -ไม่นินทา -เห็นอกเห็นใจ -ยกย่อง-ร่วมมือร่วมใจ -เสมอต้นเสมอปลาย

การสร้างความสัมพันธ์อันดีงามกับลูกศิษย์-รัก -ให้ -อารมณ์เป็นบวก -รับฟัง -ส่งเสริม-เป็นตัวอย่าง

การสร้างความสัมพันธ์อันกับผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป- ยิ้มแย้มแจ่มใส -ให้ความช่วยเหลือความรู้ -เป็นกันเอง-ให้ความร่วมมือ – ยกย่องให้เกียรติ – ประกาศเกียรติคุณ -รับฟัง-ถามทุกข์สุข

ลักษณะด้านมนุษย์สัมพันธ์มี10 ลักษณะ

1.ความสนใจหมั่นไต่ถามทุกข์สุขนักเรียน

2.การช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา

3.ความเข้าใจในความแตกต่างของนักเรียน

4.การให้การปรึกษาหารือต่างๆ

5.การให้ความร่วมมือในกิจกรรมของนักเรียน

6.สนใจให้ความร่วมมือกับชุมชน

7.ให้การต้อนรับและเป็นกันเองกับผู้มาติดต่อด้วย

8.ให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนครูในโรงเรียน

9.สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนครูในโรงเรียน

10.การช่วยเหลือการแนะนำครูใหม่

มนุษย์สัมพันธ์เกี่ยวกับการพูดครูควรฝึกหัดพูดคำและสำนวนไพเราะ หมายถึง คำซึ่งเปล่งออกมาแล้วเป็นที่เข้าใจในความหมาย ถูกต้องตามหลักภาษาไทย เป็นคำที่เหมาะสม คำควบกล้ำถูกต้อง ไม่ใช่คำหยาบ ห้วนกระโชกโงกงาก น้ำเสียงนุ่มนวล คำที่สุภาพ คำที่ไม่สุภาพ จะให้บอกว่าใครโทรมา จะให้เรียนว่าใครโทรมานครับ รอเดี๋ยวนะ รอสักครู่นะค่ะ พูดมากฉิบหาย คุณพูดมากไปหน่อยนะค่ะ เดินซุ่มซ่าม เดินไม่ค่อยระวัง

                 ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและเด็กถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อระหว่างทั้งคู่หากเกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดีแล้ว จะกลายเป็นผลกระทบต่อการพัฒนาการศึกษาแน่นอน ฉะนั้นแล้ว ครูจะมองข้ามเรื่องความสัมพันธ์กับเด็กไปไม่ได้ อีกทั้งครูยังต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กอยู่เสมอ

ความสัมพันธ์ระหว่างครูและเด็กสำคัญอย่างไร?

               นอกจากจะเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาแล้ว ความสัมพันธ์ที่ดียังเป็นปัจจัยพื้นฐานในการเรียนของเด็ก เป็นเงื่อนไขสำคัญของความสำเร็จและความล้มเหลวทางการศึกษาของเด็ก และความสัมพันธ์ที่ดี จะทำให้เด็กรู้สึกว่า โรงเรียนเป็นที่ที่มีความอบอุ่นและส่งเสริมให้เด็กเกิดพัฒนาการที่ดีด้านอารมณ์ สังคม และการเรียน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จด้านการศึกษาทั้งสิ้น

รู้ได้อย่างไรว่าความสัมพันธ์ที่มีอยู่นั้นดีหรือไม่?

               อีกประเด็นสำคัญก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความสัมพันธ์ของครูและเด็กที่มีอยู่นั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่ ตรงนี้สามารถประเมินคุณภาพของความสัมพันธ์ได้จากการสังเกตปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนการสอน ซึ่งคาบเรียนที่แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดี สามารถสังเกตได้ว่า

               1.มีบรรยากาศการเรียนที่เป็นมิตร ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส

               2.ครูผู้สอนมีความไวต่อปฏิกิริยาของเด็กและให้การตอบสนอง ได้อย่างเหมาะสม ครูสามารถสังเกตระหว่างการสอนว่าเด็กแต่ละคนเป็นอย่างไร เช่น มีคนไม่เข้าใจ ตามไม่ทัน กังวล หรือดูเศร้า และนอกจากการสังเกตแล้ว ครูยังเข้าใจและสามารถตอบสนองต่อเด็กได้อย่างเหมาะสมด้วย

               3.ครูใส่ใจในความคิดเห็นของเด็กแต่ละคน ครูต้องถามถึงความคิดเห็นหรือมุมมองของเด็กในระหว่างคาบเรียนด้วย

               แล้วครูจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กได้อย่างไร ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้คือการ เพิ่มเวลา เพิ่มคุณภาพ ซึ่งจะช่วยยกระดับความสัมพันธ์ของครูละเด็กได้เป็นอย่างดี สิ่งสำคัญในการทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี คือ

               1. การใช้เวลาที่ดีร่วมกัน เช่น การกินข้าวกลางวันร่วมกันในบรรยากาศที่เป็นกันเอง การทำกิจกรรมนอกห้องเรียนร่วมกัน ครูมีการจัดช่วงเวลาในการให้คำปรึกษาแก่เด็ก เมื่อเด็กต้องการ

               2.สื่อสารความต้องใจอันดีไปให้เด็กผ่านการแสดงออกในลักษณะต่างๆ เช่น ครูสามารถแสดงออกถึงความเอาใจใส่ด้วยการสังเกต สอบถามทุกข์สุขของเด็กเป็นระยะ แสดงการยอมรับในตัวเด็กด้วยการฟังความคิดเห็นของเด็กอย่างตั้งใจ หรือแม้แต่การแสดงออกให้เด็กเห็นว่าครูเป็นที่พึ่งให้แก่เขาได้ โดยการรับฟังปัญหาและช่วยกันคิดวิธีแก้ไขร่วมกัน

               3.มีวิธีการตอบสนองต่อเด็กที่เหมาะสม เน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ครูต้องมีความไวต่ออารมณ์ของเด็ก รู้จักและเข้าใจเด็กแต่ละคน มีวิธีการตอบสนองต่อเด็กแต่ละคนที่แตกต่างอย่างเหมาะสม เช่น ให้เวลาปรับตัวกับเด็กที่ขี้กังวล วางระบบระเบียบที่ชัดเจนให้เด็กที่สมาธิสั้น แต่อย่าลืมให้ทุกอย่างเป็นไปในทางบวก ด้วยการให้คำชม ให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ดีของเด็กมากกว่าการลงโทษ            

 นับว่าเป็นอีกหนึ่งบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของผู้เป็นครู คนที่เป็นครูมักจะมีสิ่งต่างๆ ที่สร้างความท้าทายอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ครู จึงต้องหมั่นฝึกฝนตนเองให้พร้อมที่จะรับกับทุกสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา