แอร์ 12000 btu ใช้ กับ ห้อง ขนาด

12,000
15,300
18,000
20,800
22,800
27,200
32,800
38,000
53,000
64,400 16-22
20-28
24-33
28-38
30-42
36-50
44-60
51-70
71-97
86-118 14-20
18-26
21-30
24-35
27-38
32-45
38-55
44-63
62-88
75-107 16-20
20-26
24-30
28-35
30-38
36-45
44-55
51-63
71-88
86-107 14-18
18-23
21-27
24-31
27-34
32-41
38-49
44-57
62-80
75-97 14-18
18-23
21-27
24-31
27-34
32-41
38-49
44-57
62-80
75-97 12-16
15-20
18-24
21-28
23-30
27-36
33-44
38-51
53-71
64-86

การคำนวนขนาดบีทียูแอร์ ให้เหมาะกับห้อง

การเลือกขนาดบีทียูแอร์ – จะใช้แอร์ขนาดไหนดี ถึงจะเหมาะกับขนาดห้อง?

BTU ย่อมาจาก British Thermal Unit คือขนาดความสามารถการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ โดย 1 ตันความเย็น = 12000 BTU

เราควรเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้พอเหมาะกับห้อง

หาก BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์จะตัดบ่อย ความชื้นในห้องสูง ทำให้ไม่สบายตัว ราคาแพง และสิ้นเปลืองพลังงาน

หาก BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์จะทำงานหนัก ต้องทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ สิ้นเปลืองพลังงาน และอายุการใช้งานแอร์ลดลง

ตารางการเปรียบเทียบการเลือกขนาด BTU กับพื้นที่ห้อง

บีทียูขนาดห้อง (ตารางเมตร)
ห้องปกติ ห้องที่โดนแดด
9000

12-14

11-13

12000

16-20

14-18

18000

20-28

21-27

21000

28-35

25-32

24000

32-40

28-35

26000

35-44

30-39

30000

40-50

35-45

36000

48-60

42-54

40000

56-65

52-60

48000

64-80

56-72

60000

80-1000

70-90

** เป็นการเปรียบเทียบโดยประมาณ ทั้งนี้ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นเพิ่มเติม

ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติมในการเลือกขนาดบีทียูแอร์

1. จำนวนและขนาดของหน้าต่าง

2. ทิศที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง

3. วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่

4. จำนวนคนทีใช้งานในห้อง

5. จำนวน และประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆภายในห้อง เช่นคอมพิวเตอร์ หรือไดร์เป่าผม ที่ทำให้เกิดความร้อนภายในห้อง

วิธีการคำนวณหาค่า BTU

BTU = พื้นที่ห้อง (กว้าง x ยาว) x ค่าตัวแปร

ค่าตัวแปร

700-800 สำหรับห้องนอน หรือห้องที่มีความร้อนน้อย (ห้องที่ไม่โดนแดดหรือโดนเล็กน้อย ฝ้าต่ำ หรือห้องที่ใช้แอร์ช่วงกลางคืน)

800-900 สำหรับห้องรับแขก หรือห้องที่มีความร้อนปานกลาง – มาก (ห้องที่โดนแดด อยู่ทิศตะวันตก หรือใช้แอร์ช่วงกลางวัน)

900-1000 สำหรับห้องทำงาน ห้องออกกำลังกาย หรือห้องที่มีความร้อนมาก หรือฝ้าสูง(ห้องที่โดนแดด อยู่ทิศตะวันตก อยู่ชั้นบนสุด หรือใช้แอร์ช่วงกลางวัน)

1000-1200 สำหรับร้านค้า ร้านอาหารที่เปิดปิดประตูบ่อย ร้านทำผม หรือสำนักงานที่มีคนอยู่จำนวนมาก

หากฝ้าเพดานสูงกว่า 2.5 เมตร มีจำนวนคนในห้องมาก หรือมีคอมพิวเตอร์ ควรบวกค่า BTU เพิ่มขึ้นอีก 5% จากค่าปกติ

ตัวอย่าง  ห้องนอนมีขนาดกว้าง 3.5 เมตร ยาว 4.5 เมตร ต้องใช้แอร์ขนาดเท่าไร

(ข้อมูลเพิ่มเติม ห้องอยู่ทางทิศตะวันตก มีเครื่องใช้ไฟฟ้า ทีวี หลอดไฟฟ้า)

ใช้ค่าตัวแปร  = 800

สูตร พื้นที่ห้อง x ค่าตัวแปร (ห้องนอน)

BTU = 3.5*4.5 *800 = 12600 BTU

การคำนวณห้องกรณีห้องมีฝ้าสูง

BTU = ปริมาตรของห้อง (กว้าง x ยาว x สูง) x ค่าตัวแปร

3

ตัวอย่าง ห้องนอนมีขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 5.5 เมตร สูง 4 เมตรต้องใช้แอร์ขนาดเท่าไร

(ข้อมูลเพิ่มเติม ห้องอยู่ทางทิศตะวันออก มีเครื่องใช้ไฟฟ้า ทีวี หลอดไฟฟ้า)

ใช้ค่าตัวแปร  = 800

BTU = ปริมาตรของห้อง (กว้าง x ยาว x สูง)/3 x ค่าตัวแปร

BTU = 5.5 * 5 * 4 *800 / 3 = 29333 BTU

ต้องใช้แอร์ขนาด 30000 บีทียู ขึ้นไป

จำนวน: 25,508

ประเทศไทยมี 3 ฤดู คือ ร้อน ร้อนมาก และร้อนที่สุด! แม้จะมีพายุฝนให้พอชุ่มฉ่ำอยู่บ้าง ก็ยังหนีไม่พ้นแสงแดดอุ่นๆ ถึงอุ่นมาก ไอเทมสุดคูลที่ช่วยกู้สภาพอากาศให้ดีขึ้นได้ จึงหนีไม่พ้นการเลือกแอร์ หรือเครื่องปรับอากาศ ซึ่งปัจจุบันแทบจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่แทบทุกบ้านต้องมี ยิ่งร้อนยิ่งเร่งแอร์จนเป็นการเร่งค่าไฟทางอ้อมและอาจทำให้แอร์ทำงานหนักมากจนเกินไป แต่เราสามารถลดปัญหาต่างๆ เหล่านี้โดยการเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะกับขนาดห้อง!

เลือกแอร์แบบไหน เหมาะกับห้องยังไงบ้าง ?

      เพราะการเลือกแอร์ให้เหมาะกับห้อง ไม่ใช่แค่เรื่องของขนาดแอร์ หรือขนาดของ BTU แต่ยังเกี่ยวกับประเภทของแอร์ ว่าต้องเลือกแอร์แบบไหน? ถึงจะตอบโจทย์การใช้งานและลักษณะห้องที่แตกต่างในแต่ละพื้นที่ อยากเลือกแอร์ให้ดี เราจึงขอเริ่มกันที่ประเภทของแอร์กันก่อน ดังนี้ 

  • แอร์ติดผนัง เรามักจะได้เห็นการเลือกแอร์แบบติดผนังในพื้นที่บ้านกันอยู่บ่อยๆ เนื่องจากมีการทำงานแบบหลายฟังก์ชัน ทั้งโหมดประหยัดไฟ กรองฝุ่น หรือในบางยี่ห้อบางรุ่นที่สามารถกรองได้แม้กระทั่งฝุ่น PM2.5 อีกทั้งแอร์ติดผนังส่วนใหญ่จะมีขนาดที่ค่อนข้างกะทัดรัด ออกแบบสวยงาม จึงเหมาะสมกับบ้านและคอนโดอย่างยิ่ง 
  • แอร์แขวนเพดาน เป็นอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ด้วยเพราะฟังก์ชันการทำงานที่มีความเหมือนกับแอร์ติดผนัง แต่สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึงและเร็วกว่า การติดตั้งแอร์แบบแขวนเพดานจึงเหมาะกับห้องขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่เยอะอย่างห้องประชุม หรืออาคารสำนักงาน
  • แอร์ตั้งพื้น เป็นเครื่องปรับอากาศที่วางอยู่บนพื้นห้อง  จุดเด่นของแอร์ตั้งพื้น คือสามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย เหมาะกับห้องที่มีความสูงจากพื้นถึงเพดานแบบพอดี ไม่เหมาะกับห้องกว้างและเพดานสูง เพราะจะทำให้ได้รับความเย็นไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตามเครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้นก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในปัจจุบัน เนื่องจากต้องอาศัยพื้นที่ในการจัดวางนั่นเอง
  • แอร์ฝังฝ้าเพดาน (Cassette Type Air Conditioner) ข้อดีหลักๆ ของการเลือกแอร์ประเภทนี้ คือช่วยประหยัดพื้นที่ สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึงทุกทิศทาง บวกกับดีไซน์ที่สวยงามกลมกลืนไปกับห้อง หรือฝ้าเพดาน จึงเหมาะสำหรับห้องขนาดใหญ่ หรือห้องที่มีพื้นที่กว้าง เพดานสูง แน่นอนว่าราคาเครื่องต่อ BTU ก็ค่อนข้างสูง และบำรุงรักษายากตามไปด้วยเช่นกัน

เมื่อเราได้รู้จักกับเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์แต่ละประเภทกันแล้ว ต่อไปเราจะพาไปรู้จักกับการคิดค่า BTU หรือ British Thermal Unit ต่อขนาดพื้นที่ของห้อง เพื่อให้เราได้แอร์ที่เหมาะกับลักษณะห้อง เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานพร้อมช่วยประหยัดพลังงานด้วย


เช็กขนาด BTU ให้เหมาะกับพื้นที่ห้อง เลือกแบบนี้จะดีไหม ?

BTU (British Thermal Unit) คือ หน่วยที่ใช้วัดความเย็นของแอร์ ยิ่งแอร์ที่มีจำนวน BTU สูง ก็ยิ่งมีความสามารถในการผลิตความเย็นได้มาก และมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นในพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็จะทำให้แอร์ใช้พลังงานในการทำความเย็นมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหมายความว่าจะส่งผลต่อตัวเลขค่าไฟรายเดือนที่จะตามมานั่นเอง ดังนั้นการเลือกแอร์ให้เหมาะสมกับห้อง จึงควรเลือกขนาดแอร์ที่มี BTU ที่เหมาะสม โดยควรคำนวณร่วมกับพื้นที่และสภาพอากาศภายในบ้าน ว่ามีแสงแดดส่องเข้าถึงห้องมากน้อยแค่ไหน ดังนี้

สูตรคำนวณค่า BTU :

ค่า BTU = พื้นที่ของห้อง (ขนาดกว้าง x ยาว) x ระดับความแตกต่าง

ระดับความแตกต่าง คือ ระดับความร้อนช่วงเวลากลางวันและกลางคืน

ห้องที่ใช้ตอนกลางวัน มีระดับความต่างประมาณ 800

ห้องที่ใช้เฉพาะเวลากลางคืน มีระดับความต่างประมาณ 700  

BTU

ห้องปกติ

ห้องโดนแดด

9,000 BTU

ห้องขนาด 12-15 ตร.ม. 

ห้องขนาด 10-14 ตร.ม.

12,000 BTU

ห้องขนาด 16-20 ตร.ม.

ห้องขนาด 14-18 ตร.ม. 

18,000 BTU

ห้องขนาด 24-30 ตร.ม.

ห้องขนาด 21-27 ตร.ม.

 21,000 BTU

ห้องขนาด 28-35 ตร.ม. 

ห้องขนาด 25-32 ตร.ม.

24,000 BTU

ห้องขนาด 32-40 ตร.ม.

ห้องขนาด 28-36 ตร.ม.

25,000 BTU

ห้องขนาด 35-44 ตร.ม.

ห้องขนาด 30-99 ตร.ม.

30,000 BTU

ห้องขนาด 40-50 ตร.ม

ห้องขนาด 35-45 ตร.ม.

สิ่งแรกที่ควรทำก่อนเลือกขนาดแอร์คือ การเช็กขนาดพื้นที่ห้อง เพราะหากห้องมีขนาดเล็กแต่เลือกแอร์ BTU ใหญ่เกินไป นอกจากจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายตอนซื้อโดยใช่เหตุแล้ว ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งก็จะมีราคาสูงอีกด้วย หรือถ้าเป็นห้องขนาดใหญ่แต่เลือกแอร์ BTU เล็กเกินไป นอกจากทำให้ห้องไม่เย็น เปลืองไฟแล้ว ยังทำให้แอร์ทำงานหนักเพื่อต่อสู้กับอุณหภูมิของอากาศภายนอกจนอาจทำให้แอร์เสื่อมสภาพก่อนเวลาก็เป็นได้

ส่องทริคยืดอายุแอร์ ช่วยแชร์ความเย็นให้ยาวขึ้น!

     แม้เราจะพอทราบดีว่าเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ จะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน ทั้งตัวเครื่องปรับอากาศที่มีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 10-15 ปี หรือน้ำยาแอร์ที่หากไม่ซึม ไม่รั่วก็ใช้กันไปยาวๆ ราว 5-10 ปี แต่ความยืดยาวที่ว่าก็หดสั้นลงได้ตามกาลเวลาและวิธีดูแลรักษาของเรา ซึ่งนอกจากการทำความสะอาดทุกๆ 6 เดือนแล้ว การติดตามคุณภาพแอร์อย่างต่อเนื่อง ยังเป็นวิธีช่วยให้แอร์เย็นฉ่ำและพร้อมใช้งานกันไปยาวๆ ได้อีกด้วย

เลือกมุมเหมาะในการติดตั้ง 

  • ติดตั้งแอร์ในทิศทางที่สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วทั้งห้อง เพื่อช่วยให้แอร์ส่งความเย็นไปได้ทั่วทั้งห้อง โดยเฉพาะในโซนพื้นที่ห้องนอนที่ควรติดตั้งแอร์ในทิศทางตั้งฉากกับเตียง ให้ทิศทางลมพัดขวางกับลำตัว นอกจากจะเป็นการหลีกเลี่ยงการปะทะความเย็นจากแอร์โดยตรงแล้ว ยังช่วยลดการเกิดโรคภูมิแพ้ร่วมด้วยได้
  • หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอร์เหนือประตูห้อง เพราะจะทำให้ความเย็นของแอร์กระจายออกจากห้องได้ง่าย รวมถึงการติดตั้งใกล้ๆ พื้นที่รับแดด เพราะจะส่งผลให้อุณหภูมิห้องไม่คงที่และเย็นช้า จนทำให้แอร์ต้องทำงานหนักไปในที่สุด
    ดูแลรักษาคุณภาพแอร์ 

  • สังเกตเครื่องแอร์เวลาทำงาน เช่น มีน้ำหยดเวลาใช้งานหรือไม่ หรือมีเสียงระหว่างทำงานดังเกินปกติ เย็นช้า หรือความฉ่ำของการผลิตความเย็นที่ต่ำลง หากเครื่องปรับอากาศที่บ้านคุณมีอาการผิดปกติควรเริ่มต้นเช็กตั้งแต่เนิ่นๆ

เพื่อให้การลงทุนกับเครื่องปรับอากาศได้รับประโยชน์และเกิดความคุ้มค่าที่สุด เราจึงควรเปรียบเทียบขนาดของห้องและเลือกแอร์ขนาด BTU ที่เหมาะสม และอย่าลืมดูฉลากระบุว่าประหยัดไฟเบอร์ 5 ด้วยนะคะ รวมไปถึงฉลาดจัดบ้านในหน้าร้อน เพื่อที่ร้อนนี้ที่คุณต้องทำงานอยู่บ้านจะได้เย็นสบาย แถมสบายใจเรื่องค่าไฟฟ้าอีกด้วย

ติดตามเรื่องราวดีๆ อื่นๆ ได้ที่ https://www.lh.co.th/th/lh-living-concept/living

สามารถเยี่ยมชมโครงการได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.30 น. 

นัดหมายและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1198

แอร์ กี่ BTU เหมาะกับห้องขนาดเท่าไหร่

ห้องนั่งเล่น ค่า Cooling load เท่ากับ 750-850 BTU ต่อตารางเมตร ห้องนอน ค่า Cooling load เท่ากับ 700-750 BTU ต่อตารางเมตร ห้องทำงาน ค่า Cooling load เท่ากับ 800-900 BTU ต่อตารางเมตร ห้องครัว ค่า Cooling load เท่ากับ 900-1,000 BTU ต่อตารางเมตร

ห้อง 4 * 5 เมตรใช้แอร์กี่ BTU

ในการเลือกแอร์ให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นโดยทั่วไปนั้นจะคำนึงถึง ขนาดห้องและการรับแสง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะคำนวณจากพื้นที่ อย่างเช่นห้องนอนขนาด 4x4 เมตร ก็จะใช้แอร์ขนาด 12000 BTU หรือถ้าห้องที่มีขนาดกว้างขึ้นไปอีก 5x5 เมตรก็จะใช้แอร์ขนาด 18000BTU (สามารถหาข้อมูลได้จากตารางการเลือกขนาด BTU)

ห้องขนาด 9 ตารางเมตรใช้แอร์กี่ BTU

9000 btu จะคำนวณค่าไฟจากขนาดห้อง 9-16 ตรม

ห้องขนาด4*6ใช้แอร์กี่BTU

ห้องนอนโดนแดด ขนาด 4x6 เมตร BTU = 4 x 6 x 800. BTU = 19,200. ดังนั้นหากจะซื้อแอร์ ก็ต้องเลือกที่มีขนาดอย่างน้อย 19,200 BTU แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรคำนึงถึง เช่น จำนวนผู้คนที่ใช้ห้องนั้น, ความสูงจากพื้นถึงเพดาน และ ทิศทางการโดนแดดของห้อง