พัฒนาการ ทารก 1 ขวบ 2 เดือน

นอกจากนั้นยังมีพัฒนาการเด็ก 1 ขวบอีกหลายสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกต สำหรับพัฒนาการทางด้านร่างกาย เด็กน้อย 1 ขวบจะเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ได้เองมากขึ้น เริ่มจากเรื่องการยืนเดิน เมื่อถูกดึงตัวขึ้น เขาจะยืนได้เองโดยไม่ต้องมีคนพยุง แต่อาจจะยืนได้เพียงชั่วครู่เดียวเท่านั้น เด็กน้อยจะสามารถเกาะเดินไปตามเฟอร์นิเจอร์ได้แล้ว หรือบางครั้ง เดินได้โดยมีคนจับมือข้างหนึ่งไว้ และบางทีอาจจะเห็นเขาเดินก้าวแรกได้ด้วยตัวเองแล้วนะคะ

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นการช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้นในกิจกรรมต่างๆ เช่น ดื่มจากถ้วยโดยมีคนช่วยถือ หยิบอาหารกินเอง หรือใช้นิ้วมือชี้หรือแหย่สิ่งต่างๆ

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบด้านสติปัญญา

ในส่วนของพัฒนาการทางสติปัญญาเด็ก 1 ขวบ ตามที่เกริ่นไปข้างต้น นั่นก็คือ ลูกน้อยจะเอ่ยคำว่า“แม่” และ “พ่อ” ในช่วงวัยนี้ค่ะ นอกจากนั้น เขาจะส่ายหัวเพื่อบอกว่า “ไม่” เป็นอีกด้วย ลองสังเกตดูนะคะ ลูกน้อยจะจำชื่อของคนในครอบครัวได้แล้วค่ะ และจะมีการแสดงอาการวิตกกังวลเมื่อเจอคนแปลกหน้าด้วย

ลูกน้อย 1 ขวบจะเริ่มเลียนเสียงและกิริยาท่าทางของเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เขาจะสามารถเข้าใจคำสั่งง่ายๆ ได้แล้ว อย่างเช่น “ส่งของเล่นให้แม่” และมีทักษะในการจดจำ มีสมาธิดีขึ้น ซึ่งจะเห็นว่าลูกน้อยจะจำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น ลองบอกว่า “ได้เวลาอาบน้ำแล้ว” และลองสังเกตดูค่ะ พอลูก 1 ขวบ เด็กน้อยจะเริ่มสนใจสิ่งต่างๆ ในบ้าน และรอบๆ ตัว รวมทั้งหนังสือและของเล่น ขยับตัวตามเสียงเพลง รู้จักมองหาสิ่งของที่มองไม่เห็น เช่น ของเล่นที่ตกลงไปใต้โต๊ะ

นอกเหนือจากความปลาบปลื้มใจในคำเรียก“พ่อ” “แม่” ของลูกน้อย ยังมีพัฒนาการต่างๆ อีกมากมายหลายประการใช่ไหมละคะ คุณพ่อคุณแม่ต้องจับตาดูพฤติกรรมต่างๆ ดังกล่าวของลูกด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าลูกรักเจริญเติบโตครบขวบปีได้อย่างสมบูรณ์แบบหรือไม่นะคะ

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบทางด้านอารมณ์และสังคม

เมื่อลูก 1 ขวบ จะเริ่มสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ส่งเสียงเอะอะ ร้องเรียกให้หันมาสนใจ ใช้นิ้วชี้ไปยังสิ่งของที่ตัวเองต้องการเพื่อให้คนอื่นหยิบให้ แม้จะ 1 ขวบ แต่ลูกก็ยังกลัวสิ่งต่างๆ อย่างเคย เช่น กลัวสัตว์ กลัวอาบน้ำ กลัวความมืด กลัวเสียง แต่ไม่ต้องห่วง เพราะความกลัวเป็นผลจากการจินตนาการของเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจ และใจเย็นกับลูกให้มากเพราะวัย 1 ขวบนี้ ลูกมักจะมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย ถ้าขัดใจนิดเดียว อาจถึงกับโมโหและร้องไห้ทันที นอกจากนั้น พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ จะมีการแสดงความเป็นตัวเองมากขึ้น รู้จักปฎิเสธ รู้จักพยักหน้า

ลูก 1 ขวบจะเริ่มสนใจเพื่อนรอบข้างมากขึ้น เริ่มสังเกตุคนที่อยู่รอบตัว เริ่มเปรียบเทียบของเล่นตัวเองกับของเพื่อน ทำให้บางครั้งเริ่มรู้จักไปคว้าของคนอื่นมาเล่นเอง

อาหารสำหรับพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ

เมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 ปี ขึ้นไป เพื่อพัฒนาการที่ดี พ่อแม่ควรให้เด็กทานอาหารหลักให้ครบ 3 มื้อ และที่สำคัญคือ สารอาหารต้องให้ครบทั้ง 5 หมู่ และควรเป็นอาหารที่รสไม่จัด ไม่ควรใส่เครื่องปรุง เติมสารปรุงแต่งใดๆ เช่น อาหารของเด็ก 1 มื้อควรมีข้าวสวยนิ่มทานง่ายๆ และเพิ่มโปรตีนโดยการเติมไข่ หรือเนื้อสัตว์ที่ทานง่าย จากนั้นมีการเติมผักใบเขียว หรือผักสีส้มเหลืองเข้าไป เพื่อช่วยเสริมวิตามิน แร่ธาตุ ทำอาหารสำหรับเด็ก 1 ขวบขึ้นไป สามารถใช้วิธีผัด ทอด หรือทำเป็นแกงจืด และจะให้ลูกใช้ช้อนตักอาหารทานด้วยตนเองก็ได้ ฝึกให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกชิน เช่น ประโยชน์ของผัก-ผลไม้ และเนื้อปลา จะทำให้ลูกเริ่มเรียนรู้ และมีนิสัยการกินที่ดีต่อไป เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็ก 1 ขวบขึ้นไป

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ วัยที่เริ่มก้าวเข้าสู่วัยของการหัดเดิน และเริ่มมีการช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้ว มาดูกันดีกว่าค่ะว่าเด็กในช่วงอายุประมาณ 12 เดือน หรือ 1 ขวบนั้นพวกเขามีพัฒนาการทางด้านใดบ้าง และน้ำหนัก ส่วนสูง ควรอยู่ที่เท่าไหร่จึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไปดูกันเลย

 

น้ำหนักเด็ก 1 ขวบ ควรหนักเท่าไหร่?

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจมีความสงสัยว่าลูกของคุณที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตนี้ โตตามเกณฑ์หรือมีการเจริญเติบโตที่ปกติหรือไม่ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า น้ำหนักเด็ก 1 ขวบ แบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในเกณฑ์ โดยเราได้รวบรวมน้ำหนักของเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

น้ำหนักเฉลี่ยของทารกในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 1 ขวบ

อายุเด็กผู้ชายเด็กผู้หญิง1 เดือน4.5 กิโลกรัม4.2 กิโลกรัม2 เดือน5.6 กิโลกรัม5.1 กิโลกรัม3 เดือน6.4 กิโลกรัม5.8 กิโลกรัม4 เดือน7 กิโลกรัม6.4 กิโลกรัม5 เดือน7.5 กิโลกรัม6.9 กิโลกรัม6 เดือน7.9 กิโลกรัม7.3 กิโลกรัม7 เดือน8.3 กิโลกรัม7.6 กิโลกรัม8 เดือน8.6 กิโลกรัม7.9 กิโลกรัม9 เดือน8.9 กิโลกรัม8.2 กิโลกรัม10 เดือน9.2 กิโลกรัม8.5 กิโลกรัม11 เดือน9.4 กิโลกรัม8.7 กิโลกรัม12 เดือน9.6 กิโลกรัม8.9 กิโลกรัม

 

ทั้งนี้สำหรับทารกที่รับประทานนมแม่จะมีน้ำหนักลงบ้างในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด แต่หลังจากนั้นน้ำหนักจะค่อย ๆ ขึ้นตามเกณฑ์ปกติ แต่ถ้าหากลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักที่ลดลง หรือน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์นั้นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาด้านสุขภาพ หรือทารกอาจได้รับน้ำนมที่ไม่เพียงพอ ส่วนทารกที่ดื่มนมแบบผสมนั้นคุณแม่จะต้องควบคุมปริมาณนมให้เป็นอย่างดี เพราะไม่ฉะนั้นทารกอาจได้รับนมในปริมาณมากจนเกินไป และส่งผลทำให้เกิดน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วนได้

 

พัฒนาการ ทารก 1 ขวบ 2 เดือน

 

ส่วนสูงเด็ก 1 ขวบ ควรมีความสูงอยู่ที่เท่าไหร่?

โดยทั่วไปในช่วง 6 เดือนแรก ส่วนสูงของทารกจะสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 1 นิ้วต่อเดือน และในช่วง 6 เดือนถึงอายุ 1 ปี การเจริญเติบโตของทารกจะช้าลงเล็กน้อย โดยจะมีความสูงเพิ่มเติมเฉลี่ย ½ นิ้วต่อเดือน ซึ่งในแต่ละเดือนส่วนสูงของทารกจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

ส่วนสูงเฉลี่ยของทารกในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 1 ขวบ

อายุเด็กผู้ชายเด็กผู้หญิง1 เดือน54.7 เซนติเมตร

53.7 เซนติเมตร

2 เดือน58.4 เซนติเมตร

57.1 เซนติเมตร

3 เดือน61.4 เซนติเมตร

59.8 เซนติเมตร

4 เดือน63.9 เซนติเมตร

62.1 เซนติเมตร

5 เดือน65.9 เซนติเมตร64 เซนติเมตร6 เดือน67.6 เซนติเมตร

65.7 เซนติเมตร

7 เดือน69.2 เซนติเมตร

67.3 เซนติเมตร

8 เดือน70.6 เซนติเมตร

68.7 เซนติเมตร

9 เดือน72 เซนติเมตร

70.1 เซนติเมตร

10 เดือน73.3 เซนติเมตร

71.5 เซนติเมตร

11 เดือน74.5 เซนติเมตร

72.8 เซนติเมตร

12 เดือน75.7 เซนติเมตร74 เซนติเมตร

 

ทั้งนี้ความสูงของเด็กแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลทำให้เด็กแต่ละคนมีส่วนสูงหรือความยาวของตัวแตกต่างกันออกไป มีดังต่อไปนี้

  • พันธุศาสตร์ : ความสูงของคุณพ่อและคุณของเด็ก และสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ มีผลกระทบต่อความสูงของเด็ก ๆ
  • เพศ : เด็กผู้ชายมักจะสูงกว่าเด็กผู้หญิง
  • โภชนาการ : การได้รับประทานอาหารที่ดีในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ และทารกหลังคลอดได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน อาทิ วิตามิน แร่ธาตุ และโปรตีนที่เหมาะสมนั้นจะส่งผลทำให้กระดูกของทารกมีพัฒนาการที่ดี และแข็งแรง และมีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม
  • รูปแบบของการนอน : ทารกที่มีการนอนหลับที่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการงีบระหว่างวัน หรือการนอนในช่วงเวลากลางคืนนั้นส่งผลทำให้การพัฒนาของกระดูกเป็นไปได้ดี
  • การออกกำลังกาย : การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกายช่วยสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรงให้แก่ลูกน้อยของคุณได้
  • สุขภาพโดยรวม : การเจ็บป่วย และโรคเรื้อรังในวัยเด็กอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก ๆ ได้

บทความที่น่าสนใจ : อาหารเพิ่มความสูง สำหรับเด็ก ๆ ให้มีความสูงตามเกณฑ์

 

พัฒนาการ ทารก 1 ขวบ 2 เดือน

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ มีอะไรบ้าง?

เมื่อลูกของคุณอายุครบ 1 ขวบ เท่ากับว่าพวกเขาได้เข้าสู่วัยหัดเดินแล้ว หากลูกของคุณยังไม่เริ่มเดินไม่ต้องตกใจ เพราะพวกเขาจะเริ่มเดินในอีกไม่ช้า เด็กในวัยหัดเดินนี้จะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งพวกเขาจะเริ่มเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ไปตามลำดับและขั้นตอน แต่ถึงอย่างไรก็ตามพวกเขาก็ยังต้องมีการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ อย่างน้อย 12-13 ชั่วโมงต่อวัน โดยพัฒนาการของเด็ก 1 ขวบที่พวกเขาควรจะทำได้มีดังต่อไปนี้

 

  • พัฒนาการทางกายภาพ

ลูกวัยหัดเดินของคุณอาจลุกขึ้นยืนได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากคุณ หรือพิงสิ่งของเพื่อยันให้ตัวเองสามารถยืนขึ้นได้ ซึ่งปกติแล้วพวกเขาจะเริ่มทำให้เมื่ออายุ 12-15 เดือน แต่ถ้าหากลูกน้อยของคุณยังไม่สามารถทำได้ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะทารกบางคนก็เริ่มทำให้เมื่อพวกเขาอายุ 15-18 เดือน แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อพวกเขาสามารถลุกขึ้นยืนเองได้แล้วให้ระวังเรื่องของการปีนป่ายบันได หรือเฟอร์นิเจอร์ เพราะอาจทำให้พวกเขาได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุได้

 

  • พัฒนาการด้านทักษะ

เด็กที่อยู่ในช่วง 12-15 เดือนพวกเขาจะเริ่มเรียนรู้ในเรื่องของการเขย่าและทุบสิ่งของต่าง ๆ และจะเริ่มประกอบของ หรือต่อสิ่งของให้สูงขึ้นเป็นชั้น ๆ ได้ จากนั้นพวกเขาก็จะทุบ หรือทำลาย และในช่วงวัย 15-18 เดือน พวกเขาจะเริ่มควบคุมความเคลื่อนไหวของมือและแขนได้มากขึ้น คุณอาจลองให้พวกเขาฝึกทักษะต่าง ๆ อาทิ การใช้ดินสอ ช้อน หรือการดื่มน้ำจากแก้ว เป็นต้น นอกจากนี้พวกเขาจะเริ่มหยิบจับวัตถุเล็ก ๆ ได้มากขึ้น แต่คุณจะต้องมั่นใจว่าพวกเขาจะไม่จับวัตถุเหล่านั้นเข้าปากและกลืนลงไป

 

พัฒนาการ ทารก 1 ขวบ 2 เดือน

 

  • พัฒนาการด้านอารมณ์

เด็กในวัยหัดเดินจะเริ่มเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และพวกเขาจะรู้สึกตาม อาทิ เมื่อลูกน้อยของคุณเห็นคุณเศร้า พวกเขาก็จะเศร้าตาม เป็นต้น นอกจากนี้พวกเขาจะรู้สึกเขินอาย หรือทำตัวไม่ถูกเมื่อเจอสิ่งที่ตนเองชอบ หรือสิ่งที่พวกเขาสนใจ รวมถึงพวกเขาจะแสดงออกทางความรักต่อผู้ปกครองหรือคนดูแลมากยิ่งขึ้น ด้วยความผูกพัน และพวกเขาจะรู้สึกวิตกกังวลทุกครั้งที่ต้องแยกจากกัน ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่ลูก ๆ จะติดแม่มาก ๆ

 

  • พัฒนาการทางความคิด และการสื่อสาร

การเข้าสู่ช่วงอายุ 1 ขวบ คุณจะเริ่มได้ยินคำพูดที่เป็นคำพูดจริง ๆ จากปากลูกของคุณ และพวกเขาจะเริ่มตอบรับด้วยการพยักหน้า หรือชี้นิ้วมากยิ่งขึ้น ซึ่งคำเริ่มต้นจะเริ่มตั้งแต่ 2 คำไปจนถึง 6 คำหรือมากกว่าภายในอายุ 18 เดือน เขาจะสามารถจำชื่อของตนเองได้ รวมถึงพวกเขาจะเริ่มฟังคำสั่งและปฏิบัติตามคำของคุณที่เป็นคำสั่งง่าย ๆ อาทิ ยืน นั่ง เป็นต้น และอาจเริ่มจำตัวเองได้เมื่อพวกเขาเริ่มมองกระจก

บทความจากพันธมิตร

พัฒนาการ ทารก 1 ขวบ 2 เดือน

การศึกษา

มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ

พัฒนาการ ทารก 1 ขวบ 2 เดือน

ช่วงวัยของเด็ก

น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

พัฒนาการ ทารก 1 ขวบ 2 เดือน

การศึกษา

BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก

พัฒนาการ ทารก 1 ขวบ 2 เดือน

พัฒนาการลูก

เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์

บทความที่น่าสนใจ : รีวิวของเล่น ของเล่นเด็ก 1-2 ขวบ ส่งเสริมพัฒนาการ มีแบบไหนบ้าง?

 

พัฒนาการ ทารก 1 ขวบ 2 เดือน

 

การมีส่วนร่วมในพัฒนาการ ทำได้อย่างไรบ้าง?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าเด็กในช่วงอายุ 12-18 เดือน หรืออายุ 1 ขวบนั้นจะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพร่างกาย หรือทักษะที่พวกเขาสามารถทำได้ในช่วงวัยของพวกเขา โดยคุณสามารถช่วยให้พวกเขาสามารถบรรลุทักษะต่าง ๆ ในช่วงวัยนี้ได้ ดังต่อไปนี้

  • แสดงความอบอุ่นและความรักต่อพวกเขาบ่อย ๆ อาทิ การกอด การหอมแก้ม หรือการทำให้เขารู้สึกว่าคุณสามารถเป็นที่พึ่งของพวกเขาได้ เป็นต้น
  • เล่นกับพวกเขาโดยใช้สิ่งของต่าง ๆ หรือของเล่น เช่น บล็อกตัวต่อ ภาชนะพลาสติก หรือการเล่นซ่อนแอบ เป็นต้น
  • เล่นกับพวกเขาด้วยบทบาทสมมุติ อาทิ การเล่นขายของ การแกล้งดื่มน้ำชา หรือการเล่นกับตุ๊กตา
  • พูดคุยกับพวกเขา การพูดคุยถึงสิ่งรอบ ๆ ตัว หรือการพูดถึงบุคคลที่พวกเขาเขาคุ้นเคยก็อาจเป็นการกระตุ้นทำให้พวกเขาเกิดความอยากเรียนรู้ได้
  • อ่านนิทาน หรือร้องเพลงกล่อมเด็กให้พวกเขาฟัง
  • กระตุ้นให้พวกเขาเดิน เด็กในช่วงของวัยหัดเดินการเดินนั้นเป็นหนึ่งทักษะที่พวกเขาควรที่จะบรรลุถึงเป้าหมาย คุณอาจเริ่มจากจูงมือพวกเขาเดินไปพร้อมกัน ก่อนที่จะเริ่มปล่อยให้เขาเริ่มเดินเอง
  • ส่งเสริมให้พวกเขาเล่นกับเด็กคนอื่น สอนให้พวกเขารู้จักการแบ่งปัน และได้เข้าสังคมและใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นที่ไม่ใช่บุคคลในครอบครัว

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ลองเช็กดูแล้วลูกน้อยของคุณกำลังโตตามวัยอยู่หรือเปล่าเอ่ย หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่กำลังสงสัย หรือเป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องของการเติบโตของลูกน้อยสามารถเข้าไปปรึกษากับกุมารแพทย์ได้นะคะ เพราะว่าบางทีลูกของคุณอาจมีปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย หรือจิตใจบางอย่างที่อาจไปขัดขวางการพัฒนาการทางร่างกาย และทักษะการเรียนรู้บางอย่าง เพื่อความสบายใจของคุณเองนะคะ

พัฒนาการ ทารก 1 ขวบ 2 เดือน

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดยุคนี้ ถึงไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพของลูกผ่าคลอดมากจนเกินไป เข้ามาอ่าน หรือแชร์ประสบการณ์ของเหล่าคุณแม่ผ่าคลอดด้วยกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club)

 

บทความที่น่าสนใจ : 

อาหารเพื่อสุขภาพของเด็ก 1 ขวบ มีอะไรบ้าง? อะไรที่เหมาะสม?

ลูกตื่นกลางดึกบ่อย ลูก 1 ขวบ ตื่นกลางคืนบ่อย แก้ไขปัญหาอย่างไร

แบบฝึกหัดนับเลข : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

ที่มา : 1, 2, 3, 4, 5

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!