มอบ อํา น่า จ รังวัด ที่ดิน ใช้เอกสาร อะไรบ้าง

มอบ อํา น่า จ รังวัด ที่ดิน ใช้เอกสาร อะไรบ้าง

ตัวอย่าง การเขียน หนังสือมอบอำนาจที่ดิน

จริงๆแล้วขั้นตอนการหนังสือมอบอํานาจที่ดินไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเลย เพียงแต่ต้องใส่ให้ถูกต้องและครบถ้วน เราจะอธิบายว่าแต่ละช่องต้องกรอกอะไรบ้าง

มอบ อํา น่า จ รังวัด ที่ดิน ใช้เอกสาร อะไรบ้าง

1. ระวางที่ดิน

ระวางที่ดิน จะเป็นข้อมูลตัวเลขที่อยู่ด้านมุมซ้ายบนสุดของโฉนด โดยจะประกอบไปด้วยตัวเลขและตัวอักษร ทั้งนี้โฉนดแต่ละชนิดและแต่ละใบจะไม่เหมือนกัน แต่ทุกใบจะมีเลขระวางอยู่แน่นอน

2. ตำบล

ตำบลที่ใส่ในหนังสือมอบอํานาจที่ดินต้องกรอกที่อยู่ของที่ดินในโฉนด ต้องเป็นที่อยู่ของโฉนดที่ดินนั้นเท่านั้น (ห้ามกรอกที่อยู่ปัจจุบันหรือที่อยู่อื่น)

3. เลขที่

ตัวเลขที่ในการกรอกอหนังสือมอบอํานาจที่ดิน หมายถึง เลขที่ของโฉนดอยู่ที่มุมซ้ายข้างล่างเลขระวาง

4. หน้าสำรวจ

หน้าสำรวจ คือเลข 4 ตัวที่ระบุไว้ในโฉนด อยู่มุมบนซ้ายเช่นกัน

5. อำเภอ

เช่นเดียวกับตำบล ต้องกรอกที่ใช้ใส่ในหนังสือมอบอํานาจที่ดิน จะใช้เลขที่ตรงกันกับในโฉนดที่ดินเลย ห้ามเปลี่ยนหรือกรอกที่อยู่อื่นๆลงไป

6. โฉนดหมายเลขที่

หมายเลขโฉนดเป็นเลข 1-5 หลัก อยู่บริเวณมุมขวาบนของโฉนด

7. จังหวัด

จังหวัดตามในโฉนด ต้องกรอกให้ตรงกับที่โฉนดออกไว้แบบเปะๆ

8. เขียนที่

สถานที่เขียนหนังสือมอบอํานาจที่ดิน (ส่วนมักไปเขียนที่อำเภอหรือกรมที่ดิน แต่ในบ้างกรณีก็เขียนที่บ้าน ให้ระบุให้ตรงตามความจริง)

9. วันเดือนปี

วันเดือนปี ที่เขียนหนังสือมอบอํานาจที่ดิน (หมายถึงต้องเขียนและเซ็นเอกสารทำข้อตกลงเสร็จสิ้นภายในวันนั้น)

10. ลงชื่อผู้มอบอำนาจ

หมายถึง ผู้ที่มีชื่อถือครองโฉนดที่ดิน ยกตัวอย่าง นาย ก. ต้องการขายที่ดินให้ นาย ข. แต่ให้นาย ค. ไปกำเนินการเเทน บริเวณนี้ต้องลงชื่อนาย ก.

11. มอบให้ใคร

ต้องลงชื่อผู้ที่ต้องการมอบให้ ยกตัวอย่าง นาย ก. ต้องการขายที่ดินให้ นาย ข. แต่ให้นาย ค. ไปดำเนินการเเทน บริเวณหนังสือมอบอํานาจที่ดินนี้ต้องลงชื่อผู้ที่ซื้อนั้นคือ นาย ค.

12. กรอกรายละเอียดที่ต้องการมอบอำนาจ

สามารถเขียนรายละเอียดตามจุดประสงค์ในการทำหนังสือมอบอํานาจที่ดินได้เลย เช่น ใช้มอบอำนาจซื้อขายที่ดิน แต่ต้องกรอกรายละเอียดให้ตรงเช่น เป็น ตึก หรือ บ้าน มีกี่ชั้น หลังไหนเลขที่เท่าไหร่ ขายให้ใคร ราคาเท่าไหร่ เพื่อมอบอำนาจให้ผู้ที่ต้องไปทำการเเทน

13. ประทับลายนิ้วมือ

กรณีที่ผู้มอบอำนาจเซ็นรายมือชื่อในหนังสือมอบอํานาจที่ดินไม่ได้ สามารถประทับลายนิ้วมือของผู้มอบอำนาจ ด้วยนิ้วหัวแม่มือซ้าย (ต้องทำต่อหน้าพยาน)

14. ลายเซ็นผู้มอบอำนาจ

ลงชื่อผู้มอบอำนาจ ให้ชัดเจน (ต้องทำต่อหน้าพยาน)

15. พยาน

ลงชื่อพยาน จำนวน 2 คน โดยการกระทำที่ต้องทำต่อหน้าพยานคือ การเซ็น ลายเซ็นผู้มอบอำนาจ และการประทับลายนิ้วมือ และจากนั้นจึงให้พยานเซ็น เพื่อยืนยัน

การใช้งาน หนังสือมอบอำนาจ

กรณีที่จะใช้หนังสือมอบอำนาจที่ดินก็ต่อเมื่อ เจ้าของที่ดินหรือผู้ซื้อสัญญาคนสุดท้ายตามที่ปรากฎในสารบัญโฉนดที่ดินไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง ดังนั้นหน้าที่ของหนังสือมอบอํานาจใช้ที่ดินจึงเป็นการมอบความสะดวกให้กับผู้ที่ไม่ว่างมาดำเนินการ สามารถดำเนินการทางที่ดินได้

มอบ อํา น่า จ รังวัด ที่ดิน ใช้เอกสาร อะไรบ้าง

กรณีที่จะใช้หนังสือมอบอำนาจที่ดินก็ต่อเมื่อ เจ้าของที่ดินหรือผู้ซื้อสัญญาคนสุดท้ายตามที่ปรากฎในสารบัญโฉนดที่ดินไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง ดังนั้นหน้าที่ของหนังสือมอบอํานาจใช้ที่ดินจึงเป็นการมอบความสะดวกให้กับผู้ที่ไม่ว่างมาดำเนินการ สามารถดำเนินการทางที่ดินได้

เอกสารที่ใช้ประกอบ หนังสือมอบอำนาจ

  1. บัตรประชาชนตัวจริง ของผู้ให้หนังสือมอบอำนาจที่ดิน 
  2. ทะเบียนบ้านตัวจริง ของผู้ให้หนังสือมอบอำนาจที่ดิน

สำหรับทั้ง 2 รายการ จำเป็นต้องมีเพื่อป้องกันการทุจริตในหนังสือมอบอำนาจที่ดินทุกรูปแบบ เพราะถ้าหากเกิดการทุจริตจริง ต้องผ่านการปลอมแปลงเอกสาร ทั้งบัตรประชาชนตัวจริง ทะเบียนบ้านตัวจริง และหนังสือมอบอำนาจที่ดิน จึงทำให้เกิดการทุจริตยากขึ้นนั่นเอง

มอบ อํา น่า จ รังวัด ที่ดิน ใช้เอกสาร อะไรบ้าง

ผู้รับ มอบอำนาจที่ดิน

การทำหนังสือมอบอำนาจที่ดิน ผู้รับมอบอำนาจควรจะเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือและมีความสนิทสนมชิดเชื้อไว้ใจได้ เช่น พี่ น้อง หรือญาติสนิท เป็นต้น หากผู้รับมอบหนังสือมอบอำนาจที่ดิน มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป อาจจะต้องมีข้อพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ว่าผู้รับมอบหนังสือมอบอำนาจโฉนดดินว่ายังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์หรือไม่

มอบ อํา น่า จ รังวัด ที่ดิน ใช้เอกสาร อะไรบ้าง

ถ้าจำเป็นต้องให้ผู้รับมอบหนังสือมอบอํานาจที่ดินทั่วไปเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ควรทำเอกสารหรือขอรับใบรับรองจากผู้นำท้องถิ่น หรือองค์การปกครองท้องถิ่น ก่อนไปดำเนินการที่กรมที่ดิน และนอกเหนือจากนั้นควรมีพยานอย่างน้อย 1 คน โดยพยานจะต้องพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อเป็นหลักฐานประจักษ์ แต่ถ้าพยานไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้ก็จะต้องใช้พยานอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป

หนังสือมอบอำนาจ มีกี่ประเภท

หนังสือมอบอำนาจที่ดินถือเป็นเอกสารสำคัญในการดำเนินการด้านนิติกรรมทุกด้านที่เกี่ยวกับที่ดิน ไม่ว่าจะเป็น การจำนอง จำนำ การซื้อขาย การโอน หรือการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ เป็นต้น โดยหนังสือมอบอํานาจ รังวัดที่ดิน สามารถแบ่งออกได้เป็น2 ประเภท ดังนี้

  1. ที่ดินที่มีโฉนดแล้ว
  2. ที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด

มอบ อํา น่า จ รังวัด ที่ดิน ใช้เอกสาร อะไรบ้าง

ข้อควรระวังเกี่ยวกับ หนังสือมอบอำนาจ

  1. การกรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน จะต้องมีการระบุประเภทของอสังหาริมทรัพย์ให้ถูกต้องชัดเจน
  2. การระบุขอบเขตอำนาจของการจัดการและดำเนินการแทนในหนังสือมอบอํานาจที่ดินจะต้องมีความชัดเจนหรือหากมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมก็ควรระบุให้ถูกต้องชัดเจนด้วยเช่นกัน 
  3. ไม่ควรใช้ปากกาคนละสี และควรระมัดระวังในการลงลายมือชื่อในแต่ละครั้งต้องลงให้เหมือนกันนเพื่อให้เอกสารมีความสม่ำเสมอและชัดเจน หากเป็นการพิมพ์ก็ควรใช้เป็นฟ้อนต์เดียวกันขนาดเท่ากัน ความหนาเท่ากัน
  4. หากมีการขูด ขีด ฆ่า แต่งเติม หรือแก้ไข จะต้องเซ็นเพื่อกำกับจุดที่มีการแก้ไขดังกล่าวในหนังสือมอบอํานาจที่ดินไว้ด้วย
  5. ระมัดระวังห้ามลงชื่อในเอกสารมอบอำนาจที่ดินที่ยังไม่มีการกรอกข้อมูลใดๆ เด็ดขาด เพราะอาจจะมีการทุจริตเกิดขึ้นได้ควรกรอกเอกสารให้ครบถ้วนและควรตรวจเช็คความเรียบร้อยก่อนค่อยลงลายมือชื่อ
  6. โอนที่ดินให้ลูก มอบอํานาจจำเป็นที่จะต้องมีพยานอย่างน้อย 1 คน แต่ถ้าหากไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้ จะต้องใช้พยาน 2 คน ในการทำหนังสือมอบอํานาจที่ดิน และทั้ง 2 คน จะต้องลงลายมือหรือเซ็นกำกับด้วย
  7. หากต้องการมอบอำนาจที่ดินและดำเนินการในต่างประเทศจะต้องให้เจ้าหน้าที่จากสถานทูต สถานกงสุล หรือโนตารีปับลิค รับรองด้วยจึงจะสามารถดำเนินการต่อได้
  8. หนังสือมอบอํานาจที่ดิน มีอายุเท่าไร ขึ้นกับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่พนักงานที่ดิน แต่ไม่ควรมีระยะเวลานานเกินไป

มอบ อํา น่า จ รังวัด ที่ดิน ใช้เอกสาร อะไรบ้าง

10 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับ หนังสือมอบอำนาจที่ดิน

1. ผู้รับอำนาจดำเนินการแทนทั้งสองฝ่าย

ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้ดำเนินการแทนทั้งฝ่ายผู้โอนและฝ่ายรับโอน ผู้มอบอำนาจจะต้องระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจที่ดินให้ชัดเจน ว่ายินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย

2. การกรอกเครื่องหมายที่ดินจากโฉนดที่ดิน

การกรอกเครื่องหมายที่ดินจากตัวโฉนดที่ดินเพื่อใส่รายละเอียดลงในหนังสือมอบอํานาจที่ดิน ควรลอกข้อความมาทั้งหมด รวมถึงข้อความที่เป็นการขีดฆ่า ข้อความในวงเล็บ เป็นต้น

มอบ อํา น่า จ รังวัด ที่ดิน ใช้เอกสาร อะไรบ้าง

3. ข้อความในเอกกสารมอบอำนาจที่ดิน

ผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอํานาจที่ดินสามารถระบุรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องการและจำเป็นได้เลย และควรระบุข้อความลงท้ายว่า “ตลอดจนถ้อยคำต่าง ๆ ต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน “

4. ข้อความที่มีการเพิ่มเติมจากแบบพิมพ์ของกรมที่ดิน

โดยปกติผู้มอบอำนาจควรจะเขียนรายละเอียดตามแบบพิมพ์ทีได้มาจากกรมที่ดิน แต่สิ่งที่เพิ่มเติม คือในส่วนของชื่อเรื่องและขอบเขตอำนาจที่มอบหมายให้ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอํานาจที่ดินดำเนินการแทน ทั้งในหัวข้อชื่อเรื่อง การมอบให้จัดการ ลักษณะเหตุการณ์จริงที่ทำให้เกิดการมอบอำนาจ เป็นต้น

5. หนังสือมอบอำนาจ จะมีคนมอบอำนาจหลายคนในหนึ่งฉบับก็ได้

การใช้หนังสือมอบอํานาจที่ดินฉบับเดียวกันในกรณีที่มีผู้มอบอำนาจหลายคน ควรมีการระบุขอบเขตอำนาจให้เหมือนกันเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในข้อความ

6. สามารถใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดียวในการดำเนินหลายเรื่องได้

ผู้มอบอำนาจสามารถใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดียวเพื่อให้ผู้รับมอบอำนาจคนเดิมสามารถไปดำเนินการหลายเรื่องได้แต่ควรมีการระบุรายละเอียดของขอบเขตการมอบอำนาจให้ชัดเจน

7. หนังสือมอบอำนาจ จำเป็นต้องมีพยานลงลายมือชื่อ 1 คน

หากเป็นคู่สามีภรรยาสามรถลงลายมือชื่อเพื่อเป็นพยานได้ และสามารถทำหนังสือยินยอมให้สามารถทำนิติกรรมหนังสือมอบอํานาจที่ดินควบคู่กันไปด้วย

8. นิ้วที่พยานใช้ในการพิมพ์ลายนิ้วมือ

จำเป็นจะต้องใช้ลายนิ้วมือจากมือข้างซ้าย เพราะมือข้างซ้ายไม่ค่อยได้ใช้งาน ทำให้ลายนิ้วมือข้างซ้ายมีความสึกหรอน้อยกว่าข้างขวานั่นเอง

9. เมื่อทำหนังสือมอบอำนาจแล้ว ต้องรีบดำเนินการให้เร็วที่สุด

ไม่ควรปล่อยไว้นาน หากมีการหนังสือมอบอํานาจที่ดินแล้วควรรดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะถ้าปล่อยไว้นานเจ้าหน้าที่กรมที่ดินอาจไม่มั่นใจว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ยกเลิกไปแล้วหรือไม่ หรือผู้มอบอำนาจยังมีชีวิตอยู่หรือไม่

10 . กรณีผู้มอบอำนาจมีการเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อ

หากผู้มอบอำนาจมีการเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อจะต้องไปดำเนินการติดต่อที่อำเภอเพื่อดำเนินการทำหนังสือมอบอํานาจที่ดินต่อหน้านายอำเภอเท่านั้น โดยนายอำเภอจะรับรองว่าผู้มอบอำนาจได้มีการเปลี่ยนแปลงรายมือชื่อจริง

สรุป - หนังสือมอบอำนาจที่ดิน

การจะธุรกรรมกับที่ดินแต่ละครั้งต้องใช้เวลา แต่ถ้าจำเป็นต้องทำตอนนั้นแต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ว่างก็จำเป็นจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้คนสนิทหรือคนที่ไว้ใจได้ไปทำธุรกรรมแทนแต่จะต้องมีบัตรประชาชนตัวจริงและทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ให้หนังสือมอบอำนาจที่ดินแนบไปด้วย

เพื่อนแท้เงินด่วนขอให้ผู้อ่านระมัดระวังในการเซ็นลายมือชื่อในหนังสือมอบอํานาจที่ดินทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้นในภายหลัง นอกจากนั้นจะต้องมีพยานในการลงลายมือชื่อด้วยอย่างน้อย 1 คน จึงจะถือว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนั้นสมบูรณ์