ข้อสอบอะตอม พร้อมเฉลยละเอียด

ข้อสอบอะตอม พร้อมเฉลยละเอียด

1. จากผลการทดลองของทอมสัน  ทำให้ทอมสันได้ข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมมากขึ้นเขาจึงเสนอแบบจำลองอะตอมว่าอย่างไร

1.อะตอมประกอบด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นลบ    อนุภาคโปรตอนมีประจุเป็นบวก

2.สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า “ อะตอม”

3.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ

4.อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นชั้นๆ ตามระดับพลังงาน  และแต่ละชั้นจะมีพลังงานเป็นค่าเฉพาะตัว

วิชาเคมี ม.4 หลักสูตรใหม่ของสสวท.(ฉบับปรับปรุงปี 2560) เป็นหนึ่งในวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมที่น้องๆสายวิทย์จะได้เรียนกัน สิ่งสำคัญของวิชาเคมี คือ เราจะได้ศึกษาถึงสมบัติและพฤติกรรมของสารต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ข้อสอบวิชาเคมีในชั้นม.4 นอกจากมีรายละเอียดที่ต้องจดจำเยอะและเนื้อหาที่ค่อนข้างอาศัยเวลาในการทำความเข้าใจ ยังมีการคำนวณเข้ามาค่อนข้างมาก แต่ทั้งหมดก็ไม่ยากเกินไปหากน้องๆมีความพยายามและความตั้งใจนะคะ

แนวข้อสอบเคมีม.4 เทอม 1 หลักสูตรใหม่

ข้อสอบวิชาเคมี ม.4 เทอม 1 คลอบคลุม 3 บทเรียนสำคัญ ได้แก่

  • ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี 
  • อะตอมและสมบัติของธาตุ 
  • พันธะเคมี 

ทั้งสามบทเรียนนี้เป็นพื้นฐานของการเรียนวิชาเคมีในชั้นต่อๆไปด้วย แนวข้อสอบแต่ละบทเรียนจะออกแบบไหน เราจะดูไปพร้อมๆนั้นนะคะ

แนวข้อสอบเรื่อง “ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี”

ข้อสอบมักถามเกี่ยวกับความปลอดภัยและอุบัติเหตุในการทำงานกับสารเคมี คำถามจะเป็นการยกตัวอย่างการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆระหว่างปฏิบัติการ และถามเกี่ยวกับวิธีการวัดปริมาณสารและหน่วยการวัดที่จำเป็นต้องรู้ ความละเอียดของเครื่องมือวัด รวมไปถึงทักษะและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้วย บทนี้ไม่ยาก น้องๆเก็บคะแนนกันได้ง่ายๆเลย

ข้อที่ 1. การระเหยตัวทำละลายภายในตู้ควัน ช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรายแบบใดในห้องปฏิบัติการ

ตอบ  การสูดดมไอของสารเคมี

ข้อที่ 2. จากรูปแสดงสัญลักษณ์ของสารเคมี 2 ชนิด เป็นดังนี้ 

( ใส่รูป 1 )

2.1 จงระบุสีพร้อมความหมายของ A, B, C และ D

ตอบ  A  เป็นสีนำ้เงิน บอกอันตรายต่อสุขภาพ

         B  เป็นสีแดง บอกถึงความไวไฟ

         C เป็นสีขาว บอกข้อมูลพิเศษ

         D เป็นสีเหลือง บอกปฏิกิริยา

2.2 สารใดเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะเหตุใด 

ตอบ สาร ข. มีอันตรายต่อสุขภาพมากกว่า เนื่องจากมีระดับความรุนแรงของสีนำ้เงินที่เป็นตัวบอกถึงอันตรายต่อสุขภาพมากกว่า 

2.3 สารใดสามารถเกิดปฏิกิริยาได้ว่องไวที่สุด เพราะเหตุใด

ตอบ สาร ก. เพราะสังเกตสีเหลืองที่บอกถึงการทำปฏิกิริยามีระดับที่มากกว่า

ข้อที่ 3. ปรอทปริมาตร 20.00 มิลลิลิตร จะมีมวลเท่าใด เมื่อปรอทมีความหนาแน่นเท่ากับ 1.36 กรัมต่อมิลลิลิตร

วิธีทำ   จากสูตร 

ความหนาแน่น (d) =  มวล(m)ปริมาตร(V)

                    มวล  =  ความหนาแน่น x ปริมาตร

                = 1.36 x 20.00 

                            = 27.2 

(เป็นการคูณจึงดูที่เลขนัยสำคัญ จากโจทย์เลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุดคือ 3 ตำแหน่ง คำตอบจึงต้องเป็นสามตำแหน่งเช่นกัน)

ข้อที่ 4. จงบอกเลขนัยสำคัญที่ได้จากการวัดต่อไปนี้ 125.1 + 0.662 m

ตอบ  ผลลัพธ์ในขั้นแรกคือ 125.762 

แต่การบวก เลขนัยสำคัญต้องดูตัวที่มีจุดทศนิยมน้อยที่สุด ในที่นี้คือ 125.1 ดังนั้นปัดทศนิยมให้เหลือหนึ่งตำแหน่งแล้วจะได้คำตอบคือ 125.8 

 ( ใส่รูป 2 )

แนวข้อสอบเรื่อง “อะตอมและสมบัติของธาตุ”

ข้อสอบมักถามเกี่ยวกับแบบจำลองของอะตอมแบบต่างๆ ส่วนประกอบของอะตอม อนุภาคในอะตอมและไอโซโทปของอะตอม การจัดเรียงอิเลคตรอนในระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อย  เลขอะตอมและมวลอะตอมหมายถึงอะไร ในส่วนของตารางธาตุ สัญลักษณ์ของธาตุ ธาตุแต่ละคาบ แต่ละหมู่มีคุณสมบัติอย่างไร และแนวโน้มต่างๆในตารางธาตุเป็นอย่างไร

ข้อที่ 1. อะตอมประกอบด้วยโปรตอนและอิเล็กตรอนในจำนวนที่เท่าๆกัน คือ แบบจำลองอะตอมของใคร

ตอบ แบบจำลองอะตอมของทอมสัน

ข้อที่ 2. ไอโซโทปของธาตุชนิดหนึ่งมีประจุในนิวเคลียสเป็น 3 เท่าของประจุในนิวเคลียสของไฮโดรเจนและมีเลขมวลเป็น 7 เท่าของเลขมวลไฮโดรเจน จงระบุจำนวนโปรตรอน นิวตรอนและอิเล็กตรอนของไอโซโทปของธาตุนี้ 

 ( ใส่รูป 3 )

วิธีคิด    

  • จากรูป ให้ธาตุชนิดนี้เป็น X 
  • ในนิวเคลียสมีโปรตรอนและนิวตรอน โปรตรอนมีประจุ แต่นิวตรอนไม่มีประจุ ดังนั้นที่โจทย์บอกว่ามีประจุเป็น 3 เท่าของนิวเคลียสของไฮโดรเจน (โปรตรอนของไฮโดรเจนเท่ากับ 1) แสดงว่าธาตุชนิดนี้มีจำนวนโปรตรอนเท่ากับ 3 ซึ่งนำไปเขียนเป็นเลขอะตอมได้เลย 
  • อิเล็กตรอนเป็นกลางทางไฟฟ้าจึงเท่ากับ 3 เช่นกัน 
  • จากโจทย์เลขมวลของไฮโดรเจนเท่ากับ 1 เพราะฉะนั้นเลขมวลของธาตุชนิดนี้จึงเท่ากับ 7 
  • นิวตรอน = เลขมวล – เลขอะตอม = 7 – 3 = 4

ตอบ จำนวนโปรตรอน = 3, จำนวนอิเล็กตรอน = 3, จำนวนนิวตรอน = 4

ข้อที่ 3. กำหนดเลขอะตอมของ Mg = 12, Cl = 17, Ni = 28 จงเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยของ Mg2+ Cl– Ni และ Ni+

วิธีคิด 

วิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนของไอออน

  • จัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุหลัก จัดเรียงเป็น    1s2  2s2  2p6 3s2 3p6 4s2 3d9
  • ถ้าไอออนของธาตุนั้นมีประจุบวก คือ เสียอิเล็กตรอนไปเท่ากับจำนวนประจุ โดยอิเล็กตรอนที่เสียไปก็คือ อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานสูงสุด
  • ถ้าไอออนของธาตุนั้นมีประจุลบ คือ รับอิเล็กมาเท่ากับจำนวนประจุ

ดังนั้นเราจะจัดเรียงอิเล็กตรอนของ Mg, Cl, Ni, และ Ni+

ได้ดังต่อไปนี้ 

 ( ใส่รูป 4 )

ข้อที่ 4. ธาตุฮีเลียมมี 2 อิเล็กตรอนและมีค่า IE1 เท่ากับ 2.379 MJ/ mol ธาตุโพแทสเซียมมี
19 อิเล็กตรอน และมีค่า IE1 เท่ากับ 0.425 MJ/mol เพราะเหตุใด IE1 ของธาตุฮีเลียม จึงมีค่าสูงกว่าโพแทสเซียม

วิธีคิด พิจารณาการจัดเรียงอิเล็กตรอนและขนาดอะตอมจากแบบจำลองอะตอมดังรูป  ( ใส่รูป 5 )

He : อะตอมมีขนาดเล็กและมีระดับพลังงานเดียว อิเล็กตรอนจะหลุดออกยากกว่า เพราะประจุของอิเล็กตรอนและนิวเคลียสดึงดูดกันแรงกว่า  จึงต้องใช้พลังงานในการกระตุ้นมากในการทำให้อิเล็กตรอนหลุดออก 

K : มี 4 ระดับพลังงาน อิเล็กตรอนที่อยู่ระดับพลังงานนอกสุดจะหลุดออกก่อน ใช้ระดับพลังงานน้อยในการกระตุ้นให้หลุดออกมา เพราะอยู่ไกลจากนิวเคลียสนั่นเอง

แนวข้อสอบเรื่อง “พันธะเคมี”

ในบทนี้ ข้อสอบมักจะออกเรื่องพันธะเคมีทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ พันธะโควาเลนต์ พันธะไอออนิกและพันธะโลหะ รวมไปถึงแรงยึดเหนี่ยวระหว่างพันธะ จุดเดือด จุดหลอมเหลวและการนำไฟฟ้าของพันธะด้วย 

ข้อที่ 1. จงวาดโครงสร้างของโมเลกุลต่อไปนี้ ตามกฎออกเตต NH3 และ CH2O

ตอบ  ( ใส่รูป 6 )

( ใส่รูป 7 )

ข้อที่ 2. จงคำนวณหา △H ของปฏิกิริยาข้างล่างนี้  ( ใส่รูป 8 )

ข้อที่ 3. สมบัติทางกายภาพในข้อใดที่ใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของอโลหะ 

ตอบ พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก อิเล็กโทรเนกาติวิตี

ข้อที่ 4. ( ใส่รูป 9 )

จงเรียงลำดับความมีขั้วจากน้อยไปมากของสารทั้งสี่ชนิด

ตอบ   A < B <D < C

สภาพขั้ว ต้องพิจารณาจากผลลัพธ์ของแรงลัพธ์ที่หาได้ ถ้ามีผลลัพธ์แสดงว่าโมเลกุลมีขั้ว ถ้าไม่มีแสดงว่าโมเลกุลไม่มีขั้ว

ข้อ A  ค่าผลต่างของ EN ของพันธะ C-Br = 0.3 และ C-H=0.4
ดังนั้นผลลัพธ์ของแรงลัพธ์เท่ากับ 0.3 + 0.4 = 0.7

ข้อ B ค่าผลต่างของ EN ของพันธะ C-Cl = 0.5 และ C-H=0.4

ดังนั้นผลลัพธ์ของแรงลัพธ์เท่ากับ 0.5 + 0.4 = 0.9 

ข้อ C ค่าผลต่างของ EN ของพันธะ C-F = 1.5 และ C-Cl = 0.5
ดังนั้นผลลัพธ์ของแรงลัพธ์เท่ากับ 1.5 + 0.5 = 2.0

ข้อ D ค่าผลต่างของ EN ของพันธะ C-F = 1.5 และ C-Br = 0.3
ดังนั้นผลลัพธ์ของแรงลัพธ์เท่ากับ 1.5 + 0.3 = 1.8

แนวข้อสอบเคมีม.4 เทอม 2 หลักสูตรใหม่

ข้อสอบวิชาเคมี ม.4 เทอม 2 ครอบคลุมอีก 3 บทเรียนสำคัญเช่นกัน ได้แก่

  • โมลและสูตรเคมี
  • สารละลาย
  • ปริมาณสัมพันธ์

เนื้อหาที่น้องๆได้เจอในเทอม 2 จะเริ่มท้าทายมากขึ้น ข้อสอบจะง่ายหรือยากแค่ไหน
เราไปลุยกันต่อได้เลย

แนวข้อสอบเรื่อง “โมลและสูตรเคมี”

ในเรื่องโมลและสูตรเคมี การออกสอบจะเป็นพาร์ทการคำนวณเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่คำนวณมวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ มวลโมเลกุลและมวลสูตร คำนวณปริมาณใดปริมาณหนึ่งจากความสัมพันธ์ของโมล จำนวนอนุภาค มวลและปริมาตรของแก๊สที่ STP คำนวณอัตราส่วนโดยมวลของธาตุในสารประกอบตามกฎสัดส่วนคงที่ รวมถึงสูตรโมเลกุลต่างๆ เห็นคำนวณมากมายขนาดนี้ แต่ยังก็ไม่ยากเท่าไหร่ อย่าเพิ่งท้อนะคะ ลองทำไปด้วยกันเลย

พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้แล้วคำนวณหามวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ K ( ใส่รูป 10 )

แนวข้อสอบเรื่อง “สารละลาย”

ในบทนี้ก็ยังเน้นเรื่องการคำนวณอยู่ เป็นการคำนวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่างๆ น้องๆต้อง อธิบายวิธีการและเตรียมสารละลายที่มีความเข้มในหน่วยโมลาริตี และปริมาตรตามสารละลายที่กำหนดได้ และข้อสอบมักจะออกเรื่องการเปรียบเทียบจุดเดือดจุดเยือกแข็งของสารละลายและสารบริสุทธ์ และยังให้คำนวณจุดเดือดจุดเยือกแข็งของสารละลายด้วย  ( ใส่รูป 11 )

แนวข้อสอบเรื่อง “ปริมาณสัมพันธ์”

ปริมาณสารสัมพันธ์ จะเป็นเนื้อหาที่ต่อยอดจากโมลและสูตรเคมีกับสารละลาย โดยเฉพาะเรื่องความเข้มข้น ข้อสอบจะเป็นเรื่องของสมการเคมีเป็นส่วนใหญ่ การดุลสมการ การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี คำนวณผลได้ร้อยละของผลิตภัณฑ์ในปฏิกิริยาเคมี ดังนั้นน้องคนไหนยังไม่เข้าใจในบทที่ผ่านๆมา พี่แนะนำว่าควรกลับไปทบทวนให้แม่นยำเสียก่อนที่จะขึ้นเรื่องนี้ ไม่อย่างนั้นจะตามเพื่อนๆไม่ทันนะ